ข้ามไปเนื้อหา

กรมการพัฒนาชุมชน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรมการพัฒนาชุมชน
Community Development Department
เครื่องหมายราชการ
ภาพรวมกรม
ก่อตั้ง1 ตุลาคม พ.ศ. 2505; 62 ปีก่อน (2505-10-01)
กรมก่อนหน้า
  • กรมมหาดไทย
ประเภทส่วนราชการ
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่ชั้น 5 อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
บุคลากร7,935 คน (พ.ศ. 2566)[1]
งบประมาณต่อปี6,398,209,300 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
ฝ่ายบริหารกรม
  • สยาม ศิริมงคล, อธิบดี
  • ไพโรจน์ โสภาพร, รองอธิบดี
  • วรงค์ แสงเมือง, รองอธิบดี
  • ว่าง, รองอธิบดี
ต้นสังกัดกรมกระทรวงมหาดไทย
เว็บไซต์www.cdd.go.th

กรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัดกระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และการมี ส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากให้มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพโดยสนับสนุนให้มีการจัดทำและใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศ ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำยุทธศาสตร์ชุมชน ตลอดจนการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาชุมชน เพื่อให้เป็นชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

ประวัติ

[แก้]

กรมการพัฒนาชุมชน เดิมมีฐานะเป็นส่วนพัฒนาการท้องถิ่น สังกัดกรมมหาดไทย และได้รับการยกฐานะเป็นกรม เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2505 ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2505

กระทรวงมหาดไทย ได้ให้ความสำคัญของการบริหารงานระหว่างกรมการปกครอง (กรมมหาดไทยเดิม) กับกรมการพัฒนาชุมชน โดยให้ข้าราชการของทั้งสองกรม สามารถโอนย้าย สับเปลี่ยนกันได้ และมีหลักการสับเปลี่ยนหมุนเวียน ยืมตัวกันได้ระหว่างกรมการปกครอง กรมการพัฒนาชุมชน สำนักงานรัฐมนตรี และสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ทำให้สามารถสอบเลื่อนระดับร่วมกันได้[3]

อำนาจและหน้าที่

[แก้]
  1. กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ และแนวทางในการพัฒนาชุมชนระดับชาติ
  2. จัดทำและพัฒนาระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
  3. พัฒนาระบบและกลไกในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ การจัดการความรู้ การอาชีพ การออม และการบริหารจัดการเงินทุนของชุมชน
  4. สนับสนุนและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศชุมชน ส่งเสริมการใช้ประโยชน์และการ ให้บริการข้อมูลสารสนเทศชุมชน
  5. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา และสร้างองค์ความรู้เพื่อใช้ในงานพัฒนาชุมชน และการจัดทำยุทธศาสตร์ชุมชน
  6. ฝึกอบรมและพัฒนาข้าราชการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน องค์การชุมชน และ เครือข่ายองค์การชุมชนให้มีความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และสมรรถนะในการทำงาน รวมทั้งให้ความ ร่วมมือทาง วิชาการด้านการพัฒนาชุมชนแก่หน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่กระทรวง หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

หน่วยงานในสังกัด

[แก้]

กรมการพัฒนาชุมชน ได้แบ่งส่วนราชการในสังกัดตามกฎกระทรวง พ.ศ. 2552 ดังนี้

ราชการบริหารส่วนกลาง

[แก้]
  1. สำนักตรวจราชการ
  2. สำนักงานเลขานุการกรม
  3. กองการเจ้าหน้าที่
  4. กองคลัง
  5. กองแผนงาน
  6. กองนิติการ
  7. สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน
  8. สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน
  9. สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน
  10. สถาบันการพัฒนาชุมชน
  11. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน
  12. สำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
  13. กลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม
  14. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
  15. กลุ่มตรวจสอบภายใน

ราชการส่วนภูมิภาค

[แก้]
  • สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด มีพัฒนาการจังหวัด (อำนวยการ ระดับสูง) เป็นหัวหน้าหน่วยงาน โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 4 กลุ่มงาน ได้แก่
    • กลุ่มงานประสานและสนับสนุนการบริหารงานพัฒนาชุมชน มีผู้อำนวยการกลุ่มงานประสานและสนับสนุนการบริหารงานพัฒนาชุมชน (วิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ) เป็นผู้อำนวยการกลุ่มงาน
    • กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน มีผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน (วิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ) เป็นผู้อำนวยการกลุ่มงาน
    • กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน มีผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน (วิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ) เป็นผู้อำนวยการกลุ่มงาน
    • กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน มีผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน (วิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ) เป็นผู้อำนวยการกลุ่มงาน
  • สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ มีพัฒนาการอำเภอ (วิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ) เป็นหัวหน้าหน่วยงาน

อ้างอิง

[แก้]
  1. กรมการพัฒนาชุมชน, รายงานประจำปี 2566 กรมการพัฒนาชุมชน, สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2567
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๖๔, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  3. ฐานข้อมูล กรมการพัฒนาชุมชน[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]