กมลา แฮร์ริส
กมลา แฮร์ริส | |
---|---|
Kamala Harris | |
แฮร์ริส ใน ค.ศ. 2021 | |
รองประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 49 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 20 มกราคม ค.ศ. 2021 (3 ปี 342 วัน) | |
ประธานาธิบดี | โจ ไบเดิน |
ก่อนหน้า | ไมก์ เพนซ์ |
สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐ จาก รัฐแคลิฟอร์เนีย | |
ดำรงตำแหน่ง 3 มกราคม ค.ศ. 2017 – 18 มกราคม ค.ศ. 2021 (4 ปี 15 วัน) | |
ก่อนหน้า | บาร์บารา บ็อกเซอร์ |
ถัดไป | อเล็กซ์ ปาดียา |
อัยการสูงสุดรัฐแคลิฟอร์เนีย คนที่ 32 | |
ดำรงตำแหน่ง 3 มกราคม ค.ศ. 2011 – 3 มกราคม ค.ศ. 2017 (6 ปี 0 วัน) | |
ผู้ว่าการ | เจอร์รี บราวน์ |
ก่อนหน้า | เจอร์รี บราวน์ |
ถัดไป | ฆาบิเอร์ บีเซอร์รา |
อัยการเมืองซานฟรานซิสโก คนที่ 27 | |
ดำรงตำแหน่ง 8 มกราคม ค.ศ. 2004 – 3 มกราคม ค.ศ. 2011 (6 ปี 360 วัน) | |
ก่อนหน้า | เทเรนซ์ แฮลลินัน |
ถัดไป | จอร์จ กัสกอญ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | โอกแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา | 20 ตุลาคม ค.ศ. 1964
พรรคการเมือง | เดโมแครต |
คู่สมรส | ดั๊ก เอ็มฮัฟฟ์ |
บุพการี | ศยามลา โคปาลัน (แม่) ดอนัลด์ แฮร์ริส (พ่อ) |
ความสัมพันธ์ | มายา แฮร์ริส (น้องสาว) มีนา แฮร์ริส (หลานสาว) พี.วี. โคปาลัน (ตา) |
การศึกษา | มหาวิทยาลัยฮอเวิร์ด (อักษรศาสตรบัณฑิต) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตแฮสทิงส์ (นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต) |
ลายมือชื่อ | |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์หาเสียง |
กมลา เทวี แฮร์ริส (อังกฤษ: Kamala Devi Harris[1]; เกิด 20 ตุลาคม ค.ศ. 1964) เป็นนักการเมืองและอัยการชาวอเมริกัน ปัจจุบันเป็นรองประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 49 ตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 2021 ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดี โจ ไบเดิน เธอเป็นรองประธานาธิบดีหญิงคนแรก อีกทั้งยังเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาและชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียคนแรกที่ดำรงตำแหน่งนี้ ก่อนหน้านี้เธอเป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐจากรัฐแคลิฟอร์เนีย สังกัดพรรคเดโมแครต
กมลา แฮร์ริส เกิดที่เมืองโอกแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นบุตรของนายดอนัลด์ เจ. แฮร์ริส นักเศรษฐศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ชาวอเมริกันเชื้อสายจาเมกา กับนางศยามลา โคปาลัน นักชีวการแพทย์ชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดีย
ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2016 เธอได้รับชัยชนะเหนือลอเร็ตตา ซันเชซ ในการเลือกตั้งวุฒิสภาของปีนั้น ส่งผลให้แฮร์ริสเป็นวุฒิสมาชิกสตรีคนที่สามจากรัฐแคลิฟอร์เนีย สตรีเชื้อสายแอฟริกาคนที่สอง และสตรีเชื้อสายเอเชียคนแรกที่ได้ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐ[2][3]
ในฐานะสมาชิกวุฒิสภา เธอสนับสนุนการปฏิรูประบบบริการสุขภาพ การยกเลิกสถานะยาเสพติดของกัญชาในระดับประเทศ การช่วยเหลือให้ผู้อพยพที่ไม่มีเอกสารได้รับสถานะพลเมืองสหรัฐ รัฐบัญญัติดรีม การห้ามใช้อาวุธสังหาร และการปฏิวัติการเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า เธอเป็นที่จดจำในระดับชาติภายหลังเธอได้ตั้งคำถามที่เฉียบแหลมต่อเจ้าหน้าที่ภายใต้การบริหารของทรัมป์ระหว่างการรับฟังโดยวุฒิสภา ซึ่งรวมถึงอัยการสูงสุดเจฟฟ์ เซชชันส์ และวิลเลียม บาร์[4]
เธอได้สมัครเป็นผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ค.ศ. 2020 ก่อนยุติการชิงตำแหน่งเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 2019[5] อย่างไรก็ตาม เธอได้รับการสนับสนุนให้เป็นคู่ท้าชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครต คู่กับอดีตรองประธานาธิบดีโจ ไบเดิน เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 2020 ส่งผลให้เธอเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาและ��าวอเมริกันเชื้อสายเอเชียคนแรกที่ได้รับเลือกให้เป็นผู้หาเสียงเคียงคู่กับผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งคนสำคัญของพรรคฯ[6] และเป็นสตรีคนที่สามที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้ท้าชิงตำแหน่งดังกล่าว ถัดจากเจรัลดีน เฟอร์ราโร (ในการเลือกตั้งเมื่อ ค.ศ. 1984) และแซราห์ เพลิน (ในการเลือกตั้งเมื่อ ค.ศ. 2008)[7][8][9]
ในวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2024 โจ ไบเดิน ได้ระบุในคำประกาศถอนตัวจากการเสนอชื่อรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ให้แฮร์ริสเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐของพรรคเดโมแครตแทนตนเอง[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Thomas, Ken (February 15, 2013). "You Say 'Ka-MILLA;' I Say 'KUH-ma-la.' Both Are Wrong". The Wall Street Journal: 1.
'It's "COMMA-la",' Ms. Harris said with a laugh. 'Just think of "calm". At least I try to be most of the time.'
- ↑ "Kamala D. Harris: US Senator from California". United States Senate. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-14. สืบค้นเมื่อ July 29, 2020. Quote: "In 2017, Kamala D. Harris was sworn in as a United States Senator for California, the second African-American woman and first South Asian-American senator in history."
- ↑ Weinberg, Tessa; Palaniappan, Sruthi (December 3, 2019). "Kamala Harris: Everything you need to know about the 2020 presidential candidate". ABC News. สืบค้นเมื่อ 10 August 2020. Quote: "Harris is the daughter of an Indian mother and Jamaican father, and is the second African-American woman and first South Asian-American senator in history."
- ↑ Viser, Matt (January 21, 2019). "Kamala Harris enters 2020 Presidential Race". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ January 22, 2019.
- ↑ Herndon, Astead; Goldmacher, Shane (December 3, 2019). "Kamala Harris Is Dropping Out of 2020 Race". The New York Times. สืบค้นเมื่อ December 3, 2019.
- ↑ Zeleny, Jeff; Merica, Dan; Saenz, Arlette. "Joe Biden picks Kamala Harris as his running mate". CNN. สืบค้นเมื่อ 2020-08-11.
- ↑ Zeleny, Jeff; Merica, Dan; Saenz, Arlette (August 11, 2020). "Joe Biden picks Kamala Harris as his running mate". CNN.
- ↑ "Joe Biden selects California Sen. Kamala Harris as running mate". Associated Press. August 11, 2020.
selecting the first African American woman and South Asian American to compete on a major party's presidential ticket
- ↑ "Kamala Harris' selection as VP resonates with Black women". Associated Press. August 12, 2020.
making her the first Black woman on a major party's presidential ticket ... It also marks the first time a person of Asian descent is on the presidential ticket.
- ↑ John, Arit (2024-07-21). "Harris will seek Democratic nomination and could be the first Black woman and Asian American to lead a major party ticket | CNN Politics". CNN (ภาษาอังกฤษ).
ก่อนหน้า | กมลา แฮร์ริส | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ไมก์ เพนซ์ | รองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ คนที่ 49 (20 มกราคม ค.ศ. 2021 – ปัจจุบัน) |
อยู่ในตำแหน่ง |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2507
- รองประธานาธิบดีสหรัฐ
- รองประธานาธิบดีสตรี
- พรรคเดโมแครต (สหรัฐ)
- นักการเมืองอเมริกัน
- นักการเมืองอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา
- ชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดีย
- ชาวอเมริกันเชื้อสายทมิฬ
- ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา
- ชาวอเมริกันเชื้อสายจาเมกา
- ตระกูลแฮร์ริส
- สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐ
- บุคคลจากโอกแลนด์ (รัฐแคลิฟอร์เนีย)
- สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐจากรัฐแคลิฟอร์เนีย
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์