ข้ามไปเนื้อหา

เครื่องหมายทางทะเล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รุ่นสำหรับพิมพ์ไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไปและอาจมีข้อผิดพลาด โปรดอัปเดตบุ๊กมาร์กและใช้ตัวเลือกสำหรับพิมพ์ที่มีมาให้ในเบราว์เซอร์แทน
เรือ เคตช์ ป๊อปอฟฟ์ (Ketch Popoff) เข้าใกล้ท่าเรือคอนคาร์โน และแล่นผ่านระหว่างทุ่นเครื่องหมายทางทะเลของทางเข้า ขณะที่เรือลากอวนที่แล่นเข้ามาด้านหลังแล่นไปรอบๆ ทุ่นสีแดง
เครื่องหมายทางทะเลบนฝั่งบนแอชชีย์ ดาวน์, ไอล์ออฟไวต์ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2278 โดยปัจจุบันเป็นอนุสรณ์ทางประวัติศาสตร์[1]

เครื่องหมายทางทะเล (อังกฤษ: Sea mark, Seamark) และ เครื่องหมายเดินเรือ (อังกฤษ: Navigation mark) เป็นรูปแบบหนึ่งของเครื่องหมายทางเรือและการนำร่องที่ระบุตำแหน่งโดยประมาณของร่องน้ำทางทะเล ตำแหน่งของสิ่งอันตราย หรือเขตการปกครอง เพื่อให้เรือและเครื่องบินทะเลสามารถเดินเรือได้อย่างปลอดภัย

เครื่องหมายทางทะเลประกอบด้วยกัน 3 ประเภทด้วยกันคือ กระโจม (Beacon) ทั้งที่ยึดติดกับก้นทะเลหรือบนฝั่ง, ทุ่น (Buoy) ประกอบด้วยวัตถุลอยน้ำที่มักจะทอดสมออยู่ในตำแหน่งเฉพาะที่คือก้นทะเลหรือวัตถุใต้น้ำ และกองหิน (Cairn) ที่สร้างขึ้นมาบนแนวหินโสโครกหรือวัตถุที่จมอยู่ใต้น้ำ โดยเฉพาะในน่านน้ำที่ค่อนข้างสงบ

เครื่องหมายทางทะเลจะใช้สำหรับระบุร่องน้ำ หินหรือสันดอนทรายใต้น้ำที่เป็นอันตราย ตำแหน่งจอดเรือ พื้นที่จำกัดความเร็ว พื้นที่จราจรทางน้ำ ซากเรืออับปางที่จมอยู่ใต้น้ำ และเพื่อวัตถุประสงค์ในการเดินเรืออื่น ๆ อีกหลากหลาย บางส่วนมีจุดประสงค์เพื่อให้มองเห็นได้ในเวลากลางวันเท่านั้น (เครื่องหมายกลางวัน) และส่วนอื่น ๆ มีการผสมผสานระหว่างแสง ตัวสะท้อนแสง ระฆังสัญญาณหมอก แตรสัญญาณหมอก นกหวีดสัญญาณ และตัวสะท้อนเรดาร์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ในเวลากลางคืนและในสภาวะที่มีทัศนวิสัยไม่ดี

เครื่องหมายต่าง ๆ จะแสดงบนแผนที่เดินเรือ โดยใช้สัญลักษณ์ที่ระบุสี รูปร่าง และลักษณะของแสง และมักจะระบุด้วยชื่อหรือหมายเลข

ในความหมายแบบกว้าง วลีว่า "sea mark" หรือ "เครื่องหมายทางทะเล" มักจะเป็นที่เข้าใจว่าหมายรวมไปถึงจุดสังเกต โครงสร้าง และอุปกรณ์ทุกประเภทที่สามารถใช้เพื่อเตือนภัยและแนะนำทางทะเลแกนักเดินเรือ ดังนั้นเครื่องหมายทางทะเลมักจะอยู่บนพื้นที่แห้ง ตัวอย่างของเครื่องหมายทางทะเลบนบก ได้แก่ สัญญาณไฟต่าง ๆ และหลักนำ ซึ่งหลักนำใช้ในการระบุจุดกึ่งกางของแนวที่ปลอดภัยในช่องแคบเป็นหลัก เครื่องหมายทางทะเลบางครั้งอาจถูกใช้เพื่อทำเครื่องหมายขอบเขตของทุ่นระเบิดในการป้องกันทางทะเล หรือในขณะเดียวกันก็กำหนดช่องทางปลอดภัยในการเดินเรือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะสงคราม

คำนิยาม

สมาคมประภาคารและเครื่องหมายทางเรือระหว่างประเทศ (IALA) เป็นผู้กำหนดระบบเครื่องหมายที่ระบุรูปร่าง สี และลักษณะแสงไฟของทุ่นโดยขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ คือระบบทุ่นลอยทางทะเลของ IALA[2] ซึ่งจากเหตุผลทางประวัติศาสตร์ ทำให้มีการใช้งานเครื่องหมายทางข้างแบ่งเป็น 2 ภูมิภาค คือ

ซึ่งทั้งสองภูมิภาคมีความแตกต่างกันในหลักสีที่ใช้แสดงทั้งสองด้านของร่องน้ำ เมื่อเดินเรือเข้าไปสู่ท่าเรือจากทะเล ภูมิภาค A จะวางเครื่องหมายรูปกรวยสีเขียวไว้ที่กราบขวา และกรวยสีแดงไว้ที่กราบซ้าย ในภูมิภาค B จะกลับกันโดยวางเครื่องหมายรูปกรวยสีแดงไว้ที่กราบขวา และกรวยสีเขียวไว้ที่กราบซ้าย สิ่งนี้มีหลักการจำ (ในภูมิภาค B) ด้วยการใช้คำว่า "Red, right, return" (เขียว ขวา ขากลับ) อีกหลักการจำหนึ่งของ ภูมิภาค B ในการช่วยจำหมายเลขทุ่นคือ "Even Red Left Port" (กราบซ้ายและทางขวาเป็นเลขคู่ เช่นเดียวกับ Eric the Red) มาจากโดยปกติทุ่นเลขคู่จะเป็นสีแดง ทางด้านซ้าย (กราบซ้าย) เมื่ออกจากท่าเรือ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม เนื่องจากท่าเรือหลายแห่งมักสังเกตได้ยากว่าทิศทางไหนคือทะเล จึงควรใช้ทุ่นโดยดูควบคู่กับการดูแผนที่เดินเรือ นอกจากนี้อาจมีเครื่องหมายอื่นที่ไม่ได้ใช้งาน เนื่องจากการชนกับเรือ พายุ หรือปัจจัยอื่น ๆ ควรใช้งานด้วยความระมัดระวัง ไม่ใช่เฉพาะกับการเดินเรือเท่านั้น ทั้งสองภูมิภาคมักเรียกกันว่าสองระบบ ซึ่งมาจากการใช้งานดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2523 มีการตัดสินใจที่จะรวมระบบนี้เข้าด้วยกัน และแบ่งการใช้งานออกเป็นสองภูมิภาค[3][4]

ระเบียงภาพ

ดูเพิ่ม

เครื่องหมาย

อื่น ๆ

อ้างอิง

  1. "Ashey Down Sea Mark, Havenstreet and Ashey - 1005193 | Historic England".
  2. Mukherjee, Paromita (January 8, 2021). "IALA Buoyage System For Mariners – Different Types Of Marks". Marine Insight. สืบค้นเมื่อ 2021-03-08.
  3. "IALA Maritime Buoyage System". IALA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-17. Cardinal, isolated, safewater, special marks, new dangers, regions A and B
  4. "IALA Maritime Buoyage System". Nautical Issues. 26 June 2023.