นักบุญเจอโรม
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
นักบุญเจอโรม | |
---|---|
“นักบุญเจอโรม” อัลเบรชท์ ดือเรอร์ | |
บาทหลวงและนักปราชญ์แห่งคริสตจักร | |
เกิด | ราว ค.ศ. 347 หมู่บ้านสไตรดอน บริเวณดัลเมเชีย |
เสียชีวิต | 30 กันยายน ค.ศ. 420 เบธเลเฮม แคว้นยูเดีย (ปัจจุบันประเทศอิสราเอล) |
นิกาย | โรมันคาทอลิก คอปติกออร์ทอดอกซ์ |
สักการสถานหลัก | มหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร |
วันฉลอง | 30 กันยายน |
สัญลักษณ์ | สิงโต, เสื้อคาร์ดินัล, กางเขน, หัวกะโหลก, นักศึกษาไบเบิล, นกฮูก, หนังสือและเครื่องเขียน |
องค์อุปถัมภ์ | นักโบราณคดี, ผู้ศึกษาไบเบิล, บรรณารักษ์, ห้องสมุด, เด็กนักเรียน, นักแปล |
นักบุญเจอโรม หรือ นักบุญเยโรม[1] (อังกฤษ: Jerome; ละติน: Eusebius Sophronius Hieronymus; กรีก: Ευσέβιος Σωφρόνιος Ιερώνυμος) เป็นบาทหลวงชาวโรมัน เกิดเมื่อประมาณปี ค.ศ. 347 ที่หมู่บ้านสไตรดอน บริเวณดัลเมเชีย และเสียชีวิตเมื่อประมาณวันที่ 30 กันยายน ปี ค.ศ. 420 ที่เบธเลเฮม แคว้นยูเดีย (ปัจจุบันประเทศอิสราเอล) นักบุญเจอโรมเป็นที่รู้จักกันในผลงานการแปลคัมภีร์ไบเบิลจากภาษากรีกและภาษาฮีบรูเป็นภาษาละติน นอกจากนั้นนักบุญเจอโรมยังเป็นนักป้องกันคริสต์ศาสนา (Christian apologist) คัมภีร์ไบเบิลฉบับของนักบุญเจอโรม หรือที่เรียกว่า “Vulgate” ยังเป็นคัมภีร์ฉบับสำคัญของคริสตจักรโรมันคาทอลิก นักบุญเจอโรมได้รับการประกาศเป็นนักบุญและเป็นนักปราชญ์แห่งคริสตจักร นอกจากนั้นนักบุญเจอโรมก็ยังเป็นนักบุญในคริสตจักรออร์ทอดอกซ์และรู้จักกันในชื่อ “St. Jerome of Stridonium” หรือ “Blessed Jerome” (“Blessed” คนละความหมายกับ “บุญราศี” ที่ใช้กันทางตะวันตก)
ในทางศิลปะของโรมันคาทอลิกนักบุญเจอโรมเป็นองค์อุปถัมภ์นักเทววิทยา[2] จะเป็นรูปคาร์ดินัลเคียงข้างนักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป นักบุญแอมโบรสแห่งมิลาน และสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 1 บางครั้งรูปนักบุญเจอโรมก็จะเป็นชายที่เกือบไม่มีเสี้อผ้าบนร่างกายอย่างนักพรต anchorite และมีเพียงกางเขน หัวกะโหลก คัมภีร์ไบเบิล และหมวกคาร์ดินัลสีแดงหรือเครื่องหมายอย่างใดอย่างหนึ่งที่แสดงฐานะว่าเป็นคาร์ดินัล ในห้องแคบ ๆ ที่อาศัย บางครั้งก็จะมีสิงโตในรูปด้วยเพราะมีตำนานว่านักบุญเจอโรมช่วยถอนหนามที่ตำอุ้งเท้าสิงห์โตออก[3] และบางครั้งก็จะมีนกฮูกซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความมีปัญญา[4] เครื่องเขียนหรือทรัมเป็ตแห่งการพิพากษาครั้งสุดท้ายก็เป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนี่งที่ใช้[4]
อ้างอิง
- ↑ "ประวัตินักบุญตลอดปี: นักบุญเจอโรม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-07. สืบค้นเมื่อ 2011-12-31.
- ↑ http://www.encyclopedia.com/doc/1G1-20078331.html
- ↑ The lion episode, in Vita Divi Hieronymi (Migne Pat. Lat. XXII, c. 209ff.) was translated by Helen Waddell Beasts and Saints (NY: Henry Holt) 1934) (on-line retelling เก็บถาวร 2006-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน).
- ↑ 4.0 4.1 The Collection: St. Jerome เก็บถาวร 2012-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, gallery of the religious art collection of New Mexico State University, with explanations. Accessed August 10, 2007.
ดูเพิ่ม
สมุดภาพ
-
ภาพโดย อัลเบรชท์ ดือเรอร์เป็น นักบุญเจอโรมแต่งตัวอย่างนักพรต มีสิงห์โต, หนังสือ และ หมวกคาร์ดินัล
-
“นักบุญเจอโรมในป่า”
ราว ค.ศ. 1448-1451 โดย อันเดรอา มันเตญญา -
“นักบุญเจอโรม”
โดย การาวัจโจ -
“นักบุญเจอโรม”
กับหัวกะโหลกและหนังสือ
โดย Marinus Claesz. van Reymerswaele