ข้ามไปเนื้อหา

องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป

พิกัด: 46°14′03″N 6°03′10″E / 46.23417°N 6.05278°E / 46.23417; 6.05278
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป
ชื่อย่อเซิร์น/แซร์น
ก่อตั้ง29 กันยายน พ.ศ. 2497[1]
ประเภทห้องปฏิบัติการทางฟิสิกส์อนุภาค
สํานักงานใหญ่แมแร็ง รัฐเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์
ที่ตั้ง
สมาชิก
20 ประเทศสมาชิก และ 8 ประเทศสังเกตการณ์
ภาษาทางการ
อังกฤษและฝรั่งเศส
เว็บไซต์www.cern.ch
ชื่อในอดีต
สภาวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป

องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป (อังกฤษ: European Organization for Nuclear Research; ฝรั่งเศส: Organisation européenne pour la recherche nucléaire) หรือ เซิร์น/แซร์น (CERN) เป็นองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปยุโรปเพื่อวิจัยและพัฒนาทางด้านนิวเคลียร์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2497 โดยมีประเทศสมาชิกก่อตั้ง 12 ประเทศ ม���สำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองแมแร็ง รัฐเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์

เมื่อแรกก่อตั้ง เซิร์น มีชื่อว่า "สภาวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป" หรือ Conseil Européen pour la Recherche Nucléaire (European Council for Nuclear Research) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อย่อ CERN

บทบาทหลักของเซิร์นคือ การจัดเตรียมเครื่องเร่งอนุภาคและโครงสร้างอื่นๆที่จำเป็นต่อการวิจัยด้านฟิสิกส์อนุภาค เซิร์นเป็นสถานที่ทำการทดลองมากมายที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และยังมีชื่อเสียงในฐานะเป็นต้นกำเนิดของเวิลด์ไวด์เว็บ สำนักงานหลักที่เขตเมแร็ง มีศูนย์คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีอุปกรณ์ประมวลผลข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูงมากเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดลอง และเนื่องจากจำเป็นต้องทำให้นักวิจัยในสถานที่อื่นสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ได้ จึงต้องมีฮับสำหรับข่ายงานบริเวณกว้างอีกด้วย

ในฐานะที่เป็นองค์การระหว่างประเทศ สถานที่ของเซิร์นจึงไม่อยู่ภายใต้อำนาจทางกฎหมายของทั้งสวิตเซอร์แลนด์และฝรั่งเศส ใน พ.ศ. 2551 เซิร์นได้รับยอดบริจาคจากประเทศสมาชิกรวมแล้ว 1 พันล้านฟรังก์สวิส[2]

สำนักงานใหญ่ของเซิร์น ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงเจนีวา ใกล้กับชายแดนฝรั่งเศส-สวิตเซอร์แลนด์ เป็นที่ตั้งของห้องปฏิบัติการนิวเคลียร์ฟิสิกส์ขนาดใหญ่ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ 3000 คน

ปัจจุบัน เซิร์นกำลังติดตั้งเครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่ (Large Hadron Collider - LHC) ภายในอุโมงค์ใต้ดินรูปวงแหวนขนาดเส้นรอบวง 27 กิโลเมตร มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ใต้ดินของประเทศฝรั่งเศส และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก การติดตั้งจะแล้วเสร็จและเริ่มการทดลองภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551

ผู้พัฒนาเวิลด์ไวด์เว็บ

[แก้]
เว็บเซิร์ฟเวอร์เครื่องแรกของโลก

นักวิจัยของเซิร์น เป็นผู้พัฒนาเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web, WWW) ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2532 โดยเว็บเพจแรกของโลก ดึงข้อมูลมาจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานใหญ่ของเซิร์น เมื่อ พ.ศ. 2534

ประเทศสมาชิก

[แก้]
ประเทศสมาชิกของเซิร์นใน พ.ศ. 2551
  ประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้ง
  ประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมภายหลัง
แผนที่ภาพเคลื่อนไหวแสดงการเปลี่ยนแปลงในสมาชิกภาพของเซิร์นตั้งแต่ พ.ศ. 2497 จนถึง พ.ศ. 2542(borders as of 1989 and 2008)
ประเทศสมาชิก (สีน้ำเงิน) และประเทศผู้สังเกตการณ์ (สีแดง: สหรัฐอเมริกา, อิสราเอล, ตุรกี, ญี่ปุ่น, อินเดีย และรัสเซีย) ข้อมูลเมื่อ 2013

ประเทศผู้ลงนามก่อตั้งเซิร์นเมื่อ พ.ศ. 2497 มี 12 ประเทศ ได้แก่

ประเทศผู้ก่อตั้งทุกประเทศยังคงเป็นสมาชิกของเซิร์น (เมื่อ พ.ศ. 2551) ยกเว้นยูโกสลาเวียที่ถอนตัวออกเมื่อ พ.ศ. 2504 และไม่กลับมาเข้าร่วมอีกเลย

นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง เซิร์นได้รับประเทศอื่นๆเข้าเป็นสมาชิกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมหลังการก่อตั้งนี้ยังคงเป็นสมาชิกอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เข้าร่วม ยกเว้นสเปนที่เข้าร่วมเมื่อ พ.ศ. 2504 แล้วถอนตัวออกไปในอีก 8 ปีถัดมา และกลับมาเข้าร่วมเป็นสมาชิกอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2526 ประวัติสมาชิกภาพของประเทศต่างๆเป็นดังนี้:

  • ธงของประเทศออสเตรีย ออสเตรีย เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2502 ทำให้เซิร์นมีประเทศสมาชิกในขณะนั้นทั้งหมด 13 ประเทศ ต่อมาเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 กระทรวงวิทยาศาสตร์และการวิจัยของออสเตรียได้ตัดสินใจและประกาศว่าจะยกเลิกสมาชิกภาพและถอนตัวออกจากเซิร์นในสิ้นปี พ.ศ. 2553 แต่ประกาศนี้ยังต้องผ่านการอนุมัติจากรัฐสภาแห่งออสเตรีย[3]
  • ยูโกสลาเวีย ถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2504 (สมาชิก 12 ประเทศ)
  • ธงของประเทศสเปน สเปน เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2504 (ทำให้จำนวนประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 13 ประเทศอีกครั้ง) ต่อมาถอนตัวเมื่อ พ.ศ. 2512 (สมาชิก 12 ประเทศ) และกลับเข้าเป็นสมาชิกอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2526 (สมาชิก 13 ประเทศ)
  • ธงของประเทศโปรตุเกส โปรตุเกส เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2528 (สมาชิก 14 ประเทศ)
  • ธงของประเทศฟินแลนด์ ฟินแลนด์ เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2534
  • ธงของประเทศโปแลนด์ โปแลนด์ เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2534 (พร้อมกับฟินแลนด์ ทำให้จำนวนประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 16 ประเทศ)
  • ธงของประเทศฮังการี ฮังการี เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2535 (สมาชิก 17 ประเทศ)
  • ธงของประเทศเช็กเกีย เช็กเกีย เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2536
  • ธงของประเทศสโลวาเกีย สโลวาเกีย เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2536 (พร้อมกับสาธารณรัฐเชค ทำให้จำนวนประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 19 ประเทศ)
  • ธงของประเทศบัลแกเรีย บัลแกเรีย เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2542 (สมาชิก 20 ประเทศ)
  • ธงของประเทศมาซิโดเนียเหนือ มาซิโดเนียเหนือ เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2552 (สมาชิก 21 ประเทศ)

ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 20 ประเทศ ในจำนวนนี้มี 18 ประเทศที่เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป

นอกจากนี้ ยังมีอีก 6 ประเทศและองค์การระหว่างประเทศอีก 2 องค์การที่อยู่ในฐานะผู้สังเกตการณ์ ได้แก่

อ้างอิง

[แก้]
เซิร์น: สถานที่ที่เวิลด์ไวด์เว็บถือกำเนิดขึ้น
  1. [1]
  2. "CERN Website - Resources Planning and Control". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-13. สืบค้นเมื่อ 2009-05-12.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-19. สืบค้นเมื่อ 2009-05-13.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

46°14′03″N 6°03′10″E / 46.23417°N 6.05278°E / 46.23417; 6.05278