ข้ามไปเนื้อหา

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
Department of Cultural Promotion
ตราสัญลักษณ์
ภาพรวมกรม
ก่อตั้ง29 สิงหาคม พ.ศ. 2501; 66 ปีก่อน (2501-08-29)
กรมก่อนหน้า
ประเภทส่วนราชการ
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่เลขที่ 14 ถนนเทียมร่วมมิตร แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
บุคลากร378 คน (พ.ศ. 2564)[1]
งบประมาณต่อปี1,437,721,400 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
ฝ่ายบริหารกรม
  • ลิปิการ์ กำลังชัย, รักษาการอธิบดี
  • วราพรรณ ชัยชนะศิริ, รองอธิบดี
  • ว่าง, รองอธิบดี
ต้นสังกัดกรมกระทรวงวัฒนธรรม
เว็บไซต์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (อังกฤษ: Department of Cultural Promotion) สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นองค์กรส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนมีค่านิยมและพฤติกรรมที่เหมาะสม มีความภาคภูมิใจ และสืบทอดวัฒนธรรมอันเป็นอัตลักษณ์ของตนเองและชุมชน สามารถประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการพัฒนาที่ยั่งยืน ตั้งอยู่ที่ ถนนเทียมร่วมมิตร แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร บริเวณที่ตั้งเดียวกับ กระทรวงวัฒนธรรม และ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

ประวัติ

[แก้]
ตราสัญลักษณ์เดิมของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม เดิมคือสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2501 เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2501 เป็น กองวัฒนธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 217 ให้กองวัฒนธรรม โอนไปสังกัดกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2515 กระทั่งในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการวัฒนธรรมไทยขึ้นคณะหนึ่ง ให้มีอำนาจหน้าที่ พิจารณาจัดตั้งสถาบันวัฒนธรรมแห่งชาติ เพื่อดำเนินการศึกษา ค้นคว้า ปรับปรุง รักษา ส่งเสริมเผยแพร่ และปลูกฝังวัฒนธรรมของชาติให้แก่ประชาชนและเยาวชน แต่ยังไม่ทันได้ดำเนินการอย่างไรก็เปลี่ยนรัฐบาล

จนในรัฐบาลของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2522 จึงได้ถือกำเนิดสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2522 ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 จึงได้โอนมาสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม

ในปี พ.ศ. 2553 ได้มีการโอนภารกิจของคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติไปยังสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อจากเดิมเป็น "กรมส่งเสริมวัฒนธรรม"[3]

บทบาทและอำนาจหน้าที่

[แก้]
  • ศึกษา วิจัย และเผยแพร่องค์ความรู้ทางวัฒนธรม
  • พัฒนา ส่งเสริม คุณภาพทางวัฒนธรรมของชาติ
  • เป็นศูนย์กลางในการศึกษา รวบรวม เผยแพร่และให้บริการสารสนเทศ และกิจกรรมทางวัฒนธรรม
  • ส่งเสริมกระบวนการถ่ายทอดและเรียนรู้คุณค่าทางวัฒนธรรม
  • สนับสนุน ส่งเสริม และประสานการดำเนินงานวัฒนธรรม
  • จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติงานส่งเสริม พัฒนา ป้องกัน และแก้ไขปัญหาทางวัฒนธรรม
  • ระดมทรัพยากรเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานวัฒนธรรม
  • ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

หน่วยงานในสังกัด

[แก้]

กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมวัฒนธรรมกระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. 2557[4] ให้แบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ดังต่อไปนี้

สำนักงานเลขานุการกรม

[แก้]
  • กลุ่มช่วยอำนวยการและบริหารงานทั่วไป
  • กลุ่มบริหารงานบุคคล
  • กลุ่มการคลัง
  • กลุ่มพัสดุ อาคารสถานที่ และยานพาหนะ
  • กลุ่มแผนงาน
  • กลุ่มวิเทศสัมพันธ์
  • กลุ่มนิติการ
  • กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • กลุ่มแผนงานและงบประมาณ
  • กลุ่มประชาสัมพันธ์
  • กลุ่มวิเทศสัมพันธ์
  • กลุ่มติดตามและประเมินผล

สถาบันวัฒนธรรมศึกษา

[แก้]
  • ฝ่ายบริหารทั่วไป
  • กลุ่มสืบสานวัฒนธรรม
  • กลุ่มบริหารจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
  • กลุ่มสงวนรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
  • กลุ่ม��รดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศ
  • กลุ่มเผยแพร่และถ่ายทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
  • กลุ่มค่านิยมและความเป็นไทย
  • กลุ่มนิทรรศการ
  • กลุ่มวิจัยและพัฒนา
  • กลุ่มศิลปกรรม
  • กลุ่มยกย่องเชิดชูเกียรติทางวัฒนธรรม
  • ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
    • ฝ่ายบริหารทั่วไป
    • กลุ่มลูกค้าสัมพันธ์และอาคารสถานที่
    • กลุ่มเสริมสร้างสุนทรียะทางวัฒนธรรม
    • กลุ่มส่งเสริมการเรียนรู้ทางศิลปะการแสดง
    • กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีการแสดง
  • หออัครศิลปิน
    • ฝ่ายบริหารทั่วไป
    • กลุ่มลูกค้าสัมพันธ์และอาคารสถานที่
    • กลุ่มวิชาการและนิทรรศการ
    • กลุ่มกิจกรรม

กองกิจการเครือข่ายทางวัฒนธรรม

[แก้]
  • ฝ่ายบริหารทั่วไป
  • กลุ่มส่งเสริมเครือข่ายสภาวัฒนธรรมส่วนภูมิภาคและสภาวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
  • กลุ่มส่งเสริมเครือข่ายสภาวัฒนธรรม กทม.และสภาวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ
  • กลุ่มสนับสนุนกิจการพิเศษ
  • กลุ่มส่งเสริมเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม
  • กลุ่มพัฒนาบุคลากรทางวัฒนธรรม
  • กลุ่มส่งเสริมเครือข่ายท้องถิ่นและชุมชน
  • กลุ่มส่งเสริมเครือข่ายสถานศึกษาและองค์กรเอกชชน

สำนักพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์

[แก้]
  • ฝ่ายบริหารทั่วไป
  • กลุ่มตรวจพิจารณาภาพยนตร์
  • กลุ่มตรวจพิจารณาวีดิทัศน์
  • กลุ่มทะเบียนและการอนุญาตประกอบกิจการ
  • กลุ่มตรวจและส่งเสริมสถานประกอบกิจการ 1
  • กลุ่มตรวจและส่งเสริมสถานประกอบกิจการ 2
  • กลุ่มพัฒนาการประกอบกิจการ
  • กลุ่มตรวจของกลางและใบอนุญาต
  • กลุ่มคลังข้อมูลภาพยนตร์และวีดิทัศน์

กองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม

[แก้]
  • ฝ่ายบริหารทั่วไป
  • กลุ่มศิลปินแห่งชาติ
  • กลุ่มบริหารกองทุนและระดมทุน

อ้างอิง

[แก้]
  1. กระทรวงวัฒนธรรม, รายงานประจำปี 2564 กระทรวงวัฒนธรรม, สืบค้นเ���ื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2567
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๗๑, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  3. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2553ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอน 58ก วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/089/40.PDF

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

หนังสือและบทความ

[แก้]

เว็บไซต์

[แก้]