ภาษามลายู
ภาษามลายู (มลายู: bahasa Melayu, ยาวี: بهاس ملايو, เรอจัง: ꤷꥁꤼ ꤸꥍꤾꤿꥈ) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีสถานะเป็นภาษาราชการในประเทศบรูไน ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ และประเทศอินโดนีเซีย และใช้สื่อสารกันอย่างไม่เป็นทางการในประเทศติมอร์-เลสเตและบางส่วนของประเทศไทย ภาษานี้มีผู้พูด 290 ล้านคน[6] (ประมาณ 260 ล้านคนในอินโดนีเซียเพียงประเทศเดียวซึ่งมีมาตร���านเป็นของตนเองที่เรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย")[7] โดยเป็นภาษาแม่ของผู้คนตลอดสองฟากช่องแคบมะละกา ซึ่งได้แก่ ชายฝั่งคาบสมุทรมลายูของมาเลเซียและชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และได้รับการยอมรับเป็นภาษาแม่ในชายฝั่งตะวันตกของซาราวักและกาลีมันตันตะวันตกในเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้ยังใช้เป็นภาษาการค้าในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของคาบสมุทรซัมบวงกา, กลุ่มเกาะซูลู และเมืองบาตาราซาและบาลาบัก (ซึ่งมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะปาลาวัน
ภาษามลายู | |
---|---|
Bahasa Melayu بهاس ملايو ꤷꥁꤼ ꤸꥍꤾꤿꥈ | |
ออกเสียง | [ba.ha.sa mə.la.ju] |
ประเทศที่มีการพูด | ติมอร์-เลสเต, บรูไน, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, เกาะคริสต์มาส, หมู่เกาะโคโคส (คีลิง) |
ชาติพันธุ์ | |
จำนวนผู้พูด | ภาษาแม่ – 77 ล้านคน (2550)[1] ทั้งหมด (ภาษาแม่และภาษาที่สอง): 200–250 ล้านคน (2552)[2] |
ตระกูลภาษา | |
รูปแบบก่อนหน้า | |
รูปแบบมาตรฐาน | |
ระบบการเขียน | อักษรละติน (อักษรรูมี) อักษรอาหรับ (อักษรยาวี)[3] อักษรไทย (ในไทย) |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | สหประชาชาติ (ใช้ภาษาอินโดนีเซียในภารกิจรักษาสันติภาพสหประชาชาติ) ติมอร์-เลสเต (ภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาทำงานและภาษาทางการค้ากับประเทศอินโดนีเซีย)[5] ไทย (ในฐานะภาษามลายูปัตตานี) ฟิลิปปินส์ (ในฐานะภาษาทางการค้ากับมาเลเซียและในบังซาโมโรกับบาลาบัก) อินโดนีเซีย (ภาษามลายูถิ่นมีฐานะเป็นภาษาประจำภูมิภาคในสุมาตราและกาลีมันตัน นอกเหนือจากภาษาอินโดนีเซียที่ใช้เป็นภาษามาตรฐานแห่งชาติ) เกาะคริสต์มาส หมู่เกาะโคโคส (ในฐานะภาษามลายูโคโคส) |
ผู้วางระเบียบ | สำนักภาษาและวรรณกรรมบรูไน (ในบรูไน); สถาบันภาษาและวรรณกรรม (ในมาเลเซีย); สภาภาษามลายูสิงคโปร์ (ในสิงคโปร์); สำนักงานพัฒนาและส่งเสริมภาษา (ในอินโดนีเซีย); สภาภาษาบรูไน–อินโดนีเซีย–มาเลเซีย (ความร่วมมือสามฝ่าย) |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | ms |
ISO 639-2 | may (B) msa (T) |
ISO 639-3 | msa – รหัสรวม รหัสเอกเทศ: coa – ภาษามลายูโคโคสind – ภาษาอินโดนีเซียjax – ภาษามลายูจัมบีkvr – ภาษาเกอรินจีkxd – ภาษามลายูบรูไนmax – ภาษามลายูโมลุกกะเหนือmeo – ภาษามลายูเกอดะฮ์mfa – ภาษามลายูปัตตานีmin – ภาษามีนังกาเบาmui – ภาษามูซีxmm – ภาษามลายูมานาโดzlm – ภาษามลายู (ภาษาปาก)zmi – ภาษามลายูเนอเกอรีเซิมบีลันzsm – ภาษามลายูมาเลเซีย |
Linguasphere | 31-MFA-a |
ประเทศที่มีผู้พูดภาษามลายู
ภาษาทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่ได้รับการยอมรับหรือภาษาทางการค้า | |
ในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ (Bahasa Kebangsaan หรือ Bahasa Nasional) ของรัฐเอกราชหลายรัฐ ภาษามลายูมาตรฐานมีชื่อทางการแตกต่างกันไป ในบรูไนและสิงคโปร์เรียกว่า "ภาษามลายู" (Bahasa Melayu) ในมาเลเซียเรียกว่า "ภาษามลายู" (Bahasa Melayu) หรือ "ภาษามลายูมาเลเซีย" (Bahasa Melayu Malaysia) และในอินโดนีเซียเรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย" (Bahasa Indonesia) อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะสุมาตราที่ซึ่งภาษามลายูเป็นภาษาพื้นเมือง ชาวอินโดนีเซียจะเรียกภาษานี้ว่า "ภาษามลายู" และมองว่าเป็นภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาประจำภูมิภาคของตน
ภาษามลายูมาตรฐาน (หรือที่เรียกว่าภาษามลายูราชสำนัก) เคยเป็นวิธภาษามาตรฐานในวรรณกรรมของรัฐสุลต่านมะละกาและยะโฮร์สมัยก่อนอาณานิคม ดังนั้น บางครั้งจึงเรียกว่าภาษานี้ว่าภาษามลายูมะละกา, ภาษามลายูยะโฮร์ หรือภาษามลายูรีเยา (หรือชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชื่อเหล่านี้ประกอบกัน) เพื่อแยกให้แตกต่างกับภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาในกลุ่มภาษามลายู จากข้อมูลของเอ็ทนอล็อก (Ethnologue) วิธภาษามลายูต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีรายชื่อเป็นภาษาแยกต่างหาก (รวมถึงวิธภาษาโอรังอัซลีในมาเลเซียตะวันตก) มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษามลายูมาตรฐานมากจนอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีภาษามลายูการค้าและภาษาครีโอล (creole) จากภาษามลายูอีกจำนวนมากซึ่งมีพื้นฐานจากภาษากลางที่พัฒนามาจากภาษามลายูตามแบบแผนดั้งเดิม เช่นเดียวกับภาษามลายูมากัซซาร์ซึ่งปรากฏว่าเป็นภาษาผสม
ไวยากรณ์
แก้ภาษามลายูเป็นภาษารูปคำติดต่อ การสร้างคำใหม่ทำได้ 2 วิธีคือ ลงวิภัติปัจจัยที่รากศัพท์ สร้างคำประสมหรือซ้ำคำ
หน่วยคำเติม
แก้รากศัพท์ที่เติมหน่วยคำเติมเป็นได้ทั้งคำนามและคำกริยา ตังอย่างเช่น masak (ทำอาหาร) เป็น memasak (กำลังทำอาหาร) memasakkan (ทำอาหารเพื่อ) dimasak (ทำอาหาร-รูปถูกกระทำ) และ pemasak (ผู้ทำอาหาร) บางครั้งมีการเปลี่ยนเสียงพยัญชนะตัวแรกเมื่อเติมคำอุปสรรคหน้ารากศัพท์ เช่น sapu (กวาด) เป็น penyapu (ไม้กวาด) panggil (เรียก) เป็น memanggil (กำลังเรียก)
ตัวอย่างการใช้หน่วยคำเติมเพื่อเปลี่ยนความหมายของคำได้แก่การผันคำว่า ajar (สอน)
- ajaran = คำสั่งสอน
- belajar = กำลังเรียน
- mengajar = สอน
- diajar = (บางสิ่ง) กำลังถูกสอน
- diajarkan = (บางคน) กำลังถูกสอน (เกี่ยวกับบางสิ่ง)
- mempelajari = เรียน (บางอย่าง)
- dipelajari = กำลังถูกศึกษา
- pelajar = นักเรียน
- pengajar = ครู
- pelajaran = วิชาเรียน
- pengajaran = บทเรียน
- pembelajaran = การเรียนรู้
- terpelajar = ถูกศึกษา
- berpelajaran = มีการศึกษาดี
หน่วยคำเติมมี 4 ชนิดคือ อุปสรรค (awalan) ปัจจัย (akhiran) อุปสรรค+ปัจจัย (apitan) และอาคม (sisipan) หน่วยคำเติมเหล่านี้แบ่งเป็น 3 กลุ่มตามหน้าที่คือ ทำให้เป็นนาม กริยา และคุณศัพท์
หน่วยคำเติมสร้างคำนาม เปลี่ยนรากศัพท์ให้เป็นคำนาม ตัวอย่างแสดงในตารางข้างล่าง
ชนิดของปัจจัย | หน่วยคำเติม | ตัวอย่างรากศัพท์ | ตัวอย่างคำที่ได้ |
---|---|---|---|
อุปสรรค | pe(N)- | duduk (นั่ง) | penduduk (ประชากร) |
ke- | hendak (ต้องการ) | kehendak (ความต้องการ) | |
อาคม | -el- | tunjuk (ชี้) | telunjuk (คำสั่ง) |
-em- | kelut (ยุ่งเหยิง) | kemelut (วิกฤติ) | |
-er- | gigi (ฟัน) | gerigi (toothed blade) | |
ปัจจัย | -an | bangun (ยืน) | bangunan (ตึก) |
อุปสรรค+ปัจจัย | ke-...-an | raja (กษัตริย์) | kerajaan (ราชอาณาจักร/ราชการ/รัฐบาล) |
pe(N)-...-an | kerja (ทำงาน) | pekerjaan (อาชีพ) |
หน่วยคำเติมสร้างคำกริยา เปลี่ยนรากศัพท์ให้เป็นคำกริยา ตัวอย่างแสดงในตารางข้างล่าง
ชนิดของปัจจัย | หน่วยคำเติม | ตัวอย่างรากศัพท์ | ตัวอย่างคำที่ได้ |
---|---|---|---|
อุปสรรค | be(R)- | ajar (สอน) | belajar (เรียน) - Intransitive |
me(N)- | tolong (ช่วย) | menolong (ช่วย) - Active transitive | |
di- | ambil (นำไป) | diambil (ถูกนำไป) - Passive transitive | |
mempe(R)- | kemas (เป็นลำดับ) | memperkemas (จัดเรียงต่อไป) | |
dipe(R)- | dalam (ลึก) | diperdalam (ลึกลงไป) | |
te(R)- | makan (กิน) | termakan (ถูกกินทันทีทันใด) | |
ปัจจัย | -kan | letak (เก็บ) | letakkan (เก็บ) - คำสั่ง |
-i | jauh (ไกล) | jauhi (หลีกเลี่ยง) - คำสั่ง | |
อุปสรรค+ปัจจัย | be(R)-...-an | pasang (ซ่อม) | berpasangan (ถูกซ่อม) |
be(R)-...-kan | tajuk (หัวข้อ) | bertajukkan (ถูกตั้งหัวข้อ) | |
me(N)-...-kan | pasti (แน่นอน) | memastikan (มั่นใจ) | |
me(N)-...-i | teman (companion) | menemani (to accompany) | |
mempe(R)-...-kan | guna (ใช้) | mempergunakan (to misuse, to utilise) | |
mempe(R)-...-i | ajar (teach) | mempelajari (to study) | |
ke-...-an | hilang (หายไป) | kehilangan (หาย) | |
di-...-i | sakit (เจ็บ) | disakiti (เจ็บปวด) | |
di-...-kan | benar (ถูก) | dibenarkan (ถูกอนุญาต) | |
dipe(R)-...-kan | kenal (จำได้) | diperkenalkan (ถูกแนะนำ) |
หน่วยคำเติมสร้างคำคุณศัพท์ เปลี่ยนรากศัพท์ให้เป็นคำคุณศัพท์ ตัวอย่างแสดงในตารางข้างล่าง:
ชนิดของปัจจัย | Affix | ตัวอย่างรากศัพท์ | ตัวอย่างคำที่ได้ |
---|---|---|---|
อุปสรรค | te(R)- | kenal (รู้จัก) | terkenal (มีชื่อเสียง) |
se- | bijak (ฉลาด) | sebijak (ฉลาดเท่ากับ) | |
อาคม | -el- | serak (disperse) | selerak (messy) |
-em- | cerlang (radiant bright) | cemerlang (bright, excellent) | |
-er- | sabut (husk) | serabut (ยุ่งเหยิง) | |
อุปสรรค+ปัจจัย | ke-...-an | barat (ตะวันตก) | kebaratan (ทำให้เป็นทั่วไป) |
ภาษามลายูมีปัจจัยที่ยืมจากภาษาอื่นเช่น ภาษาสันสกฤต ภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษ เช่น maha- juru- pasca- eka- anti- pro-
คำประสม
แก้คำประสมเกิดจากการรวมคำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปเข้าด้วยกัน ซึ่งคำเหล่านี้ปกติจะเขียนแยกกันในประโยค คำประสมนี้อาจรวมกันได้โดยตรง หรือมีปัจจัยเชื่อมคำเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น kereta หมายถึงรถ และ api หมายถึงไฟ รวมกันเป็น kereta api หมายถึงรถไฟ kita หมายถึง เรา kasih " รัก kamu "คุณ รวมกันเป็น เรารักคุณ
การซ้ำคำ
แก้การซ้ำคำในภาษามลายูมี 4 แบบคือ ซ้ำทั้งหมด ซ้ำบางส่วน ซ้ำเป็นจังหวะ และซ้ำโดยความหมาย
ลักษณนาม
แก้ภาษามลายูมีการใช้ลักษณนามเช่นเดียวกับภาษาอื่น ๆ ในเอเชีย เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม และภาษาเบงกอล
คำหน้าที่
แก้มี 16 ชนิด เป็นคำที่มีหน้าที่ทางไวยากรณืในประโยค ได้แก่ คำสันธาน คำบุพบท คำปฏิเสธ และคำอื่น ๆ
คำปฏิเสธ
แก้คำที่แสดงการปฏิเสธในภาษามลายูมี 2 คำ คือ bukan และ tidak bukan ใช้ปฏิเสธนามวลีและบุพบท ส่วน tidak ใช้ปฏิเสธคำกริยาและวลีคุณศัพท์
ประธาน | คำปฏิเสธ | การบ่งชี้ |
---|---|---|
Lelaki yang berjalan dengan Fazila itu (เด็กชายคนนั้นที่กำลังเดินกับฟาซีลา) |
bukan (ไม่ใช่) |
teman lelakinya (แฟนของหล่อน) |
Surat itu (จดหมายฉบับนั้น) |
bukan (ไม่ได้) |
daripada teman penanya di Perancis (มาจากญาติของเขาในฝรั่งเศส) |
Pelajar-pelajar itu (นักเรียนเหล่านั้น) |
tidak (ไม่) |
mengikuti peraturan sekolah (เชื่อฟังกฎของโรงเรียน) |
Penguasaan Bahasa Melayunya (คำสั่งของเขาในภาษามลายู) |
tidak (ไม่) |
sempurna (สมบูรณ์) |
คำ bukan อาจใช้นำหน้า กริยาและวลีคุณศัพท์ได้ ถ้าประโยคนั้นแสดงความขัดแย้ง
ประธาน | การปฏิเสธ | การทำนาย | ความขัดแย้ง |
---|---|---|---|
Karangannya (เรียงความของเขา) |
bukan (ไม่) |
baik sangat, (ดีมาก) |
tetapi dia mendapat markah yang baik (แต่เขาได้คะแนนดี) |
Kilang itu (โรงงาน) |
bukan (ไม่) |
menghasilkan kereta Kancil, (ผลิตรถ Kancil ) |
sebaliknya menghasilkan Proton Wira (แต่ผลิต Proton Wira แทน) |
เพศทางไวยากรณ์
แก้โดยทั่วไปไม่มีการแบ่งเพศ มีเพียงบางคำที่มีการแบ่งเพศตามธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น adik หมายถึงน้องโดยไม่แบ่งเพศ adik laki-laki หมายถึงน้องชายซึ่งไม่ตรงกับ"brother" ในภาษาอังกฤษ คำที่แบ่งเพศ เช่น puteri (เจ้าหญิง)และ putera (เจ้าชาย)
การทำให้เป็นพหูพจน์
แก้โดยทั่วไปการแสดงพหูพจน์ใช้การซ้ำคำ ตัวอย่างเช่น ถ้วย 1 ใบ ใช้ cawan ถ้วยหลายใบใช้cawan-cawan แต่ลดรูปเหลือ cecawan แต่บางคำมีข้อยกเว้นเช่น orang หมายถึงบุคคลแต่คำว่าประชาชนไม่ใช้ orang-orang แต่ใช้คำว่า rakyat แต่ถ้าหมายถึงคนหลายคนหรือคนเยอะใช้คำว่า ramai orang ,คน 1 พันคนใช้ seribu orang ซึ่งเป็นการใช้คำแสดงจำนวนแสดงรูปพหูพจน์
นอกจากใช้แสดงพหูพจน์แล้ว การซ้ำคำยังใช้สร้างคำใหม่ด้วย เช่น hati หมายถึงหัวใจหรือตับแล้วแต่บริบท hati-hati หมายถึงระวัง และมักใช้เป็นคำกริยา การซ้ำคำนี้ถือเป็นเรื่องยากสำหรับชาวต่างชาติที่เรียนภาษามลายู
คำกริยา
แก้ไม่มีการผันคำกริยาตามกาลหรือจำนวน ไม่มีเครื่องหมายแสดงกาล แต่มักบอกกาลโดยใช้คำกริยาวิเศษณ์แทน (เช่นเมื่อวานนี้) หรือตัวบ่งกาล เช่น sudah (พร้อมแล้ว) แต่ภาษามลายูมีระบบคำกริยาที่ซับซ้อนของปัจจัยเพื่อแสดงความหมายที่ต่างกันเล็กน้อยรวมทั้งแสดงผู้กระทำ ปัจจัยบางตัวถูกยกเว้นไม่ใช้ในการสนทนา
การเรียงลำดับคำ
แก้โดยทั่วไปเป็นแบบประธาน-กริยา-กรรม คำคุณศัพท์ คำสรรพนามชี้เฉพาะและสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของตามหลังคำนามที่ขยาย
คำยืม
แก้ภาษามลายูมีคำยืมจากภาษาอาหรับ (มักเป็นคำทางศาสนา) ภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต ภาษาทมิฬ ภาษาเปอร์เซีย ภาษาโปรตุเกส ภาษาดัตช์ ภาษาจีนบางสำเนียง คำยืมรุ่นใหม่ ๆ มักมาจากภาษาอังกฤษ โดยมากเป็นศัพท์วิทยาศาสตร์และศัพท์เทคนิค
ตัวอย่างคำศัพท์
แก้- stesen สเตเซน =สถานี
- tandas ตันดัซ = ห้องน้ำ
- restoran เรซโตรัน = ภัตตาคาร
- lapangan terbang ลาปางัน เตอร์บัง = ท่าอากาศยาน
- taman ตามัน = สวนสาธารณะ
- pergi, tiba/sampai เปอร์ฆี, ตีบา/ซัมปัย = ไป, ถึง
- saya/aku ซายา/อากู = ผม, ฉัน
- dia ดียา = เขาผู้หญิง/เขาผู้ชาย
- ia อียา = มัน (คน)
- mereka, dia orang เมอเรกา, ดียา โอรัง = เขาทั้งหลาย
- terima kasih เตอรีมา กาซิฮ์ = ขอบคุณ
- hari ini ฮารี อีนี = วันนี้
- besok เบโซะ = พรุ่งนี้
- malam ini มาลัม อีนี = คืนนี้
- semalam/kelmarin เซอมาลัม/เกิลมาริน = เมื่อวานนี้
- pelancong เปอลันจง = นักท่องเที่ยว
- tutup ตูตุป = ปิด
- buka บูกา = เปิด
- baik บัยอ์ = ดี
- jahat ฌาฮัต = เลว
- betul เบอตุล = ถูก
- salah ซาละฮ์ = ผิด
- sarapan ซาราปัน = อาหารเช้า
- makan tengah hari มากัน เตองะฮ์ ฮารี = อาหารเที่ยง
- mahal มาฮัล = แพง
- murah มูระฮ์ = ถูก
- panas ปานัซ = ร้อน
- sejuk เซอฌุ = หนาว
- makan malam มากัน มาลัม = อาหารเย็น
- kertas pembalut เกอร์ตัซ เปิมบาลุต = กระดาษห่อของ
- sikat ซีกัต = หวี
- pembersih เปิมเบอร์ซิฮ์ = ผงซักฟอก
- tas ตัซ = กระเป๋าเดินทาง
- sampul surat ซัมปุล ซูรัต = ซองจดหมาย
- hadiah ฮาดียะฮ์ = ของขวัญ
- topi โตปี = หมวก
- geretan เฆเรตัน = ไฟแช็ก
- jarum ฌารุม = เข็มเย็บผ้า
- syampu ชัมปู = แชมพูสระผม
- kasut กาซุต = รองเท้า
- sabun ซาบุน = สบู่
- berus gigi เบอรุซ ฆีฆี = แปรงสีฟัน
- ubat gigi อูบัต ฆีฆี = ยาสีฟัน
- payung ปายุง = ร่ม
- darah ดาระฮ์ = เลือด
- lukis ลูกิส = วาด
- buk/buku บูกู = หนังสือ
อิทธิพลของภาษามลายูในภาษาไทย
แก้ภาษามลายูมีอิทธิพลในภาษาไทยมาช้านาน โดยมีหลักฐานชัดเจนย้อนหลังไปอย่างน้อยในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏในปริบทต่าง ๆ ดังนี้
อ้างอิง
แก้- ↑ Mikael Parkvall, "Världens 100 största språk 2007" (The World's 100 Largest Languages in 2007), in Nationalencyklopedin
- ↑ Uli, Kozok (10 March 2012). "How many people speak Indonesian". University of Hawaii at Manoa. สืบค้นเมื่อ 20 October 2012.
James T. Collins (Bahasa Sanskerta dan Bahasa Melayu, Jakarta: KPG 2009) gives a conservative estimate of approximately 200 million, and a maximum estimate of 250 million speakers of Malay (Collins 2009, p. 17).
- ↑ "Kedah MB defends use of Jawi on signboards". The Star. 26 August 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2012.
- ↑ "Languages of ASEAN". สืบค้นเมื่อ 7 August 2017.
- ↑ "East Timor Languages". www.easttimorgovernment.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 30 July 2018.
- ↑ 10 ล้านคนในมาเลเซีย, 5 ล้านคนในอินโดนีเซียในฐานะ "ภาษามลายู" บวกกับอีก 260 ล้านคนในฐานะ "ภาษาอินโดนีเซีย" และอื่น ๆ
- ↑ Wardhana, Dian Eka Chandra (2021). "Indonesian as the Language of ASEAN During the New Life Behavior Change 2021". Journal of Social Work and Science Education. 1 (3): 266–280. doi:10.52690/jswse.v1i3.114. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-09. สืบค้นเมื่อ 29 January 2021.
- ↑ Ekkalak Max (2016-05-01). ""ปั้นเหน่ง" คำมลายูในราชสำนักสยาม" (Blog post). สืบค้นเมื่อ 2019-08-30.
อ่านเพิ่ม
แก้- Adelaar, K. Alexander (2004). "Where does Malay come from? Twenty years of discussions about homeland, migrations and classifications". Bijdragen tot de Taal-, Land- en Volkenkunde. 160 (1): 1–30. doi:10.1163/22134379-90003733. JSTOR 27868100.
- Edwards, E. D.; Blagden, C. O. (1931). "A Chinese Vocabulary of Malacca Malay Words and Phrases Collected between A. D. 1403 and 1511 (?)". Bulletin of the School of Oriental Studies, University of London. 6 (3): 715–749. doi:10.1017/S0041977X00093204. JSTOR 607205.
- B., C. O. (1939). "Corrigenda and Addenda: A Chinese Vocabulary of Malacca Malay Words and Phrases Collected between A. D. 1403 and 1511 (?)". Bulletin of the School of Oriental Studies, University of London. 10 (1). JSTOR 607921.
- Braginsky, Vladimir, บ.ก. (2013) [First published 2002]. Classical Civilizations of South-East Asia. Oxford: Routledge. ISBN 978-1-136-84879-7.
- Wilkinson, Richard James (1901–1903). A Malay-English Dictionary. Singapore: Kelly & Walsh.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- The list of Malay words and list of words of Malay origin at Wiktionary, the free dictionary and Wikipedia's sibling project
- Swadesh list of Malay words
- Digital version of Wilkinson's 1926 Malay-English Dictionary
- Pusat Rujukan Persuratan Melayu, online Malay language database provided by the Dewan Bahasa dan Pustaka
- Kamus Besar Bahasa Indonesia dalam jaringan (Online Great Dictionary of the Indonesian Language published by Pusat Bahasa, in Indonesian only)
- Dewan Bahasa dan Pustaka เก็บถาวร 2012-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Institute of Language and Literature Malaysia, in Malay only)
- The Malay Spelling Reform, Asmah Haji Omar, (Journal of the Simplified Spelling Society, 1989-2 pp. 9–13 later designated J11)
- Malay Chinese Dictionary
- Malay English Dictionary
- Malay English Translation