ฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ

ทีมฟุตบอลตัวแทนประเทศอังกฤษ
(เปลี่ยนทางจาก England national football team)

ฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนจากประเทศอังกฤษในการแข่งขันนานาชาติซึ่งลงแข่งขันมาตั้งแต่ ค.ศ. 1872 อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยสมาคมฟุตบอลอังกฤษซึ่งดูแลการแข่งขันฟุตบอลในประเทศอังกฤษ อังกฤษลงแข่งขันรายการของสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรปซึ่งอยู่ภายใต้ขอบข่ายอำนาจการกำดับดูแลโดยสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ[2] อังกฤษมีส่วนร่วมในรายการสำคัญสามรายการ ได้แก่: ฟุตบอลโลก, ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป และ ยูฟ่าเนชันส์ลีก มีสนามเหย้าคือสนามกีฬาเวมบลีย์ในกรุงลอนดอน และศูนย์ฝึกซ้อมอยู่ที่ศูนย์ฟุตบอลแห่งชาติเซนต์จอร์จพาร์ค ย่านเบอร์ตันอะพอนเทรนต์ โทมัส ทุคเคิลจะเข้ารับตำแหน่งผู้ฝึกสอนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2025[3]

ทีมชาติอังกฤษ
Shirt badge/Association crest
ฉายาThe Three Lions
สิงโตคำราม (ฉายาในภาษาไทย)
สมาคมสมาคมฟุตบอล
สมาพันธ์ยูฟ่า (ยุโรป)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนโทมัส ทุคเคิล
กัปตันแฮร์รี เคน
ติดทีมชาติสูงสุดปีเตอร์ ชิลตัน (125)
ทำประตูสูงสุดแฮร์รี เคน (68)
สนามเหย้าสนามกีฬาเวมบลีย์
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 5 ลดลง 1 (20 มิถุนายน 2024)[1]
อันดับสูงสุด3 (สิงหาคม ค.ศ. 2012)
อันดับต่ำสุด27 (กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติสกอตแลนด์ สกอตแลนด์ 0–0 อังกฤษ ธงชาติอังกฤษ
(Partick, สกอตแลนด์; 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1872)
ชนะสูงสุด
ธงชาติอังกฤษ อังกฤษ 13–0 ไอร์แลนด์ ธงชาติไอร์แลนด์
(เบลฟาสต์, ไอร์แลนด์; 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1882)
แพ้สูงสุด
ธงชาติฮังการี ฮังการี 7–1 อังกฤษ ธงชาติอังกฤษ
(บูดาเปสต์, ฮังการี; 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1954)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม15 (ครั้งแรกใน 1950)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (1966)
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
เข้าร่วม9 (ครั้งแรกใน 1968)
ผลงานดีที่สุดรองชนะเลิศ (2020, 2024)
ยูฟ่าเนชันส์ลีก รอบสุดท้าย
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 2019)
ผลงานดีที่สุดอันดับ 3, 2019

อังกฤษเป็นหนึ่งในสองชาติที่เก่าแก่ที่สุดในการแข่งขันนานาชาติร่วมกับสกอตแลนด์ ทั้งคู่ลงแข่งขันกันครั้งแรกใน ค.ศ. 1872 อังกฤษคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 1966 ในฐานะเจ้าภาพ ส่งผลให้เป็นหนึ่งในแปดชาติที่เคยคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก อังกฤษม��ส่วนร่วมในการแข่งขันฟุตบอลโลก 16 ครั้ง โดยคว้าอันดับ 4 ได้อีกสองครั้งในฟุตบอลโลก 1990 และ 2018 และยังไม่เคยชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป มีผลงานดีที่สุดคือการคว้ารองแชมป์สองสมัยติดต่อกันใน ค.ศ. 2020 และ 2024

อังกฤษไม่ได้รับสิทธิ์ให้ลงแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เนื่องจากไม่มีสถานะเป็นสมาชิกของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล โดยต้องลงแข่งขันในนามทีมสหราชอาณาจักรแทน อังกฤษถือเป็นชาติเดียวในโลกที่เคยคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกโดยไม่เคยคว้าแชมป์การแข่งขันระดับทวีป รวมทั้งเป็นชาติเดียวที่เคยคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกในฐานะประเทศที่ไม่มีอำนาจอธิปไตย อังกฤษมีชาติคู่ปรับได้แก่ ประเทศในสหราชอาณาจักร (สกอตแลนด์, เวลส์ และนอร์เทิร์นไอร์แลนด์) รวมถึงเยอรมนี, ฝรั่งเศส, อาร์เจนตินา และบราซิล

ประวัติทีม

แก้

ก่อตั้งทีม และ แชมป์ฟุตบอลโลก

แก้
 
ผู้เล่นทีมชาติอังกฤษ ก่อนลงแข่งขันกับสกอตแลนด์ ค.ศ. 1893

อังกฤษถือเป็นชาติที่มีประวัติของกีฬาฟุตบอลเก่าแก่ที่สุดชาติหนึ่ง โดยจัดตั้งทีมชาติขึ้นมาพร้อม ๆ กับสมาคมฟุตบอลหรือเอฟเอ และพร้อม ๆ กับทีมชาติสกอตแลนด์ ในวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1870 จากนั้นวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1872 ตัวแทนทีมชาติสกอตแลนด์จัดแข่งขันกับอังกฤษ ที่แฮมิลตันเครสเซนท์ ถือเป็นการแข่งขันระดับนานาชาตินัดแรก เพราะทั้งสองทีมถูกเลือกและมีการดำเนินกิจการแยกกันโดยอิสระ ไม่ได้ทำงานเป็นสมาคมเดียวกัน การแข่งขันจบลงด้วยผลเสมอ 0–0 จากนั้นตลอดระยะเวลา 40 ปีต่อมา อังกฤษจะจัดการแข่งขันนัดพิเศษ "บริติชโฮมแชมเปียนชิป" ระหว่างชาติในสหราชอาณาจักรสี่ชาติ คือ อังกฤษ, สกอตแลนด์, เวลส์ และไอร์แลนด์

แรกเริ่มเลยนั้น อังกฤษไม่มีสนามเหย้าถาวร อังกฤษเข้าเป็นสมาชิกสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่าใน ค.ศ. 1906 และได้ลงเล่นแข่งขันในระดับนานาชาติกับประเทศอื่น นอกเหนือจากในรายการบริติชโฮมแชมเปียนชิป เป็นครั้งแรก ในการแข่งขันรายการของภูมิภาคยุโรปกลางใน ค.ศ. 1908 จากนั้นใน ค.ศ. 1923 มีการเปิดใช้สนามกีฬาเวมบลีย์ที่เป็นสนามเหย้าของอังกฤษมาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ดี อังกฤษเคยมีความขัดแย้งกับฟีฟ่าและถอนตัวไปใน ค.ศ. 1928 ก่อนกลับเข้าร่วมอีกครั้งในปี ค.ศ. 1946 ทำให้ไม่ได้เล่นฟุตบอลโลก จนกระทั่ง ค.ศ. 1950 ที่อังกฤษแพ้แก่สหรัฐอเมริกา 0–1 ถือเป็นหนึ่งในการแข่งขันที่น่าอับอายในประวัติศาสตร์ของอังกฤษ

อังกฤษแพ้ต่อทีมอื่นในระดับนานาชาติครั้งแรกวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1949 เมื่อพวกเขาแพ้ต่อไอร์แลนด์ 0–2 ที่สนามกูดิสันพาร์ก 4 ปีต่อมา พวกเขาแพ้ต่อฮังการีไปถึง 3–6 ที่เวมบลีย์ และเมื่อกลับไปแข่งขันที่บูดาเปสต์ ก็พ่ายแพ้ไปถึง 1–7 นับเป็นความพ่ายแพ้ที่ขาดลอยที่สุดของอังกฤษมาถึงปัจจุบัน โดยหลังจบเกมอดีตผู้เล่นอย่าง ซิด โอเวน กล่าวว่า "มันเปรียบเสมือนพวกเขาลงแข่งขันกับทีมที่มาจากนอกโลก"[4]พวกเขาผ่านเข้ารอบก่อนรองชนะเลิศในฟุตบอลโลกได้เป็นครั้งแรกในฟุตบอลโลก 1954 ก่อนจะตกรอบโดยแพ้แชมป์อย่างอุรุกวัยด้วยผลประตู 2–4[5]

 
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ขณะมอบรางวัลจูลส์ ริเมต์ ให้แก่บ็อบบี มัวร์ หลังจบการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลโลก 1966 ซึ่งอังกฤษชนะเยอรมนีตะวันตก 4–2

แม้ว่า วอลเตอร์ วินเทอร์บ็อททัม จะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการทีมคนแรกอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1946 แต่การคัดเลือกผู้เล่นเพื่อลงแข่งขันยังถูกแทรกแซงโดยสมาคม จนกระทั่งการแต่งตั้งผู้จัดการทีมคนใหม่อย่าง อัล์ฟ แรมซีย์[6][7] อังกฤษคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 1966 ในฐานะเจ้าภาพ พวกเขาเอาชนะคู่ปรับอย่างอาร์เจนตินาในรอบก่อนรองชนะเลิศ 1–0 ตามด้วยการชนะโปรตุเกสในรอบรองชนะเลิศ 2–1 และในนัดชิงชนะเลิศที่จัดแข่งขันที่เวมบลีย์ พวกเขาเอาชนะคู่ปรับสำคัญอย่างเยอรมนีตะวันตกในช่วงต่อเวลาพิเศษ 4–2 โดย เจฟฟ์ เฮิร์สต์ กลายเป็นผู้เล่นคนแรกที่ทำแฮตทริกในฟุตบอลโลกรอบชิงชนะเลิศ[8] อังกฤษผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1968 และยุติเส้นทางด้วยการแพ้ยูโกสลาเวีย

อังกฤษลงแข่งขันฟุตบอลโลก 1970 ที่เม็กซิโกในฐานะแชมป์เก่า และครั้งนี้ต้องพบเยอรมนีตะวันตกอีกครั้งในรอบก่อนรองชนะเลิศ แม้พวกเขาจะออกนำไปก่อน 2–0 แต่จบลงด้วยความพ่ายแพ้ 2–3 ในช่วงต่อเวลาพิเศษ และจากผลงานย่ำแย่ซึ่งทีมไม่ผ่านเข้ารอบการแข่งขันสองรายการต่อมา ทั้งในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1972 และ ฟุตบอลโลก 1974 ส่งผลให้แรมซีย์ถูกยกเลิกสัญญา[9]

ดอน เรวีย์, รอน กรีนวูด และ บ็อบบี ร็อบสัน

แก้

ภายหลังการอำลาทีมของแรมซีย์ โจ เมอร์เซอร์ อดีตผู้เล่นคนสำคัญของเอฟเวอร์ตัน และอาร์เซนอล เข้ามาคุมทีมชั่วคราว 7 นัด ก่อนที่ดอน เรวีย์ จะเข้ามารับตำแหน่งต่อใน ค.ศ. 1974[10] แต่ทีมยังคงทำผลงานย่ำแย่ และไม่ได้ร่วมแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1976 และ ฟุตบอลโลก 1978[11] เรวีย์อำลาทีมและถูกแทนที่ด้วย รอน กรีนวูด และอังกฤษเริ่มมีผลงานที่ดีขึ้น โดยลงแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1980 โดยไม่แพ้ทีมใด แต่พวกเขากลับตกรอบแบ่งกลุ่ม[12] พวกเขาลงแข่งขันฟุตบอลโลก 1982 ที่สเปน พวกเขาผ่านรอบแบ่งกลุ่มรอบแรกด้วยการชนะสามนัดรวด รวมถึงการชนะทีมใหญ่อย่างฝรั่งเศส แต่ต้องยุติเส้นทางในรอบแบ่งกลุ่มรอบที่ 2 จาการเสมอสองนัดกับเยอรมนีตะวันตกและเจ้าภาพอย่างสเปน 0–0[13]

บ็อบบี ร็อบสันเข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการทีมระหว่าง ค.ศ. 1982 ถึง 1990 แม้อังกฤษจะไม่ได้เข้าร่วมฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1984 แต่พวกเขาเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศในฟุตบอลโลก 1986 โดยแพ้คู่ปรับอย่างอาร์เจนตินา 1–2 ซึ่งเป็นหนึ่งในการแข่งขันที่เป็นที่จดจำมากที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอล เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ประตูหัตถ์พระเจ้า โดย ดิเอโก มาราโดนาเข้าถึงบอลก่อนปีเตอร์ ชิลตัน ผู้รักษาประตูของอังกฤษ และได้ใช้มือซ้ายปัดลูกฟุตบอลเข้าประตูไป อาลี บิน นัสเซอร์ กรรมการชาวตูนิเซียมองไม่เห็น และได้ตัดสินให้ลูกนี้เป็นประตู[14][15] กองหน้าอังกฤษอย่าง แกรี ลินิเกอร์ เป็นผู้ทำประตูสูงสุดในรายการนี้จำนวน 6 ประตู[16]

อังกฤษทำผลงานย่ำแย่อีกครั้ง ด้วยการแพ้ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1988 ทุกนัด[17] ก่อนจะกลับมาทำผลงานดีที่สุดในฟุตบอลโลกนับตั้งแต่คว้าแชมป์ใน ค.ศ. 1966 ด้วยการคว้าอันดับ 4 ฟุตบอลโลก 1990 ที่อิตาลี พวกเขาแพ้คู่ปรับอย่างเยอรมนีตะวันตกไปอีกครั้งในรอบรองชนะเลิศ ภายหลังเสมอกันในเวลาปกติ 1–1 และแพ้การดวลจุดโทษ 3–4 ตามด้วยการแพ้เจ้าภาพอย่างอิตาลีในนัดชิงอันดับ 3 ด้วยผลประตู 1–2 แม้จะแพ้ แต่ผู้เล่นอังกฤษได้รับเหรียญรางวัลเช่นเดียวกับผู้เล่นอิตาลี จากการทำผลงานยอดเยี่ยมในรายการนี้แม้จะมีความคาดหวังไม่สูงนัก รวมถึงการแพ้เยอรมนีตะวันตกอย่างสูสี[18] พวกเข้าได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นเมื่อเดินทางกลับถึงอังกฤษ โดยความสำเร็จครั้งนี้ได้รับก���รฉลองด้วยขบวนพาเหรดบนถนน[19]

เกรแฮม เทย์เลอร์, เทอร์รี เวนาเบิลส์, เกล็น ฮอดเดิล และ เควิน คีแกน

แก้

ในช่วงทศวรรษ 1990 ทีมชาติอังกฤษมีการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการทีม 4 คนภายหลังการอำลาทีมของร็อบสัน เริ่มต้นด้วย เกรแฮม เทย์เลอร์[20] อังกฤษมีผลงานย่ำแย่ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1992 โดยไม่ชนะแม้แต่นัดเดียว โดยเสมอทีมแชมป์อย่างเดนมาร์ก และฝรั่งเศส ปิดท้ายด้วยการแพ้สวีเดน และไม่ผ่านรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 1994 จากการแพ้เนเธอร์แลนด์ที่รอตเทอร์ดาม ส่งผลให้เทย์เลอร์ลาออก ซึ่งเขาได้รับการวิจารณ์อย่างหนักในพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ ถึงความล้มเหลวด้านแท็คติก และการคัดเลือกผู้เล่น[21]

เทอร์รี เวนาเบิลส์ เข้ารับช่วงต่อระหว่าง ค.ศ. 1994–1996 ซึ่งอังกฤษเข้ารอบรองชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1996 ซึ่งเป็นผลงานที่ดีที่สุดเทียบเท่ากับ ค.ศ. 1968 แต่ก็แพ้เยอรมนีในการดวลจุดโทษไปอีกครั้ง[22] โดยกองหน้าอย่างแอลัน เชียเรอร์ เป็นผู้ทำประตูสูงสุดในการแข่งขันจำนวน 5 ประตู[23] และในรายการนี้อีกที่เพลง "Three Lions" ถูกนำมาใช้เพื่อเชียร์ทีมชาติอังกฤษ โดยมีท่อนหนึ่งที่ถือเป็นวลีเด็ดมาถึงปัจจุบันคือ "it's coming home" เพื่อสร้างความฮึกเหิม และปลุกใจให้นักเตะอังกฤษคว้าถ้วยรางวัลระดับเมเจอร์กลับสู่ประเทศอีกครั้ง หลังจากห่างหายความสำเร็จมายาวนานนับตั้งแต่ฟุตบอลโลก 1966 เวนาเบิลส์ประกาศตั้งแต่ก่อนเริ่มการแข่งขันรายการนี้ ว่าเขาจะอำลาตำแหน่งหลังจบรายการ จากคดีความส่วนตัวซึ่งเขาต้องถูกตรวจสอบธุรกรรมทางการเงิน และมีกำหนดเข้ารับการพิจารณาในชั้นศาล และจากปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้สมาคมฟุตบอลอังกฤษประกาศต่อสาธารณะว่า เวนาเบิลส์มีตำแหน่งเป็นเพียงหัวหน้าผู้ฝึกสอน ไม่ใช่ผู้จัดการทีม[24][25]

เกล็น ฮอดเดิล ผู้จัดการทีมคนต่อมา พาทีมลงแข่งขันฟุตบอลโลก 1998 ที่ฝรั่งเศส อังกฤษผ่านรอบแบ่งกลุ่มจากการมี 6 คะแนน เข้ารอบในฐานะทีมอันดับสอง ก่อนจะแพ้อาร์เจนตินาในรอบต่อมาจากการดวลจุดโทษ หลังจากเสมอกันในเวลาปกติ 2–2 ฮอดเดิลถูกปลดในปีต่อมา จากกรณีพาดพิงและแสดงความคิดเห็นในเชิงลบต่อผู้พิการในหนังสือพิมพ์[26] ฮาวเวิร์ด วิลกินสัน เข้ามารักษาการในการแข่งขันสองนัดถัดมา และเควิน คีแกน เข้ามารับช่วงต่อและพาทีมลงแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2000 ซึ่งอังกฤษพบความล้มเหลวอีกครั้งจากการตกรอบแบ่งกลุ่ม ด้วยการชนะ 1 นัดต่อเยอรมนี และแพ้โปรตุเกส และ โรมาเนีย 2–3 ทั้งสองนัด ทำให้คีแกนลาออก[27]

โกลเดน เจเนเรอชัน

แก้
 
ผู้เล่นอังกฤษในฟุตบอลโลก 2006 เรียงจากซ้ายไปขวา: ไมเคิล โอเวน, ปีเตอร์ เคราช์, จอห์น เทร์รี, แฟรงก์ แลมพาร์ด, สตีเวน เจอร์ราร์ด, แกรี เนวิล, แอชลีย์ โคล, ริโอ เฟอร์ดินานด์, พอล โรบินสัน และ เดวิด เบคแคม ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในชุดผู้เล่นที่ดีที่สุดของอังกฤษ

ปีเตอร์ เทย์เลอร์ เข้ามารักษาการในช่วงสั้น ๆ ก่อนที่สเวน-เยอราน เอริกซอน ผู้จัดการทีมชาวสวีเดนจะเข้ามารับตำแหน่งต่อ ถือเป็นผู้จัดการทีมต่างชาติคนแรกที่ได้คุมทีมชาติอังกฤษ[28] ในทศวรรษนี้ ถือเป็นช่วงที่อังกฤษมีผู้เล่นชื่อดังหลายคนเข้ามาเป็นกำลังหลักในทีมชุดใหญ่ โดยเป็นจุดเริ่มต้นของยุคทอง หรือ "โกลเดน เจเนอเรชัน" ด้วยผู้เล่น อาทิ ไมเคิล โอเวน, เดวิด เบคแคม, พอล สโกลส์, เวย์น รูนีย์, สตีเวน เจอร์ราร์ด และ แฟรงก์ แลมพาร์ด พวกเขาเกือบจะไม่ผ่านรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2002 โดยต้องลุ้นถึงนัดสุดท้ายซึ่งพวกเขาเสมอกรีซ 2–2 จากการยิงฟรีคิกของเบคแคมในช่วงท้ายเกม และในการแข่งขันรอบสุดท้าย แม้จะเอาชนะเดนมาร์ก 3–0 ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย แต่พวกเขาแพ้บราซิลที่คุมทีมโดยลุยส์ ฟิลิปเป สโกลารี 1–2 ในรอบก่อนรองชนะเลิศแม้จะออกนำไปก่อนจากประตูของโอเวน ต่อมา ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2004 พวกเขาตกรอบก่อนรองชนะเลิศจากการแพ้จุดโทษเจ้าภาพอย่างโปรตุเกสที่คุมทีมโดยสโกลารีอีกครั้ง และเอริกซอนต้องแพ้สโกลารีเป็นครั้งที่ 3 ติดต่อกันในรายการเมเจอร์ จากการแพ้จุดโทษโปรตุเกสไปอีกครั้งในรอบก่อนรองชนะเลิศฟุตบอลโลก 2006 ภายหลังเสมอกัน 0–0 และเอริกซอนประกาศอำลาตำแหน่ง

สตีฟ แม็คคลาเรน เข้ามารับตำแหน่งต่อ แต่อยู่ได้เพียง 18 เดือน หลังจากล้มเหลวในการพาทีมผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008[29] เขาได้รับการวิจารณ์อย่างหนักในการแข่งขันนัดสุดท้ายของรอบคัดเลือก ที่อังกฤษเปิดบ้านแพ้โครเอเชียด้วยผลประตู 2–3[30] โดยเฉพาะการเลือกใช้งานผู้รักษาประตูอย่าง สกอตต์ คาร์สัน ที่ขาดประสบการณ์ในเกมระดับใหญ่ และก่อความผิดพลาดซึ่งนำไปสู่การเสียประตูแรก[31]

ฟาบีโอ กาเปลโล ผู้จัดการทีมชื่อดังชาวอิตาลีเข้ามารับตำแหน่งในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2007 ถือเป็นผู้จัดการทีมต่างชาติคนที่สองที่คุมทีมชาติอังกฤษ ในฟุตบอลโลก 2010 อังกฤษได้รับความคาดหวังในฐานะหนึ่งในทีมเต็งแชมป์ พวกเขามีผลงานชนะ 1 และ เสมอ 2 นัดในรอบแบ่งกลุ่ม แต่ยุติเส้นทางในรอบต่อมาจากการแพ้เยอรมนีขาดลอย 1–4 ซึ่งในนัดนี้มีกรณีปัญหาเมื่อ แฟรงก์ แลมพาร์ดทำประตูได้โดยยิงลูกฟุตบอลไปโดนคาน และตกลงมาข้ามเส้นไปแล้ว แต่ผู้ตัดสินไม่ให้ประตู ซึ่งหากลูกนั้นถูกนับเป็นประตูจะทำให้อังกฤษตีเสมอเป็น 2–2 จากเหตุการณ์ดังกล่าวซึ่งถูกนำไปรวมกับความผิดพลาดในการตัดสินหลายครั้งในรายการนี้ นำไปสู่การออกมาขอโทษโดยเซ็พ บลัทเทอร์ ประธานฟีฟ่าในขณะนั้น และเป็นจุดเริ่มต้นในการหารือเพื่อนำเทคโนโลยีโกลไลน์มาใช้ในการแข่งขันฟุตบอลสมัยใหม่[32]การแพ้ครั้งนี้ยังถือเป็นการแพ้ที่ขาดลอยที่สุดในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายของอังกฤษ

กาเปลโลได้โอกาสคุมทีมต่อเนื่องในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 รอบคัดเลือก ซึ่งอังกฤษทำผลงานยอดเยี่ยม แต่กาเปลโลประกาศอำลาตำแหน่งในเดือนกุมภาพันธ์ จากความขัดแย้งกับสมาคมในกรณีปลดจอห์น เทร์รีจากการเป็นกัปตันทีม สืบเนื่องจากเหตุการณ์การเหยียดผิวในการแข่งขันพรีเมียร์ลีก[33] สจ๊วร์ต เพียร์ซ เข้ามารักษาการต่อ ก่อนที่ รอย ฮอดจ์สันจะพาทีมเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 แต่ก็เป็นอีกครั้งที่พวกเขาแพ้การดวลจุดโทษ โดยในครั้งนี้แพ้อิตาลีหลังจากเสมอกัน 0–0 ต่อมา อังกฤษตกรอบแบ่งกลุ่มฟุตบอลโลก 2014 นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ฟุตบอลโลก 1958 ที่พวกเขาไม่ผ่านรอบแบ่งกลุ่ม[34] ตามด้วยการตกรอบ 16 ทีมสุดท้ายฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 ด้วยการแพ้ไอซ์แลนด์[35] แซม อัลลาร์ไดซ์ เข้ามาคุมทีมต่อแต่อยู่ในตำแหน่งได้เพียง 67 วันต้องลาออก จากกรณีเหตุการณ์อื้อฉาวที่เขาถูกกล่าวหาว่าใช้ตำแหน่งหน้าที่เรียกรับสินบน และกล่าวถ้อยคำที่ไม่เหมาะสมต่อสมาคม ส่งผลให้เขาเป็นผู้จัดการทีมชาติอังกฤษที่มีเวลาอยู่ในตำแหน่งสั้นที่สุด[36]

แกเร็ท เซาท์เกต

แก้
 
หมวกที่ระลึกที่สมาคมมอบให้ แฮร์รี เคน ในโอกาสลงสนามให้ทีมชาติครบ 58 นัด

แกเร็ท เซาท์เกต ผู้ฝึกสอนทีมชาติอังกฤษรุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี ได้รับการแต่งตั้งชั่วคราวจนสิ้นสุดเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2016 แต่ได้รับสัญญาระยะยาวในเวลาต่อมา[37] เขาพาอังกฤษเข้าถึงรอบรองชนะเลิศฟุตบอลโลก 2018 อังกฤษผ่านรอบแบ่งกลุ่มจากการชนะ 2 และแพ้ 1 นัด ตามด้วยการชนะจุดโทษโคลอมเบียในรอบ 16 ทีมสุดท้าย นับเป็นครั้งแรกที่พวกเขาชนะการยิงจุดโทษคู่แข่งในฟุตบอลโลก ตามด้วยการชนะสวีเดนในรอบก่อนรองชนะเลิศ[38] แต่แพ้โครเอเชียในการต่อเวลาพิเศษ 1–2[39] และแพ้เบลเยียมในนัดชิงอันดับ 3[40] แฮร์รี เคน ได้รับรางวัลรองเท้าทองคำจากการเป็นผู้ทำประตูสูงสุดในการแข่งขันครั้งนี้จำนวน 6 ประตู[41]

อังกฤษลงแข่งขันระดับทางการครบ 1,000 นัด ในวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019 และพวกเขาเอาชนะมอนเตเนโกร 7–0 ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 รอบคัดเลือก และในการแข่งขันรอบสุดท้าย พวกเขาเข้าชิงชนะเลิศได้เป็นครั้งแรก ด้วยการเป็นอันดับ 1 ในรอบแบ่งกลุ่ม (ชนะโครเอเชีย, เสมอสกอตแลนด์ และชนะเชกเกีย) ตามด้วยการชนะเยอรมนีในรอบ 16 ทีมสุดท้าย 2–0 และชนะยูเครนในรอบก่อนรองชนะเลิศ 4–0 และชนะเดนมาร์กในรอบรองชนะเลิศในช่วงต่อเวลา 2–1 แต่พวกเขาต้องพลาดแชมป์จากการแพ้จุดโทษอิตาลีในรอบชิงชนะเลิศภายหลังเสมอกันในเวลา 1–1 ต่อมา ในฟุตบอลโลก 2022 อังกฤษเข้ารอบในฐานะแชมป์กลุ่ม รวมถึงการเอาชนะอิหร่าน 6–2 พวกเขาเอาชนะเซเนกัลในรอบ 16 ทีมสุดท้าย 3–0[42] แต่แพ้ฝรั่งเศสในรอบก่อนรองชนะเลิศ 1–2[43] ในนัดนี้ แฮร์รี เคนยังทำครบ 53 ประตูให้แก่อังกฤษทาบสถิติสูงสุดตอลดกาลของเวย์น รูนีย์ อังกฤษทำผลงานย่ำแย่ในยูฟ่าเนชันส์ลีก ฤดูกาล 2022–23 โดยอยู่กลุ่มเอ 3 และไม่สามารถคว้าชัยชนะได้เลยจากการลงแข่งขัน 6 นัดและมีเพียงสามคะแนน ส่งผลให้พวกเขาตกชั้นสู่ลีกบีในฤดูกาลถัดไป

ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024 อังกฤษผ่านรอบแบ่งกลุ่มจากการมี 5 คะแนน ตามด้วยการชนะสโลวาเกียในช่วงต่อเวลาพิเศษ 2–1 ซึ่งนัดนี้ กองกลางคนสำคัญอย่างจูด เบลลิงงัม ยังทำประตูได้ในช่วงท้ายเกมจากการยิงลูกจักรยานอากาศอย่างสวยงาม และอังกฤษชนะจุดโทษสวิตเซอร์แลนด์ในรอบต่อมา ภายหลังเสมอกัน 1–1[44] และชนะเนเธอร์แลนด์ในรอบรองชนะเลิศ 2–1[45] ผ่านเข้าชิงชนะเลิศได้เป็นสมัยที่สองติดต่อกัน แต่พวกเขาต้องผิดหวังอีกครั้งจากการแพ้สเปน 1–2 แฮร์รี เคน เป็นหนึ่งในผู้ทำประตูสูงสุดจำนวน 3 ประตู ร่วมกับผู้เล่นอีก 5 คน[46] แม้สมาคมฟุตบอลอังกฤษยินดีที่จะขยายสัญญาคุมทีมกับเซาท์เกต แต่เขาประกาศลงจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 2024 ให้เหตุผลว่า "ถึงเวลาของการเปลี่ยนแปลง"[47] และลี คาร์สลีย์ เข้ามาคุมทีมชั่วคราว

ต่อมา ในวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 2024 ทีมชาติอังกฤษประกาศว่า โทมัส ทุคเคิล ซึ่งประสบความสำเร็จกับไบเอิร์นมิวนิก และพาเชลซีคว้าแชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก จะมารับตำแหน่งผู้จัดการทีมในเดือนมกราคม ค.ศ. 2025 เขาถือเป็นผู้จัดการทีมต่างชาติรายที่สามที่ได้คุมทีมชาติอังกฤษ ในการแข่งขันยูฟ่าเนชันส์ลีก ฤดูกาล 2024–25 อังกฤษอยู่ในลีกบีกลุ่มบี 2 และผ่านเข้ารอบในฐานะแชมป์กลุ่มจากการชนะ 5 จาก 6 นัด ส่งผลให้พวกเขาจะลงแข่งขันในลีกเอฤดูกาล 2026–27

สนาม

แก้
 
สนามกีฬาเวมบลีย์ในกรุงลอนดอน

ในช่วง 50 ปีแรกของการก่อตั้งทีม อังกฤษใช้สนามหลายแห่งเป็นสนามเหย้า รวมถึงสนามสำหรับแข่งขันคริกเกต ก่อนจะย้ายมาใช้สนามฟุตบอลในเวลาต่อมา สนามที่มีชื่อเสียงที่เป็นที่รู้จักคือสนามกีฬาเวมบลีย์ (1923) ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่จัดนิทรรศกาลแสดงความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิบริติช[48] อังกฤษลงแข่งขันครั้งแรกในสนามของตนเองใน ค.ศ. 1924 พบสก็อตแลนด์[49] และนับเป็นเวลาอีก 27 ปีต่อมาที่สนามกีฬาเวมบลีย์ถูกใช้เพื่อแข่งขันระหว่างอังกฤษและสก็อตแลนด์เท่านั้น และกลายเป็นสนามเหย้าอย่างถาวรของอังกฤษในทศวรรษ 1950 สนามกีฬาแห่งนี้ถูกรื้อถอนในช่วง ค.ศ. 2002–03 และเริ่มสร้างใหม่ทั้งหมด ในช่วงเวลานั้น อังกฤษต้องย้ายไปเล่นที่สนามหลายแห่งเพื่อรองรับการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 รอบคัดเลือก โดยมีสนามหลักคือโอลด์แทรฟฟอร์ด ของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด และลงเล่นที่เซนต์เจมส์พาร์กของนิวคาสเซิลยูไนเต็ด ในกรณีที่โอลด์แทรฟฟอร์ดไม่พร้อมใช้งาน สนามกีฬาเวมบลีย์แห่งใหม่ ถูกใช้งานครั้งแรกในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2007 ในการแข่งขันกระชับมิตรซึ่งอังกฤษเสมอบราซิล 1–1

เอกลักษณ์ประจำทีม

แก้

ตราสัญลักษณ์

แก้
 
สัญลักษณ์ของทีมชาติอังกฤษคือสิงโตซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำพระองค์ของพระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ

สัญลักษณ์ของทีมชาติอังกฤษก็คือสิงโตสามตัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำพระองค์ของพระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ ซึ่งครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 1189 ถึง 1199[50] โดยใน ค.ศ. 1872 ผู้เล่นอังกฤษสวมเสื้อสีขาวพร้อมสัญลักษณ์สิงโตสามตัวของสมาคมฟุตบอลเป็นครั้งแรก[51] และตลอดหลายทศวรรษตราสิงโตบนเสื้อแข่งขันมักเป็นสีน้ำเงินโดยอาจมีการเปลี่ยนแปลงโทนสีและรูปลักษณ์เล็กน้อย[52] ในช่วงแรก สัญลักษณ์รูปสิงโตมาพร้อมกับรูปมงกุฎสวมอยู่ด้านบน และถูกยกเลิกใน ค.ศ. 1949 หลังจากสมาคมฟุตบอลอังกฤษได้รับตราสัญลักษณ์ประจำสมาคมอย่างเป็นทางการ��ากวิทยาลัยการทหาร และเป็นที่มาของรูปดอกกุหลาบทิวดอร์จำนวน 10 ดอกล้อมรอบสิงโตทั้งสามตัว โดยดอกกุหลาบทั้ง 10 สื่อถึงภูมิภาคต่าง ๆ ในประเทศอังกฤษที่อยู่ใต้การกำกับดูแลโดยสมาคม[53]

นับ���ั้งแต่ ค.ศ. 2003 สัญลักษณ์ทีมชาติอังกฤษมีดาวหนึ่งดวงอยู่บนสิงโต ซึ่งดาวนี้เป็นตัวแทนของการระลึกถึงความสำเร็จในฟุตบอลโลก 1966 มีการใช้ครั้งแรกบริเวณแขนซ้ายด้านซ้ายของเสื้อทีมเหย้า ก่อนจะเปลี่ยนเป็นตำแหน่งปัจจุบันในเวลาต่อมา และมีการใช้ครั้งแรกกับเสื้อทีมเยือน[54]

 
เสื้อสีแดงในฟุตบอลโลก 1966 รอบชิงชนะเลิศ

โดยปกติเสื้อทีมเหย้าของอังกฤษคือเสื้อสีขาว กางเกงสีน้ำเงิน (บางครั้งอาจใช้โทนสีกรมท่า) พร้อมถุงเท้าสีขาวหรือสีดำ มีการใช้ชุดแข่งทีมเหย้าสีขาวล้วนบ้างในบางนัด แม้เสื้อทีมเยือนชุดแรกที่มีการใช้จะเป็นสีน้ำเงิน แต่ในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนเป็นสีแดง และเป็นสีหลักสำหรับชุดทีมเยือนยาวนานหลายทศวรรษ โดยทีมเยือนจะใช้กางเกงสีขาวและถุงเท้าสีแดงซึ่งทั้งสองสีคือสีของธงชาติอังกฤษ มีการเปลี่ยนสีเสื้อทีมเยือนครั้งแรกในปี 1996 ซึ่งอังกฤษสวมเสื้อสีเทาลงแข่งขันกับเยอรมนีในรอบรองชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1996 แต่ไม่ได้รับความนิยมจากแฟนบอล ทำให้อังกฤษกลับมาใช้เสื้อสีแดงในฐานะทีมเยือนเรื่อยมาถึง ค.ศ. 2011 ก่อนจะเปิดตัวชุดทีมเยือนสีกรมท่าซึ่งใช้งานบ่อยครั้งมาถึงปัจจุบัน

อังกฤษมีการใช้งานชุดแข่งแบบที่ 3 บ้างในบางรายการ เช่น ฟุตบอลโลก 1970 เมื่อพวกเขาสวมเสื้อสีฟ้าอ่อนลงแข่งขันกับเชโกสโลวาเกีย พวกเขายังเคยมีชุดแข่งที่โทนสีคล้ายทีมชาติบราซิลเช่นกัน โดยในฤดูร้อนปี 1973 อังกฤษใช้เสื้อและถุงเท้าสีเหลือง ต่อมาในฟุตบอลโลก 1986 อังกฤษมีชุดแข่งชุดที่ 3 เป็นสีฟ้าอ่อนซึ่งถอดแบบมาจากชุดที่ใส่แข่งขันในเม็กซิโกเมื่อ 16 ปีก่อนหน้านั้น และพวกเขายังคงใช้สีฟ้าอ่อนเป็นชุดแข่งแบบที่ 3 จนถึงปี 1992 แต่ไม่ค่อยสวมใส่บ่อยนัก

คู่แข่ง

แก้
 
การแข่งขันระหว่างอังกฤษและสกอตแลนด์ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1879 โดยอังกฤษเป็นฝ่ายชนะ 5–4 ณ สนามดิโอวัล กรุงลอนดอน
 
ดิเอโก มาราโดนา ขณะเลี้ยงลูกบอลผ่านปีเตอร์ ชิลตัน เข้าไปทำประตูในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1986 ซึ่งอาร์เจนตินาชนะอังกฤษ 2–1 ในนัดนี้ยังเกิดเหตุการณ์ประวัติศาสตร์คือ "ประตูหัตถ์พระเจ้า"

สกอตแลนด์, เยอรมนี และอาร์เจนตินา ถือเป็นคู่ปรับสำคัญของอังกฤษ[55] ชาติอื่น ๆ อย่างฝรั่งเศส, เวลส์ และไอร์แลนด์ถือเป็นหนึ่งในคู่ปรับ และได้รับการจับตามองในทุก ๆ การแข่งขันเช่นกัน[56] [57][58] การแข่งขันระหว่างอังกฤษและสกอตแลนด์ได้รับการยอมรับให้เป็นหนึ่งในการแข่งขันระดับนานาชาติที่ดุเดือดที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่[59] การพบกันครั้งแรกของทั้งสองทีมใน ค.ศ. 1872 ที่กลาสโกว์ได้รับการบันทึกเป็นการแข่งขันนานาชาติที่เก่าแก่ที่สุด[60] ปัจจัยต่าง ๆ อาทิ ความเป็นปฏิปักษ์ทางประวัติศาสตร์ การเมือง และวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประวัติศาสตร์หมู่เกาะอังกฤษหล่อหลอมให้ความเป็นอริของทั้งสองชาติเข้มข้นมาหลายศตวรรษ ลัทธิชาตินิยมของสกอตแลนด์ยังเป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งส่งผลให้ชาวสกอตมีความ "ปรารถนาอย่างแรงกล้า" ที่จะเอาชนะอังกฤษเหนือคู่แข่งอื่น ๆ โดยนักข่าวกีฬาชาวสกอตมักเรียกทีมชาติอังกฤษว่าเป็น "ศัตรูออลด์"[61]

การแข่งขันในรายการสำคัญของทั้งคู่ลดน้อยลงนับตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1970 โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่การแข่งขันประจำปียุติลงในปี 1989 แม้แฟนบอลชาวสกอตจะมีแรงกระตุ้นทุกครั้งที่พบกับอังกฤษ แต่สำหรับชาวอังกฤษแล้ว การแข่งขันกับเยอรมนีและอาร์เจนตินาตลอดหลายทศวรรษที��ผ่านมา มีความสำคัญมากกว่าการแข่งขันทางประวัติศาสตร์กับสกอตแลนด์[62]

การแข่งขันระหว่างอังกฤษและเยอรมนีมีความดุเดือดจนอาจเรียกได้ว่าเป็น "ปรากฏการณ์" ก่อนการแข่งขันครั้งสำคัญทุกครั้งจะเริ่มต้นขึ้น สื่อในสหราชอาณาจักรจะนำเสนอข้อมูลที่อ้างถึงการแข่งขันครั้งก่อน ๆ เช่น ฟุตบอลโลก 1966 ซึ่งอังกฤษเอาชนะเยอรมนีตะวันตก คว้าแชมป์โลกสมัยแรก รวมถึงการแพ้เยอรมนีในการดวลจุดโทษรอบรองชนะเลิศฟุตบอลโลก 1990 และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1996[63][64] การแข่งขันลดความดุเดือดลงในช่วงที่ผ่านมา[65] เยอรมนีมองว่าอิตาลี, เนเธอร์แลนด์, ฝรั่งเศส และสเปนกลายเป็นคู่แข่งหลัก บาร์นีย์ โรเนย์ นักข่าวชาวอังกฤษแสดงทรรศนะไว้เมื่อปี 2021 ว่าในช่วหลังมานี้ การแข่งขันระหว่างทั้งสองทีม “ไม่ใช่การแข่งขันที่สูสีกันเลย หากเรายอมรับคำจำกัดความถึงมาตรฐานความสำเร็จของทั้งสองทีม เยอรมนีคว้าแชมป์รายการสำคัญมาแล้ว 7 รายการ" และนับตั้งแต่แพ้ในรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลโลก 1966 เยอรมนีผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศ (เป็นอย่างน้อย) ในรายการสำคัญอย่างฟุตบอลโลกและฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปได้ถึง 15 ครั้ง[66]

การแข่งขันครั้งสำคัญของทั้งสองทีมนับตั้งแต่ทศวรรษ 2000 เช่นฟุตบอลโลก 2010 ซึ่งเยอรมนีเอาชนะอังกฤษด้วยผลประตู 4–1 นับเป็นความพ่ายแพ้ที่มากที่สุดของอังกฤษในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 รอบแพ้คัดออก ซึ่งอังกฤษเป็นฝ่ายชนะ 2–0 ทั้งสองทีมพบกันอีกสองนัดในยูฟ่าเนชันส์ลีก ฤดูกาล 2022–23 ลีกเอ และลงเอยด้วยการเสมอกันทั้งสองนัด ผลงานการพบกันทุกรายการนับว่าสูสีมาก โดยอังกฤษเป็นฝ่ายชนะ 14 ครั้ง เสมอกัน 10 ครั้งและเยอรมนีชนะ 15 ครั้ง

การแข่งขันระหว่างอังกฤษและอาร์เจนตินาก็มีความเข้มข้นสูงเช่นกัน แม้การแข่งขันในบางครั้งไม่มีผลต่อการแย่งความสำเร็จ เช่น เกมกระชับมิตร แต่ก็ได้รับการจับตามองเช่นกัน ประตูหัตถ์พระเจ้าโดยดิเอโก มาราโดนาในฟุตบอลโลก 1986 เป็นหนึ่งในบาดแผลทางใจของอังกฤษ และหนึ่งในเหตุการณ์ที่เป็นที่จดจำมากที่สุดในประวัติศาสตร์การแข่งขันกีฬา[67] ความเป็นอริทางฟุตบอลของทั้งสองชาติถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์อันน่าประหลาด เนื่องด้วยตามปกติแล้ว ชาติที่เป็นอริกันในการแข่งขันมักมีเหตุผลทางด้านประวัติศาสตร์ การเมือง การมีพรมแดนหรือตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน แต่ทั้งอังกฤษและอาร์เจนตินาต่างอยู่คนละทวีปกัน ชาวอาร์เจนตินายกให้อังกฤษเป็นหนึ่งในคู่แข่งที่สำคัญที่สุดสามลำดับแรกต่อจากบราซิลและอุรุกวัย แม้ว่าการแข่งขันระหว่างอังกฤษและเยอรมนีจะมีความสำคัญในความรู้สึกของแฟนบอลอังกฤษมากกว่า และทั้งสองทีมพบกันเพียง 14 ครั้งตลอดครึ่งหลังของช่วงศตวรรษที่ 20 เหตุการณ์นอกสนามเช่น สงครามฟอล์กแลนด์ใน ค.ศ. 1982 ส่งผลให้บรรยากาศความเป็นอริดุเดือดยิ่งขึ้น ทั้งสองทีมยังไม่พบกันอีกเลยนับตั้งแต่เกมกระชับมิตรในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2005 ซึ่งอังกฤษชนะ 3–2[68] ในภาพรวม อาร์เจนตินาเอาชนะอังกฤษได้เพียง 3 นัดเท่านั้นจากการพบกัน 14 ครั้ง

ผลงาน

แก้

  ชนะเลิศ    รองชนะเลิศ    อันดับที่ 3     อันดับที่ 4  

สถิติในฟุตบอลโลก สถิติในฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก ผู้จัดการทีม
ปี ค.ศ. ผลลัพธ��� อันดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย
  1930 ไม่ได้เป็นสมาชิกฟีฟ่า ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน ไม่มี
  1934 ไม่ได้เป็นสมาชิกฟีฟ่า
  1938
  1950 รอบแบ่งกลุ่ม อันดับ 8 3 1 0 2 2 2 3 3 0 0 14 3 วินเทอร์บอตตอม
  1954 รอบ 8 ทีมสุดท้าย อันดับ 7 3 1 1 1 8 8 3 3 0 0 11 4
  1958 รอบแบ่งกลุ่ม อันดับ 11 4 0 3 1 4 5 4 3 1 0 15 5
  1962 รอบ 8 ทีมสุดท้าย อันดับ 8 4 1 1 2 5 6 4 3 1 0 16 2
  1966 ชนะเลิศ อันดับ 1 6 5 1 0 11 3 เข้ารอบในฐานะเจ้าภาพ แรมซีย์
  1970 รอบ 8 ทีมสุดท้าย อันดับ 8 4 2 0 2 4 4 เข้ารอบฐานะแชมป์เก่า แรมซีย์
  1974 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 4 1 2 1 3 4
  1978 6 5 0 1 15 4 เรวี
  1982 รอบแบ่งกลุ่มรอบ 2 อันดับ 6 5 3 2 0 6 1 8 4 1 3 13 8 กรีนวู้ด
  1986 รอบ 8 ทีมสุดท้าย อันดับ 8 5 2 1 2 7 3 8 4 4 0 21 2 ร็อบสัน
  1990 อันดับที่ 4 อันดับที่ 4 7 3 3 1 8 6 6 3 3 0 10 0
  1994 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 10 5 3 2 26 9 เทย์เลอร์
  1998 รอบ 16 ทีมสุดท้าย อันดับที่ 9 4 2 1 1 7 4 8 6 1 1 15 2 ฮอดเดิ้ล
    2002 รอบ 8 ทีมสุดท้าย อันดับที่ 6 5 2 2 1 6 3 8 5 2 1 16 6 คีแกน, วิลกินสัน, เอริกซอน[69]
  2006 อันดับที่ 7 5 3 2 0 6 2 10 8 1 1 17 5 เอริกซอน
  2010 รอบ 16 ทีมสุดท้าย อันดับที่ 13 4 1 2 1 3 5 10 9 0 1 34 6 กาเปลโล
  2014 รอบแบ่งกลุ่ม อันดับที่ 26 3 0 1 2 2 4 10 6 4 0 31 4 ฮอดจ์สัน
  2018 อันดับที่ 4 อันดับที่ 4 7 3 1 3 12 8 10 8 2 0 18 3 อัลลาไดซ์, เซาธ์เกต[70]
  2022 รอบก่อนรองชนะเลิศ อันดับที่ 6 5 3 1 1 13 4 10 8 2 0 39 3 เซาท์เกต
รวม ชนะเลิศ 1 สมัย 16/22 74 32 22 20 104 68 122 84 27 11 314 70

  ชนะเลิศ    รองชนะเลิศ    อันดับที่ 3,ผ่านเข้าถึงรอบรองชนะเลิศ  

สถิติฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป สถิติฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปรอบคัดเลือก ผู้จัดการทีม
ปี ค.ศ. รอบ อันดับ ม. ช. ส.* พ. ประตูได้ ประตูที่เสีย จำนวนนัด ช. ส. พ. ประตูได้ ประตูที่เสีย
  1960 ไม่ได้เข้าร่วม  –  –  –  –  –  –
  1964 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 2 0 1 1 3 6 วินเทอร์บอตตอม, แรมซีย์[71]
  1968 อันดับ 3 3rd of 4 2 1 0 1 2 1 8 6 1 1 18 6 แรมซีย์
  1972 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก[72] 8 5 2 1 16 6 แรมซีย์
  1976 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 6 3 2 1 11 3 เรวี
  1980 รอบแบ่งกลุ่ม 6th of 8 3 1 1 1 3 3 8 7 1 0 22 5 กรีนวู้ด
  1984 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 8 5 2 1 23 3 ร็อบสัน
  1988 รอบแบ่งกลุ่ม 7th of 8 3 0 0 3 2 7 6 5 1 0 19 1
  1992 รอบแบ่งกลุ่ม 7th of 8 3 0 2 1 1 2 6 3 3 0 7 3 เทย์เลอร์
  1996 รอบรองชนะเลิศ 3rd of 16 5 2 3 0 8 3 เข้ารอบในฐานะเจ้าภาพ เวนาเบิลส์
    2000 รอบแบ่งกลุ่ม 11th of 16 3 1 0 2 5 6 10 4 4 2 16 5 ฮอดเดิ้ล, คีแกน[73]
  2004 รอบ 8 ทีมสุดท้าย 5th of 16 4 2 1 1 10 6 8 6 2 0 14 5 เอริกซอน
    2008 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 12 7 2 3 24 7 แม็คคลาเรน
    2012 รอบ 8 ทีมสุดท้าย 5th of 16 4 2 2 0 5 3 8 5 3 0 17 5 กาเปลโล, ฮอดจ์สัน[74]
  2016 รอบ 16 ทีมสุดท้าย 12th of 24 4 1 2 1 4 4 10 10 0 0 31 3 ฮอดจ์สัน
  2020 รองชนะเลิศ 2nd 7 5 2 0 11 2 8 7 0 1 37 6 เซาธ์เกต
  2024 รองชนะเลิศ 2nd 7 3 3 1 8 6 8 6 2 0 22 4 เซาธ์เกต
    2028 ยังไม่ถึงกำหนดแข่งขัน ยังไม่ถึงกำหนดแข่งขัน รอประกาศ
    2032
รวม รองชนะเลิศ 11/17 45 18 16 11 59 43 116 79 26 11 270 68

ยูฟ่าเนชันส์ลีก

แก้

  ชนะเลิศ    รองชนะเลิศ    อันดับที่ 3     อันดับที่ 4  

สถิติยูฟ่าเนชันส์ลีก ผู้จัดการทีม
ปี ดิวิชัน กลุ่ม อันดับ ม. ช. ส. พ. ประตูได้ ประตูที่เสีย
  2018–19 เอ 4 3 6 2 2 2 7 8 เซาธ์เกต
  2020–21 เอ 2 9 6 3 1 2 7 4 เซาธ์เกต
2022–23 เอ ยังไม่ประกาศ รอผลการแข่งขัน
รวม อันดับ 3 6 2 2 2 7 8

ทีมงานผู้ฝึกสอน

แก้
ผู้จัดการทีม   แกเร็ท เซาท์เกต
ผู้ช่วยผู้จัดการทีม   แซมมี ลี
ผู้ฝึกสอนทีมชุดแรก   สตีฟ ฮอลแลนด์
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู   Martyn Margetson
แพทย์ประจำทีมชุดแรก   เอียน บีสลีย์
ผู้ฝึกสอนด้านสมรรถภาพทางกาย   คริส เนวิล
หมอนวด   มาร์ก เซอโทรี
นักกายภาพบำบัด   แกรี เลวิน

ผู้เล่น

แก้

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

แก้

รายชื่อผู้เล่นที่ถูกเรียกตัวเพื่อลงแข่งขันนัดกระชับมิตรกับสวิตเซอร์แลนด์ และโกตดิวัวร์ ในวันที่ 26 และ 29 มีนาคม ค.ศ. 2022

ข้อมูลการลงเล่นและการทำประตูนับถึงวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 2022 หลังจากการพบกับโกตดิวัวร์

0#0 ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร
1 1GK นิก โพป (1992-04-19) 19 เมษายน ค.ศ. 1992 (32 ปี) 8 0   นิวคาสเซิล
13 1GK เฟรเซอร์ ฟอร์สเตอร์ (1988-03-17) 17 มีนาคม ค.ศ. 1988 (36 ปี) 6 0   ทอตนัมฮอตสเปอร์
22 1GK จอร์แดน พิกฟอร์ด (1994-03-07) 7 มีนาคม ค.ศ. 1994 (30 ปี) 43 0   เอฟเวอร์ตัน

2 2DF เบน ไวต์ (1997-10-08) 8 ตุลาคม ค.ศ. 1997 (27 ปี) 4 0   อาร์เซนอล
3 2DF ไทริก มิตเชลล์ (1999-09-01) 1 กันยายน ค.ศ. 1999 (25 ปี) 2 0   คริสตัล พาเลซ
5 2DF ไทโรน มิงส์ (1993-03-13) 13 มีนาคม ค.ศ. 1993 (31 ปี) 17 2   แอสตัน วิลลา
6 2DF แฮร์รี แมไกวร์ (1993-03-05) 5 มีนาคม ค.ศ. 1993 (31 ปี) 42 7   แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
12 2DF ลู้ก ชอว์ (1995-07-12) 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1995 (29 ปี) 21 2   แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
15 2DF มาร์ก เกฮี (2000-07-13) 13 กรกฎาคม ค.ศ. 2000 (24 ปี) 1 0   คริสตัล พาเลซ
16 2DF คอเนอร์ โคอาดี (1993-02-25) 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 (31 ปี) 9 1   วุลเวอร์แฮมป์ตัน วอนเดอเรอส์
17 2DF ไคล์ วอล์กเกอร์-ปีเตอส์ (1997-04-13) 13 เมษายน ค.ศ. 1997 (27 ปี) 2 0   เซาแทมป์ตัน

4 3MF ดีคลัน ไรซ์ (1999-01-14) 14 มกราคม ค.ศ. 1999 (25 ปี) 29 2   อาร์เซนอล
8 3MF เจมส์ วอร์ด-พราวส์ (1994-11-01) 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1994 (30 ปี) 10 2   เซาแทมป์ตัน
10 3MF จูด เบลลิงงัม (2003-06-29) 29 มิถุนายน ค.ศ. 2003 (21 ปี) 12 0   เรอัลมาดริด
14 3MF จอร์แดน เฮนเดอร์สัน (1990-06-17) 17 มิถุนายน ค.ศ. 1990 (34 ปี) 69 2   อาเอฟเซ อายักซ์
21 3MF ค็อบบี ไมนู (2005-04-19) 19 เมษายน ค.ศ. 2005 (19 ปี) 2 1   เเมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

7 4FW โคล พาลเมอร์ (2002-05-06) 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2002 (22 ปี) 3 1   เชลซี
11 4FW แจ็ก กรีลิช (1995-09-10) 10 กันยายน ค.ศ. 1995 (29 ปี) 20 1   แมนเชสเตอร์ซิตี
18 4FW ฟิล โฟเดน (2000-05-28) 28 พฤษภาคม ค.ศ. 2000 (24 ปี) 15 2   แมนเชสเตอร์ซิตี
20 4FW แฮร์รี เคน (กัปตัน) (1993-07-28) 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1993 (31 ปี) 69 49   ไบเอิร์นมิวนิก
23 4FW เอมีล สมิท ราว (2000-07-28) 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2000 (24 ปี) 3 1   อาร์เซนอล

ถูกเรียกตัวเมื่อเร็ว ๆ นี้

แก้

รายชื่อผู้เล่นที่เคยถูกเรียกตัวในรอบ 12 เดือนล่าสุด:

ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร ถูกเรียกครั้งล่าสุด
GK แซม จอห์นสตัน (1993-03-25) 25 มีนาคม ค.ศ. 1993 (31 ปี) 3 0   เวสต์บรอมมิช อัลเบียน v.   สวิตเซอร์แลนด์, 26 มีนาคม 2022
GK แอรอน แรมส์เดล (1998-05-14) 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1998 (26 ปี) 1 0   อาร์เซนอล v.   สวิตเซอร์แลนด์, 26 มีนาคม 2022
GK ดีน เฮนเดอร์สัน (1997-03-12) 12 มีนาคม ค.ศ. 1997 (27 ปี) 1 0   แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020

DF ไคล์ วอล์กเกอร์ (1990-05-28) 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 (34 ปี) 65 0   แมนเชสเตอร์ซิตี v.   ซานมารีโน, 15 พฤศจิกายน 2021
DF เบน ชิลเวลล์ (1996-12-21) 21 ธันวาคม ค.ศ. 1996 (28 ปี) 17 1   เชลซี v.   ซานมารีโน, 15 พฤศจิกายน 2021
DF คีแรน ทริปเปียร์ (1990-09-19) 19 กันยายน ค.ศ. 1990 (34 ปี) 35 1   นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด v.   ฮังการี, 12 ตุลาคม 2021
DF ฟีกาโย โทโมรี (1997-12-19) 19 ธันวาคม ค.ศ. 1997 (27 ปี) 2 0   เอซี มิลาน v.   ฮังการี, 12 ตุลาคม 2021
DF เทรนต์ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ (1998-10-07) 7 ตุลาคม ค.ศ. 1998 (26 ปี) 16 1   ลิเวอร์พูล v.   สวิตเซอร์แลนด์, 26 มีนาคม 2022
DF จอห์น สโตนส์ (1994-05-28) 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1994 (30 ปี) 55 3   แมนเชสเตอร์ ซิตี v.   โกตดิวัวร์, 29 มีนาคม 2022
DF รีซ เจมส์ (1999-12-08) 8 ธันวาคม ค.ศ. 1999 (25 ปี) 10 0   เชลซี v.   สวิตเซอร์แลนด์, 26 มีนาคม 2022

MF เจสซี ลินการ์ด (1992-12-15) 15 ธันวาคม ค.ศ. 1992 (32 ปี) 32 6   แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด v.   ฮังการี, 12 ตุลาคม 2021
MF แคลวิน ฟิลลิปส์ (1995-12-02) 2 ธันวาคม ค.ศ. 1995 (29 ปี) 19 0   ลีดส์ ยูไนเต็ด v.   ซานมารีโน, 15 พฤศจิกายน 2021

FW เจดอน แซนโช (2000-03-25) 25 มีนาคม ค.ศ. 2000 (24 ปี) 23 3   แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด v.   ฮังการี, 12 ตุลาคม 2021
FW มาร์คัส แรชฟอร์ด (1997-10-31) 31 ตุลาคม ค.ศ. 1997 (27 ปี) 46 12   แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด v.   แอลเบเนีย, 12 พฤศจิกายน 2021
FW บูกาโย ซากา (2001-09-05) 5 กันยายน ค.ศ. 2001 (23 ปี) 14 4   อาร์เซนอล v.   สวิตเซอร์แลนด์, 26 มีนาคม 2022
FW ดอมินิก แคลเวิร์ต-ลูอิน (1997-03-16) 16 มีนาคม ค.ศ. 1997 (27 ปี) 11 4   เอฟเวอร์ตัน v.   ฮังการี, 2 กันยายน 2021
FW แทมมี อับราฮัม (1997-10-02) 2 ตุลาคม ค.ศ. 1997 (27 ปี) 10 3   โรมา v.   สวิตเซอร์แลนด์, 26 มีนาคม 2022

หมายเหตุ:

  • RET ผู้เล่นที่เกษียณจากทีมชาติ

สถิติ

แก้

ผู้เล่นที่ลงแข่งมากที่สุด

แก้

ข้อมูล ณ วันที่ 10 กันยายน 2019
ผู้เล่นที่มีชื่อเป็น ตัวหนา คือผู้เล่นที่ยังเล่นอยู่ในสโมสร

 
ปีเตอร์ ชิลตัน คือผู้รักษาประตูที ติดทีมชาติสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ทีมชาติอังกฤษ โดยลงเล่นไปทั้งหมด 125 นัด
# ชื่อ ช่วงเวลา ลงเล่น ประตู ตำแหน่ง
1 ปีเตอร์ ชิลตัน 1970–1990 125 0 GK
2 เวย์น รูนีย์ 2003–2016 120 53 FW
3 เดวิด เบคแคม 1996–2009 115 17 MF
4 สตีเวน เจอร์ราร์ด 2000–2014 114 21 MF
5 บ็อบบี มัวร์ 1962–1973 108 2 DF
6 แอชลีย์ โคล 2001–2014 107 0 DF
7 บ็อบบี ชาร์ลตัน 1958–1970 106 49 FW
แฟรงก์ แลมพาร์ด 1999–2014 106 29 MF
9 บิลลี ไรต์ 1946–1959 105 3 DF
10 ไบรอัน ร็อบสัน 1980–1991 90 26 MF
11 ไมเคิล โอเวน 1998–2008 89 40 FW
12 เคนนี แซนซัม 1979–1988 86 1 DF
13 แกรี เนวิล 1995–2007 85 0 DF
14 เรย์ วิลกินส์ 1976–1986 84 3 MF
15 ริโอ เฟอร์ดินานด์ 1997–2011 81 3 DF
16 แกร์รี ลินิเกอร์ 1984–1992 80 48 FW
17 จอห์น บาร์นส์ 1983–1995 79 11 MF
18 สจ๊วต เพียรซ 1987–1999 78 5 DF
จอห์น เทร์รี 2003–2012 78 6 DF
20 เทร์รี่ บุทเชอร์ 1980–1990 77 3 DF

ผู้เล่นที่ทำประตูสูงสุด

แก้
 
แฮร์รี เคน คือผู้เล่นที่ทำประตูสูงสุดในนามทีมชาติอังกฤษด้วยจำนวน 68 ประตู
 
เวย์น รูนีย์ คือผู้เล่นที่ทำประตูสูงสุดเป็นอันดับสองด้วยจำนวน 53 ประตู

ข้อมูล ณ วันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 2023

ผู้เล่นที่มีชื่อเป็น ตัวหนา คือผู้เล่นที่ยังเล่นอยู่ในสโมสร

อันดับ ชื่อ ประตู ลงเล่น ค่าเฉลี่ย (ประตู/เกม) ช่วงเวลา
1 แฮร์รี เคน 58 84 0.69 2015–
2 เวย์น รูนีย์ 53 120 0.44 2003–2018
3 บ็อบบี ชาร์ลตัน 49 106 0.46 1958–1970
4 แกร์รี ลินิเกอร์ 48 80 0.60 1984–1992
5 จิมมี กรีฟส์ 44 57 0.77 1959–1967
6 ไมเคิล โอเวน 40 89 0.45 1998–2008
7 แนต ลอฟต์เฮาส์ 30 33 0.91 1950–1958
แอลัน เชียเรอร์ 30 63 0.48 1992–2000
ทอม ฟินนีย์ 30 76 0.39 1946–1958
10 วิเวียน วูดเวิร์ด 29 23 1.26 1903–1911
แฟรงก์ แลมพาร์ด 29 106 0.27 1999–2014

สถิติการแข่งขัน

แก้

เกียรติประวัติ

แก้

ระดับสูงสุด:

ชนะเลิศ (1): 1966
อันดับที่สี่ (2):1990, 2018
รองชนะเลิศ (1): 2020
อันดับที่สาม (1): 1968
รอบรองชนะเลิศ (1): 1996
อันดับ 3 (1): 2018–19

ระดับแคว้น:

Winners (54): (including 20 shared)
Runners-up (24): (including 7 shared)
Winners (3): 1986, 1988, 1989
Runners-up (2): 1985, 1987

ระดับเล็ก:

Winners (1): 1997
Runners-up (1): 1998
Winners (1): 1991

อื่น ๆ:

ชนะเลิศ (2): 1990, 1998

ไม่เป็นทางการ:

จำนวนแมตช์ที่ชนะเลิศ: 88
ชนะเลิศติดต่อกัน: 21

อดีตผู้เล่นคนสำคัญ

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

หมายเหตุ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
  2. "House of Commons - Culture, Media and Sport Committee - Written Evidence". web.archive.org. 2018-06-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-14. สืบค้นเมื่อ 2024-10-23.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  3. Association, The Football. "Thomas Tuchel appointed as England men's senior head coach". https://www.englandfootball.com (ภาษาอังกฤษ). {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |website= (help)
  4. "Football's November revolution: Magnificent Magyars storm England's Wembley fortress | Football - Times Online". web.archive.org. 2011-04-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-29. สืบค้นเมื่อ 2024-10-23.
  5. Association, The Football. "England v Uruguay - five memorable meetings". www.thefa.com (ภาษาอังกฤษ).
  6. Glanville, Brian (2002-02-18). "Sir Walter Winterbottom". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-10-23.
  7. Association, The Football. "On This Day: Sir Alf's first game in charge of England". www.thefa.com (ภาษาอังกฤษ).
  8. "1966: Football glory for England" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 1966-07-30. สืบค้นเมื่อ 2024-10-23.
  9. "England v Poland 1973: When Clough's 'clown' stopped England". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2013-10-14. สืบค้นเมื่อ 2024-10-23.
  10. Bagchi, Rob (2012-10-11). "The forgotten story of … England under Joe Mercer". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-10-23.
  11. BBC. "The Don". www.bbc.co.uk (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  12. Pye, Steven (2020-10-09). "When England fans ruined their match against Belgium 40 years ago". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-10-23.
  13. "Football: England at the World Cup: 1982 Spain - A flying start but a". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 1998-06-04.
  14. Pye, Steven (2014-03-05). "How a defeat to Denmark cost Bobby Robson's England a place at Euro 84". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-10-23.
  15. Araujo, Marcela Mora y (2018-06-11). "How Diego Maradona redefined football in the space of less than five minutes". CNN (ภาษาอังกฤษ).
  16. published, FourFourTwo Staff (2014-06-03). "Gary Lineker's 1986 World Cup in pictures: "Look at those nut-huggers Barnso is wearing..."". fourfourtwo.com (ภาษาอังกฤษ).
  17. Smyth, Rob (2008-06-09). "On Second Thoughts: England at Euro 88". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-10-23.
  18. 50 great World Cup moments (2018-06-11), Gazza's tears - 1990, สืบค้นเมื่อ 2024-10-23
  19. Reporter, Martyn Ziegler, Chief Sports (2018-07-12). "No official celebration next week for England's return". www.thetimes.com (ภาษาอังกฤษ).
  20. "Graham Taylor: Ex-England, Watford & Aston Villa manager dies aged 72". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2017-01-12. สืบค้นเมื่อ 2024-10-23.
  21. "Graham Taylor obituary: Ex-England boss a fount of knowledge and a true gentleman". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2017-01-12. สืบค้นเมื่อ 2024-10-23.
  22. UEFA.com. "The official website for European football". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
  23. www.eurosport.com https://www.eurosport.com/geoblocking.shtml. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  24. Fifield, Dominic (2016-09-27). "England managers and off-field controversies: from Revie to Hodgson". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-10-23.
  25. Comes, When Saturday (2006-08-03). When Saturday Comes: The Half Decent Football Book (ภาษาอังกฤษ). Penguin UK. ISBN 978-0-14-192703-9.
  26. "BBC News | Football | Hoddle sacked". news.bbc.co.uk.
  27. Staffpublished, P. A. (2020-10-07). "On this day in 2000: Kevin Keegan resigns as England boss after Germany defeat". fourfourtwo.com (ภาษาอังกฤษ).
  28. Ingle, Sean (2000-11-09). "Taylor names Beckham captain of youthful looking England squad". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-10-23.
  29. "McClaren sacked as England coach" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2007-11-22. สืบค้นเมื่อ 2024-10-23.
  30. "England 2-3 Croatia" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2007-11-21. สืบค้นเมื่อ 2024-10-23.
  31. James, David (2007-11-25). "Don't blame Carson - the real gaffe was exposing him to such high pressure". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-10-23.
  32. "Lampard's 2010 Ghost Goal and the Video Replay Revolution it Helped Inspire". SI (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-05-05.
  33. "Fabio Capello quits as England manager after meeting with FA". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2012-02-08. สืบค้นเมื่อ 2024-10-23.
  34. "World Cup 2014: England crash out after Costa Rica surprise Italy". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2014-06-20. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-10-23.
  35. "England out of Euro 2016 & Hodgson quits". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2024-10-23.
  36. "Sam Allardyce: England manager leaves after one match in charge". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2016-09-27. สืบค้นเมื่อ 2024-10-23.
  37. "Gareth Southgate: Interim England manager wants future decided within a month". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2016-11-13. สืบค้นเมื่อ 2024-10-23.
  38. "2018 FIFA World Cup Russia™ - FIFA.com". web.archive.org. 2018-07-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-03. สืบค้นเมื่อ 2024-10-23.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  39. "World Cup semi-final: England lose 2-1 to Croatia in extra time". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-07-10. สืบค้นเมื่อ 2024-10-23.
  40. "They've come home: England return after World Cup heroics". Sky News (ภาษาอังกฤษ).
  41. Sport, Standard (2018-07-15). "England captain Harry Kane wins World Cup Golden Boot". The Standard (ภาษาอังกฤษ).
  42. Murray, Scott (2022-12-04). "England 3-0 Senegal: World Cup 2022, last 16 – as it happened". the Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-10-23.
  43. "World Cup 2022: England 1-2 France - Harry Kane misses penalty as Three Lions out". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2022-12-09. สืบค้นเมื่อ 2024-10-23.
  44. Steinberg, Jacob (2024-07-06). "England into Euro 2024 semi-finals after dramatic shootout win over Switzerland". The Observer (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0029-7712. สืบค้นเมื่อ 2024-10-23.
  45. Steinberg, Jacob (2024-07-10). "Ollie Watkins' bolt from blue stuns Netherlands and sends England to final". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-10-23.
  46. "Harry Kane: England striker shares Euro 2024 Golden Boot award with three goals". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2024-07-14.
  47. Steinberg, Jacob; Fisher, Ben (2024-07-16). "Gareth Southgate resigns as England manager after Euro 2024 final defeat". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-10-23.
  48. "1924 British Empire Exhibition | Making Britain". web.archive.org. 2022-09-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-20. สืบค้นเมื่อ 2024-10-23.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  49. "On this day, April 13, 1924, England played their first international at Wembley". The Irish News (ภาษาอังกฤษ). 2018-04-13.
  50. Cartwright, Justin (2013-09-14). "Richard the Lionheart: battle addict who spent much of his life in France". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-12-05.
  51. "England National Team 1872-1960 - Historical Football Kits". www.historicalkits.co.uk.
  52. "England identity crisis ahead as FA rejig Three Lions". The Telegraph (ภาษาอังกฤษ). 2009-03-03.
  53. "How The FA found inspiration from the 1100's for its iconic Crest - Marketing Case Studies | UTalkMarketing". web.archive.org. 2016-02-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-05. สืบค้นเมื่อ 2024-12-05.
  54. "England National Team 1997-2010 - Historical Football Kits". historicalkits.co.uk.
  55. Gibbs, Thom (2021-06-29). "England's top 10 football rivalries — but where do Germany rank?". The Telegraph (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0307-1235. สืบค้นเมื่อ 2024-12-05.
  56. Fisher, Ben (2022-12-09). "France's Hugo Lloris predicts 'big battle' with England in World Cup quarter-final". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-12-05.
  57. "World Cup 2022: 'Anyone but England' - the game Wales do not want". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2022-11-29. สืบค้นเมื่อ 2024-12-05.
  58. "What Ireland really feels about England". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2020-11-12.
  59. "BBC News | Battle of Britain | A history of fierce football rivalry". news.bbc.co.uk.
  60. "The day Scotland and England played the first football international" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2022-11-29. สืบค้นเมื่อ 2024-12-05.
  61. "BBC News | Battle of Britain | Scots relish Auld Enemy showdown". news.bbc.co.uk.
  62. "News & Star | Features | People | You're watching the World Cup from …". archive.ph. 2012-09-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-06. สืบค้นเมื่อ 2024-12-15.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  63. Freedland, Jonathan (2021-06-25). "Rivalry? England v Germany is more like a tale of unrequited love". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-12-05.
  64. updated, Gary ParkinsonContributions from Steven Chicken last (2020-05-28). "Euro 96, the complete history, part six: England's dream dies in Germany semi-final shootout". fourfourtwo.com (ภาษาอังกฤษ).
  65. Kuper, Simon (2021-06-28). "England's one-sided football rivalry with Germany loses its bite". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 2024-12-05.
  66. Ronay, Barney (2021-06-26). "Germany, England's deepest rivals? In reality it's not a rivalry at all". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-12-05.
  67. Carlin, John (2002-05-19). "England v Argentina - A history". The Observer (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0029-7712. สืบค้นเมื่อ 2024-12-05.
  68. "England national football team: record v Argentina". www.11v11.com.
  69. Kevin Keegan and Howard Wilkinson managed one qualifying match each: Eriksson managed the remainder of qualification and the finals campaign.
  70. Sam Allardyce managed one qualifying match: Gareth Southgate managed the remainder of the qualification and the finals campaign.
  71. England were defeated by France in a two-legged elimination round. Ramsey took over from Winterbottom between the two legs.
  72. Although England did not qualify for the finals, they reached the last eight of the competition. Only the last four teams progressed to the finals.
  73. Hoddle managed the first three qualifiers, while Keegan managed the remainder of qualification and the finals campaign.
  74. Capello managed the qualification campaign. He resigned before the tournament and was replaced by Hodgson.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้