ภูมิแพ้อาหาร

(เปลี่ยนทางจาก แพ้อาหาร)

ภูมิแพ้อาหารเป็นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันผิดปกติต่ออาหาร อาการและอาการแสดงมีได้ตั้งแต่เล็กน้อยถึงรุนแรง อาจมีคัน ลิ้นบวม อาเจียน อาการท้องร่วง ลมพิษ หายใจลำบากหรือความดันเลือดต่ำ ตรงแบบเกิดไม่กี่นาทีถึงหลายชั่วโมงหลังสัมผัส เมื่ออาการรุนแรง เรียก แอนาฟิแล็กซิส ความไม่ทนอาหารและอาหารเป็นพิษเป็นอีกภาวะต่างหาก[1]

ภูมิแพ้อาหาร
(Food allergy)
ภาพผู้ป่วยมีลมพิษขึ้นที่หลัง ผื่นลมพิษเป็นอาการของภูมิแพ้อาหารที่พบได้บ่อย
สาขาวิชาEmergency medicine
อาการItchiness, swelling of the tongue, vomiting, diarrhea, hives, trouble breathing, low blood pressure[1]
การตั้งต้นMinutes to several hours of exposure[1]
ระยะดำเนินโรคLong term, some may resolve[2]
สาเหตุImmune response to food[1]
ปัจจัยเสี่ยงFamily history, vitamin D deficiency, obesity, high levels of cleanliness[1][2]
วิธีวินิจฉัยBased on a medical history, elimination diet, skin prick test, oral food challenge[1][2]
โรคอื่นที่คล้ายกันFood intolerance, celiac disease, food poisoning[1]
การป้องกันEarly exposure to potential allergens[2][3]
การรักษาAvoiding the food in question, having a plan if exposure occurs, medical alert jewelry[1][2]
ยาAdrenaline (epinephrine)[1]
ความชุก~6% (developed world)[1][2]

อาาหรทั่วไปที่ทำให้เกิดภูมิแพ้อาหารมีนมวัว ถั่วลิสง ไข่ หอย ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว (nut) ข้าวสาลี ข้าวเจ้าและผลไม้[1][2][4] พบภูมิแพ้ชนิดใดบ่อยที่สุดขึ้นอยู่กับประเทศ[1] ปัจจัยเสี่ยงมีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว การขาดวิตามินดี โรคอ้วนและระดับความสะอาดสูง[1][2] ภูมิแพ้เกิดเมื่ออิมมูโนโกลบูลินอี (IgE) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เกาะกับโมเลกุลอาหาร ปกติโปรตีนในอาหารที่เป็นปัญหา[2] เหตุนี้กระตุ้นการหลั่งสารเคมีอักเสบ เช่น ฮิสตามีน[1] การวินิจฉัยปกติอาศัยประวัติการแพทย์ การเลี่ยงอาหารที่สงสัย (elimination diet) การทดสอบแทงผิวหนัง (skin prick test) การทดสอบเลือดหาแอนติบอดี IgE ที่จำเพาะกับอาหาร หรือการกระตุ้นให้ปรากฏโดยอาหารทางปาก (oral food challenge)[1][2]

การสัมผัสสารที่อาจก่อภูมิแพ้ในช่วงต้นของชีวิตอาจช่วยป้องกัน การรักษามีการเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดอาหารและมีแผนหากเกิดการสัมผัสเป็นหลัก[2] แผนดังกล่าวอาจรวมการให้อะดรีนาลิน (อีพิเนฟริน และการสวมเครื่องเพชรพลอยเตือนทางการแพทย์)[1] ประโยชน์ของการรักษาด้วยการก่อภูมิคุ้มกันสารก่อภูมิแพ้ (allergen immunotherapy) สำหรับภูมิแพ้อาหารยังไม่ชัดเจน และในปี 2558 ยังไม่แนะนำ[5] ภูมิแพ้อาหารบางชนิดหายไปเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งรวมภูมิแพ้นม ไข่และถั่วเหลือง ส่วนภูมิแพ้บางชนิด เช่น ภูมิแพ้ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียวและหอยตรงแบบไม่หาย[2]

ในประเทศพัฒนาแล้ว ประชากร 4% ถึง 8% มีภูมิแพ้อาหารอย่างน้อยหนึ่งชนิด[1][2] พบในเด็กบ่อยกว่าผู้ใหญ่และดูมีความ��ี่เพิ่มขึ้น เด็กชายปรากฏว่าพบบ่อยว่าเด็กหญิง[2] ภูมิแพ้บางชนิดมักพบในอายุน้อย ส่วนภูมิแพ้บางชนิดตรงแบบเกิดในอายุมาก[1] ในประเทศพัฒนาแล้ว ประชากรสัดส่วนใหญ่เชื่อว่าตนมีภูมิแพ้อาหารทั้งที่ความจริงไม่มี[6][7][8]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 National Institute of Allergy and Infectious Diseases (July 2012). "Food Allergy An Overview" (pdf).
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 Sicherer, SH.; Sampson, HA. (Feb 2014). "Food allergy: Epidemiology, pathogenesis, diagnosis, and treatment". J Allergy Clin Immunol. 133 (2): 291–307, quiz 308. doi:10.1016/j.jaci.2013.11.020. PMID 24388012.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Ie2016
  4. Nowak-Węgrzyn, A; Katz, Y; Mehr, SS; Koletzko, S (May 2015). "Non-IgE-mediated gastrointestinal food allergy". The Journal of allergy and clinical immunology. 135 (5): 1114–24. doi:10.1016/j.jaci.2015.03.025. PMID 25956013.
  5. "Allergen Immunotherapy". April 22, 2015. สืบค้นเมื่อ 15 June 2015.
  6. "Making sense of allergies" (PDF). Sense About Science. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-06-18. สืบค้นเมื่อ 7 June 2015.
  7. Coon, ER.; Quinonez, RA.; Moyer, VA.; Schroeder, AR. (Nov 2014). "Overdiagnosis: how our compulsion for diagnosis may be harming children". Pediatrics. 134 (5): 1013–23. doi:10.1542/peds.2014-1778. PMID 25287462.
  8. Ferreira, CT.; Seidman, E. "Food allergy: a practical update from the gastroenterological viewpoint". J Pediatr (Rio J). 83 (1): 7–20. doi:10.2223/JPED.1587. PMID 17279290.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก