ย่างกุ้ง
ย่างกุ้ง,[3] ยานโกน[3] (พม่า: ရန်ကုန်; เอ็มแอลซีทีเอส: Rankun, ออกเสียง: [jàɰ̃.ɡòʊ̯ɰ̃]; "จุดจบแห่งสงคราม") หรือ ร่างกุ้ง (อังกฤษ: Rangoon) เป็นเมืองหลวงของภาคย่างกุ้ง และเป็นเมืองหลวงทางการค้าของพม่า ย่างกุ้งทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงของพม่าจนถึงปี ค.ศ. 2006 เมื่อรัฐบาลทหารย้ายศูนย์ราชการไปยังเนปยีดอในภาคกลางของประเทศพม่าอย่างเป็นทางการ[4] ด้ว��ประชากรกว่า 7 ล้านคนย่างกุ้งจึงเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของพม่าและเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญที่สุด
ย่างกุ้ง ရန်ကုန် | |
---|---|
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน: เจดีย์ชเวดากอง, มุมมองทางอากาศใจกลางเมืองย่างกุ้ง, อาคารยุคอาณานิคมบนถนนสแตรนด์, พระราชวังการเวกในทะเลสาบกันดอจี, เจดีย์ซูเล, ศาลสูงย่างกุ้ง | |
พิกัด: 16°47′42″N 96°09′36″E / 16.79500°N 96.16000°E | |
ประเทศ | พม่า |
ภาค | ภาคย่างกุ้ง |
ตั้งถิ่นฐาน | ราว ค.ศ. 1028–1043 |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | มองมองโซ่ |
พื้นที่[2] | |
• เขตเมือง | 598.75 ตร.กม. (231.18 ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 10,170 ตร.กม. (3,930 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2014) | |
• มหานคร | 7,360,703[1] คน |
• เขตเมือง | 5,160,512 คน |
• ความหนาแน่นเขตเมือง | 8,600 คน/ตร.กม. (22,000 คน/ตร.���มล์) |
• นอกเมือง | 2,200,191 คน |
• กลุ่มชาติพันธุ์ | พม่า, พม่าเชื้อสายจีน, พม่าเชื้อสายอินเดีย, ชีน, ยะไข่, มอญ, กะเหรี่ยง, ไทใหญ่, กะยา, กะชีน |
• ศาสนา | พุทธ, คริสต์, ฮินดู, อิสลาม |
เขตเวลา | UTC+6:30 (เวลามาตรฐานพม่า) |
รหัสพื้นที่ | 01 |
ทะเบียนพาหนะ | YGN |
เว็บไซต์ | www |
ย่างกุ้งมีจำนวนอาคารยุคอาณานิคมมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[5] และมีใจกลางเมืองยุคอาณานิคมอันเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร[6] ศูนย์กลางการค้ายุคอาณานิคมแห่งนี้เป็นศูนย์กลางอยู่รอบรอบเจดีย์ซู่เลซึ่งขึ้นชื่อว่ามีอายุมากกว่า 2,000 ปี[7] เมืองนี้ยังเป็นที่ตั้งของเจดีย์ชเวดากอง ซึ่งเป็นเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในพม่า สุสานของจักรพรรดิโมกุลองค์สุดท้ายก็ตั้งอยู่ในย่างกุ้ง ซึ่งพระองค์ถูกเนรเทศมาหลังการจลาจลของอินเดียใน ค.ศ. 1857
ย่างกุ้งได้รับผลกระทบจากโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เพียงพอโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับเมืองใหญ่อื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้ว่าที่อยู่อาศัยที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์และอาคารพาณิชย์หลายแห่งจะได้รับการปรับปรุงใหม่ทั่วใจกลางเมืองย่างกุ้ง แต่ย่านโดยรอบของเมืองยังคงยากจนและยังขาดโครงสร้างพื้นฐาน[8]
นิรุกติศาสตร์
แก้ย่างกุ้ง (ရန်ကုန်) เป็นคำผสมที่เกิดจากคำว่า ยาน (ရန်, yan) ซึ่งมีความหมายว่า ศัตรู ข้าศึก และคำว่า โกน (ကုန်, koun) ซึ่งมีความหมายว่า หมดไป ซึ่งสามารถแปลได้อีกอย่างว่า อวสานสงครามหรือจุดจบแห่งสงคราม
ส่วนคำว่าย่างกุ้งในภาษาอังกฤษ Rangoon มีที่มาจากการเลียนเสียงของคำว่า ยานโกน ซึ่งในภาษายะไข่ออกเสียงเป็น รอนกู้น [rɔ̀ɴɡʊ́ɴ]
ประวัติศาสตร์
แก้ประวัติศาสตร์ในช่วงต้น
แก้ย่างกุ้งก่อตั้งขึ้นในชื่อ ดากอง (Dagon - ภาษามอญเรียกว่า "ตะเกิง") ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 (พ.ศ. 1571–1586) โดยชาวมอญซึ่งครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในภาคใต้ของพม่าในขณะนั้น[9] ดากอนเป็นหมู่บ้านชาวประมงเล็ก ๆ ซึ่งมีศูนย์กลางคือเจดีย์ชเวดากอง ใน พ.ศ. 2298 พระเจ้าอลองพญา ได้บุกยึดดากอง พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น ย่างกุ้ง (Yangon) และมีการตั้งถิ่นฐานของราษฎรที่เพิ่มขึ้นตลอดมา เมื่อถึง พ.ศ. 2367 กองทัพอังกฤษสามารถยึดเมืองย่างกุ้งได้ในสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่หนึ่ง แต่หลังจากสงคราม อังกฤษก็คืนย่างกุ้งให้แก่พม่า ใน พ.ศ. 2384 เกิดเพลิงไหม้ใหญ่ในเมืองซึ่งทำลายเมืองไปเกือบทั้งหมด[10]
ย่างกุ้งในยุคอาณานิคม
แก้อังกฤษยึดย่างกุ้งและส่วนล่างของพม่าทั้งหมดได้ในระหว่างสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่สองเมื่อ พ.ศ. 2395 และได้เปลี่ยนย่างกุ้งให้กลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการเมืองของพม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร (British Burma) ในปี พ.ศ. 2396 อังกฤษได้ย้ายเมืองหลวงของประเทศพม่าจากเมาะลำเลิง มายังย่างกุ้ง[11][12] ย่างกุ้งยังเป็นสถานที่ซึ่งอังกฤษส่งตัวจักรพรรดิบาฮาดูร์ ชาห์ ซาฟาร์ที่ 2 จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์โมกุลของอินเดียมาจองจำหลังจากเกิดเหตุการณ์กบฎอินเดีย หรือกบฎซีปอยขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2400 อังกฤษได้สร้างเมืองย่างกุ้งใหม่โดยวางผังเมืองเป็นรูปตารางบนที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ โดยมีร้อยโทอเล็กซานเดอร์ เฟรเซอร์ นายทหารช่างเป็นผู้ควบคุมการออกแบบ มีพื้นที่ทอดยาวไปทางทิศตะวันออกจรดแม่น้ำปะซูนดอง ทางตะวันตกและทางใต้จรดแม่น้ำย่างกุ้ง ย่างกุ้งกลายเป็นเมืองหลวงพม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรหลังจากที่อังกฤษยึดพม่าตอนบนได้ในสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่สาม เมื่อปี พ.ศ. 2428 และตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 1890 เป็นต้นมา ประชากรและการค้าในย่างกุ้งเติบโตขึ้���อย่างรุ่งเรืองซึ่งเป็นผลให้เมืองขยายออกไปทางเหนือจรดรอยัลเลกหรือทะเลสาบกันดอจี (Kandawgyi) และทะเลสาบอินยา (Inya Lake)[13] นอกจากนี้อังกฤษยังได้จัดตั้งโรงพยาบาลขึ้น หนึ่งในนั้นคือ โรงพยาบาลย่างกุ้ง (Rangoon General Hospital) และวิทยาลัย ซึ่งก็คือ มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง (Rangoon University) ในปัจจุบัน
ย่างกุ้งในยุคอาณานิคม มีสวนสาธารณะและทะเลสาบที่กว้างขวาง อีกทั้งยังประกอบไปด้วยอาคารที่ทันสมัยและสถาปัตยกรรมไม้แบบดั้งเดิม ทำให้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ "สวนเมืองแห่งทิศตะวันออก" (the garden city of the East)[13] และในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ย่างกุ้งก็มีการบริการสาธารณะและโครงสร้างพื้นฐานที่เทียบเท่าลอนดอนเลยทีเดียว[14]
ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ประมาณร้อยละ 55 ของประชากรในย่างกุ้งจำนวน 500,000 คน เป็นชาวอินเดียหรือไม่ก็ชาวเอเชียใต้ มีเพียงแค่ 1 ใน 3 เท่านั้นที่เป็นชาวพม่า[15] ขณะที่เหลือประกอบไปด้วยชาวกะเหรี่ยง พม่าเชื้อสายจีน และลูกครึ่งอังกฤษ-พม่า
หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งย่างกุ้งกลายเป็นศูนย์กลางของการเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชโดยมีนักศึกษาฝ่ายซ้ายเป็นแกนนำ มีการประท้วงต่อจักรวรรดิอังกฤษทั้งหมด 3 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2463, 2479 และ 2481 ทั้งหมดเกิดขึ้นในย่างกุ้ง ย่างกุ้งตกอยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2485-2488) และได้รับความเสียหายอย่างมากจากสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ก็ยึดคืนมาได้หลังสงครามสิ้นสุดลงโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2488 ย่างกุ้งกลายเป็นเมืองหลวงของสหภาพพม่าเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 เมื่อประเทศได้รับเอกราชจากจักรวรรดิอังกฤษ
ย่างกุ้งในสมัยปัจจุบัน
แก้ไม่นานหลังจากที่พม่าได้รับเอกราชเมื่อปี พ.ศ. 2491 ชื่อถนนและสวนสาธารณะหลายแห่งที่เป็นแบบอาณานิคมถูกเปลี่ยนให้มีความเป็นชาตินิยมพม่ามากขึ้น ในปี พ.ศ. 2532 รัฐบาลทหารพม่าได้เปลี่ยนชื่อเมืองในภาษาอังกฤษเป็น Yangon (เดิม Rangoon) พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ อีกมากมายในการทับศัพท์ภาษาอังกฤษโดยชื่อพม่า การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากชาวพม่าจำนวนมากซึ่งคิดว่ารัฐบาลทหารไม่มีความเหมาะสมที่จะทำการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เช่นเดียวกับสื่อสิ่งพิมพ์ สำนักข่าวหลายสำนัก รวมไปถึงสื่อที่มีชื่อเสียงอย่าง บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ (สำนักข่าวบีบีซี) สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกาและชาติอื่น ๆ[16][17]
นับตั้งแต่ได้รับเอกราช ย่างกุ้งมีการขยายตัวออกไปมาก รัฐบาลได้สร้างเมืองขึ้นมาโดยรอบ เช่นในคริสต์ทศวรรษที่ 1950 สร้างย่านธาเกตา (Thaketa) ออกกะลาปาเหนือ (North Okkalapa) ออกกะลาปาใต้ (South Okkalapa) จนถึงคริสต์ทศวรรษที่ 1980 เกิดย่านไลง์ตายา (Hlaingthaya) ชเวปยีธา (Shwepyitha) และดากอนใต้ (South Dagon)[10] ทำให้ทุกวันนี้มหานครย่างกุ้งมีพื้นที่เกือบ 600 ตารางกิโลเมตร (230 ตารางไมล์)[2]
ในช่วงการปกครองแบบลัทธิโดดเดี่ยวโดยนายพลเนวี่น (พ.ศ. 2505–2531) โครงสร้างพื้นฐานของย่างกุ้งเสื่อมโทรมมากเนื่องจากไม่ได้รับการบำรุงรักษาที่ดีและไม่รองรับกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 รัฐบาลทหารมีนโยบายเปิดตลาดมากขึ้นเพื่อดึงดูดการลงทุนทั้งจากในและต่างประเทศซึ่งช่วยให้โครงสร้างพื้นฐานของเมืองมีความทันสมัยขึ้นตามสมควร ผู้อยู่อาศัยในเมืองชั้นในถูกขับให้ไปอยู่ยังบริเวณรอบนอกเมืองที่สร้างขึ้นใหม่ อาคารหลายแห่งในยุคอาณานิคมถูกทำลายเพื่อเปิดทางให้กับโรงแรมสูงระฟ้า อาคารสำนักงาน และห้างสรรพสินค้า[18] ทำให้สภาเมืองต้องเขียนรายชื่อสิ่งปลูกสร้างยุคอาณานิคมที่โดดเด่นกว่า 200 รายการภายใต้รายการมรดกเมืองย่างกุ้งในปี พ.ศ. 2539[19] โครงการก่อสร้างที่สำคัญส่งผลให้มีสะพานใหม่หกแห่งและทางหลวงสายใหม่อีกห้าเส้นทางเชื่อมโยงเมืองไปยังพื้นที่อุตสาหกรรมด้านนอก[20][21][22] ถึงกระนั้นก็ตาม พื้นที่ย่างกุ้งส่วนใหญ่ยังคงไม่มีบริการเทศบาลขั้นพื้นฐานเช่นไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมงและการเก็บขยะตามปกติ
ย่างกุ้งกลายเป็นของชาวพม่าพื้นเมืองมากขึ้นนับตั้งแต่การประกาศเอกราช หลังจากการประกาศเอกราชชาวเอเชียใต้และลูกครึ่งอังกฤษ-พม่าจำนวนมากได้ย้ายออกไป ชาวเอเชียใต้หลายคนถูกบังคับให้ย้ายออกไปในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยรัฐบาลที่ต่อต้านชาวต่างชาติของเนวิน[15] อย่างไรก็ตามชุมชนชาวเอเชียใต้และชาวจีนที่กว้างใหญ่ยังคงมีอยู่ในย่างกุ้ง ส่วนลูกครึ่งอังกฤษ-พม่าหายไปอย่างเห็นชัดมากกว่าโดยย้ายออกจากประเทศหรือไม่ก็แต่งงานกับชาวพม่ากลุ่มอื่น ๆ
ย่างกุ้งเป็นศูนย์กลางของการประท้วงต่อต้านรัฐบาลครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2517, 2531 และ 2550 การลุกฮือของพลังประชาชนใน พ.ศ. 2531 ส่งผลให้มีการเสียชีวิตของพลเรือนชาวพม่าหลายร้อยคน และมากมายในย่างกุ้งที่ซึ่งประชาชนหลายร้อยคนหลั่งไหลกันออกมาเต็มถนนในเมืองหลวง การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์ประสบกับการกราดยิงใส่ฝูงชนและการเผาศพในย่างกุ้งโดยรัฐบาลพม่าเพื่อลบหลักฐานการก่ออาชญากรรมต่อพระสงฆ์ ผู้ประท้วงที่ปราศจากอาวุธ นักข่าวและนักศึกษา[23]
ถนนในเมืองประสบกับการนองเลือดทุกครั้งขณะที่ผู้ประท้วงถูกยิงโดยรัฐบาล
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 รัฐบาลทหารกำหนดให้กรุงเนปยีดอซึ่งอยู่ห่างจากย่างกุ้งไปทางเหนือราว 320 กิโลเมตร (199 ไมล์) เป็นเมืองหลวงทางปกครองแห่งใหม่และต่อมาย้ายที่ทำการรัฐบาลจำนวนมากไปยังเมืองที่ถูกพัฒนาใหม่นี้ อย่างไรก็ตาม ย่างกุ้งยังคงเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญที่สุดของพม่า
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 พายุไซโคลนนาร์กีสถล่มย่างกุ้ง ในขณะที่เมืองมีผู้เสียชีวิตเพียงเล็กน้อย แต่โครงสร้างพื้นฐานทางอุตสาหกรรมของย่างกุ้งถูกทำลายหรือเสียหายถึงประมาณสามในสี่ ความสูญเสียประมาณ 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[24]
ภูมิศาสตร์
แก้ย่างกุ้งตั้งอยู่ในพม่าตอนล่าง ที่จุดบรรจบกันของแม่น้ำย่างกุ้งและแม่น้ำพะโคประมาณ 30 กม. (19 ไมล์) ห่างจากอ่าวเมาะตะมะที่ 16 ° 48 'เหนือ 96 ° 09' ตะวันออก (16.8, 96.15) เขตเวลามาตรฐานคือ UTC / GMT +6: 30 ชั่วโมง
ภูมิอากาศ
แก้ย่างกุ้งมีภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนภายใต้ระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน[25] เมืองแห่งนี้มีฤดูฝนที่ยาวนานตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเป็นจำนวนมาก และฤดูแล้งระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายนซึ่งมีฝนเล็กน้อย สาเหตุหลักมาจากฝนตกหนักที่ได้รับในช่วงฤดูฝนทำให้ย่างกุ้งตกอยู่ภายใต้สภาพภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ในช่วงปี พ.ศ. 2504 ถึง พ.ศ. 2533 อุณหภูมิโดยเฉลี่ยแสดงความแปรปรวนเล็กน้อยโดยมีค่าเฉลี่ยสูงจาก 29 ถึง 36 ° C (84 ถึง 97 ° F) และอุณหภูมิต่ำสุดตั้งแต่ 18 ถึง 25 ° C (64 ถึง 77 ° F) .
ข้อมูลภูมิอากาศของYangon (Kaba–Aye) 1981–2010, extremes 1881–1990 | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 38.9 (102) |
38.9 (102) |
40.0 (104) |
41.1 (106) |
41.1 (106) |
37.8 (100) |
37.8 (100) |
34.4 (93.9) |
38.9 (102) |
37.8 (100) |
38.9 (102) |
35.6 (96.1) |
41.1 (106) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 33.2 (91.8) |
35.2 (95.4) |
36.7 (98.1) |
37.5 (99.5) |
34.2 (93.6) |
30.8 (87.4) |
30.3 (86.5) |
30.0 (86) |
30.9 (87.6) |
32.2 (90) |
33.1 (91.6) |
32.5 (90.5) |
33.1 (91.6) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 24.8 (76.6) |
26.5 (79.7) |
28.6 (83.5) |
31.0 (87.8) |
29.2 (84.6) |
27.4 (81.3) |
26.8 (80.2) |
26.9 (80.4) |
27.5 (81.5) |
27.6 (81.7) |
27.3 (81.1) |
25.0 (77) |
27.4 (81.3) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 16.7 (62.1) |
18.4 (65.1) |
21.0 (69.8) |
23.8 (74.8) |
24.3 (75.7) |
23.6 (74.5) |
23.2 (73.8) |
23.2 (73.8) |
23.2 (73.8) |
23.1 (73.6) |
21.3 (70.3) |
17.8 (64) |
21.6 (70.9) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 12.2 (54) |
13.3 (55.9) |
16.1 (61) |
20.0 (68) |
20.0 (68) |
20.0 (68) |
21.1 (70) |
20.0 (68) |
20.0 (68) |
20.0 (68) |
15.0 (59) |
12.8 (55) |
12.2 (54) |
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) | 0.4 (0.016) |
3.1 (0.122) |
12.4 (0.488) |
37.8 (1.488) |
328.1 (12.917) |
565.6 (22.268) |
605.8 (23.85) |
570.7 (22.469) |
393.7 (15.5) |
200.3 (7.886) |
58.6 (2.307) |
6.8 (0.268) |
2,783.3 (109.579) |
ความชื้นร้อยละ | 62 | 66 | 69 | 66 | 73 | 85 | 86 | 87 | 85 | 78 | 71 | 65 | 74 |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย | 0.2 | 0.2 | 0.4 | 1.6 | 12.6 | 25.3 | 26.2 | 26.1 | 19.5 | 12.2 | 4.8 | 0.2 | 129.3 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 300 | 272 | 290 | 292 | 181 | 80 | 77 | 92 | 97 | 203 | 280 | 288 | 2,452 |
แหล่งที่มา 1: Norwegian Meteorological Institute (average high and average low, and precipitation 1981–2010),[26] World Meteorological Organization (rainy days 1961–1990),[27] Deutscher Wetterdienst (extremes)[28] | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: Danish Meteorological Institute (sun and relative humidity 1931–1960),[29] Tokyo Climate Center (mean temperatures 1981–2010)[30] |
อ้างอิง
แก้- ↑ Census Report. The 2014 Myanmar Population and Housing Census. Vol. 2. Naypyitaw: Ministry of Immigration and Population. May 2015. p. 31.
- ↑ 2.0 2.1 "Third Regional EST Forum: Presentation of Myanmar" (PDF). Singapore: Ministry of Transport, Myanmar. 17–19 March 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-26. สืบค้นเมื่อ 2013-05-08.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ 3.0 3.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
- ↑ "Burma's new capital stages parade". BBC News. 27 March 2006. สืบค้นเมื่อ 3 August 2006.
- ↑ Martin, Steven (30 March 2004). "Burma maintains bygone buildings". BBC News. สืบค้นเมื่อ 22 May 2006.
- ↑ "As Myanmar Modernizes, Architectural Gems Are Endangered". National Public Radio. June 4, 2014. สืบค้นเมื่อ 8 April 2017.
- ↑ De Thabrew, W. Vivian (11 March 2014). Buddhist Monuments And Temples Of Myanmar And Thailand. AuthorHouse. ISBN 9781491896228. สืบค้นเมื่อ 8 April 2017.
- ↑ "Rapid migration and lack of cheap housing fuels Yangon slum growth". Myanmar Now. 2016-02-27. สืบค้นเมื่อ 8 April 2017.
- ↑ Founded during the reign of King Pontarika, per Charles James Forbes Smith-Forbes (1882). Legendary History of Burma and Arakan. The Government Press. p. 20.; the king's reign was 1028 to 1043 per Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd. p. 368.
- ↑ 10.0 10.1 Kyaw Kyaw (2006). Frauke Krass, Hartmut Gaese, Mi Mi Kyi (บ.ก.). Megacity yangon: transformation processes and modern developments. Berlin: Lit Verlag. pp. 333–334. ISBN 3-8258-0042-3.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์) - ↑ "BBC NEWS | Asia-Pacific | Burma maintains bygone buildings". BBC. 2004-03-30. สืบค้นเมื่อ 27 July 2017.
- ↑ "Moulmein, first British capital of Myanmar, back on the tourist map". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 27 July 2017.
- ↑ 13.0 13.1 "Yangon Summary Review and Analysis". Bookrags.com. 17 October 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-28. สืบค้นเมื่อ 17 April 2010.
- ↑ Falconer, John; และคณะ (2001). Burmese Design & Architecture. Hong Kong: Periplus. ISBN 962-593-882-6.
- ↑ 15.0 15.1 Tin Maung Maung Than (1993). Indian Communities in south-east Asia - Some Aspects of Indians in Rangoon. Institute of south-east Asian Studies. pp. 585–587. ISBN 9789812304186.
- ↑ Who, What, Why? (26 September 2007). "Should it be Burma or Myanmar?". BBC News. สืบค้นเมื่อ 17 April 2010.
{{cite news}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "Background Note: Burma". Bureau of East Asian and Pacific Affairs, US Department of State. สืบค้นเมื่อ 1 January 2009.
- ↑ Edward Blair (1 May 2006). "Beyond Rangoon". The Irrawaddy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-04. สืบค้นเมื่อ 2019-03-18.
- ↑ "Special Report". 4 November 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-22. สืบค้นเมื่อ 2019-03-18.
- ↑ Zaw Htet. "Pioneering FMI City 'the best in Yangon'". The Myanmar Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-14. สืบค้นเมื่อ 2019-03-18.
- ↑ "Yangon-Thanlyin Bridge". สืบค้นเมื่อ 7 September 2008.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Kyi Kyi Hla (1 February 2001). "Ngamoeyeik Bridge".
- ↑ Burmese Human Rights Yearbook, 2007, http://www.burmalibrary.org/show.php?cat=1320&lo=d&sl=0
- ↑ Ye Lwin (14 July 2008). "Long road back for industrial recovery". The Myanmar Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-30. สืบค้นเมื่อ 2019-03-18.
- ↑ Peel, M. C. and Finlayson, B. L. and McMahon, T. A. (2007). "Updated world map of the Köppen–Geiger climate classification" (PDF). Hydrol. Earth Syst. Sci. 11 (5): 1633–1644. doi:10.5194/hess-11-1633-2007. ISSN 1027-5606.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "Myanmar Climate Report" (PDF). Norwegian Meteorological Institute. pp. 26–36. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 October 2018. สืบค้นเมื่อ 8 October 2018.
- ↑ "World Weather Information Service – Yangon". World Meteorological Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2016. สืบค้นเมื่อ 8 May 2012.
- ↑ "Klimatafel von Yangon (Rangun) / Myanmar (Birma)" (PDF). Baseline climate means (1961–1990) from stations all over the world (ภาษาเยอรมัน). Deutscher Wetterdienst. สืบค้นเมื่อ 26 April 2018.
- ↑ Cappelen, John; Jensen, Jens. "Myanmar – Rangoon" (PDF). Climate Data for Selected Stations (1931–1960) (ภาษาเดนมาร์ก). Danish Meteorological Institute. p. 189. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 April 2013. สืบค้นเมื่อ 23 February 2013.
- ↑ "Normals Data: YANGON - MYANMAR Latitude: 16.77°N Longitude: 96.17°E Height: 14 (m)". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2019. สืบค้นเมื่อ 13 January 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- คู่มือการท่องเที่ยว Yangon จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- Satellite picture by Google Maps
- BBC article about British colonial architecture in Yangon
- Pasuna, C. Yangon: A Seaport and Administrative Center of the British Colony in Burma, 1852-1948. Journal of Liberal Arts RMUTT, 3(2): 1-15.