บทความนี้เป็นบทความเกี่ยวกับชาติพันธุ์ สำหรับเขตการปกครอง ดูที่ รัฐยะไข่ สำหรับแคว้นโบราณ ดูที่ แคว้นยะไข่

ชาวยะไข่
ရခိုင်လူမျိုး (พม่า)
ประชากรทั้งหมด
5,800,000 (ประมาณ ค.ศ. 2020)
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 พม่า3,600,000
 อินเดีย50,000
 บังกลาเทศ16,000
ภาษา
ยะไข่, พม่า
ศาสนา
พุทธเถรวาท
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
ชาวจีน-ทิเบต (รวมชาวพม่า, ชาวมาร์มา, ชาวมอก)

ยะไข่, อะระกัน หรือ ระขึน (พม่า: ရခိုင်လူမျိုး, สำเนียงยะไข่: [ɹəkʰàɪ̯ɰ̃ lùmjó], สำเนียงพม่า: [jəkʰàɪ̯ɰ̃ lùmjó]) เป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์หลักกลุ่มหนึ่งในประเทศพม่า อาศัยในรัฐยะไข่

ชาวยะไข่ถือเป็นชาวพม่าพื้นถิ่นในรัฐยะไข่กลุ่มหนึ่ง ภาษาพูดของชาวยะไข่นั้นถือเป็นสำเนียงหนึ่งในภาษาพม่า และยังมีร่องรอยของภาษาพม่าโบราณหลงเหลืออยู่ อันมีเสียงบางเสียงซึ่งในภาษาพม่าสำเนียงย่างกุ้งไม่มีใช้แล้ว เช่น เสียง ร โดยภาษายะไข่นั้นยังรักษาเสียง ร ไว้ได้ครบแทบทุกตำแหน่ง หากต้องการสะกดคำที่มีอักษร ร จึงควรดูที่การออกเสียงของภาษายะไข่ ทั้งนี้เนื่องจากยะไข่ห่างไกลศูนย์กลางจากพม่า โดยมีเทือกเขาอาระกันโยมาขวางกั้นอยู่ อีกทั้งยะไข่เองก็เคยมีอิสรภาพในการปกครองตนเองเป็นอาณาจักรอยู่ร่วมหลายร้อยปี ภายหลังจากการมาของอังกฤษ ยะไข่ถูกมองว่าต่างจากชาวพม่าทั่วไป ดินแดนยะไข่จึงถูกกำหนดเป็นรัฐหนึ่งเฉกเช่นเดียวกับชนกลุ่มน้อยในพม่า

ลักษณะนิสัยของชาวยะไข่

แก้

แม้ชาวยะไข่จะมีบรรพบุรุษสืบเชื้อสายเดียวกันกับชาวพม่า แต่กระนั้นชาวพม่าก็ยังมองชาวยะไข่ว่ามีนิสัยใจคอออกไปทางแขก ทั้งนี้เนื่องจากรัฐยะไข่นั้นตั้งอยู่ใกล้กับประเทศบังกลาเทศและประเทศอินเดีย ที่มีทั้งชาวมุสลิมและฮินดู อีกทั้งยังมีความสัมพันธ์กันมายาวนาน โดยอยู่ร่วมและใกล้ชิดกับชาวมุสลิม พม่า��ึงมีโวหารเปรียบเปรยไว้ว่า "หากสู้แขกไม่ไหว ให้ถามพวกยะไข่"[1] ทั้งนี้เนื่องจากชาวยะไข่ที่นับถือศาสนาพุทธอยู่ร่วมสังคมเดียวกับชาวมุสลิมได้ นอกจากนี้พม่ายังกล่าวกันว่าชาวยะไข่นั้นไม่ค่อยจะยอมอ่อนข้อให้ผู้อื่น และร้ายจนพวกแขกก็ไม่กล้ามาตอแยด้วย บ้างก็ว่ายะไข่มักรู้เห็นเป็นใจกับชาวมุสลิม ด้วยนิสัยของชาวยะไข่ พม่าจึงมีโวหารอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับชาวยะไข่คือ "หากเจองูกับยะไข่ ให้ตียะไข่ก่อนตีงู"[1] ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความไม่ลงรอยกันเองระหว่างชาวพม่าและชาวยะไข่ ชาวพม่าบางคนยังให้ทัศนะเกี่ยวกับสตรีชาวยะไข่มักไม่นิยมแต่งงานกับชายที่มีเชื้อสายพม่า ส่วนชาวพม่าเองก็ไม่นิยมชาวยะไข่เนื่องจากมองว่ามีอุปนิสัยออกไปทางแขกมากกว่า[1]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 "ผู้หญิงสองคน : ทัศนะพม่าต่อผู้หญิงที่มีสามีต่างชาติต่างศาสนา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-06. สืบค้นเมื่อ 2010-04-08.