เฉา ชง (จีนตัวย่อ: 曹冲; จีนตัวเต็ม: 曹沖; พินอิน: Cáo Chōng; ค.ศ. 196–208)[1] ชื่อรอง ชางชู (จีนตัวย่อ: 仓舒; จีนตัวเต็ม: 倉舒; พินอิน: Cāngshū) เป็นบุตรชายของโจโฉ ขุนศึกผู้เถลิงอำนาจในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นและวางรากฐานให้วุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน เฉา ชงเป็นเด็กอัจฉริยะซึ่งมีชื่อเสียงจากการคิดวิธีการชั่งน้ำหนักช้างอย่างชาญฉลาดโดยใช้หลักการของแรงลอยตัว โจโฉถือว่าเฉา ชงอาจจะเป็นว่าที่ผู้สืบทอดของตน แต่เฉา ชงเสียชีวิตตั้งแต่ยังเยาว์ขณะอายุ 12 ปี

เฉา ชง
曹沖
ประสูติค.ศ. 196[a]
สวรรคต208 (12 ปี)[1]
พระนามเต็ม
ชื่อสกุล: เฉา/โจ (曹)
ชื่อตัว: ชง (沖)
ชื่อรอง: ชางชู (倉舒)
พระสมัญญานาม
อ๋องแห่งไอ (哀王)
ราชวงศ์ราชวงศ์โจ
พระราชบิดาโจโฉ
พระราชมารดาฮูหยินแซ่ฮฺวาน

ภูมิหลังครอบครัว

แก้

เฉา ชงเป็นบุตรชายคนโตของโจโฉกับนางสนมหฺวานฟูเหริน (環夫人) เขามีน้องชายสองคน คือ เฉา จฺวี่กับโจฮู[2] เขาเป็นเด็กอัจฉริยะและสามก๊กจี่บันทึกว่าเขา "“มีสติปัญญาเท่ากับผู้ใหญ่” เมื่ออายุราวห้าขวบ[3]

หลักการของแรงลอยตัว

แก้

กรณีเกี่ยวกับหนู

แก้

เป็นที่โปรดปรานของบิดา

แก้

เสียชีวิตและทายาท

แก้

เฉา ชงป่วยหนักตอนอายุ 12 ขวบแล้วเสียชีวิต โจโฉเสียใจเป็นอย่างมาก เมื่อโจผี (บุตรชายอีกคนของโจโฉ) ปลอบใจบิดาของตน โจโฉกล่าวว่า “การตายของเฉา ชงเป็นความโชคร้ายของข้าพเจ้า แต่ก็เป็นผลดีต่อเจ้าและพี่น้องของเจ้า"[4] ซุน เชิ่งสงสัยในคำพูดและความตั้งใจของโจโฉที่จะให้เฉา ชงเป็นผู้สืบทอดตำแหน่ง เนื่องจากตามประเพณีจีนนิยมให้บุตรชายคนโตของภรรยาหลักสืบทอดตำแหน่งมากกว่าบุตรชายคนเล็กที่มีความสามารถมากกว่า[5]

โจโฉหลั่งน้ำตาทุกครั้งที่เอ่ยถึงเฉา ชง เขาสั่งให้ฝังเฉา ชงร่วมกับสตรีจากตระกูลเจิน (甄) ที่เสียชีวิต[6] และพระราชทานบรรดาศักดิ์หลังเสียชีวิตให้บุตรชายเป็นผู้บัญชาการทหารม้า (騎都尉) เฉา ฉง (曹琮) หว่านโหว (宛侯) และเฉา จฺวี่ บุตรชายในน้องชายของเฉา ชง ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สืบทอดของเฉา ชง ใน ค.ศ. 217 เฉา ฉงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เติ้งโหว (鄧侯)[7]

ใน ค.ศ. 221 หลังโจผีสถาปนารัฐวุยก๊ก พระองค์พระราชทานพระสมัญญานามแก่เฉา ชงเป็น "เติ้งไอโหว" (鄧哀侯) แต่ภายหลังยกสถานะเป็นกง ทำให้เฉา ชงกลายเป็น "เติ้งไอกง" (鄧哀公) จากนั้นใน ค.ศ. 231 ในรัชสมัยโจยอย เฉา ชงได้รับพระราชทานหลังเสียชีวิตเป็น "เติ้งไออ๋อง" (鄧哀王)[8] โจผีเคยตรัสว่า "พระเชษฐาของข้า (โจงั่ง) เป็นเซี่ยวเหลียนและมีสิทธิ์ครองบัลลังก์ ถ้าชางชูยังมีชีวิตอยู่ ข้าคงไม่สามารถครอบครองอาณาจักรได้"[9]

ดูเพิ่ม

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. จดหมายเหตุสามก๊กบันทึกว่าเฉา ชงเสียชีวิตในศักราชเจี้ยนอัน (ค.ศ. 196-200) ปีที่ 13 ในรัชสมัยของพระเจ้าเหี้ยนเต้ โดยขณะเสียชีวิตมีอายุ 13 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก)[1] เมื่อคำนวณแล้ว ปีเกิดของเฉา ชงจึงควรเป็นราว ค.ศ. 196

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 (年十三,建安十三年疾病,太祖親為請命。及亡,哀甚。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 20.
  2. (武皇帝二十五男: ... 環夫人生鄧哀王沖、彭城王據、燕王宇, ...) สามก๊กจี่ เล่มที่ 20.
  3. (少聦察岐嶷,生五六歲,智意所及,有若成人之智。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 20.
  4. (年十三,建安十三年疾病,太祖親為請命。及亡,哀甚。文帝寬喻太祖,太祖曰:「此我之不幸,而汝曹之幸也。」) สามก๊กจี่ เล่มที่ 20.
  5. (孫盛曰:春秋之義,立嫡以長不以賢。沖雖存也猶不宜立,況其旣沒,而發斯言乎?詩云:「無易由言。」魏武其易之也。) อรรถาธิบายของซุน เชิ่งในสามก๊กจี่เล่มที่ 20.
  6. ไม่มีใครทราบว่าตระกูลนี้มีความเกี่ยวข้องกับตระกูลของเอียนซีหรือไม่
  7. (言則流涕,為聘甄氏亡女與合葬,贈騎都尉印綬,命宛侯據子琮奉沖後。[建安]二十二年,封琮為鄧侯。) สามก๊กจี่เล่มที่ 20.
  8. (黃初二年,追贈謚沖曰鄧哀侯,又追加號為公。 ... 太和五年,加沖號曰鄧哀王。) สามก๊กจี่เล่มที่ 20.
  9. (魏略曰:文帝常言「家兄孝廉,自其分也。若使倉舒在,我亦無天下。」) อรรถาธิบาย Weilue ในสามก๊กจี่เล่��ที่ 20.
  • ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
  • Needham, Joseph (1986). Science and Civilization in China: Volume 4, Part I. Taipei: Caves Books, Ltd.
  • เผย์ ซงจือ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อจู้).