อธิรัฐ รัตนเศรษฐ
อธิรัฐ รัตนเศรษฐ (เกิด 18 เมษายน พ.ศ. 2527) ชื่อเล่น แบงค์[1] เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา
อธิรัฐ รัตนเศรษฐ | |
---|---|
อธิรัฐ ใน พ.ศ. 2563 | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
รักษาการ | |
ดำรงตำแหน่ง 3 มีนาคม พ.ศ. 2566 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566 (0 ปี 182 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | ศักดิ์สยาม ชิดชอบ (รัฐมนตรีว่าการ) |
ถัดไป | สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ (รัฐมนตรีว่าการ) |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566 (4 ปี 53 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
รัฐมนตรีว่าการ | ศักดิ์สยาม ชิดชอบ |
ก่อนหน้า | ไพรินทร์ ชูโชติถาวร |
ถัดไป | มนพร เจริญศรี สุรพงษ์ ปิยะโชติ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา | |
ดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 (11 ปี 260 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 เมษายน พ.ศ. 2527 เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2551–2561) พลังประชารัฐ (2561–2567) |
คู่สมรส | อรัชมน รัตนวราหะ |
ศิษย์เก่า | วชิราวุธวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี |
ประวัติ
แก้อธิรัฐ เกิดเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2527 เป็นบุตรนายวิรัช รัตนเศรษฐ นางทัศนียา รัตนเศรษฐ (สกุลเดิม: แซ่ตั้ง) ด้า��ครอบครัวสมรสกับอรัชมน รัตนวราหะ มีบุตร 1 คน
สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย รัฐศาสตรบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สิงห์แดง 54), Master of Arts สาขา International Business จาก London Metropolitan University (Sir John Cass College of Art) ประเทศอังกฤษ และ บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (การบริหารธุรกิจ) มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
การทำงาน
แก้เคยรับราชการในตำแหน่งปลัดอำเภอ ณ จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดนครราชสีมา ตามลำดับ[2]
งานการเมือง
แก้อธิรัฐลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย เอาชนะนายพีรพร สุวรรณฉวี บุตรชายว่าที่ร้อยตรีไพโรจน์ สุวรรณฉวี (เสียชีวิต) และร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี จากพรรคชาติพัฒนา
ในปี พ.ศ. 2562 เขาย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐพร้อมลงเลือกตั้งในจังหวัดเดิม และชนะการเลือกตั้งเป็นสมัยที่สอง ส่วนในอีกสี่ปีต่อมา เขายังสังกัดพรรคเดิม แต่ย้ายไปสมัครในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 4[3]
ในวันที่ 13 มิถุนายน 2566 คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง ตติรัฐ รัตนเศรษฐ น้องชายของเขาเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้อธิรัฐ รัตนเศรษฐ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ เปิดประวัติ "อธิรัฐ รัตนเศรษฐ" รัฐมนตรีอายุน้อยที่สุดใน ครม.ประยุทธ์ 2/1
- ↑ อธิรัฐเคยรับราชการในตำแหน่งปลัดอำเภอ
- ↑ "เช็ค 85 รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ เรียงตามลำดับ". prachatai.com.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ เก็บถาวร 2012-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ), ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง