สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 10 ธันวาคม พ.ศ. 2497) เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร ต่อมานายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร แต่งตั้งให้เป็น ประธานกรรมการในคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ | |
---|---|
สุริยะใน พ.ศ. 2566 | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 27 เมษายน พ.ศ. 2567 (0 ปี 211 วัน) ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ภูมิธรรม เวชยชัย (2567–ปัจจุบัน) พิชัย ชุณหวชิร (2567–ปัจจุบัน) อนุทิน ชาญวีรกูล (2567–ปัจจุบัน) พัชรวาท วงษ์สุวรรณ (2567) พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (2567–ปัจจุบัน) ประเสริฐ จันทรรวงทอง (2567–ปัจจุบัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน แพทองธาร ชินวัตร |
ก่อนหน้า | ภูมิธรรม เวชยชัย สมศักดิ์ เทพสุทิน ปานปรีย์ พหิทธานุกร อนุทิน ชาญวีรกูล พัชรวาท วงษ์สุวรรณ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค |
ดำรงตำแหน่ง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549 (1 ปี 48 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 1 กันยายน พ.ศ. 2566 (1 ปี 84 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน แพทองธาร ชินวัตร |
รัฐมนตรีช่วย | มนพร เจริญศรี สุรพงษ์ ปิยะโชติ |
ก่อนหน้า | ศักดิ์สยาม ชิดชอบ |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 (0 ปี 144 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
รัฐมนตรีช่วย | อดิศร เพียงเกษ ภูมิธรรม เวชยชัย |
ก่อนหน้า | ตนเอง |
ถัดไป | พงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล |
ดำรงตำแหน่ง 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 (2 ปี 159 วัน) | |
ก่อนหน้า | วันมูหะมัดนอร์ มะทา |
ถัดไป | ตนเอง |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 17 มีนาคม พ.ศ. 2566 (3 ปี 250 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | อุตตม สาวนายน |
ถัดไป | อนุชา นาคาศัย (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ รักษาราชการแทน) |
ดำรงตำแหน่ง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549 (1 ปี 48 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | วัฒนา เมืองสุข |
ถัดไป | โฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ |
ดำรงตำแหน่ง 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 (1 ปี 228 วัน) | |
ก่อนหน้า | สุวัจน์ ลิปตพัลลภ |
ถัดไป | สมศักดิ์ เทพสุทิน |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 29 มิถุนายน พ.ศ. 2542 (0 ปี 267 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
ดำรงตำแหน่ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 – 19 มกราคม พ.ศ. 2567 (0 ปี 246 วัน) | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 17 มีนาคม พ.ศ. 2566 (3 ปี 358 วัน) | |
เลขาธิการพรรคไทยรักไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 27 มกราคม พ.ศ. 2545 – 2 ตุลาคม พ.ศ. 2549 (4 ปี 248 วัน) | |
ก่อนหน้า | ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ |
ถัดไป | วิเชษฐ์ เกษมทองศรี |
รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ | |
ดำรงตำแหน่ง 27 มิถุนายน พ.ศ. 2563 – 17 มีนาคม พ.ศ. 2565 (2 ปี 263 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | สุริยะ แซ่จึง 10 ธันวาคม พ.ศ. 2497 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | กิจสังคม (2519–2542) ไทยรักไทย (2542–2550) ภูมิใจไทย (2552–2556) เพื่อไทย (2556–2561, 2566–ปัจจุบัน) พลังประชารัฐ (2561–2566) |
คู่สมรส | สุริสา จึงรุ่งเรืองกิจ |
ลายมือชื่อ | |
ประวัติ
แก้สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2497 ที่กรุงเทพมหานคร (จังหวัดพระนครในขณะนั้น) เป็นบุตรของนายอาฮง แซ่จึง และ นางม้วยเซียง(แซ่เดิมคือ "แซ่โป่ว" หรือ "แซ่หวัง") มีพี่น้อง 5 คน คือ นายสรรเสริญ จุฬางกูร, นายพัฒนา จึงรุ่งเรืองกิจ(เสียชีวิตแล้ว), นายโกมล จึงรุ่งเรืองกิจ, นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ และ น.ส.อริสดา จึงรุ่งเรืองกิจ
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และเข้าศึกษาต่อที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับนายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ซึ่งเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลทักษิณและรัฐบาลเศรษฐา โดยนายสุริยะได้ศึกษาเป็นเวลาครึ่งปี แต่ด้วยผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ทำให้นายสุริยะได้เปลี่ยนแผนไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศแทน จนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิศวกรรมอุตสาหการ จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ.2521 นอกจากนี้ยังเข้าศึกษาที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร(วปอ.) จนกระทั่งสำเร็จได้รับวุฒิปริญญาบัตรในปี 2538 ซึ่งเรียนรุ่นเดียวกันกับ คุณทนง พิทยะ คุณสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม คุณพิสิฐ กุศลาไสยานนท์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ การบินไทย [1]
ด้านชีวิตส่วนตัวสมรสแล้วกับนางสุริสา จึงรุ่งเรืองกิจ มีบุตรชาย 1 คน คือ ศาตนันท์ จึงรุ่งเรืองกิจ และเป็นอาของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้เข้าสู่ชีวิตทางการเมืองมีตำแหน่งทางการเมืองครั้งแรก คือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย ปี พ.ศ. 2541 ในโควตาพรรคกิจสังคม ซึ่งการก้าวสู่เส้นทางทางการเมืองได้รับการเชื่อถือจากนายมนตรี พงษ์พานิช หัวหน้าพรรคกิจสังคม ซึ่งนายสุริยะได้เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีหลายกระทรวงในช่วงที่นายสมศักดิ์ เทพสุทินดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
ในเวลาต่อมาเมื่อการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2544 นายสุริยะได้เข้าร่วมสังกัดพรรคไทยรักไทย ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรค โดยนายสุริยะเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 12
เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2545 ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีพรรคไทยรักไทย มีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งในพรรคไทยรักไทย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้เข้าสู่ตำแหน่งเลขาธิการพรรคไทยรักไทย แทน ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
ผลงานที่สำคัญระหว่างที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2544 ได้จัดตั้งธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เพื่อพัฒนารัฐวิสาหกิจให้เป็นองค์กรหลักในการกอบกู้เศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้ประเทศ รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย ในปี พ.ศ. 2545 วันที่ 25 เมษายน ที่ทำเนียบรัฐบาล พ.ต.ท ทักษิณ ชินวัตร พร้อมด้วยนายสุริยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและนายชัก วิลเลียมสัน ประธานกรรมการบริษัทยูโนแคล คอร์ปอเรชั่น ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติระหว่างบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) กับบริษัท ยูโนแคลไทยแลนด์ จำกัด บริษัทมิตซุยออยล์ เอ็กซพลอเรชั่น จำกัด และบริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด จำนวน 2 ฉบับได้แก่ สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแหล่งเอราวัณและแหล่งยูโนแคล 2/3 ทั้งนี้ส่งผลให้เกิดการประหยัดเงินได้ 10,294 ล้านบาท ตลอดอายุสัมปทาน 10 ปี
ผลงานที่สำคัญในช่วงที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม 2545 จนถึง ปี 2548 คือ การดูแลเรื่องการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ อย่างการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย, การปราบปรามทุจริตในการจัดเก็บค่าผ่านทางมอเตอร์เวย์ของกรมทางหลวงในปี พ.ศ. 2545 การเร่งรัดการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ , การสนับสนุนให้มีการก่อสร้างระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายใต้ ตอน S1 , การเร่งรัดการเปิดดำเนินการให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน สายสีน้ำเงินตอนหัวลำโพง-บางซื่อ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จนถึงการเปิดเสรีการบินในประเทศไทย พัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค นโยบายสายการบินราคาประหยัด(Low Cost Airlines) ในประเทศไทย ถือเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าของการเดินทางทางอากาศของประเทศไทย โดยเป็นการเพิ่มโอกาสการเดินทางของประชาชนมากขึ้น ทำให้สะดวก รวดเร็ว และประหยัดเวลา ทำให้วงจรเศรษฐกิจหมุนเร็วขึ้น อันมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ อีกทั้งทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มในอุตสาหกรรมการบิน เช่น โครงการนักบินเอื้ออาธร เป็นต้น[2]
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555 ทาง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ได้มีมติเอกฉันท์ยกคำร้องกรณีคดีทุจริตเครื่องตรวจสัมภาระภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือ CTX9000 ของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น[3]
การทำงาน
แก้- รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรม (พรรคไทยรักไทย, รัฐบาลทักษิณ 2) (พรรคพลังประชารัฐ,รัฐบาลประยุทธ์ 2)
- รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม (พรรคไทยรักไทย, รัฐบาลทักษิณ 2)[4]
- เลขาธิการพรรค พรรคไทยรักไทย
- พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2545 - รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรม (ส.ส. บัญชีรายชื่อลำดับที่ 12 พรรคไทยรักไทย, รัฐบาลทักษิณ 1)
- พ.ศ. 2541 - รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรม (พรรคกิจสังคม, รัฐบาลชวน 2)
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรม
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงพาณิชย์
- กรรมการ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.)
- กรรมการ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
- ประธานกรรมการ บริษัท ซัมมิทอิเล็กทรอนิกส์ คอมโพเนนท์ จำกัด
- ประธานกรรมการ บริษัท ซัมมิท แอดวานซ์ แมททีเรียล จำกัด
- กรรมการผู้จัดการ บริษัท โอโดซีพ อินดัสตรี จำกัด
- กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซัมมิท โอโตบอดี้ อินดัสตรี จำกัด
- กรรมการบริหาร บริษัท ซัมมิท ไพน์เฮิร์สท กอล์ฟ แอนด์ คันทรีคลับ จำกัด
- ประธานกรรมการยุทธศาสตร์การเลือกตั้ง พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)
- ประธานกรรมการในคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
การเข้าร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ
แก้ในปี พ.ศ. 2550 เขาได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[5] หลังจากนั้นได้เข้าร่วมแถลงข่าวเปิดตัวพรรคภูมิใจไทย เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552 ที่โรงแรมสยามซิตี้ โดยร่วมกับแกนนำ อาทิ ชวรัตน์ ชาญวีรกูล บุญจง วงศ์ไตรรัตน์ โสภณ ซารัมย์ ศุภชัย ใจสมุทร และพรทิวา นาคาศัย
กระทั่งวันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2561 นายสุริยะในฐานะหัวหน้ากลุ่มสามมิตรได้ประกาศเข้าร่วมงานกับ พรรคพลังประชารัฐ ต่อมาก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาและกลุ่มสามมิตร ได้ย้ายไปร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย
การเข้าร่วมกับพรรคเพื่อไทย
แก้สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ย้ายกลับไปร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย ก่อนการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 จะเกิดขึ้น ต่อมาเขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ในปี 2566[6] และต่อมาในปลายเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 เขาได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้เป็นรองนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่ง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญสนองเสรีชน (ส.ส.ช.)
อ้างอิง
แก้- ↑ ไพบูลย์เปิดหน้าชน ดัน "สุริยะ" เป็น รมว.พลังงาน ยืนยันเป็นโควตพลังประชารัฐ ไทยรัฐ. 21 กรกฎาคม 2563
- ↑ 4 ปีซ่อมประเทศไทยเพื่อคนไทย โดย รัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร, น. 83
- ↑ 'ทักษิณ-สุริยะ'เฮยกคำร้องคดีทุจริต "ซีทีเอ็กซ์" ไทยรัฐ. 29 สิงหาคม 2555
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๒๒ ตอนพิเศษ ๒๒ ง หน้า ๒, ๑๑ มีนาคม ๒๕๔๘
- ↑ "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
- ↑ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี "เศรษฐา" นายกฯ ควบ "รมว.คลัง"
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ผ่าขบวนการ สินบนอินวิชั่น เก็บถาวร 2005-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, นสพ. กรุงเทพธุรกิจ