หมู่ถ้ำหมื่นพุทธะกุมตุรา (จีนตัวย่อ: ; จีนตัวเต็ม: 庫木吐喇千佛洞; พินอิน: Kùmùtǔlǎ Qiānfódòng) หรือ หมู่ถ้ำกุมตุรา (หรือ Qumtura หรือ Kumtura จาก อุยกูร์: قۇمتۇرا) เป็นคูหาพุทธารามในถ้ำที่ตั้งอยู่ในซินเจียง ประเทศจีน ตั้งอยู่ห่างไป 25 กิโลเมตรทางตะวันออกของกูชาบนเส้นทางสายไหมโบราณ[1][2] ใกล้กันยังเป็นที่ตั้งของคูหาพุทธอื่น ๆ เช่น หมู่ถ้ำกีซีกาฮา, กีซิล, ซูบาชี และซิมซิม[3]

ถ้ำคูหากุมตุรา
จิตรกรรมฝาผนังในคูหาหนึ่งของถ้ำกุมตุรา
หมู่ถ้ำกุมตุราตั้งอยู่ในซินเจียง
หมู่ถ้ำกุมตุรา
แสดงที่ตั้งภายในซินเจียง
หมู่ถ้ำกุมตุราตั้งอยู่ในประเทศจีน
หมู่ถ้ำกุมตุรา
หมู่ถ้ำกุมตุรา (ประเทศจีน)
ที่ตั้งซินเจียง ประเทศจีน
พิกัด41°42′42″N 82°40′42″E / 41.7117°N 82.6784°E / 41.7117; 82.6784

การสำรวจโบราณคดีพบอารามถ้ำรวม 112 คูหา ที่คงเหลือถึงปัจจุบัน อายุระหว่างศตวรรษที่ 5-11 นักสำรวจตะวันตกมากมายเคยเดินทางมาที่นี่ ซึ่งรวมถึงคณะสำรวจโอตานี, เซร์เกย์ เฟดอรอวิช อลเดนบวร์ค และ เลอค็อก[4][5][6][7] ผู้ลอกเอาจิตรกรรมฝาผนังบางส่วนจากผนังถ้ำกลับไปยังเบอร์ลิน (ปัจจุบันอยู่ที่มูเซอุมฟือร์อาซีอาทิชเชอคุนซท์)[8]

หลังการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำตงฟางฮง (Dongfang Hong Hydroelectric Plant) ในทศวรรษ 1970 ระดับน้ำในแม่น้ำมูซัตเพิ่มสูงขึ้นและมีผลทำให้จิตรกรรมฝาผนังในถ้ำเสื่อมสภาพเร็วขึ้น[1] มาตราการอนุรักษ์ในระยะยาวเริ่มต้นในปี 1999 ภายใต้การนำของยูเนสโก และประกอบด้วยการบันทึกข้อมูลอย่างละเอียดไปจนถึงการแยกชั้นหินตะกอน[1][9] หมู่ถ้ำคูหาเหล่านี้ได้รับสถานะคุ้มครองในปี 1961 โดยรัฐบาลจีนให้เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งชาติแห่งแรก ๆ ของประเทศ[10] ในปี 2008 ได้มีการเสนอชื่อเบื้องต้นเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโกในฐานะส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมในจีน[11]

สมุดภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 Agnew, Neville, บ.ก. (2010). Conservation of Ancient Sites on the Silk Road: Proceedings of the Second International Conference (PDF). Getty Conservation Institute. pp. 37–9. ISBN 9781606060131. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-04-16.
  2. Wang Weidong, บ.ก. (2008). 库木吐喇石窟内容总录 [A general record of the Kumtura caves] (ภาษาจีน). 文物出版社. ISBN 9787501023844.
  3. (Other than Kizil)... "The nearby site of Kumtura contains over a hundred caves, forty of which contain painted murals or inscriptions. Other cave sites near Kucha include Subashi, Kizilgaha, and Simsim." in Buswell, Robert E.; Lopez, Donald S. (24 November 2013). The Princeton Dictionary of Buddhism (ภาษาอังกฤษ). Princeton University Press. p. 438. ISBN 978-1-4008-4805-8.
  4. "Japanese Collections". International Dunhuang Project. สืบค้นเมื่อ 28 April 2012.
  5. "Russian Collections". International Dunhuang Project. สืบค้นเมื่อ 28 April 2012.
  6. "German Collections". International Dunhuang Project. สืบค้นเมื่อ 28 April 2012.
  7. Hopkirk, Peter (1984). Foreign Devils on the Silk Road: The Search for the Lost Cities and Treasures of Chinese Central Asia. University of Massachusetts Press. ISBN 0870234358.
  8. "MIA Kumtura Collection". University of Washington. สืบค้นเมื่อ 28 April 2012.
  9. "The Conservation and Restoration of Kumtura Thousand Buddha Caves". UNESCO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2013. สืบค้นเมื่อ 28 April 2012.
  10. "国务院关于公布第一批全国重点文物保护单位名单的通知 (1st Designations)" (ภาษาจีน). State Administration of Cultural Heritage. 3 April 1961. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 June 2012. สืบค้นเมื่อ 28 April 2012.
  11. "Chinese Section of the Silk Road". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 April 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้