สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ
โจโก (ญี่ปุ่น: 上皇; โรมาจิ: Jōkō) พระนามจริงว่า อากิฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 明仁; โรมาจิ: Akihito, พระราชสมภพ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1933) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นพระองค์ที่ 125 ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1989 จนสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 2019 นับเป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นพระองค์แรกที่ทรงสละราชสมบัติในรอบสองศตวรรษ
สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ | |||||
---|---|---|---|---|---|
โจโก | |||||
พระบรมฉายาลักษณ์ใน ค.ศ. 2014 | |||||
จักรพรรดิญี่ปุ่น | |||||
ครองราชย์ | 7 มกราคม 1989 – 30 เมษายน 2019 (30 ปี 112 วัน) | ||||
พิธีขึ้น | 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989 พระราชวังหลวง กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น | ||||
ก่อนหน้า | จักรพรรดิโชวะ | ||||
ถัดไป | จักรพรรดินารูฮิโตะ | ||||
นายกรัฐมนตรี | |||||
ไดโจเท็นโน | |||||
ดำรงพระยศ | 1 พฤษภาคม 2019 – ปัจจุบัน (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) | ||||
พระราชสมภพ | พระราชวังหลวง กรุงโตเกียว จักรวรรดิญี่ปุ่น (ปัจจุบันคือ เขตชิโยดะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น)[1] | 23 ธันวาคม ค.ศ. 1933||||
จักรพรรดินี | จักรพรรดินีมิชิโกะ | ||||
พระราชบุตร | |||||
| |||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ญี่ปุ่น | ||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิโชวะ | ||||
พระราชมารดา | จักรพรรดินีโคจุง | ||||
ศาสนา | ชินโต | ||||
ลายพระอภิไธย |
พระนาม
แก้ในรัชสมัยของจักรพรรดิอากิฮิโตะ ในญี่ปุ่นจะไม่มีการเรียกพระนามของพระองค์โดยตรง แต่จะเรียกว่า "สมเด็จพระจักรพรรดิ" (ญี่ปุ่น: 天皇陛下; โรมาจิ: Tennō Heika) ย่อว่า "เฮกะ" (ญี่ปุ่น: 陛下; โรมาจิ: Heika)[2] หรือ "จักรพรรดิองค์ปัจจุบัน" (ญี่ปุ่น: 今上天皇; โรมาจิ: Kinjō Tennō) รัชสมัยของจักรพรรดิอากิฮิโตะ คือยุคเฮเซ (ญี่ปุ่น: 平成; โรมาจิ: Heisei) โดยตามธรรมเนียมปฏิบัติหลังการสวรรคต คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นจะถวายพระนามใหม่เป็น "จักรพรรดิเฮเซ" (ญี่ปุ่น: 平成天皇; โรมาจิ: Heisei Tennō)
เมื่อจักรพรรรดิอากิฮิโตะสละราชสมบัติ ทรงดำรงพระอิสสริยยศใหม่เป็น "โจโก" (ญี่ปุ่น: 上皇; โรมาจิ: Jōkō) คำย่อของ "ไดโจเท็นโน" (ญี่ปุ่น: 太上天皇; โรมาจิ: Daijō Tennō) หรือภาษาอังกฤษว่า "Emperor Emeritus"[3][4][5]
พระราชประวัติ
แก้จักรพรรดิอากิฮิโตะเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ปีโชวะที่ 8 (ค.ศ. 1933) ณ พระราชวังหลวง กรุงโตเกียว พระองค์เป็นพระราชบุตรลำดับที่ 5 ใน 7 พระองค์ในจักรพรรดิโชวะกับจักรพรรดินีโคจุง แต่เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ เมื่อแรกประสูติทรงพระยศและราชทินนามเป็น เจ้าชายสึงุ (ญี่ปุ่น: 継宮; โรมาจิ: สึงุ-โนะ-มิยะ) พระองค์ยังเป็นพระประยูรญาติของเจ้าหญิงพังจา มกุฎราชกุมารีองค์สุดท้ายของราชวงศ์เกาหลี
ตามลำดับการสืบสันตติวงศ์ของญี่ปุ่น พระองค์ทรงเป็นรัชทายาทอันดับ 1 ของราชบัลลังก์เบญจมาศตั้งแต่ประสูติ และทรงเข้าพระราชพิธีสถาปนาเป็นมกุฎราชกุมาร (ญี่ปุ่น: 立太子の礼; โรมาจิ: ริตไตชิ-โนะ-เร) ในวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1951
ในวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1959 มกุฎราชกุมารอากิฮิโตะอภิเษกสมรสกับนางสาวมิชิโกะ โชดะ การอภิเษกสมรสครั้งนี้สร้างประวัติศาสตร์ใหม่ให้ญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นการอภิเษกของสตรีสามัญชนครั้งแรกกับราชวงศ์ญี่ปุ่น ทำให้นางสาวโชดะกลายเป็นมกุฎราชกุมารีมิชิโกะ
เมื่อจักรพรรดิโชวะเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1989 มกุฎราชกุมารอากิฮิโตะเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 125 ของญี่ปุ่นต่อทันที ตามโบราณราชประเพณี และมีการส่งต่อไตรราชกกุธภัณฑ์ ต่อมาในวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1990 ทรงรับราชาภิเษกเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ และทรงสถาปนามกุฎราชกุมารีมิจิโกะขึ้นเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ
ในปลายสงครามโลกครั้งที่สอง พระองค์และพระอนุชาเจ้าชายมาซาฮิโตะต้องเสด็จหนีการทิ้งระเบิดโดยสหรัฐไปประทับนอกกรุงโตเกียว และเมื่อสหรัฐเข้ายึดครองญี่ปุ่น พระองค์ได้รับการสอนภาษาอังกฤษและธรรมเนียมตะวันตกโดยครูชาวอเมริกัน เอลิซาเบธ เกรย์ วินนิง นอกจากนี้ ยังทรงเข้าศึกษาสั้น ๆ ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกากุชูอิง แต่ไม่ทรงได้รับปริญญา
พระอัจฉริยภาพทางด้านมีนวิทยา
แก้จักรพรรดิอากิฮิโตะทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องสัตว์น้ำพระองค์หนึ่งของประเทศ ทรงศึกษาวิชามีนวิทยา จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกากุชูอิง กรุงโตเกียว เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังประเทศไทย และทูลเกล้าฯ ถวายปลานิลจำนวน 50 ตัว แด่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1965 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ซึ่งการทดลองเลี้ยงนับว่าประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง จนปัจจุบัน ปลานิลกลายเป็นหนึ่งในปลาเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของไทย โดยก่อนหน้านั้น พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงนำเสด็จพระราชดำเนิน มกุฎราชกุมารอากิฮิโตะและมกุฎราชกุมารีมิชิโกะ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรกิจการคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เมื่อวันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1964
นอกจากนี้แล้ว ในปี ค.ศ. 2005 ได้การค้นพบปลาในตระกูลปลาบู่ทะเลชนิดใหม่ ซึ่งได้มีการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Exyrias akihito และต่อมาก็ได้มีการค้นพบปลาบู่น้ำจืดสกุลใหม่ ซึ่งก็ได้มีการตั้งชื่อว่า Akihito เพื่อถวายเป็นพระเกียรติยศแด่พระองค์
การสละราชสมบัติ
แก้พระองค์มีพระราชกระแสรับสั่งต่อประชาชนในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 2016 ซึ่งมีความนัยถึงการสละราชบัลลังก์ให้แก่มกุฎราชกุมารนารูฮิโตะ พระราชโอรสองค์ใหญ่[6][7] และในกรณีเมื่อจักรพรรดิอากิฮิโตะสละราชบัลลังก์แล้ว ก็จะต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎมนเทียรบาล คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นคาดการณ์ว่า จะสามารถทูลเชิญเจ้าชายนารูฮิโตะขึ้นสืบราชบัลลังก์ได้ในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2018[8] โดยจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ล่าสุดที่สละราชสมบัติ คือ จักรพรรดิโคกะกุ เมื่อ ค.ศ. 1817[9][10]
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2016 สถานีกระจายเสียงแห่งชาติเอ็นเอชเค รายงานว่า จักรพรรดิเตรียมการสละราชสมบัติ เพื่อประโยชน์ต่อพระราชบุตรพระองค์ใหญ่คือเจ้าชายนารูฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่นภายในอีกไม่กี่ปี โดยทรงอ้างถึงพระชนมายุขององค์มกุฎราชกุมาร การสละราชสมบัติในราชวงศ์ญี่ปุ่นไม่ปรากฏมานับตั้งแต่ในรัชสมัยของจักรพรรดิโคกะกุ เมื่อปี 1817 อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่อาวุโสของสำนักพระราชวังหลวงได้ออกมาปฏิเสธข่าวดังกล่าวว่า ไม่มีแผนอย่างเป็นทางการใด ๆ สำหรับให้สมเด็จพระจักรพรรดิสละราชสมบัติ การสละราชสมบัติที่อาจเกิดขึ้นสำหรับสมเด็จพระจักรพรรดินั้น จะต้องมีการแก้ไขกฎราชวงศ์ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีข้อกำหนดสำหรับการกระทำนั้น[11][12] เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2016 จักรพรรดิมีพระราชดำรัสสดผ่านทางโทรทัศน์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่พบได้ยาก โดยตรัสย้ำถึงพระชนมายุที่มากขึ้นและพระพลานามัยที่โทรมลง[13] การที่มีพระราชดำรัสผ่านโทรทัศน์ครั้งนี้จึงตีความกันว่า พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะสละราชสมบัติ[14] ตามข้อมูลของรัฐบาลญี่ปุ่นระบุว่า เพื่อหลีกเลี่ยงการแทรกแซงกฎราชวงศ์และกฎการสืบราชสันตติวงศ์ จึงมีการพิจารณายกเว้นเป็นกรณีพิเศษครั้งเดียว ซึ่งเปิดทางให้พระองค์สละราชสมบัติได้ ซึ่งคาดว่าจะทรงสละราชสมบัติในวันที่ 31 ธันวาคม 2018[8]
ในวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 2017 หนังสือพิมพ์ ไมนิจิชิมบุง ได้เผยแพร่คำให้สัมภาษณ์ของเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังรายหนึ่งว่าเมื่อจักรพรรดิอากิฮิโตะสละราชบัลลังก์ให้แก่เจ้าชายนารูฮิโตะ แล้วจะเสด็จย้ายไปประทับที่พระตำหนักอากาซากะ อันเป็นที่ประทับของเจ้าชายอากิชิโนะ ส่วนเจ้าอากิชิโนะและพระสันตติวงศ์จะย้ายไปประทับที่พระตำหนักโทงู แทน[15]
วันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2017 รัฐบาลญี่ปุ่นได้เสนอร่างกฎหมายสละราชบัลลังก์ซึ่งมีผลเฉพาะสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะเท่านั้นต่อสภาผู้แทนราษฎรซึ่งสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้และได้มีการนำเสนอเข้าที่ประชุมวุฒิสภาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 2017
เมื่อทรงสละราชสมบัติ มกุฎราชกุมารนารูฮิโตะก็จะขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อในทันทีพร้อมกับพระนามของพระองค์ที่จะเปลี่ยนเป็น "สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ" พร้อมกันนั้นทางรัฐบาลญี่ปุ่นก็จะได้ถวายนามรัชศกใหม่เพื่อใช้แทนรัชศก เฮเซ ที่จะสิ้นสุดลงไปในวันเดียวกันนอกจากนี้ลำดับสิทธิ์ในการสืบราชสันตติวงศ์ของญี่ปุ่นก็จะมีการเปลี่ยนแปลงคือ เจ้าชายฟูมิฮิโตะ อากิชิโนะโนะมิยะ พระอนุชาก็จะขยับขึ้นเป็นรัชทายาทลำดับที่ 1 ขณะที่ เจ้าชายฮิซาฮิโตะแห่งอากิชิโนะ พระนัดดาจะขยับขึ้นเป็นรัชทายาทลำดับที่ 2 และ เจ้าชายมาซาฮิโตะ ฮิตาจิโนมิยะ พระปิตุลา (อา) จะขยับขึ้นเป็นรัชทายาทลำดับที่ 3
ในวันจันทร์ที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2019 ได้มีการประกาศเผยแพร่นามรัชศกใหม่ของสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ใหม่ออกมาคือ เรวะ ซึ่งเริ่มต้นใช้วันพุธที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2019
พระราชโอรสและพระราชธิดา
แก้จักรพรรดิอากิฮิโตะ และจักรพรรดินีมิชิโกะ มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม 3 พระองค์ ได้แก่
พระนาม | ประสูติ | เสกสมรส | พระบุตร | |
---|---|---|---|---|
วันที่ | คู่สมรส | |||
สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ | 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1960 | 9 มิถุนายน ค.ศ. 1993 | มาซาโกะ โอวาดะ | เจ้าหญิงไอโกะ โทชิโนะมิยะ |
เจ้าชายฟูมิฮิโตะ อากิชิโนะโนะมิยะ | 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1965 | 29 มิถุนายน ค.ศ. 1990 | คิโกะ คาวาชิมะ | |
ซายาโกะ คูโรดะ (เจ้าหญิงซายาโกะ โนริโนะมิยะ) |
18 เมษายน ค.ศ. 1969 | 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005 | โยชิกิ คูโรดะ | ไม่มี |
พระราชอิสริยยศ
แก้ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
การทูล | โจโกเฮกะ (上皇陛下) |
การแทนตน | โบกุ (บุรุษ) / วาตาชิ (สตรี) |
การขานรับ | เฮกะ (陛下) |
- 23 ธันวาคม 1933 – 10 พฤศจิกายน 1952: เจ้าชายอากิฮิโตะ สึงุโนะมิยะ
- 10 พฤศจิกายน 1952 – 7 มกราคม 1989: เจ้าชายอากิฮิโตะ มกุฎราชกุมาร
- 7 มกราคม 1989 – 30 เมษายน 2019: สมเด็จพระจักรพรรดิ
- 1 พฤษภาคม 2019 – ปัจจุบัน: โจโก สมเด็จพระจักรพรรดิพระเจ้าหลวง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ญี่ปุ่น
แก้จักรพรรดิอากิฮิโตะ ทรงเป็นประธานของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ญี่ปุ่นดังต่อไปนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- สหราชอาณาจักร :
- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เตอร์ ชั้นสูงสุด
- พ.ศ. 2501 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รอยัลวิกตอเรียน ชั้นสูงสุด
- พ.ศ. 2501 – เหรียญที่ระลึกในพระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
- ฟิลิปปินส์ :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – ลีเจียนออฟออเนอร์ ชั้นหัวหน้าผู้บัญชาการ
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องอิสริยาภรณ์ซิกาตูนา ชั้นที่ 1
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องอิสริยาภรณ์ลาคันดูลา ชั้นที่ 1
- ไทย :
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ (ร.ม.ภ.)[16]
- พ.ศ. 2507 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[17]
- พ.ศ. 2549 – เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
- เนปาล :
- โปรตุเกส :
- พ.ศ. 2536 – เครื่องเสนาอิสริยาภรณ์นักบุญยากอบและพระขรรค์ ชั้นสายสร้อย
- พ.ศ. 2541 – เครื่องอิสริยาภรณ์อิงฟังตึ เด. เอ็งรีกึ ชั้นสายสร้อย
- ไลบีเรีย :
- สเปน :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ขนแกะทองคำ
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชาร์ลส์ที่ 3 ชั้นที่ 2
- เดนมาร์ก :
- พ.ศ. 2496 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา
- ฝรั่งเศส :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นกร็อง-กรัวซ์
- กัมพูชา :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องอิสริยยศพระราชาณาจักรกัมพูชา ชั้นมหาเสรีวัฒน์
- เปรู :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องอิสริยาภรณ์พระอาทิตย์แห่งเปรู ชั้นประถมาภรณ์
- บราซิล :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องอิสริยาภรณ์ดาวกางเขนใต้ ชั้นสายสร้อย
- เช็กเกีย :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องอิสริยาภรณ์ราชสีห์ขาว ชั้นที่ 1
- เยอรมนี :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 1 พิเศษ
- อินโดนีเซีย :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ชั้นอธิปุรณา
- อิตาลี :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ชั้นอัศวินแกรนด์ครอส (พร้อมดวงตรา)
- นอร์เวย์ :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญโอลาฟ ชั้นประถมาภรณ์ (พร้อมสายสร้อย)
ราชตระกูล
แก้พงศาวลีของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ Kunaicho | Their Majesties the Emperor and Empress สำนักพระราชวังหลวง
- ↑ "Members of the Order of the Garter". The British Monarchy.
- ↑ "Emperor Akihito to Be Called Emperor Emeritus after Abdication". nippon.com. 25 February 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-21. สืบค้นเมื่อ 30 April 2019.
- ↑ "Government panel outlines proposals on Emperor's abdication, titles". The Japan Times Online. 14 April 2017. สืบค้นเมื่อ 9 June 2017.
- ↑ "Japan may announce new Imperial era name in summer 2018". The Japan Times. 19 May 2017. สืบค้นเมื่อ 31 May 2017.
- ↑ "Message from His Majesty The Emperor". The Imperial Household Agency. 8 August 2016. สืบค้นเมื่อ 8 August 2016.
- ↑ "Japan's Emperor Akihito hints at wish to abdicate". BBC News. 8 August 2016. สืบค้นเมื่อ 8 August 2016.
- ↑ 8.0 8.1 "Emperor Akihito: Japan considers moves to allow 2018 abdication - reports". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2017-01-11. สืบค้นเมื่อ 2017-01-11.
- ↑ "天皇陛下 「生前退位」の意向示される ("His Majesty The Emperor Indicates His Intention to 'Abdicate'")" (ภาษาญี่ปุ่น). NHK. 13 กรกฎาคม 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2016. สืบค้นเมื่อ 13 July 2016.
- ↑ "Japanese Emperor Akihito 'wishes to abdicate'". BBC News. 13 July 2016. สืบค้นเมื่อ 17 July 2016.
- ↑ "天皇陛下 「生前退位」の意向示される ("His Majesty The Emperor Indicates His Intention to 'Abdicate'")" (ภาษาญี่ปุ่น). NHK. 13 กรกฎาคม 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2016. สืบค้นเมื่อ 13 July 2016.
- ↑ "Japanese Emperor Akihito 'wishes to abdicate'". BBC News. 13 July 2016. สืบค้นเมื่อ 17 July 2016.
- ↑ "Message from His Majesty The Emperor". The Imperial Household Agency. 8 August 2016. สืบค้นเมื่อ 8 August 2016.
- ↑ "Japan's Emperor Akihito hints at wish to abdicate". BBC News. 8 August 2016. สืบค้นเมื่อ 8 August 2016.
- ↑ Emperor could move to Akasaka Estate in Tokyo after abdication หนังสือพิมพ์ไมนิชิชิมบุน วันที่ 26 มกราคม 2560
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (แด่ สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นราชมิตราภรณ์), เล่ม ๑๐๘, ตอน ๑๗๔ ง, ๓ ตุลาคม ค.ศ. ๒๕๓๔, หน้า ๙๗๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๑, ตอน ๒๒ ง, ๓ มีนาคม ค.ศ. ๒๕๐๗, หน้า ๕๗๒
- ↑ 18.0 18.1 Bix, Herbert P. (2001). Hirohito and the making of modern Japan (Book) (1st Perennial ed.). New York: Perennial. pp. 22–23. ISBN 978-0060931308.
- ↑ 19.0 19.1 Keene, Donald. Emperor Of Japan: Meiji And His World, 1852–1912. Columbia University Press (2005). ISBN 0-231-12341-8. pp. 320–321.
- ↑ 20.0 20.1 "The Accession of Empress Taisho (1)". Metadata database of Japanese old photographs in Bakumatsu-Meiji Period. Nagasaki University. สืบค้นเมื่อ 2019-01-04.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 21.5 "Genealogy". Reichsarchiv. สืบค้นเมื่อ 25 October 2017. (ญี่ปุ่น)
ก่อนหน้า | สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จักรพรรดิโชวะ | จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น (7 มกราคม ค.ศ. 1989 – 30 เมษายน ค.ศ. 2019) |
จักรพรรดินารูฮิโตะ | ||
เจ้าชายฮิโรฮิโตะ | มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น (10 พฤศจิกายน ค.ศ. 2495 – 7 มกราคม ค.ศ. 1989) |
เจ้าชายนารูฮิโตะ |