สงครามอ่าว
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
สงครามอ่าว (อังกฤษ: Gulf War) ชื่อรหัสทางทหารว่า ปฏิบัติการโล่ทะเลทราย (Operation Desert Shield, 2 สิงหาคม 2533 – 17 มกราคม 2534) เป็นปฏิบัติการนำสู่การสั่งสมกำลังและการป้องกันของซาอุดีอาระเบียและปฏิบัติการพายุทะเลทราย (Operation Desert Storm, 17 มกราคม 2534 – 28 กุมภาพันธ์ 2534) ในระยะสู้รบ เป็นสงครามในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียระหว่างกำลังผสมจาก 34 ชาตินำโดยสหรัฐอเมริกาต่อประเทศอิรักหลังการบุกครองและผนวกคูเวตของอิรัก
สงครามอ่าว | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ตามเข็มนาฬิกาจากบนสุด: เครื่องบินเอฟ-15E เอฟ-16 และเอฟ-15C ของกองทัพอากาศสหรัฐกำลังบินเหนือบ่อน้ำมันในคูเวตที่ไฟกำลังลุกท่วม; ทหารอังกฤษในปฏิบัติการแกรนบี; ภาพกล้องจากล็อกฮีด เอซี-130; ทางหลวงมรณะ; ยานวิศวกรรบเอ็ม728 | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
กำลังผสม:
คูเวต การสนับสนุนที่มิใช่กำลังทหาร
| อิรัก | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
เศาะบาห์ที่ 4 แห่งคูเวต |
ซัดดัม ฮุสเซน | ||||||
กำลัง | |||||||
956,600 นาย เป็นทหารสหรัฐ 700,000 นาย[4][5] |
ทหารในแนวหน้า 650,000 นาย กำลังสำรอง 1,000,000 นาย | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
กำลังผสม: ทหารสหรัฐเสียชีวิตในหน้าที่ 148 นาย,[6] เสียชีวิตที่มิได้เกิดจากศัตรู 145 นาย บาดเจ็บในหน้าที่ 467 นาย รวม: เสียชีวิต 292 นาย บาดเจ็บ 776 นาย[7] การเสียยุทธภัณฑ์: รถถังถูกทำลาย: 4-20+[8][9] dozens damaged[9] ปืนใหญ่ถูกทำลาย: 1[8] ยานต่อสู้ทหารราบถูกทำลาย: 9[8] เฮลิคอปเตอร์ถูกทำลาย: 17[8] อากาศยานถูกทำลาย: 44[8] คูเวต: เสียชีวิต 200 นาย[10] |
เสียชีวิต 20,000–35,000 นาย การเสียยุทณภัณฑ์: รถถังถูกทำลาย: 3,700[12]–4,000[8] อากาศยานถูกทำลาย: 2,140[8] ยานต่อสู้รถถังถูกทำลาย: 1,856[8] เฮลิคอปเตอร์ถูกทำลาย: 7[8] อากาศยานถูกทำลาย: 240[8] เรือถูกจม: 19[12] เรือเสียหาย: 6[12] | ||||||
การเสียพลเรือนของคูเวต: พลเรือนเสียชีวิต 300 คน บาดเจ็บมากกว่านี้[16] |
สงครามนี้มีชื่ออื่น เช่น สงครามอ่าวเปอร์เซีย, สงครามอ่าวครั้งที่หนึ่ง, สงครามคูเวต, สงครามอิรัก[17][18][19][a] ซึ่งคำว่า "สงครามอิรัก" ต่อมาใช้เรียกการบุกครองอิรักเมื่อปี 2546 แทน[20] การยึดครองคูเวตของกองทัพอิรักซึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2533 นั้นถูกนานาชาติประณาม และสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติพลันใช้วิธีการบังคับทางเศรษฐกิจต่ออิรัก ประธานาธิบดี จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช วางกำลังสหรัฐเข้าสู่ซาอุดีอาระเบียและกระตุ้นให้ประเทศอื่นส่งกำลังของตนไปที่นั้นด้วย มีหลายชาติเข้าร่วมกำลังผสม ซึ่งเป็นพันธมิตรทางทหารที่ใหญ่ที่สุดนับแต่สงครามโลกครั้งที่สอง กำลังทหารของกำลังผสมส่วนใหญ่มาจากสหรัฐ โดยมีซาอุดีอาระเบีย สหราชอาณาจักรและอียิปต์เป็นผู้มีส่วนร่วมรายใหญ่ตามลำดับ ซาอุดีอาระเบียสมทบเงิน 36,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากค่าสงคราม 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[21]
สงครามนี้มีการริเริ่มการถ่ายทอดข่าวสดจากแนวหน้าของการสู้รบ หลัก ๆ โดยเครือข่ายซีเอ็นเอ็นของสหรัฐ[22][23][24] สงครามนี้ยังได้ชื่อเล่นว่า สงครามวิดีโอเกม หลังการถ่ายทอดภาพรายวันจากกล้องบนเครื่องบินทิ้งระเบิดสหรัฐระหว่างปฏิบัติการพายุทะเลทราย[25][26]
ความขัดแย้งระยะแรกเพื่อขับกองทัพอิรักออกจากคูเวตเริ่มด้วยทางระดมทิ้งระเบิดทางอากาศและทางเรือเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2534 และดำเนินไปห้าสัปดาห์ ตามด้วยการโจมตีภาคพื้นดินเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ สงครามสิ้นสุดด้วยชัยชนะอย่างขาดลอยของกำลังผสม ซึ่งขับกองทัพอิรักออกจากคูเวตและรุกเข้าดินแดนอิรัก กำลังผสมยุติการบุกและประกาศหยุดยิงหลังการทัพภาคพื้นเริ่ม 100 ชั่วโมง การสู้รบทางอากาศและทางบกจำกัดอยู่ในประเทศอิรัก คูเวตและบางพื้นที่ตรงพรมแดนซาอุดีอาระเบีย ประเทศอิรักปล่อยขีปนาวุธสกั๊ดต่อเป้าหมายทางทหารของกำลังผสมและต่ออิสราเอล
เบื้องหลัง
แก้ตลอดช่วงเวลาของสงครามเย็น อิรักเป็นพันธมิตรสหภาพโซเวียตและมีประวัติความไม่ลงรอยกับสหรัฐอเมริกา สหรัฐกังวลถึงตำแหน่งของอิรักต่อการเมืองอิสราเอล-ชาวปาเลสไตน์และการที่อิรักไม่เห็นด้วยกับสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์
สหรัฐเองก็ไม่ชอบการที่อิรักเข้าสนับสนุนกลุ่มอาหรับและปาเลสไตน์ติดอาวุธอย่างอาบูไนดัล ซึ่งทำให้มีการรวมอิรักเข้าไปในรายชื่อประเทศผู้ให้การสนับสนุนการก่อการร้ายข้ามชาติของสหรัฐในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2522 สหรัฐยังคงสถานะเป็นกลางอย่างเป็นทางการหลังจากการรุกรานของอิหร่านกลายมาเป็นสงครามอิรัก-อิหร่าน แม้ว่าจะแอบช่วยอิรักอย่างลับ ๆ อย่างไรก็ดีในเดือ��มีนาคม 2525 อิหร่านเริ่มทำการโต้ตอบได้สำเร็จ ปฏิบัติการชัยชนะที่ปฏิเสธไม่ได้ และสหรัฐได้เพิ่มการสนับสนุนให้กับอิรักเพื่อป้องกันไม่ให้อิรักถูกบังคับให้พ่ายแพ้
ในความพยายามของสหรัฐที่จะเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตอิรักอย่างเต็มตัว ประเทศอิรักได้ถูกนำออกจากรายชื่อประเทศที่สนับสนุนการก่อการร้าย นั่นก็เพราะว่าการพัฒนาในบันทึกการปกครอง แม้ว่าอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐ โนเอล คอช ได้กล่าวในเวลาต่อมาว่า "ไม่มีใครที่สงสัยในเรื่องที่อิรักยังคงมีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ก่อการร้าย... เหตุผลจริง ๆ คือเพื่อช่วยให้พวกเขามีชัยเหนืออิหร่าน"[27][28]
เมื่ออิหร่านประสบกับชัยชนะในสงครามและปฏิเสธการสงบศึกที่ได้รับการเสนอขึ้นในเดือนกรกฎาคม การขายอาวุธให้กับอิรักก็ทำลายสถิติเมื่อปี 2525 แต่อุปสรรคยังคงมีอยู่ระหว่างสหรัฐกับอิรัก กลุ่มอาบูไนดัลยังคงได้รับการสนับสนุนอยู่ในแบกแดด เมื่อประธานาธิบดีอิรัก ซัดดัม ฮุสเซน ได้ขับไล่พวกเขาไปยังซีเรียตามคำขอของสหรัฐในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2526 รัฐบาลเรแกนได้ส่ง โดนัลด์ รัมส์เฟลด์ เพื่อพบกับประธานาธิบดีฮุสเซนเป็นทูตพิเศษและเพื่อกระชับความสัมพันธ์
ความตึงเครียดกับคูเวต
แก้เมื่ออิรักทำการหยุดยิงกับอิหร่านในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2531 อิรักก็ประสบกับการล้มละลายอย่างแท้จริง โดยส่วนใหญ่เป็นหนี้ซาอุดิอาระเบียและคูเวต อิรักกดดันทั้งสองชาติให้ยกหนี้ทั้งหมด แต่ทั้งสองประเทศตอบปฏิเสธ อิรักยังได้กล่าวหาคูเวตว่าได้ผลิตน้ำมันเกินโควตาของโอเปก ทำให้ราคาน้ำมันดิ่งลง ซึ่งส่งผลให้อิรักประสบกับปัญหาด้านเศรษฐกิจเพิ่มเข้าไปอีก
การที่ราคาของน้ำมันตกลงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของอิรักอย่างใหญ่หลวง รัฐบาลอิรักได้บรรยายว่ามันเป็นสงครามทางเศรษฐกิจ ซึ่งอ้างว่าคูเวตเป็นต้นเหตุ โดยการเจาะท่อลอดข้ามพรมแดนเข้าไปในทุ่งน้ำมันรูมาเลียของอิรัก[29]
ความขัดแย้งระหว่างทั้งสองประเทศยังเกี่ยวข้องกับคำกล่าวอ้างของอิรักที่ระบุว่า คูเวตเป็นอาณาเขตของอิรัก หลังจากได้รับเอกรารชจากสหราชอาณาจักรใน พ.ศ. 2475 รัฐบาลอิรักได้ประกาศในัทันทีว่าคูเวตเป็นอาณาเขตโดยชอบธรรมของอิรัก เนื่องจากเคยอยู่ภายใต้การปกครองของอิรักเป็นเวลาหลายศตวรรษจนกระทั่งอังกฤษก่อตั้งคูเวตขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ดังนั้น จึงได้กล่าวว่า คูเวตเป็นผลผลิตจากลัทธิจักรวรรดินิยมของอังกฤษ[30] อิรักอ้างว่าคูเวตเคยเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดบาสราของจักรวรรดิออตโตมัน ราชวงศ์ที่ปกครองคูเวต อัลซอบะห์ ได้ตัดสินใจลงนามในข้อตกลงเป็นรัฐในอารักขาเมื่อ พ.ศ. 2442 ซึ่งมอบหมายความรับผิดชอบกิจการระหว่างประเทศให้แก่อังกฤษ อังกฤษเขียนพรมแดนระหว่างทั้งสองประเทศ และพยายามจำกัดทางออกสู่ทะเลของอิรักอย่างระมัดระวัง เพื่อที่ว่ารัฐบาลอิรักในอนาคตจะไม่มีโอกาสคุกคามการครอบครองอ่าวเปอร์เซียของอังกฤษ อิรักปฏิเสธที่จะยอมรับพรมแดนที่ถูกเขียนขึ้น และไม่รับรองคูเวตจนกระทั่งปี พ.ศ. 2506[31]
ในตอนต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2533 อิรักไม่พอใจกับพฤติกรรมของคูเวต อย่างเช่น ไม่เคารพโควตา และคุกคามที่จะใช้กำลังทหารอย่างเปิดเผย วันที่ 23 กรกฎาคม ซีไอเอรายงานว่าอิรักได้เคลื่อนกำลังพล 30,000 นาย ไปยังพรมแดนอิรัก-คูเวต และกองเรือสหรัฐในอ่าวเปอร์เซียได้รับการเตือนภัย วันที่ 25 กรกฎาคม ซัดดัม ฮุสเซน พบกับเอพริล กลาสพาย เอกอัครราชทูตอเมริกันในกรุงแบกแดด ตามการแปลเป็นภาษาอิรักของการประชุมครั้งนั้น กลาสพายพูดกับผู้แทนอิรักว่า
"เราไม่มีความคิดเห็นต่อความขัดแย้งอาหรับ-อาหรับ"[32]
ตามบันทึกส่วนตัวของกลาสพาย เธอกล่าวในการประชุมถึงพรมแดนที่ชัดเจนระหว่างคูเวตและอิรัก
"[...] ว่าเธอได้เคยทำงานอยู่ในคูเวตเมื่อ 20 ปีก่อน ดังนั้น ในขณะนี้ เราจึงไม่เลือกฝ่ายต่อความสัมพันธ์ระหว่างอาหรับ"[33]
เมื่อวันที่ 31 การเจรจาระหว่างอิรักและคูเวตในเจดดะห์ประสบความล้มเหลวอย่างรุนแรง
การบุกครองคูเวต
แก้ผลจากการประชุมที่เจดดห์ลงเอยด้วยการที่อิรักต้องการเงินจำนวน 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อชดเชยรายได้ที่ตนเสียไปจากทุ่งน้ำมันรูไมลา คูเวตเสนอกลับด้วยเงินจำนวน 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทำให้อิรักสั่งทำการบุกในทันที[34] ในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2533 อิรักเปิดการรุกด้วยการทิ้งระเบิดใส่คูเวตซิตี เมืองหลวงของคูเวต
ในช่วงขณะการบุก เชื่อกันว่ากองทัพคูเวตมีทหาร 16,000 นาย โดยแบ่งออกเป็นกองกำลังยานเกราะ ทหารช่าง และกองทหารปืนใหญ่[35] กำลังของกองทัพอากาศคูเวตก่อนช่วงสงครามนั้นอยู่ที่ประมาณ 2,200 นาย โดยมีอากาศยาน 80 ลำและเฮลิคอปเตอร์อีก 40 ลำ[35] แม้ว่าอิรักได้ทำการขู่เปิดสงครามก่อนหน้า แต่คูเวตกลับไม่ได้เตรียมกองกำลังของตนเอาไว้ กองทัพคูเวตยอมแพ้ในวันที่ 19 กรกฎาคม[36]
เมื่อสิ้นสุดสงครามอิหร่านอิรักในปีพ.ศ. 2531 กองทัพบกอิรักกลายเป็นกองทัพอันดับสี่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยประกอบด้วยทหาร 955,000 นายและกองกำลังกึ่งทหารอีก 650,000 นาย จากการคาดการณ์ขั้นต่ำของจอห์น ไชลด์สและอังเดร คอร์วิแซร์ กองทัพอิรักสามารถระดมรถถังได้ 4,500 คัน อากาศยานรบ 484 ลำ และเฮลิคอปเตอร์รบอีก 232 ลำ[37] ไมเคิล ไนท์ส คาดการว่า ในกรณีอย่างมาก อิรักจะสามารถระดมพลได้ 1 ล้านนายและกองกำลังสำรองอีก 850,000 นาย พร้อมรถถัง 5,500 คัน ปืนใหญ่ 3,000 กระบอก อากาศยานรบและเฮลิคอปเตอร์ 700 ลำ เป็นทั้งหมด 53 กองพล กรมสงครามพิเศษ 20 กรม และกองกำลังติดอาวุธอีกจำนวนมากตามพื้นที่ และพวกเขาก็มีการป้องกันทางอากาศที่แน่นหนาอีกด้วย[38]
หน่วยคอมมานโดของอิรักเป็นหัวหอกในการรบด้วยการแทรกซึมเข้าไปที่ชายแดนของคูเวตเพื่อเตรียมการรบให้พร้อมสำหรับหน่วยรบขนาดใหญ่ที่จะเปิดศึกตอนเที่ยงคืน อิรักแบ่งการรุกเป็นสองแนว โดยมีกองกำลังหลักโจมตีจากทางเหนือลงไปทางใต้ผ่านทางหลวงตรงไปยังคูเวต และอีกด้านเป็นการโจมตีสนับสนุนที่เข้าจากทางตะวันตกของคูเวตและหักออกไปทางตะวันออก เพื่อตัดเมืองหลวงออกจากทางใต้ที่เหลือของประเทศ ผู้บัญชาการกองพันยานเกราะ กรมยานเกราะที่ 35 ของคูเวตได้วางแนวรบเพื่อรับมือกองทัพอิรักและสามารถป้องกันเอาไว้ได้อย่างดุเดือดในการรบใกล้กับอัล จาห์ราทางตะวันตกของคูเวตซิตี[39]
อากาศยานของคูเวตเข้าสกัดข้าศึกแต่ถูกยึดหรือทำลายไปร้อยละ 20 การรบทางอากาศกับกองพลขนส่งทางเฮลิคอปเตอร์ของอิรักเกิดขึ้นเหนือคูเวตซิตี อิรักสูญเสียทหารชั้นดีเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีการปะทะประปรายระหว่างกองทัพอากาศคูเวตกับกองกำลังภาคพื้นของอิรักด้วย[10]
กองกำลังหลักของอิรักฝ่าแนวเข้าไปยังคูเวตซิตีนำโดยคอมมานโดที่ส่งโดยเฮลิคอปเตอร์และเรือเพื่อเข้าโจมตีเมืองจากทางทะเล ใขณะที่กองพลอื่นเข้ายึดท่าอากาศยานและสนามบิน อิรักทำการโจมตีวังดัสมาน ที่พักของเจ้าชายจาเบอร์ อัลอะห์หมัด อัลจาเบอร์ อัลชาบาห์ ซึ่งคุ้มกันโดยองครักษ์และรถถังเอ็ม-84 ในการรบ เจ้าชายองค์เล็กสุดฟาหัด อัลอะห์หมัด อัลจาเบอร์ อัลชาบาห์ถูกปลงพระชนม์โดยฝ่ายอิรัก
ฝ่ายต่อต้านส่วนใหญ่ถูกปราบปรามภายในสิบสองชั่วโมง ราชวงศ์หลบหนีออกนอกคูเวต ทำให้อิรักเข้าควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของคูเวต[34] หลังจากการต่อสู้อย่างดุเดือดเป็นเวลาสองวัน กองกำลังส่วนใหญ่ของคูเวตถูกเอาชนะโดยริพับลิกันการ์ดของอิรักหรือไม่ก็หนีไปยังซาอุดิอาระเบีย เจ้าชายแห่งคูเวตและรัฐมนตรีสามารถหลบหนีและมุ่งหน้าลงใต้เพื่อขอลี้ภัยในซาอุดิอาระเบียได้ กองกำลังภาคพื้นของอิรักเข้าควบคุมคูเวตซิตี หลังจากนั้นมุ่งหน้าลงใต้เพื่อวางกำลังพลตลอดแนวชายแดนซาอุ หลังจากได้รับชัยชนะ ซัดดัมก็เริ่มตั้งการปกครองหุ่นเชิดโดยใช้ชื่อว่ารัฐบาลชั่วคราวแห่งเสรีคูเวต ก่อนที่จะแต่งตั้งให้ญาติของตน อลี ฮัสซาน อัลมาจิดเป็นผู้ว่าราชการในวันที่ 8 สิงหาคม
ช่วงก่อนเริ่มสงคราม
แก้วิธีการทางการทูต
แก้ในชั่วโมงที่การรุกรานคูเวตเริ่มขึ้น คณะผู้แทนของคูเวตและสหรัฐได้เข้าร้องให้มีการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งได้อนุมัติมติที่ 660 ซึ่งมองว่าการรุกรานเป็นสิ่งไม่ถูกต้องและต้องการให้อิรักถอนทหารออก[40] ในวันที่ 3 สิงหาคม สันนิบาตอาหรับได้ออกมติ ซึ่งสรุปได้ว่าต้องการหาทางออกของปัญหาโดยกลุ่มชาติในสันนิบาตอาหรับเท่านั้น และเตือนไม่ให้ชาติอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง อิรักและลิเบียเป็นชาติอาหรับสองชาติที่ปฏิเสธมติที่ให้อิรักถอนทหารออกจากคูเวต องค์ปลดปล่อยปาเลสไตน์เห็นด้วยกับอิรัก[41][42] รัฐอาหรับเยเมนและจอร์แดน ซึ่งเป็นพันธมิตรกับตะวันตกที่มีชายแดนติดกับอิรักและพึ่งพาเศรษฐกิจของอิรัก[43] – ไม่เห็นด้วยกับการแทรกแซงทางทหารจากชาติที่ไม่ใช่รัฐอาหรับ[44] รัฐอาหรับซูดานเห็นด้วยกับซัดดัม[43]
ในวันที่ 6 สิงหาคม ตามมติที่ 661 ได้มีการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิรัก[45] หลังจากนั้นได้มีมติที่ 665 ซึ่งสั่งการให้มีการปิดล้อมทางทะเลเพื่อทวีความรุนแรงของการคว่ำบาตร คณะมนตรีความมั่นคงกล่าวว่า "การใช้มาตรการดังกล่าวต่อสถานะการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอาจเป็นเรื่องจำเป็น... เพื่อที่จะหยุดการเข้าออกของเรือสินค้า เพื่อตรวจสอบสินค้าและจุดหมายปลายทางบนเรือเหล่านั้นและเพื่อให้แน่ใจว่ามติที่ 661 ถูกบังคับใช้อย่างเข้มงวด”[46]
ตั้งแต่แรกเริ่ม ทางการสหรัฐยืนยันว่าให้มีการถอนทหารอิรักทั้งหมดออกจากคูเวต โดยกล่าวว่าไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับปัญหาอื่น ๆ ในตะวันออกกลาง สหรัฐเกรงว่าหากมติเอกฉันท์ใด ๆ จากอิรักจะทำให้อิรักมีอิทธิพลในบริเวณดังกล่าวในอนาคต[47]
ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2533 ซัดดัมได้ประกาศให้มีการประนีประนอมผ่านทางวิทยุกรุงแบกแดดและหน่วยงานข่าวของอิรัก เขากล่าวว่า "ทุกการยึดครองที่เกิดขึ้น และทุกกรณีที่เห็นว่าเป็นการยึดครอง ในพื้นที่ดังกล่าว จะถูกยกเลิกพร้อม ๆ กัน" โดยเขากล่าวเป็นพิเศษว่าต้องการให้อิสราเอลถอนกำลังออกจากปาเลสไตน์ ซีเรีย และเลบานอน รวมทั้งให้ซีเรียถอนกำลังออกจากเลบานอนด้วย และเสริมว่า "การถอนกำลังโดยอิรักและอิหร่านจัดการสถานการณ์วนคูเวต" เขาได้เรียกร้องให้หากองกำลังมาแทนกองทหารของสหรัฐในซาอุดิอาระเบียด้วยกองกำลังของชาติอาหรับ โดยจะต้องไม่เป็นกองกำลังจากอียิปต์ นอกจากนี้เขาขอให้ "หยุดการคว่ำบาตรทั้งหมด" และปฏิบัติต่ออิรักอย่างเป็นปกติ[48] ตั้งแต่ที่วิกฤ��การณ์ดังกล่าวเริ่มขึ้น ประธานาธิบดีสหรัฐยืนกรานว่าการที่อิรักเข้ายึดคูเวตนั้นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับปัญหาในปาเลสไตน์[49]
ในวันที่ 23 สิงหาคม ซัดดัมปรากฏตัวทางโทรทัศน์พร้อมตัวประกันชาวตะวันตก ซึ่งเขาปฏิเสธที่จะให้ออกจากประเทศ ในวิดีโอ เขาถามเด็กชายชาวอังกฤษ สจ๊วต ล็อกวูด ผ่านทางล่ามว่าเขาได้รับนมหรือไม่ และพูดต่อว่า "เราหวังว่าที่หนูมาในฐานะแขกจะไม่ต้องกินเวลานานนัก การที่หนูอยู่ที่นี่และที่อื่น ๆ เป็นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสงคราม"[50]
อีกข้อเสนอหนึ่งจากอิรักเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2533 โดยส่งให้กับที่ปรึกษาความมั่งคงของชาติของสหรัฐ เบรนท์ สคอว์ครอฟท์ อิรักติดต่อกับทำเนียบขาวว่า "จะถอนทหารออกจากคูเวตและยอมให้ชาวต่างชาติออกนอกประเทศได้" โดยสหประชาชาติจะต้องยกเลิกการคว่ำบาตร โดยต้องยอมให้ "สามารถเข้าออกอ่าวเปอร์เซียผ่านเกาะบูบิยันและวาร์บาห์ของคูเวตได้โดยมีการรับรอง" และยอมให้อิรัก "ควบคุมทุ่งน้ำมันรูไมลาได้อย่างเต็มที่รวมทั้งบางส่วนในเขตของคูเวต" ข้อเสนอยังรวมทั้ง "ยอมให้มีการเจรจาการตกลงเรื่องน้ำมันกับสหรัฐ เพื่อความพอใจทั้งสองฝ่าย เพื่อ'พัฒนาแผนร่วมกัน'เพื่อบรรเทาปัญหาทางเศรษฐกิจและการเงินของอิรัก และ'ทำงานร่วมกันเพื่อคงไว้ซึ่งเสถียรภาพของอ่าวเปอร์เซีย'"[51]
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2533 อิรักได้ยื่นข้อเสนอว่าจะถอนทหารออกจากคูเวตโดยจะไม่มีการโจมตีขณะทำการถอนทัพ และคำนึงถึงการห้ามใช้อาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงในพื้นที่ปาเลสไตน์ ทางทำเนียบขาวปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว[52] ยัสเซอร์ อาราฟัตจากองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ให้คำบรรยายว่าทั้งเขาและซัดดัมไม่ยืนยันว่า ควรที่จะมีการแก้ไขปัญหาอิสราเอลและปาเลสไตน์ก่อนที่จะแก้ไขในคูเวต แม้ว่าเขารู้ว่าทั้งสองปัญหามีความเกี่ยวข้องกันอย่างแน่นอน[53]
ท้ายที่สุด สหรัฐยืนหยัดว่าจะไม่มีการเจรจาใด ๆ จนกว่าอิรักจะถอนทหารออกจากคูเวตและพวกเขาจะไม่มีเอกฉันท์ใด ๆ ให้กับอิรัก เพื่อให้อิรักเห็นว่าพวกเขาไม่ได้อะไรจากปฏิบัติการทางทหารที่กระทำไป[47] นอกจากนี้ เมื่อรัฐมนตรีของสหรัฐเจมส์ เบเกอร์ได้พบกับทาริก อซิซในกรุงเจนีวา ประเทศสวิซ ในนาทีสุดท้ายของการเจรจาเพื่อความสงบเมื่อต้นปีพ.ศ. 2534 มีรายงานว่าอซิซไม่มีข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมและไม่เห็นความน่าสงสัยใด ๆ ในการกระทำของอิรัก[54]
ในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 สภาความมั่นคงได้ลงมติที่ 678 ซึ่งให้เวลาอิรักถอนทหารออกจากคูเวตจนถึงวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2534 และอนุญาตให้รัฐที่มีอำนาจ"ใช้ทุกวิธี"เพื่อขับไล่อิรักออกจากคูเวตเมื่อเกินเวลากำหนด
ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2534 ฝรั่งเศสได้ยื่นข้อเสนอให้สภาความมั่นคงเรียกร้องให้มี"การถอนทหารอย่างรวดเร็ว"จากคูเวตพร้อมกับส่งคำแถลงถึงอิรักว่าสมาชิกสภาความมั่นคงจะทำการ"เรี่ยไร"เพื่อยุติข้อพิพาทในพื้นที่ที่มีปัญหา "โดยเฉพาะปัญหาอิสราเอลกับรัฐอาหรับและปัญหาในปาเลสไตน์ ด้วยการจัดประชุมนานาชาติในเวลาที่เหมาะสม" เพื่อคงไว้ซึ่ง "เสถียรภาพ ความมั่นคง และการพัฒนาในส่วนดังกล่าวของโลก" ข้อเสนอดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากเบลเยี่ยม (ขณะนั้นเป็นสมาชิกไม่ถาวรของสภา) เยอรมนี สเปน อิตาลี อัลจีเรีย โมรอกโก ตูนิเซีย และประเทศอื่นอีกมากมาย สหรัฐ สหราชอาณาจักร และสหภาพโซเวียตไม่เห็นด้วย ทูตสหรัฐในสหประชาชาติ โธมัส พิกเกอร์ริ่ง กล่าวว่าข้อเสนอของฝรั่งเศสนั้นไม่สามารถยอมรับได้ เพราะว่ามันไม่เป็นไปตามมติที่สภาได้ลงไว้ในตอนที่อิรักเข้ารุกรานคูเวต[55][56][57]
วิธีการทางทหาร
แก้
ความกังวลหลักของประเทศตะวันตกคือการที่ซาอุดิอาระเบียตกอยู่ในภัยคุกคามจากอิรัก หลังจากที่คูเวตถูกยึด อิรักก็เข้าสู่ระยะใกล้พอที่จะเข้าโจมตีบ่อน้ำมันของซาอุดิอาระเบีย หากว่าบ่อน้ำมันดังกล่าวถูกควบคุมพร้อมกับในคูเวตและของอิรัก ซัดดัมก็จะควบคุมแหล่งน้ำมันหลักของโลกเอาไว้ นอกจากนี้แล้วอิรักเองก็มีความแค้นส่วนตัวกับซาอุ ซาอุนั้นได้ให้เงินยืมแก่อิรักในสงครามอิรักอิหร่านเป็นจำนวน 26,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สาเหตุที่ซาอุยอมช่วยอิรักในครั้งนั้นก็เพราะว่ากลัวอิทธิพลของนิกายชีอะฮ์ที่ลุกฮือจากการปฏิวัติในอิหร่าน หลังจากสงครามสิ้นสุดลง ซัดดัมคิดว่าเขาไม่ต้องจ่ายหนี้ให้กับซาอุเพราะอิรักได้ช่วยตอบแทนด้วยการต่อสู้กับอิหร่านไปแล้ว
ไม่นานหลังจากที่ซัดดัมยึดคูเวตได้ เขาก็เริ่มทำการพูดโจมตีซาอุ โดยกล่าวว่า การที่สหรัฐสนับสนุนซาอุดิอาระเบียเป็นเรื่องไม่เหมาะสมและไม่ควรค่าอย่างยิ่งที่สหรัฐจะเป็นคนปกป้องเมืองศักดิ์สิทธิ์อย่างเมกกะและอัลมะดีนะฮ์ เขาได้รวบรวมภาษาของกลุ่มอิสลามที่ได้ร่วมรบในอัฟกานิสถานเมื่อไม่นานพร้อมกับวาทศาสตร์แบบที่อิหร่านใช้โจมตีซาอุเป็นเวลานาน[58]
ด้วยการใช้นโยบายตามหลักคาร์เตอร์และด้วยการเกรงว่ากองทัพบกอิรักจะเปิดการรุกเข้าซาอุดิอาระเบีย ประธานาธิบดีสหรัฐจอร์จ เอช. ดับบลิว. บุชจึงประกาศอย่างทันทีว่าจะทำการป้องกันซาอุจากการรุกรานของอิรักโดยใช้ชื่อว่า"ปฏิบัติการดีเซิร์ทชีลด์" ซึ่งเริ่มขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2533 เมื่อทหารสหรัฐถูกส่งเข้าไปยังซาอุดิอาระเบียตามคำขอร้องจากกษัตริย์ฟาห์ดแห่งซาอุ[59] การป้องกันทั้งหมดนี้ถูกยกเลิกอย่างรวดเร็วในวันที่ 8 สิงหาคม เมื่ออิรักประกาศว่าคูเวตจะเป็นจังหวัดที่ 19 ของอิรักและปกครองโดยผู้ว่ากึ่งทหาร อลี ฮัสซาน อัลมาจิด ญาติของซัดดัมเอง[60]
กองทัพเรือสหรัฐได้ส่งกองเรือรบสองกลุ่มเข้าสู่อ่าวเปอร์เซีย โดยมีเรือบรรทุกอากาศยานยูเอสเอส "ดไวท์ ดี. ไอเซนฮาว"และยูเอสเอส "อินดีเพนเดนซ์"เป็นหลักและพร้อมรบในวันที่ 8 สิงหาคม นอกจากนี้ยังมีเรือประจัญบานยูเอสเอส "มิสซูรี"และยูเอสเอส "วิสคอนซิน"ที่ถูกส่งเข้าไปในพื้นที่อีกด้วย มีเอฟ-15 ทั้งหมด 48 ลำจากฝูงบินขับไล่ที่ 1 จากฐานทัพอากาศแลงลีย์ของสหรัฐ โดยมาลงจอดที่ซาอุดิอาระเบียและออกปฏิบัติหน้าที่บินลาดตระเวนบริเวณชายแดนซาอุ คูเวต อิรักในทันทีเพื่อเป็นการข่มขวัญทหารอิรักที่กำลังรุกคืบ นอกจากนี้ยังมีกองเสริมเป็นเอฟ-15เอ-ดี 36 ลำจากฝูงบินขับไล่ยุทธวิธีที่ 36 จากเยอรมนี กองบินดังกล่าวเข้าประจำการที่ฐานบินอัล คาร์จ ซึ่งห่างจากกรุงริยาดห์ประมาณ 1 ชั่วโมงจากทางตะวันออกเฉียงใต้ ในการรบฝูงบินที่ 36 สามารถยิงเครื่องบินของอิรักตกได้ 11 ลำ นอกจากนี้ยังมีหน่วยบินสองหน่วยจากกองกำลังป้องกันทางอากาศแห่งชาติเข้ามาประจำการที่ฐานบินอัล คาร์จ ฝูงบินขับไล่ที่ 169 ของสหรัฐจากเซาท์แคโรไลนาได้เข้าทำภารกิจทิ้งระเบิดร่วมกับเอฟ-16 จำนวน 24 ลำ โดยทำภารกิจทั้งหมด 2,000 เที่ยวและทิ้งระเบิดไป 4 ล้านปอนด์ เอฟ-16 อีก 24 ลำจากฝูงบินที่ 24 จากนิวยอร์กก็ร่วมทำภารกิจทิ้งระเบิดเช่นกัน นั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการสั่งสมกองกำลังทหารจนในที่สุดมีทหารมากถึง 543,000 นาย เป็นสองเท่าของจำนวนทหารที่ใข้ในการรุกรานอิรัก พ.ศ. 2546 อุปกรณ์มากมายถูกส่งมาทางเครื่องบินหรือเรือ เป็นเหตุผลที่พวกเขาสามารถระดมพลได้รวดเร็วมาก
การก่อตั้งกองกำลังผสม
แก้มติมากมายจากสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและสันนิบาตอาหรับถูกลงนามในช่วงที่อิรักรุกรานคูเวต มติหนึ่งที่สำคัญที่สุดคือมติที่ 678 ที่ออกมาในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 ซึ่งให้เส้นตายในการถอนทัพแก่อิรักในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2534 และให้คำสั่งในการใช้ทุกวิธีเพื่อคงไว้ซึ่งมติที่ 660 และรูปแบบทางการทูตที่อนุญาตให้ใช้กำลังหากอิรักไม่สามารถถอนทหารในเวลาที่กำหนดได้[61]
สหรัฐได้รวบรวมกองกำลังผสมของนานาชาติเข้าด้วยกันเพื่อต่อต้านการรุกรานจากอิรัก โดยประกอบด้วยประเทศทั้งหมด 34 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บาห์เรน บังกลาเทศ เบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก อียิปต์ ฝรั่งเศส กรีซ อิตาลี คูเวต โมรอกโก เนเธอแลนด์ นิวซีแลนด์ ไนเจอร์ นอร์เวย์ โอมาน ปากีสถาน โปรตุเกส กาตาร์ เกาหลีใต้ ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล เซียราลีโอน สิงคโปร์ สเปน ซีเรีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา[62] นายพลจากกองทัพบกสหรัฐนอร์แมน ชวาซคอพฟ์ จูเนียร์ ได้รับหน้าที่ในการบัญชาการกองกำลังผสมในพื้นที่อ่าวเปอร์เซีย
แม้ว่าญี่ปุ่นและเยอรมนีจะไม่ได้ส่งทหารร่วมสงคราม แต่พวกเขาให้การสนับสนุนทางการเงินเป็นจำนวนทั้งสิ้น 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐและ 6,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ กองกำลังผสมคิดเป็นทหารสหรัฐร้อยละ 73 จากทั���งหมด 956,600 นาย
กองกำลังผสมบางส่วนรู้สึกลังเลที่จะเข้าร่วมสงคราม บางชาติเห็นว่าสงครามดังกล่าวเป็นเรื่องภายในของชาติอาหรับ หรือบางชาติก็ไม่ต้องการที่จะให้สหรัฐมีอิทธิพลในตะวันออกกลางมากขึ้น ในท้ายที่สุดหลายประเทศก็ยอมเข้าร่วมเพราะเห็นความเกรี้ยวกราดของอิรักที่มีต่อรัฐอาหรับอื่น ๆ โดยชาติเหล่านั้นเสนอที่จะให้การช่วยเหลือทางเศรษฐกิจหรือยกเลิกหนี้สิน[63]
เหตุผลในการเข้าแทรกแซง
แก้สหรัฐและสหประชาชาติให้เหตุผลมากมายในการเข้าแทรกแซงเหตุการณ์ในคูเวตต่อสาธารณะ เหตุผลหลักก็คือการที่อิรักรุกรานอาณาเขตของคูเวตนั่นเอง นอกจากนี้สหรัฐยังเข้าสนับสนุนพันธมิตรอย่างซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีความสำคัญในตะวันออกกลางและเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายสำคัญ โดยมองว่าเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นความสำคัญด้านภูมิศาสตร์การเมือง ไม่นานหลังจากการรุกรานคูเวต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมดิก เชนีย์ได้ไปเยือนซาอุดิอาระเบียตามคำร้องขอความช่วยเหลือจากสหรัฐโดยกษัตริย์ฟาห์ดแห่งซาอุ ในการแถลงการในการประชุมพิเศษของสภาคองเกรสเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2533 ประธานาธิบดีสหรัฐจอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุชได้รวบรวมเหตุผลพร้อมกับรายละเอียดว่า "ภายในสามวัน ทหารอิรัก 120,000 นายพร้อมรถถัง 850 คันได้ทะลักเข้าคูเวตและเคลื่อนพลไปทางใต้เพื่อคุกคามซาอุดิอาระเบีย นั่นเป็นเหตุผลที่ข้าพเจ้าตัดสินใจที่จะลงมือเพื่อจัดการกับการรุกรานดังกล่าว"[64]
ทางเพนตากอนได้กล่าวว่ารูปถ่ายทางดาวเทียมได้แสดงให้เห็นกองกำลังอิรักที่ระดมพลตลอดแนวชายแดน แต่ต่อมาพบว่าเป็นการเข้าใจผิด ผู้รายงานข่าวจากเซนท์ปีเตอร์สเบิร์ก ไทมส์ได้ภาพถ่ายสองภาพจากดาวเทียมพาณิชย์ของโซเวียตที่แสดงให้เห็นเพียงทะเลทรายที่ว่างเปล่า[65]
เหตุผลอื่น ๆ ในการเข้าแทรกแซงคือการที่อิรักมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในช่วงการปกครองโดยซัดดัม นอกจากนี้ยังเป็นที่รู้กันโดยทั่วว่าอิรักนั้นครอบครองอาวุธชีวภาพและอาวุธเคมี ซึ่งซัดดัมเคยใช้จัดการกับทหารอิหร่านในช่วงสงครามอิหร่าน-อิรักและใช้กับชาวเคิร์ดที่อาศัยอยู่ในอิรักอีกด้วย อิรักเองก็มีโครงการอาวุธนิวเคลียร์แต่ข้อมูลดังกล่าวส่วนหนึ่งจากปีพ.ศ. 2534 ถูกหน่วยสืบราชการลับของสหรัฐพิสูจน์ว่าไม่เป็นความจริงในวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2544[66]
แม้ว่าจะมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในคูเวตโดยกองทัพอิรัก แต่กรณีที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในสหรัฐคือการแทรกแซงบริษัทประชาสัมพันธ์ที่ว่าจ้างโดยรัฐบาลคูเวตเพื่อส่งอิทธิพลต่อความคิดเห็นของสหรัฐในการใช้ทหารเข้าแทรกแซง ไม่นานหลังจากการรุกรานคูเวต องค์กรที่เรียกว่า"กลุ่มพลเมืองเพื่อปลดปล่อยคูเวต"ก็เกิดขึ้นในสหรัฐ องค์กรดังกล่าวได้ว่าจ้างบริษัทประชาสัมพันธ์ชื่อฮิลล์แอนด์โนล์ตันเป็นจำนวนเงินประมาณ 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีรัฐบาลแห่งคูเวตเป็นคนจ่าย[67]
ในหมู่วิธีอื่น ๆ ที่ส่งอิทธิพลต่อความเห็นของสหรัฐ (เช่น การแจกจ่ายหนังสือที่ตีแผ่ความโหดร้ายของอิรักต่อทหารอเมริกัน เสื้อที่มีข้อความว่า'ปลดปล่อยคูเวต' รวมทั้งการกระจายเสียงในมหาวิทยาลัยและวิดีโอมากมายทางโทรทัศน์) บริษัทดังกล่าวได้จัดให้มีการปรากฏตัวต่อหน้าสมาชิกสภาคองเกรส ซึ่งมีผู้หญิงคนหนึ่งระบุตนว่าเป็นพยาบาลที่ทำงานในโรงพยาบาลในคูเวต พร้อมอธิบายว่าเห็นทหารอิรักนำเด็กทารกออกจากเครื่องอบและทิ้งให้ทารกตายบนพื้น[68]
เรื่องดังกล่าวส่งอิทธิพลต่อทั้งสาธารณะและสภาคองเกรสในเรื่องการทำสงครามกับอิรัก สมาชิกสภาหกคนเห็นว่าเรื่องเล่าดังกล่าวเป็นเหตุผลเพียงพอที่จะให้ใช้กองทัพจัดการกับอิรักและมีวุฒิสมาชิกอีกเจ็ดคนที่นำเรื่องดังกล่าวสู่การถกเถียง วุฒิสภาสนับสนุนให้มีการลงมือทางทหารด้วยเสียงโหวต 52 ต่อ 47 เสียง อย่างไรก็ตามหนึ่งปีหลังจากสงครามเริ่มขึ้น การให้การดังกล่าวถูกเปิดเผยว่าเป็นเรื่องโกหก ผู้หญิงคนดังกล่าวที่เป็นคนให้การถูกพบในภายหลังว่าเป็นสมาชิกราชวงศ์ของคูเวต และเป็นลูกสาวของทูตคูเวตในสหรัฐ[68] เธอไม่���ด้อาศัยอยู่ในคูเวตตอนที่อิรักทำการบุกด้วยซ้ำ
รายละเอียดของการประชาสัมพันธ์โดยบริษัทฮิลล์แอนด์โนล์ตันถูกตีพิมพ์ในหนังสือ Second Front: Censorship and Propaganda in the Gulf War ที่เขียนโดยจอห์น อาร์. แมคอาเธอร์ และเป็นที่สนใจในหมู่ประชาชนเมื่อความคิดเห็นของแมคไนท์ถูกตีพิมพ์ใน"เดอะนิวยอร์กไทมส์" สิ่งที่เกิดขึ้นคือมีการกระตุ้นให้เกิดการตรวจสอบ หลังจากที่ไม่พบหลักฐานเรื่องที่ทหารอิรักปฏิบัติกับเด็กทารก องค์กรดังกล่าวก็ถอนตัวออกไป ประธานาธิบดีบุชได้ย้ำเรื่องข้อกล่าวหาดังกล่าวอีกครั้งทางโทรทัศน์
ในขณะเดียวกัน กองทัพบกอิรักได้ก่ออาชญากรรมหลายครั้งซึ่งถูกบันทึกเอาไว้ในช่วงที่เข้ายึดครองคูเวต เช่น การประหารนักโทษสามพี่น้องโดยปราศจากการไต่สวน ศพของทั้งสามถูกสุมทิ้งไว้ให้เน่าอยู่กลางถนน[69] ทหารอิรักยังได้เข้าปล้นสะดมบ้านของประชาชนอีกด้วย บ้านหลังหนึ่งถูกใช้เป็นที่ถ่ายของเสียอยู่บ่อยครั้ง[70] ต่อมาผู้อยู่อาศัยคนหนึ่งกล่าวว่า "เรื่องทั้งหมดเป็นการใช้ความรุนแรงแก้ไขความรุนแรง เป็นการใช้การทำลายเพื่อต่อกรกับอีกการทำลาย... คุณลองนึกถึงภาพวาดเหนือความจริงของซัลวาดอร์ ดาลีดูสิ"[71]
สงครามช่วงต้น
แก้การทัพทางอากาศ
แก้สงครามอ่าวเริ่มขึ้นด้วยการทิ้งระเบิดทางอากาศอย่างดุเดือดในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2534 เครื่องบินของกองกำลังผสมทำการบินกว่า 1 แสนครั้งพร้อมทิ้งระเบิดกว่า 88,500 ตัน[72] และได้ทำลายสิ่งก่อสร้างทางทหารและพลเรือนไปเป็นจำนวนมาก[73] การศึกทางอากาศบัญชาการโดยพลอากาศโทชัค ฮอร์เนอร์จากกองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ทำหน้าเป็นเป็นผู้บัญชาการสูงสุดในขณะที่นายพลชวาซคอพฟ์ยังอยู่ที่สหรัฐ
หนึ่งวันหลังจากเส้นตายตามมติที่ 678 กองกำลังผสมได้เปิดการศึกทางอากาศขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นปฏิบัติการพายุทะเลทราย จุดประสงค์หลักของกองกำลังผสมคือการเข้าทำลายกองทัพอากาศและฐานต่อต้านอากาศยานของอิรัก การบินส่วนมากมีฐานจากซาอุดิอาระเบียและกองเรือบรรทุกเครื่องบินทั้งหกลำของกองกำลังผสมที่จอดอยู่ในอ่าวเปอร์เซียและทะเลแดง
เป้าหมายต่อไปคือศูนย์อำนวยความสะดวกและศูนย์บัญชาการของอิรัก ซัดดัม ฮุสเซนได้ทำการจัดการกองทัพอิรักด้วยตัวเองทั้งหมดในสงครามอิหร่าน-อิรัก นักยุทธวิธีของกองกำลังผสมหวังที่จะให้การต่อต้านของอิรักพังทลายลงให้เร็วที่สุดเมื่อศูนย์บัญชาการและควบคุมถูกทำลาย
การศึกทางอากาศครั้งที่สามเป็นครั้งใหญ่ที่สุดโดยเล็งเป้าไปที่กองกำลังทหารที่อยู่ในอิรักและคูเวต เช่น ขีปนาวุธสกั๊ด ศูนย์วิจัยอาวุธ และกองกำลังทางทะเล กองกำลังทางอากาศ 1 ใน 3 ของกองกำลังผสมได้รับมอบหมายให้ทำลายขีปนาวุธสกั๊ด ซึ่งบางลูกติดตั้งบนรถบรรทุกซึ่งทำให้ตามหาได้ยาก หน่วยรบพิเศษของสหรัฐและสหราชอาณาจักรได้แทรกซึมเข้าไปทางตะวันตกของอิรักเพื่อค้นหาและทำลายขีปนาวุธดังกล่าว
การป้องกันทางอากาศของอิรักที่มีทั้ง อาวุธเคลื่อนที่ได้ พบว่าไร้ประสิทธิภาพต่อเครื่องบินของกองกำลังผสมอย่างมาก โดยกองกำลังผสมสูญเสียเครื่องบินไปเพียง 75 ลำจากการบินทั้งหมด 1 แสนครั้ง ในจำนวนนั้น 44 ลำถูกยิงตกโดยอิรัก 2 ลำชนกับพื้นดินขณะหลบการยิงจากทหารอิรักบนพื้น[74][75] หนึ่งลำถูกยิงตกโดยเครื่องบินอิรัก[76]
อิรักใช้ขีปนาวุธโจมตีอิสราเอลและซาอุดิอาระเบีย
แก้รัฐบาลของอิรักเตรียมพร้อมที่จะโจมตีกลับเสมอหากถูกรุกราน ก่อนที่สงครามเริ่มต้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอิรักทาริก อซิซถูกสัมภาษณ์โดยนักข่าวหลังจากการประชุมเพื่อสันติภาพกับสหรัฐที่เจนีวาล้มเหลวลง นักข่าวถามเขาว่า "ท่านรัฐมนตรีครับ ถ้าสงครามเริ่มขึ้น...อิรักจะตอบโต้หรือไม่" นายทาริกตอบว่า "ครับ แน่นอน"[77][78]
ห้าชั่วโมงหลังจากการโจมตีครั้งแรก วิทยุของอิรักได้ประกาศว่า "ชัยชนะของเราอยู่แค่เอื้อมเมื่อเราเริ่มตอบโต้นี้" อิรักได้ยิงขีปนาวุธแปดลูกในวันต่อมา การใช้ขีปนาวุธเหล่านี้เกิดขึ้นตลอดสงคราม มีการยิงขีปนาวุธสกั๊ดไปทั้งหมด 88 ลูกในช่วงเจ็ดสัปดาห์ของสงคราม[79]
อิรักหวังว่าจะกระตุ้นให้อิสราเอลเข้าร่วมสงครามด้วย รัฐบาลอิรักหวังว่าชาติอาหรับหลายชาติจะถอนตัวออกจากกองกำลังผสมหากอิสราเอลเข้าร่วมเพราะชาติอาหรับอาจลังเลใจที่จะอยู่ข้างเดียวกันกับอิสราเอล[49] หลังจากการโจมตีครั้งแรก กองทัพอากาศอิสราเอลได้ส่งเครื่องบินเข้าลาดตระเวนบริเวณน่านฟ้าทางเหนือของอิรัก อิสราเอลเตรียมกองทัพเพื่อตอบโต้ตามนโยบายของตนตลอด 40 ปีที่ใช้การตอบโต้มาโดยตลอด อย่างไรก็ดีประธานาธิบดีบุชได้กดดันนายกรัฐมนตรีของอิสราเอลยิตซัค ชาเมียร์ให้อยู่เฉย ๆ เพราะกลัวว่าหากอิสราเอลโจมตีอิรัก ชาติอาหรับอื่น ๆ อาจถอนตัวออกจากกองกำลังผสมหรือเข้าร่วมกับอิรัก นอกจากนี้สหรัฐยังกลัวว่าหากอิสราเอลใช้น่านฟ้าของซีเรียหรือจอร์แดนในการโจมตีอิรัก ชาติเหล่านั้นก็จะเข้าร่วมกับอิรักหรือโจมตีอิสราเอล กองกำลังผสมให้สัญญาว่าจะใช้ขีปนาวุธเพเทรียตป้องกันอิสราเอลจากขีปนาวุธสกั๊ด[80][81]
ขีปนาวุธสกั๊ดที่ยิงใส่อิสราเอลนั้นพบว่าไร้ประสิทธิภาพ ด้วยการยิงที่พิสัยสูงสุดส่งผลให้ความแม่นยำและน้ำหนักระเบิดลดลง ห้องสมุดเสมือนชาวยิวได้รายงานว่ามีชาวอิสราเอล 74 คนเสียชีวิตจากการโจมตีของอิรัก สองคนเสียชีวิตจากการถูกระเบิดและที่เหลือเสียชีวิตเพราะขาดอากาศหายใจและหัวใจวายเฉียบพลัน[82] มีชาวอิสราเอลประมาณ 230 คนได้รับบาดเจ็บ[16] ในเหตุการณ์หนึ่งได้เกิดการโจมตีเข้าที่ละแวกเทล อะวิฟ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตสามรายและบาดเจ็บอีก 96 ราย[83] ทรัพย์สินมหาศาลได้รับความเสียหาย กระทรวงการต่างประเทศของอิสราเอลกล่าวว่า "ความเสียหายทั่วไปแก่ทรัพย์สินได้แก่ บ้าน 1,302 หลัง อพาร์ทเมนท์ 6,142 แห่ง สิ่งก่อสร้างสาธารณะ 23 แห่ง ร้านค้า 200 ร้าน และรถ 50 คัน"[84] เป็นที่กลัวกันว่าอิรักจะยิงขีปนาวุธที่มีส่วนประกอบของแก๊ซทำลายประสาทหรือซาริน ผลที่ตามมาคือรัฐบาลอิสราเอลได้แจกจ่ายหน้ากากกันแก๊ซให้กับประชาชนของตน เมื่อขีปนาวุธลูกแรกยิงเข้าใส่อิสราเอล มีผู้คนบางจำนวนที่ฉีดยาถอนพิษให้กับตัวเอง
เพื่อโต้ตอบการใช้ขีปนาวุธของอิรัก สหรัฐได้ส่งขีปนาวุธเพเทรียตจำนวนมากเข้าไปยังอิสราเอลโดยมีแท่นยิงจรวดเอ็มไอเอ็ม-104 เพเทรียตสองแท่นเพื่อเอาไว้ปกป้องประชาชน[85] กองทัพอากาศของกองกำลังผสมทำการฝึกล่าขีปนาวุธสกั๊ดอย่างจริงจังในทะเลทรายของอิรัก เพื่อหาตำแหน่งรถถังบรรทุกที่พรางตัวก่อนที่อิรักจะใช้มันยิงขีปนาวุธเข้าใส่อิสราเอลหรือซาอุดิอาระเบียได้ ทางภาคพื้นดินหน่วยรบพิเศษได้ทำการแทรกซึมเข้าไปยังอิรักเพื่อค้นหาและทำลายขีปนาวุธสกั๊ด เมื่อหน่วยรบพิเศษทำงานร่วมกับหน่วยลาดตระเวนทางอากาศทำให้การโจมตีมีความแม่นยำขึ้น ทางอิรักจึงเริ่มปรับเปลี่ยนยุทธวิธีเช่นกัน
กองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ใช้ขีปนาวุธเพเทรียตเพื่อตอบโต้ขีปนาวุธสกั๊ดเช่นกัน กระทรวงกลาโหมของเนเธอร์แลนด์กล่าวในเวลาต่อมาว่าการใช้เพเทรียตส่วนมากนั้นไร้ประสิทธิภาพ แต่ผลทางจิตวิทยานั้นกลับเป็นที่น่าพอใจอย่างมาก แม้ว่าขขีปนาวุธเพเทรียตเองจะสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมากกว่าที่ขีปนาวุธสกั๊ดทำเสียอีก[86][87] มีการแนะนำว่าการที่อิสราเอลเสริมความแข็งแกร่งให้กับเมืองของตนนั้นมีบทบาทสำคัญที่ทำให้อิสราเอลสามารถลดจำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากขีปนาวุธสกั๊ดได้ รวมทั้งเป็นเพราะว่าขีปนาวุธสกั๊ดจะทำการยิงแค่ในตอนกลางคืนเท่านั้น[16]
ในขณะที่การโจมตีด้วยขีปนาวุธสกั๊ดดำเนินต่อไป อิสราเอลก็เริ่มหมดความอดทนและคิดจะดำเนินการรบฝ่ายเดียวกับอิรัก หลังจากการโจมตีที่รามัตกัน อิสราเอลได้เตือนว่าหากสหรัฐไม่สามารถหยุดยั้งขีปนาวุธได้อิสราเอลก็จะทำเอง เมื่อถึงจุดหนึ่งหน่วยคอมมานโดของอิสราเอลได้ขึ้นเฮลิคอปเตอร์และเตรียมบินไปยังอิรัก แต่ว่าถูกยกเลิกหลังจากมีโทรศัพท์จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมดิก เชนีย์ ซึ่งโทรมารายงานว่ากองกำลังผสมได้เพิ่มความพยายามที่จะทำลายขีปนาวุธสกั๊ดและย้ำว่าการแทรกแซงของอิสราเอลอาจทำให้กองกำลังของสหรัฐตกอยู่ในอันตราย[88]
นอกจากเหนือจากการโจมตีอิสราเอลแล้ว อิรักยังได้ยิงขีปนาวุธสกั๊ด 47 ลูกเข้าใส่ซาอุดิอาระเบียและยิงใส่บาห์เรนและกาตาร์แห่งละลูก ขีปนาวุธเหล่านั้นเล็งเป้าไปที่ทหารและพลเมือง มีพลเมืองชาวซาอุหนึ่งคนเสียชีวิตและอีก 78 คนได้รับบาดเจ็บ ไม่มีผู้เสียชีวิตในบาห์เรนและกาตาร์ รัฐบาลของซาอุได้แจกจ่ายหน้ากากกันแก๊ซให้กับประชาชนและผู้อพยพเพื่อปกป้องการใช้อาวุธเคมีหรือขีวภาพของอิรัก รัฐบาลยังได้ประกาศเตือนภัยและปลอดภัยผ่านทางโทรทัศน์เพื่อเตือนประชาชนเสมอเมื่อเกิดการโจมตี
ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ขีปนาวุธสกั๊ดลูกหนึ่งตกใส่ค่ายกองทหารพลาธิการที่ 14 ของสหรัฐในดาห์ราน ประเทศซาอุดิอาระเบีย สังหารทหารไป 28 นายและบาดเจ็บอีกกว่า 100 นาย[89]
ยุทธการคาฟจิ
แก้ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
ในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2534 กองกำลังอิรักได้เข้าโจมตีและยึดครองเมืองคาฟจิที่แทบจะไร้การป้องกันของซาอุ ยุทธการคาฟจิสิ้นสุดลงในอีกสองวันต่อมาเมื่อกองกำลังอิรักถูกรุกตีโดยกองกำลังป้องกันชาติซาอุดิอาระเบียและกองทัพน้อยนาวิกโยธินสหรัฐที่สนับสนุนโดยกองกำลังจากกาตาร์ กองกำลังชาติพันธมิตรได้ให้การสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดและการระดมยิงด้วยปืนใหญ่
ทั้งสองฝ่ายล้วนสูญเสียเป็นจำนวนมาก แม้ว่าทางอิรักจะมีการสูญเสียมากกว่าเล็กน้อย มีทหารอเมริกัน 11 นายถูกสังหารในเหตุยิงกันเองสองครั้ง รวมกับทหารอากาศอีก 14 นายที่เสียชีวิตจากเครื่องเอซี-130 ที่ถูกยิงตกโดยอิรัก และมีทหารอีกสองนายถูกจับเป็บเชลย กองกำลังของซาอุและกาตาร์สูญเสียทหารรวมกัน 18 นาย ส่วนอิรักสูญเสียทหารไป 60-300 นายและถูกจับอีก 400 นาย
คาฟจิกกลายเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ทันทีหลังจากที่อิรักบุกคูเวต อิรักลังเลที่จะส่งกองพลยานเกราะจำนวนมากเข้ายึดครองเมืองและการใช้เมืองเป็นฐานโจมตีฝั่งตะวันออกที่มีการป้องกันน้อยของซาอุดิอาระเบียในเวลาต่อมานั้น ถูกมองว่าเป็นความผิดพลาดทางยุทธศาสตร์[ต้องการอ้างอิง] ไม่เพียงแค่อิรักอาจสามารถรักษาเสบียงน้ำมันส่วนใหญ่ของตะวันออกกลางไว้ได้ แต่ยังอาจสามารถจัดการกับทหารสหรัฐที่วางอยู่ตามแนวป้องกันที่เหนือกว่าได้ดีกว่านี้เสียด้วย
การทัพทางบก
แก้กองกำลังผสมได้ยึดครองน่านฟ้าด้วยเทคโนโลยีที่เหนือกว่าอิรัก กองกำลังของพวกเขาได้เปรียบอย่างมากเพราะได้รับการป้องกันจากเป็นเจ้าอากาศ ซึ่งได้มาโดยกองทัพอากาศก่อนที่จะมีการรุกทางบก กองกำลังผสมยังมีความได้เปรียบทางเทคโนโลยีสองอย่างด้วยกัน คือ
- รถถังประจัญบานหลักของกองกำลังผสม เช่น เอ็ม1 เอบรามส์ของสหรัฐ ชาลเลนเจอร์ 1 ของอังกฤษ และเอ็ม-84เอบีของคูเวต มีความสามารถเหนือกว่าไทป์ 69 ของจีนและที-72 ของอิรักอย่างมาก รวมทั้งทหารยานเกราะของกองกำลังผสมเองก็ได้รับการฝึกฝนมาดีกว่า
- การใช้จีพีเอสทำให้กองกำลังผสมสามารถหาหนทางได้โดยไม่ต้องพึ่งถนนหรือสัญลักษณ์ใด ๆ เมื่อรวมกับการลาดตระเวนทางอากาศทำให้พวกเขาเลือกที่จะสู้ด้วยการสงครามกลยุทธ์แทนที่จะใช้การรบแบบแตกหัก เพราะพวกเขารู้ว่าพวกเขาอยู่ตรงไหนและศัตรูอยู่ตรงไหน พวกเขาจึงสามารถโจมตีเป้าหมายเฉพาะแทนที่จะเป็นการค้นหาศัตรูตามพื้นดิน
ปลดปล่อยคูเวต
แก้สหรัฐได้วางแผนหลอกล่ออิรักด้วยการโจมตีทางอากาศและทางเรือในคืนก่อนการปลดปล่อยคูเวตเพื่อให้อิรักเชื่อว่ากองกำลังหลักจะเข้าโจมตีส่วนกลางของคูเวต
เป็นเวลาหลายเดือนที่ทหารของอเมริกาในซาอุดิอาระเบียต้องตกอยู่ภายใต้การยิงจากอิรักและขีปนาวุธสกั๊ด ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 กองนาวิกโยธินที่ 1 และ 2 พร้อมกับกองพันทหารยานเกราะเบาที่ 1 ได้เข้าไปยังตูเวตและมุ่งหน้าไปยังคูเวตซิตี พวกเขาปะทะกับแนวสนามเพลาะ ลวดหนาม และทุ่งกับระเบิด อย่างไรก็ตามอิรักมีการป้องกันที่เบาบางและถูกเอาชนะภายในไม่กี่ชั่วโมงแรก การรบระหว่างรถถังจำนวนมากเกิดขึ้นแต่นอกจากนั้นแล้วกองกำลังผสมก็พบเพียงการต่อต้านเพียงเล็กน้อยเพราะทหารอิรักส่วนใหญ่เลือกที่จะยอมจำนน วิธีทั่วไปของทหารอิรักคือสู้ก่อนสักเล็กน้อยแล้วค่อยยอมแพ้ อย่างไรก็การป้องกันทางอากาศของอิรักได้ยิงอากาศยานของสหรัฐตกได้ถึง 9 ลำ ในขณะเดียวกันกองกำลังจากประเทศอาหรับก็รุกคืบเข้าไปในคูเวตจากทางตะวันออกและปะทะกับการต่อต้านเล็กน้อยพร้อมกับสูญเสียทหารไปไม่มากนัก
แม้ว่ากองกำลังผสมจะประสบความสำเร็จ แต่ก็เป็นที่กลัวกันว่าริพับลิกันการ์ดของอิรักจะสามารถหลบหนีเข้าไปยังอิรักก่อนที่จะถูกทำลายได้ จากนั้นจึงมีการตัดสินใจส่งกองกำลังยานเกราะของอังกฤษเข้าไปยังคูเวต 15 ชั่วโมงก่อนกำหนดการและให้กองกำลังของสหรัฐไล่ตามริพับลิกันการ์ด การรุกของกองกำลั���เริ่มด้วยการระดมยิงด้วยปืนใหญ่และจรวดเพื่อเปิดทางให้กับทหาร 150,000 นายและรถถังอีก 1,500 คัน กองกำลังของอิรักในคูเวตตอบโต้ทหารสหรัฐตามคำสั่งโดยตรงของซัดดัม แม้ว่าการรบจะดุเดือดแต่กระนั้นทหารอเมริกันก็สามารถตอบโต้ทหารอิรักและรุกต่อไปยังคูเวตซิตี
กองกำลังของคูเวตได้รับมอบหมายให้ทำการปลดปล่อยเมือง ทหารอิรักทำการต่อต้านได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น คูเวตเสียทหารไปหนึ่งนายและเครื่องบินอีกหนึ่งลำ ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ซัดดัมได้สั่งให้กองทัพล่าถอยออกจากคูเวต ประธานาธิบดีบุชประกาศว่าคูเวตได้รับอิสรภาพแล้ว อย่างไรก็ดีทหารอิรักที่ท่าอากาศยานนานาชาติคูเวตดูเหมือนจะไม่ได้รับข้อความดังกล่าวและทำการต่อสู้อย่างดุเดือด นาวิกโยธินสหรัฐต้องต่อสู้เป็นชั่วโมงจึงจะสามารถยึดสนามบินไว้ได้ หลังจากผ่านไปสี่วันของการรบ กองกำลังของอิรักก็ถูกขับไล่ออกจากคูเวต พวกเขาวางเพลิงบ่อน้ำมันของคูเวตเกือบ 700 แห่งและวางทุ่นระเบิดไว้รอบ ๆ บ่อน้ำมันเพื่อให้การควบคุมเพลิงเป็นไปได้ยาก
เริ่มต้นบุกอิรัก
แก้การทัพทางบกถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่าปฏิบัติการดีเซิร์ทเซเบอร์[90]
หน่วยรบแรกที่ถูกส่งเข้าไปยังอิรักคือหน่วยลาดตระเวนสามหน่วยจากหน่วยเอสเอเอสของอังกฤษ โดยมีรหัสว่า บราโววันซีโร บราโวทูซีโร และบราโวทรีซีโร[ต้องการอ้างอิง] หน่วยลาดตระเวนหน่วยละแปดนายนี้ได้เข้าไปยังหลังแนวของอิรักเพื่อรวบรวมข้อมูลของขีปนาวุธสกั๊ด ซึ่งไม่สามารถตรวจพบด้วยเครื่องบินได้ เพราะพวกมันถูกซ่อนไว้ใต้สะพานและถูกอำพรางในตอนกลางวัน อีกเป้าหมายหนึ่งคือการทำลายสายสื่อสารไฟเบอร์ออพติกที่อยู่ในท่อและตัวส่งสัญญาณไปยังเครื่องยิงขีปนาวุธสกั๊ด ปฏิบัติการนี้มีเพื่อป้องกันไม่ให้อิสราเอลเข้าแทรกแซง แต่เนื่องจากไม่มีที่กำบังเพียงพอที่จะทำภารกิจทำให้บราโววันซีโรและบราโวทรีซีโรต้องยกเลิกภารกิจ ในขณะที่บราโวทูซีโรดำเนินภารกิจต่อจนกระทั่งพวกเขาถูกตรวจพบ มีเพียงสิบเอกคริส ไรอันเท่านั้นที่สามารถหลบหนีไปยังซีเรียได้
ทหารบางส่วนจากกองพลน้อยที่ 2 กรมทหารม้าที่ 5 จากกองพลทหารม้าที่ 1 ของสหรัฐเข้าทำการโจมตีโดยตรงใส่อิรักในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ตามมาด้วยการโจมตีอีกครั้งในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ตั้งแต่วันที่ 15-20 กุมภาพันธ์ได้เกิดยุทธการวาดิอัลบาตินขึ้นในอิรัก เหตุการณ์นี้เป็นการโจมตีครั้งแรกในสองครั้งโดยกองพันที่ 1 กรมทหารม้าที่ 5 จากกองพลทหารม้าที่ 1 การโจมตีครั้งนั้นเป็นการโจมตีหลอกล่อเพื่อให้ทหารอิรักคิดว่ากองกำลังผสมจะทำการรุกจากทางใต้ ทหารอิรักทำการป้องกันอย่างดุเดือดทำให้ทหารอเมริกันต้องล่าถอยตามแผนไปยังวาดิอัลบาติน ทหารสหรัฐสามนายถูกสังหารและได้รับบาดเจ็บเก้านาย ยานพาหนะต่อสู้ทหารราบสูญเสียป้อมปืนไปหนึ่ง แต่สามารถจับเชลยได้ 40 นายและทำลายรถถัง 5 คันพร้อมกับลวงอิรักได้สำเร็จ การโจมตีครั้งนี้นำด้วยกองพลน้อยทางอากาศที่ 18 เพื่อกวาดพื้นที่หลังกองพลทหารม้าที่ 1 และโจมตีกองทหารอิรักทางทิศตะวันตก ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 อิรักเห็นด้วยกับข้อตกลงหยุดยิงที่โซเวียตเสนอ ข้อตกลงดังกล่าวเรียกร้องให้อิรักถอนทหารให้ไปอยู่ในตำแหน่งก่อนการรุกรานคูเวตภายใน 6 อาทิตย์และให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเฝ้าดูการหยุดยิงและล่าถอยของอิรัก
กองกำลังผสมปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าวแต่ให้การว่าจะไม่ทำการโจมตีทหารอิรักที่ล่าถอย[ต้องการอ้างอิง]และให้เวลา 24 ชั่วโมงเพื่อเริ่มการล่าถอย ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์มีทหารอิรักถูกจับเป็นเชลย 500 นาย ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์กองกำลังยานเกราะของอังกฤษและสหรัฐจำนวนมหาศาลข้ามชายแดนอิรักคูเวตและเข้าไปยังอิรักพร้อมจับเชลยได้นับร้อย อิรักทำการต่อต้านเพียงเล็กน้อยเท่านั้น สหรัฐสูญเสียทหารไป 4 นาย[91]
กองกำลังผสมตราทัพเข้าอิรัก
แก้ไม่นานนักในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ก็เกิดการโจมตีทหารอิรักที่อยู่ทางตะวันตกของคูเวตโดยกองพลน้อยที่ 5 ของสหรัฐอย่างเต็มอัตราโดยมีกรมทหารม้ายานเกราะที่ 2 เป็นหัวหอก ในขณะเดียวกันกองพลน้อยทางอากาศที่ 18 ของสหรัฐก็เปิดการโจมตีจากทางซ้ายผ่านทะเลทรายทางใต้ของอิรักโดยมีหัวหอกเป็นกรมทหารม้ายานเกราะที่ 3 และกองพลทหารราบที่ 24 ของสหรัฐ ทางปีกซ้ายของการโจมตีได้รับการคุ้มครองโดยกองพลยานเกราะเบาที่ 6 ของฝรั่งเศส
กองกำลังฝรั่งเศสเข้าปะทะกับกองพลทหารราบที่ 45 ของอิรักอย่างรวดเร็ว ฝรั่งเศสสูญเสียทหารไปเล็กน้อยและสามารถจับเชลยได้เป็นจำนวนมาก จากนั้นก็รักษาตำแหน่งเพื่อป้องกันการตอบโต้จากอิรัก ทางปีกขวาได้รับการคุ้มกันโดยกองพลยานเกราะที่ 1 ของอังกฤษ เมื่อกองกำลังพันธมิตรบุกทะลวงลึดเข้าไปในเขตของอิรักก็เลี้ยวไปทางตะวันออกเพื่อเริ่มการโจมตีโอบกองทหารริพับลิกันการ์ดก่อนที่พวกเขาจะหลบหนีไป อิรักทำการต่อสู้อย่างดุเดือดในที่มั่น
การปะทะครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งก่อน ๆ เพราะทหารอิรักไม่ยอมแพ้หลังจากที่รถถังคันของฝ่ายตนถูกทำลาย ทหารอิรักสูญเสียเป็นจำนวนมาก รวมทั้งยานพาหนะและรถถังจำนวนมากเช่นกัน ในขณะที่สหรัฐสูญเสียน้อยมากโดยเสียยานเกราะไปเพียงหนึ่งคัน กองกำลังผสมรุกเข้าไปอีก 10 กิโลเมตรและบรรลุเป้าหมายภายในสามชั่วโมง พวกเขาจับเชลยได้ 500 นายและสร้างความเสียหายเป็นจำนวนมหาศาลด้วยการเอาชนะกองพลทหารราบที่ 26 ของอิรัก มีทหารสหรัฐหนึ่งนายเสียชีวิตจากกับระเบิด อีกห้าคนเสียชีวิตเพราะยิงกันเอง และอีกสามสิบได้รับบาดเจ็บขณะปะทะ ขณะเดียวกันกองกำลังของอังกฤษก็เข้าโจมตีกองพลเมดินาและฐานส่งกำลังบำรุงของริพับลิกันการ์ด เกือบสองวันที่มีการรบกันดุเดือดที่สุด อังกฤษได้ทำลายรถถังไป 40 คันและสามารถจับตัวผู้บังคับบัญชากองพลได้หนึ่งนาย
ขณะเดียวกันกองกำลังของสหรัฐก็เข้าโจมตีหมู่บ้านอัลบูเซย์ยาห์และพบกับการต่อต้านที่รุนแรง สหรัฐไม่มีการสูญเสียแต่สามารถทำลายยุทโธปกณ์พร้อมกับจับเชลยได้เป็นจำนวนมาก
ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 กองกำลังอิรักได้ยิงขีปนาวุธสกั๊ดใส่ค่ายทหารของอเมริกาในเมืองดาห์รานในซาอุดิอาระเบีย สังหารทหารอเมริกาไป 28 นาย[92]
การรุกคืบของกองกำลังผสมทำได้รวดเร็วกว่าที่นายพลของสหรัฐคาดการณ์เอาไว้ ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ทหารอิรักก็เริ่มถอยทัพออกจากคูเวตหลังจากที่พวกเขาวางเพลิงทุ่งน้ำมัน (มีบ่อน้ำมัน 737 แห่งถูกเผา) ขบวนทหารอิรักที่ล่าถอยเคลื่อนขบวนไปตามทางหลวงอิรัก-คูเวต แม้ว่าพวกเขากำลังล่าถอยแต่ขบวนรถก็ถูกโจมตีอย่างรุนแรงโดยกองทัพอากาศของกองกำลังผสมทำให้ถนนสายนั้นได้ชื่อว่าทางหลวงมรณะ ทหารอิรักนับร้อยถูกสังหาร กองกำลังทั้งสหรัฐ อังกฤษ และฝรั่งเศสดำเนินการไล่ล่าทหารอิรักที่ล่าถอยต่อตั้งแต่ชายแดนจนไปถึงอิรัก จนในที่สุดก็ห่างจากกรุงแบกแดดเพียง 240 กิโลเมตรก่อนที่จะถอยกลับไปยังชายแดนอิรักที่ติดกับคูเวตและซาอุดิอาระเบีย
ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ หลังจากผ่านการศึกทางบกได้ 100 ชั่วโมง ประธานาธิบดีบุชก็ประกาศหยุดยิงและประกาศว่าคูเวตเป็นอิสระแล้ว
การวิเคราะห์เชิงทหารหลังการรบ
แก้ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
แม้ว่าสื่อตะวันตกในตอนนั้นได้รายงานว่ามีทหารอิรักประมาณ 545,000-600,000 นายในการรบ แต่ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เชื่อว่าข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพของกองทัพอิรักนั้นกล่าวกันเกินจริง เพราะข้อมูลเหล่านั้นนับรวมกองกำลังชั่วคราวและกองกำลังสนับสนุนเข้าไปด้วย ทหารอิรักจำนวนมากเป็นคนหนุ่มและเป็นทหารเกณฑ์ที่ฝึกมาน้อย
กองกำลังผสมมีทหาร 540,000 นายพร้อมกับอีก 1 แสนนายจากกองทัพตุรกีที่วางกำลังตามแนวชายแดนตุรกี-อิรัก สิ่งนี้ทำให้อิรักต้องกระจายทหารของตนไปตามแนวชายแดนทั้งหมด ดังนั้นกำลังรุกหลักโดยสหรัฐจึงสามารถบุกทะลวงได้โดยอาศัยความได้เปรียบทางเทคโนโลยีและจำนวนที่มากกว่า
การที่อิรักได้รับการสนับสนุนเมื่อครั้งสงครามอิหร่าน-อิรักทำให้อิรักมีอาวุธมากมายจากชาติผู้ค้าอาวุธระดับโลก อิรักจึงไม่มีมาตรฐานในการคัดเลือกสรรพาวุธทำให้กองทัพอิรักมีกความหลากหลายเกินไปซึ่งรวมทั้งการไ��้รับการฝึกที่ไม่มีมาตรฐานและทหารที่ขาดแรงผลักดัน กองกำลังส่วนใหญ่ของอิรักเคยชินกับการใช้รถถังรุ่นเก่าอย่างไทป์ 59 และไทป์ 69 ของจีนและที-55 ของโซเวียตที่มีมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 2493 และ 2503 นอกจากนี้ยังมีรถถังคุณภาพต่ำอย่างอะซัดบาบิล (เป็นรถถังที่ดัดแปลงมาจากที-72 ของโปแลนด์) รถถังเหล่านี้ไม่มีอุปกรณ์ที่ทันสมัย เช่น กล้องมองกลางคืนหรือเลเซอร์วัดระยะ ทำให้ประสิทธิภาพในการรบนั้นด้อยคุณภาพ
ทหารอิรักไม่สามารถหามาตรการตอบโต้กล้องจับความร้อนและกระสุนแซบบอตของกองกำลังผสมได้ อุปกรณ์เหล่านี้เองที่ทำให้รถถังฝ่ายพันธมิตรมีความเหนือกว่าและสามารถทำลายรถถังของอิรักจากระยะที่ไกลกว่าถึงสามเท่า ทหารอิรักใช้กระสุนเจาะเหล็กกล้าเพื่อจัดการกับเกราะช็อบแฮมที่ก้าวหน้าของรถถังสหรัฐและอังกฤษ ผลคือกระสุนดังกล่าวไร้ประโยชน์ ทหารอิรักไม่สามารถอาศัยความได้เปรียบในการสงครามในเมืองด้วยสู้รบภายในคูเวตซิตี ซึ่งอาจสามารถสร้างความเสียหายแก่กองกำลังผสมได้มหาศาล การรบในเมืองนั้นจะลดระยะในการสู้รบและทำให้กองกำลังที่มีเทคโนโลยีก้าวหน้าเสียเปรียบได้
ทหารอิรักยังได้พยายามที่จะใช้รูปแบบการรบแบบโซเวียตอีกด้วย แต่ก็ต้องล้มเหลวเพราะผู้บังคับบัญชาของอิรักนั้นขาดทักษะ ประกอบกับการที่กองทัพอากาศของกองกำลังผสมได้เข้าทำลายศูนย์สื่อสารหลักและบังเกอร์ของอิรัก
กำลังของศัตรูถูกกำจัด
แก้ในพื้นที่ยึดครองของกองกำลังผสมในอิรักได้เกิดการประชุมเพื่อสันติภาพขึ้นเพื่อทำข้อตกลงหยุดยิงโดยเป็นที่ยินยอมของทั้งสองฝ่าย ในการประชุมดังกล่าวอิรักได้รับอนุญาตให้ใช้เฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธได้ในชายแดนชั่วคราวฝั่งตนเองเพื่อลำเลียงบุคคลของรัฐบาลเพราะส่วนภาคพลเรือนได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก ไม่นานหลังจากนั้นเฮลิคอปเตอร์เหล่านั้นและกองทหารของอิรักก็ได้ปะทะกับการจลาจลทางตอนใต้ของอิรัก กลุ่มกบฏได้รับการปลุกใจจากการออกอากาศของรายการ"เดอะวอยซ์ออฟฟรีอิรัก"เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ซึ่งออกอากาศมาจากสถานีวิทยุที่ควบคุมโดยซีไอเอที่ตั้งอยู่นอกซาอุดิอาระเบีย ฝ่ายงานอาหรับจากวอยซ์ออฟอเมริกาได้สนับสนุนการจลาจลโดยกล่าวว่ากลุ่มกบฏมีขนาดใหญ่และไม่นานพวกเขาจะสามารถปลดแอกจากซัดดัมได้[93]
ในทางเหนือของอิรัก ผู้นำกลุ่มชาวเคิร์ดได้รับฟังคำกล่าวของอเมริกาที่ว่าพวกเขาจะให้การสนับสนุนการจลาจลด้วยใจจริงและเริ่มต่อสู้พร้อมกับหวังว่าจะเกิดการรัฐประหารขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อขาดการสนับสนุนโดยสหรัฐ นายพลของอิรักก็ยังคงภักดีต่อซัดดัมและเข้าบดขยี้การจลาจลของชาวเคิร์ดอย่างโหดเหี้ยม ชาวเคิร์ดนับล้านอพยพออกนอกประเทศไปยังตุรกีและอิหร่าน เหตุการณ์เหล่านี้ส่งผลให้เกิดเขตห้ามบินในทางตอนเหนือและใต้ของอิรักในเวลาต่อมา ในคูเวตเจ้าชายได้กลับสู่บัลลังก์และเหล่าผู้สมรู่ร่วมคิดกับอิรักก็ถูกปราบปราม ท้ายที่สุดมีประชากร 4 แสนคนถูกขับไล่ออกจากประเทศรวมทั้งชาวปาเลสไตน์จำนวนมากเพราะองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์สนับสนุนซัดดัม ยัสเซอร์ อาราฟัตไม่ออกมาขอโทษเรื่องที่เขาสนับสนุนอิรัก แต่หลังจากเสียชีวิต พรรคฟาตาห์ก็ออกมาแสดงความเสียใจอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ. 2547[94]
ฝ่ายบริหารประเทศของบุชถูกวิจารณ์เช่นกัน เพราะพวกเขายอมให้ซัดดัมอยู่ในอำนาจต่อแทนที่จะเข้ายึดกรุงแบกแดดและโค่นล้มรัฐบาลอิรัก ในหนังสืออะเวิลด์ทรานส์ฟอร์มที่เขียนโดยบุชและเบรนท์ สโคว์ครอฟท์ พวกเขาถกเถียงกันว่าหากเข้ายึดอิรักเหล่าพันธมิตรก็จะเกิดการแตกแยกและอาจทำให้เกิดการสูญเสียทางการเมืองและมนุษย์อย่างไม่จำเป็น
ในปีพ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐดิก เชนีย์ได้แสดงความคิดเห็นเช่นเดียวกัน
ผมคิดว่าหากเราเข้าไปในอิรักเราก็อาจมีกำลังทหารในกรุงแบกแดดถึงทุกวันนี้ เราอาจได้ควบคุมประเทศ เราอาจไม่สามารถพาทุกคนออกจากที่นั่นและกลับบ้านได้
สิ่งสุดท้ายที่ผมต้องคิดคำนึงคือการสูญเสีย ผมไม่คิดว่าเราจะสามารถดำเนินการตามนั้นทั้งหมดโดยไม่สูญเสียทหารสหรัฐเพิ่ม ขณะที่ทุกคนประทับใจกับการที่เราสูญเสียทหารไปไม่มากนักในการรบ (ในปีพ.ศ. 2534) แต่สำหรับทหาร 146 นายที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่และสำหรับครอบครัวของพวกเขา มันเป็นสงครามราคาแพง
คำถามในใจผมคือ ซัดดัมมีค่ามากแค่ไหนที่เราจะยอมสูญเสียทหารอเมริกันเพิ่มอีก คำตอบก็คือ ไม่เลย ผมจึงคิดว่าเราควรทำสิ่งที่ถูกต้อง ทั้งตอนที่เราตัดสินใจขับไล่เขาออกจากคูเวตและตอนที่ท่านประธานาธิบดีตัดสินใจว่าเราได้บรรลุเป้าหมายแล้วและเราจะไม่ยอมให้มีปัญหาใดจากการพยายามยึดครองอิรักมาหยุดพวกเรา[95]
— ดิก เชนีย์
ในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2534 ทหารสหรัฐจำนวน 540,000 นายเริ่มทำการถอนกำลังออกจากอ่าวเปอร์เซีย
การมีส่วนร่วมของกองกำลังผสม
แก้สมาชิกในกองกำลังผสมประกอบด้วย อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บาเรนห์ บังกลาเทศ เบลเยียม แคนาดา เชกโกสโลวาเกีย เดนมาร์ก อียิปต์ ฝรั่งเศส กรีซ ฮอนดูรัส ฮังการี อิตาลี คูเวต มาเลเซีย โมรอกโก เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ ไนเจอร์ นอร์เวย์ โอมาน ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ โปรตุเกส กาตาร์ โรมาเนีย ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล เกาหลีใต้ สเปน สวีเดน ซีเรีย ตุรกี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา[96]
เยอรมนีและญี่ปุ่นให้การช่วยเหลือทางการเงินและบริจาคอุปกรณ์ทางทหาร แต่ไม่ได้ส่งกองกำลังใด ๆ เข้าร่วมรบ ต่อมาวิธีดังกล่าวถูกเรียกว่า การทูตแบบสมุดเช็ค
สหราชอาณาจักร
แก้สหราชอาณาจักรเป็นชาติยุโรปที่ส่งกองทัพเข้าร่วมรบมากที่สุดในสงคราม ปฏิบัติการทั้งหลายในสงครามอ่าวถูกเรียกว่าปฏิบัติการแกรนบี้ กองพลจากกองทัพบกอังกฤษ (ส่วนใหญ่มาจากกองพลยานเกราะที่ 1) กองทัพอากาศ และกองทัพเรือเข้าร่วมในสงครามอ่าว กองทัพอากาศอังกฤษใช้ฐานบินในซาอุดิอาระเบีย มียานเกราะเกือบ 2,500 คันและทหาร 53,462 นายถูกส่งมาทางเรือ[ต้องการอ้างอิง]
เรือรบของราชนาวีอังกฤษประกอบด้วยเรือฟริเกตชั้น"บรอดซอร์ด"และเรือพิฆาตชั้น"เชฟฟิลด์" นอกจากนี้ยังมีกองเรือสนับสนุนบางส่วนร่วมด้วย เรือบรรทุกอากาศยานขนาดเบาเอชเอ็มเอส "อาร์คโรยัล"เข้าประจำตำแหน่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
หน่วยปฏิบัติการพิเศษจากหน่วยเอสเอเอสก็เข้าร่วมเช่นกัน
ฝรั่งเศส
แก้อีกชาติยุโรปที่ส่งทหารเข้าร่วมรบมากเป็นอันดับสองคือฝรั่งเศส โดยส่งทหารเข้าร่วมศึก 18,000 นาย[96] ฝรั่งเศสทำหน้าที่รักษาปีกซ้ายของกองพลน้อยขนส่งทางอากาศที่ 18 ของสหรัฐ กองกำลังหลักของฝรั่งเศสมาจากกองพลยานเกราะขนาดเบาที่ 6 และทหารจากกองพลรบต่างแดนของฝรั่งเศส เริ่มแรกฝรั่งเศสปฏิบัติการแยกต่างหากจากกองกำลังอื่น แต่อาศัยการร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับทหารอเมริกันและซาอุ ในเดือนมกราคมกองพลดังกล่าวได้ทำงานภายใต้การควบคุมของกองพลน้อยขนส่งทางอากาศที่ 18 ฝรั่งเศสยังได้ส่งอากาศยานและเรือเข้ารบเช่นกัน ฝรั่งเศสเรียกปฏิบัติการทั้งหมดว่าปฏิบัติการดาเก
แคนาดา
แก้แคนาดาเป็นหนึ่งในประเทศแรก ๆ ที่ไม่เห็นด้วยกับการรุกรานของอิรักและเข้าร่วมกับกองกำลังผสมอย่างรวดเร็ว ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2533 นายกรัฐมนตรีไบรอัน มัลโรนีย์ได้สั่งการให้กองกำลังของแคนาดาสร้างกองเรือเฉพาะกิจขึ้นมา เรือพิฆาตรเอชเอ็มซีเอส "อธาบัสคัน"และเอชเอ็มซีเอส "เทอร์ราโนวา"เข้าร่วมรบพร้อมกับการสนับสนุนจากเรือเอชเอ็มซีเอส "โพรเทกเตอร์"ในปฏิบัติการฟริกชัน กลุ่มเรือเฉพาะกิจของแคนาดาได้นำการหนุนกำลังของกองกำลังผสมเข้าสู่อ่าวเปอร์เซีย เรือลำที่สี่คือเรือเอชเอ็มซีเอส "ฮูรอน" ซึ่งเข้ามาหลังจากที่ทีการหยุดยิงและเป็นเรือพันธมิตรลำแรกที่เข้าเยี่ยมคูเวต
หลังจากที่มีการอนุญาตให้ใช้กำลังกับอิรัก กองกำลังของแคนาดาก็นำฝูงบินซีเอฟ-18 ฮอร์เน็ทและซีเอช-124 ซีคิงพร้อมกับทหารอากาศเข้ารวมการรบ นอกจากนี้ยังมีศูนย์พยาบาลสนามเพื่อรองรับผู้บาดเจ็บจากการรบภาคพื้นดินอีกด้วย เมื่อการศึกทางอากาศเริ่มต้นขึ้น ซีเอฟ-18 ก็เข้าร่วมกับกองกำลังผสมและได้รับหน้าที่ปกป้องและโจมตีเป้าหมายบนพื้นดิน นี่เป็นครั้งแรกตั้งแต่สงครามเกาหลีที่กองทัพแคนาดาได้มีบทบาททางทหารในเชิงรุก มีซีเอฟ-18 เพียงลำเดียวที่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการว่าได้เอาชนะเครื่องบินของศัตรูในการรบในยุทธการบูบียัน[97]
ผู้บัญชาการของแคนาดาที่ทำหน้าที่ในตอนนั้นคือผู้การผู้การเคนเนธ เจ. ซัมเมอร์ส
ออสเตรเลีย
แก้ออสเตรเลียได้ส่งกองเรือเฉพาะกิจเข้าร่วมสงคราม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองเรือนานาชาติในอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานในปฏิบัติการดามาส์ค นอกจากนี้แล้วยังมีทีมแพทย์ที่ทำหน้าที่บนเรือพยาบาลของสหรัฐแและทีมกวาดทุ่นระเบิดใต้น้ำที่ได้ทำการกำจัดทุ่นระเบิดที่ท่าเรือของคูเวตหลังจากการรบสิ้นสุดลง
แม้ว่ากองกำลังของออสเตรเลียจะไม่ได้ทำการปะทะใด ๆ แต่พวกเขาก็มีบทบาทสำคัญในการคว่ำบาตรอิรัก เช่นเดียวกับการให้การสนับสนุนอื่น ๆ ในปฏิบัติการพายุทะเลทราย หลังจากสิ้นสุดสงครามออสเตรเลียได้ส่งหน่วยแพทย์ไปทำหน้าที่ในปฏิบัติการฮาบิแทตที่ทางตอนเหนือของอิรัก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการโพรไวด์คอมเฟิร์ท
อาร์เจนตินา
แก้อาร์เจนตินาได้เข้าร่วมในปฏิบัติการบิชอปด้วยการส่งเรือพิฆาตรเออาร์เอ "อัลมิรันเตบราวน์"และเรือคอร์เวตเออาร์เอ "สปิโร" ต่อมาทั้งสองลำถูกแทนที่ด้วยเรือคอร์เวตเออาร์เอ "โรซาเลส"และเรือขนส่งเออาร์เอ "บาเฮียซานบลาส"
กำลังพลสูญเสีย
แก้พลเรือน
แก้จากการโจมตีทางอากาศที่หนักหน่วงทั้งด้วยเครื่องบินรบและขีปนาวุธร่อนทำให้เกิดข้อโต้เถียงเรื่องจำนวนพลเรือนที่เสียชีวิตในช่วงแรกของสงคราม ใน 24 ชั่วโมงแรกของสงคราม กองกำลังผสมได้ทำการบินกว่า 1 พันเที่ยวเพื่อโจมตีเป้าหมายในแบกแดด ตัวเมืองถูกระเบิดอย่างหนักเพราะว่าเป็นที่อยู่ของซัดดัมและศูนย์ควบคุมและบัญชาการของทหารอิรัก นี่เองเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของพลเรือน
ในเหตุการณ์หนึ่งเครื่องบินทิ้งระเบิดของสหรัญได้เขาโจมตีบังเกอร์แห่งหนึ่งในอะมิริยาห์ ทำให้มีชาวอิรักเสียชีวิต 408 คน[98] ภาพของสถานที่เกิดเหตุและศพถูกถ่ายทอดในเวลาต่อมาและข้อถกเถียงก็เพิ่มขึ้นจากเหตุทิ้งระเบิดบังเกอร์ บ้างก็บอกว่าชาวอิรักเหล่านั้นเป็นพลเรือน บ้างก็เห็นว่าบังเกอร์ดังกล่าวเป็นศูนย์ปฏิบัติการของอิรักและพลเรือนเหล่านั้นถูกนำไปใช้เป็นโล่มนุษย์
การสืบสวนของเบธ ออสบอร์น ดาปองต์ประมาณได้ว่ามีพลเรือนโดนทิ้งระบิดไป 3,500 คนและอีก 1 แสนคนได้รับผลกระทบอื่น ๆ จากสงคราม[99][100][101]
อิรัก
แก้ไม่มีใครรู้ตัวเลขที่แน่ชัดของผู้เสียชีวิตฝ่ายอิรัก เชื่อกันว่าอิรักสูญเสียเป็นจำนวนมหาศาล กล่าวกันว่าอิรักเสียทหารไปประมาณ 2 หมื่นถึง 35,000 นาย[99] รายงานจากกองทัพอากาศสหรัฐคาดว่ามีฝ่ายอิรักเสียชีวิต 10,000-12,000 คนจากการทัพทางอากาศ และอีก 1 หมื่นคนจากการทัพทางบก[102] การประเมินนี้มีพื้นฐานมาจากรายงานของเชลยศึกชาวอิรัก
รัฐบาลอิรักอ้างว่ามีพลเรือนเสียชีวิต 2,300 รายจากการทัพทางอากาศ[ต้องการอ้างอิง] จากการศึกษาโครงการการป้องกันทางเลือก มีพลเรือนอิรักเสียชีวิต 3,664 ราย ทหารอิรักเสียชีวิตประมาณ 20,000-26,000 นายและบาดเจ็บอีก 75,000 นาย[103]
กองกำลังผสม
แก้ประเทศ | จำนวนทั้งสิ้น | จากศัตรู | จากอุบัติเหตุ | ยิงกันเอง | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|
สหรัฐอเมริกา | 294 | 114 | 145 | 35 | [104] |
เซเนกัล | 92 | 92 | [105] | ||
สหราชอาณาจักร | 47 | 38 | 9 | [106] | |
ซาอุดิอาระเบีย | 24 | 18 | 6 | [107][108] | |
ฝรั่งเศส | 9 | 9 | [104] | ||
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | 6 | 6 | [109] | ||
กาตาร์ | 3 | 3 | [104] | ||
ซีเรีย | 2 | [110] | |||
อียิปต์ | 11 | 5 | .[111][112] | ||
คูเวต | 1 | 1 | [113] |
กระทรวงกลาโหมสหรัฐรายงานว่าสหรัฐสูญเสียทหารไป 148 นายจากการรบ [ต้องการอ้างอิง] พร้อมกับนักบินหนึ่งนายสูญหายขณะปฏิบัติหน้าที่ (ร่างของเขาถูกพบและระบุตัวในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552) อีก 145 นายเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ[104] สหราชอาณาจักรเสียทหารไป 49 นาย (9 นายจากการยิงกันเองโดยสหรัฐ) ฝรั่งเศสสูญเสีย 2 นาย[104] และชาติอื่น ๆ 37 นาย (ซาอุ 18 นาย อียิปต์ 1 นาย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 6 นาย กาตาร์ 3 นาย) ไม่รวมคูเวต[104] มีทหารคูเวตอย่างน้อย 605 นายที่หายสาบสูญหลังจากถูกจับเป็นเชลยถึง 10 ปี[114]
การสูญเสียในครั้งเดียวที่เยอะที่สุดของกองกำลังผสมเกิดขึ้นในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 เมื่ออิรักยิงขีปนาวุธอัลฮุสเซนใส่ค่ายทหารสหรัฐในดาห์รานประเทศซาอุดิอาระเบีย สังหารกองกำลังสำรองของสหรัฐไป 28 นาย โดยรวมแล้วทหารกองกำลังผสมถูกสังหารโดยฝ่ายอิรัก 190 นาย 113 นายเป็นชาวอเมริกันจากกองกำลังผสมทั้งหมด 358 นายที่เสียชีวิต ทหารอีก 44 นายถูกสังหารและได้รับบาดเจ็บอีก 57 นายจากการยิงพวกเดียวกันเอง มีทหาร 145 นายเสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรบ[ต้องการอ้างอิง]
อุบัติเหตุครั้งร้ายแรงที่สุดเกิดขึ้นในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2534 เมื่อเครื่องบินซี-130 ของกองทัพอากาศซาอุดิอาระเบียตกขณะบินลงที่สนามบินราส อัล มิชาบปประเทศซาอุดิอาระเบีย ทำให้ทหารเซเนกั��� 92 นายเสียชีวิต
กองกำลังผสมมีทหารที่ได้รับบาดเจ็บประมาณ 776 นาย เป็นทหารอเมริกัน 458 นาย[115]
ทหารกองกำลังผสม 190 นายถูกสังหารโดยกองกำลังอิรัก ที่เหลืออีก 379 นายเสียชีวิตจากการยิงกันเอง อย่างไรก็ดีที่จำนวนดังกล่าวต่ำกว่าที่คาดการณ์กันไว้ มีทหารหญิงอเมริกัน 3 นายเสียชีวิต
การยิงกันเอง
แก้ในขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตของกองกำลังผสมโดยกองกำลังอิรักมีจำนวนน้อยมาก แต่จำนวนที่เกิดจากการยิงกันเองกลับพุ่งขึ้นสูง จากจำนวนทหารสหรัฐ 148 นายที่เสียชีวิตในการรบ [ต้องการอ้างอิง] คิดเป็นทั้งหมด 35 นาย อีก 11 นายเสียชีวิตจากการจุดระเบิดของฝ่ายเดียวกันเอง ทหารอังกฤษ 9 นายถูกสังหารโดยฝ่ายเดียวกันเมื่อเครื่องบินเอ-10 ธันเดอร์โบลท์ 2 ลำหนึ่งของสหรัฐยิงเข้าใส่ยานพาหนะต่อสู้ทหารราบสองคันของอังกฤษ
ข้อโต้เถียง
แก้กัลฟ์วอร์ซินโดรม
แก้ทหารของกองกำลังผสมหลายนายที่กลับมาถูกรายงานว่าเจ็บป่วยหลังจากที่พวกเขาได้มีส่วนร่วมในสงครามอ่าว อาการดังกล่าวถูกเรียกว่ากัลฟท์วอร์ซินโดรม (Gulf War syndrome) มีการไตร่ตรองอย่างแพร่หลายและการไม่เห็นด้วยถึงสาเหตุของอาการป่วย บางปัจจัยถูกมองว่าเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วย อย่างกระสุนยูเรเนียม อาวุธเคมี วัคซีนแอนแทร็กซ์ที่ทหารต้องได้รับ และการติดเชื้อ ผู้พันไมเคิล ดอนเนลลี่ อดีตนายทหารกองทัพอากาศสหรัฐในสงครามอ่าว ได้ช่วยกระจายข่าวของการเจ็บป่วยและเรียกร้องสิทธิให้กับทหารผ่านศึกเหล่านี้
ผลกระทบจากกระสุนยูเรเนียม
แก้กระสุนยูเรเนียม (Depleted uranium) ถูกใช้ในสงครามอ่าวเป็นกระสุนเจาะเกราะพลังงานจลน์ของรถถังและกระสุนปืนใหญ่ขนาด 20-30 ม.ม. การใช้กระสุนแบบนี้ในสงครามอ่าวครั้งแรกถูกกล่าวว่าเป็นผลทำให้สุขภาพของทหารผ่านศึกและพลเรือนได้รับผลกระทบ[116][117][118]
ทางหลวงมรณะ
แก้ในคืนระหว่างวันที่ 26-27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 กองกำลังอิรักบางส่วนเริ่มล่าถอยออกจากคูเวตโดยใช้ทางหลวงหลักทางเหนือของอัล จาห์ราโดยมียานพาหนะประมาณ 1,400 คัน เครื่องบินอี-8 จอยท์สตาร์สลำหนึ่งที่กำลังลาดตระเวนก็พบกับขบวนทหารอิรักเข้าและส่งข้อมูลไปยังศูนย์ปฏิบัติการทางอากาศในริยาดห์ประเทศซาอุดิอาระเบีย[119] ต่อมาขบวนรถดังกล่าวพร้อมทหารที่กำลังล่าถอยก็ถูกโจมตี ผลที่ตามมาคือซากรถและถนนยาว 60 กิโลเมตรที่มีชื่อว่า ทางหลวงมรณะ
ชัค ฮอร์เนอร์ ผู้บัญชาการปฏิบัติการทางอากาศของสหรัฐและกองกำลังผสมได้เขียนบันทึกไว้ว่า
[เมื่อถึงวันที่ 26 กุมภาพันธ์] ทหารอิรักสูญเสียขวัญกำลังใจและเริ่มล่าถอยออกจากคูเวต แต่กองกำลังทางอากาศได้หยุดขบวนรถของกองทัพอิรักและพวกปล้นสะดมจากการหนีไปยังบาสรา พวกสื่อเรียกเหตุการณ์นี้ว่า "ทางหลวงมรณะ" แน่นอนว่ามีพาหนะถูกทำลายเป็นจำนวนมาก แต่ไม่ได้มีผู้เสียชีวิตมากนัก พวกเขารู้ว่าต้องกระจายตัวออกไปตามทะเลทรายตอนที่เครื่องบินของเราทำการโจมตี กระนั้นบางคนที่นั่งอยู่ที่บ้านเลือกที่จะเชื่อว่าเราได้กระทำการอันโหดร้ายต่อศัตรูของเราที่พ่ายแพ้เรียบร้อยแล้ว
[...]
ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ เริ่มมีการหารือเรื่องการกำจัดภัยคุกคาม คูเวตเป็นอิสระแล้ว เราไม่สนใจที่จะเข้าควบคุมอิรัก คำถามคือว่า "เราจะหยุดการฆ่าล้างได้อย่างไร"[120]
การโจมตีของรถบูลโดเซอร์
แก้นับเป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่เน้นย้ำคำถามว่าทำไมอิรักจึงมีจำนวนผู้เสียชีวิตสูงนัก เหตุการณ์นี้เรียกว่า"การจู่โจมด้วยรถบูลโดเซอร์" ซึ่งมีกองทหารสองกองจากกองพลทหารราบที่ 1 ของสหรัฐได้พบกับสนามเพลาะขนาดใหญ่ที่ซับซ้อนและเป็นส่วนหนึ่งของแนวป้องกันที่แน่นหนาที่เรียกกว่า"แนวซัดดัม ฮุสเซน" หลังจากการหารือพวกเขาก็ตัดสินใจใช้พลั่วกวาดทุ่นระเบิดที่ติดตั้งกับรถถังและเครื่องมือทหารช่างเข้าบดไถทหารอิรักที่กำลังป้องกันแนวทั้งเป็น หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งลงรายงานว่าผู้บัญชาการของสหรัฐคาดว่ามีทหารอิรักนับพันที่ยอมจำนนและรอดจากการถูกฝังทั้งเป็นซึ่งกินเวลานานสองวันตั้งแต่วันที่ 24-26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 แพททริก เดย์ สโลยันจาก"นิวส์เดย์"รายงานว่า "ยานเกราะแบรดลีย์และยานลำเลียงหุ้มเกราะวัลแคนได้แล่นทับแนวสนามเพลาะพร้อมกับยิงเข้าใส่ทหารอิรัก ในขณะที่รถถังกลบฝังพวกเขาด้วยกองทราย 'ผมตามติดกองร้อยหน้าข้างหน้า' [ผู้พันแอนโธนี] มอรีโนกล่าว 'สิ่งที่เห็นคือสนามเพลาะที่ถูกฝังพร้อมกับคน' มีอาวุธและสิ่งของโผล่ขึ้นมาจากร่างเหล่านั้น...'"[121] อย่างไรก็ตามหลังสิ้นสุดสงครามรัฐบาลอิรักได้อ้างว่าพวกเขาพบศพเพียง 44 ศพเท่านั้น[122] ในหนังสือ"เดอะวอร์สอะเกนส์ทซัดดัม"ของจอห์น ซิมป์สันกล่าวหาทหารอเมริกันว่าพยายามปกปิดเรื่องที่เกิดขึ้น[123] หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว ผู้บังคับบัญชาจากกรมทหารที่ 1 ออกมากล่าวว่า "ผมรู้ว่าการฝังกลบคนแบบนั้นเป็นเรื่องเลวร้าย แต่ผมคิดว่ามันจะเลวร้ายกว่ามากถ้าหากเราส่งทหารของเราเข้าไปในสนามเพลาะนั่นแหละจัดการศัตรูด้วยมีดปลายปืน"[121]
การขับไล่ปาเลสไตน์ออกจากคูเวต พ.ศ. 2534
แก้นโยบายขับไล่ของคูเวตนั้นมีเหตุมาจากการที่ผู้นำองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ยัสเซอร์ อาราฟัตเข้าร่วมกับซัดดัมก่อนที่จะมีการรุกรานคูเวต ก่อนหน้าสงครามมีชาวปาเลสไตน์ประมาณ 30% ของประชากรจำนวน 2 ล้านคนในคูเว[124] การขับไล่เกิดขึ้นในสัปดาห์หนึ่งของเดือนมีนาคม พ.ศ. 2534 หลังจากที่คูเวตถูกปลดปล่อยแล้ว คูเวตได้ขับไล่ชาวปาเลสไตน์ประมาณ 3 แสนคนออกจากอาณาเขต[125] ในปีพ.ศ. 2554 ชาวปลาเลสไตน์หลายคนได้กลับมายังคูเวตและปัจจุบันมีชาวปาเลสไตน์ในคูเวตประมาณ 9 หมื่นคน[126]
การทำลายสิ่งก่อสร้างของพลเรือนโดยกองกำลังผสม
แก้ในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2534 หนังสือพิมพ์ "เดอะวอชิงตันโพสท์" ตีพิมพ์รายงานข่าวของบาร์ท เกลล์แมนว่า "หลายเป้าหมายถูกเลือกเพียงเพื่อเป็นเป้าหมายรองเพื่อช่วยให้กองทัพอิรักพ่ายแพ้. . . . นักการทหารหวังว่าการทิ้งระเบิดจะช่วยเร่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและทางจิตวิทยาจากการคว่ำบาตรอิรัก. . . . พวกเขาจงใจทำลายความสามารถของอิรักในการช่วยเหลือตนเองในฐานะสังคมอุตสาหกรรม. . . ."[127] ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 หนังสือพิมพ์ "ฟอเรนแอฟแฟร์" ได้ตีพิมพ์ความคิดเห็นของนักการทูตชาวฝรั่งเศสเออคิก โคเลอร์ว่า "คนอิรักที่ไม่เห็นด้วยกับการรุกราน ต้องจ่ายค่าชดใช้ให้กับความบ้าคลั่งของรัฐบาลของพวกเขา. . . . ชาวอิรักเข้าใจถึงการลงมือทางทหารตามกฎหมายเพื่อขับไล่ทหารอิรักออกจากคูเวต แต่พวกเขาไม่เข้าใจว่าทำไมกองกำลังพันธมิตรถึงใช้กำลังทางอากาศโจมตีสิ่งก่อสร้างและอุตสาหกรรมของอิรัก ซึ่งรวมทั้ง โรงจ่ายไฟฟ้า (ถูกทำลายไป 92%) โรงกลั่นน้ำมัน (ถูกทำลายไป 80%) ย่านปิโตรเคมี ศูนย์สื่อสารระยะไกล (รวมทั้งเครือข่ายโทรศัพท์ 135 เครือข่าย) สะพาน (มากกว่าร้อยแห่ง) ถนน ทางหลวง ทางรถไฟ รถไฟพร้อมขบวนที่เต็มไปด้วยสินค้า สถานีถ่ายทอดสิทยุและโทรทัศน์ โรงงานซีเมนต์ และโรงงานผลิตอะลูมิเนียม สิ่งทอ สายไฟฟ้า และยา"[128] อย่างไรก็ตามต่อมาสหประชาชาติได้ทุ่มเงินนับพันล้านเพื่อซ่อมแซมโรงเรียน โรงพยาบาล และโรงกรองน้ำทั่วอิรัก[129]
การล่วงละเมิดนักเชลยศึกจากกองกำลังผสม
แก้ในช่วงสงคราม นักบินของกองกำลังผสมที่ถูกยิงตกถูกจับเป็นเชลยศึกผ่านทางโทรทัศน์ พวกเขามีร่องรอยถูกทำร้ายที่เห็นได้ชัดเจน ท่ามกลางการให้การหลายครั้งถึงการได้รับการปฏิบัติที่เลวร้าย[130] นักบินเครื่องพานาเวีย ทอร์นาโดของกองทัพอากาศอังกฤษ จอห์น นิโคลและจอห์น ปีเตอร์สต่างยอมรับว่าพวกตนถูกทรมานขณะถูกจับกุม[131][132] นิโคลและปีเตอร์สถูกบังคับให้กล่าวต่อต้านสงครามออกโทรทัศน์ สมาชิกหลายคนของหน่วยบราโวทูซีโรจากหน่วยเอสเอเอสของอังกฤษถูกจับขณะทำภารกิจเก็บข้อมูลขีปนาวุธสกั๊ด มีเพียงคริส ไรอันเท่านั้นที่สามารถหนีการจับกุมมาได้ สมาชิกที่เหลือของทีมถูกทรมานอย่างทารุณ[133] แพทย์อากาศหญิงรอนดา คอร์นัมถูกกระทำชำเราโดยทหารอิรักนายหนึ่งที่จับกุมเธอ[134] หลังจากที่เครื่องแบล็คฮอว์คของเธอถูกยิงตกขณะกำลังตามหานักบินเอฟ-16 ที่เครื่องตก
ปฏิบัติการเซาท์เธิร์นวอท์ช
แก้ด้วยเหตุจากสงครามสหรัฐจึงคงทหารจำนวน 5 พันนายเอาไว้ในซาอุดิอาระเบียและเพิ่มขึ้นเป็น 1 หมื่นนายในช่วงสงครามอิรัก พ.ศ. 2546[135] ปฏิบัติการเซาท์เธิร์นวอท์ชทำให้มีการบังคับใช้เขตห้ามบินเหนือพื้นที่ทางใต้ของอิรักหลังจากปีพ.ศ. 2534 การส่งออกน้ำมันผ่านอ่าวเปอร์เซียได้รับการคุ้มกันจากกองเรือที่ห้าของสหรัฐที่มีฐานในบาห์เรน
ด้วยเหตุที่ซาอุดิอาระเบียเป็นที่ตั้งของเมกกะและเมดินา สถานที่ศักดิ์สิทธิที่สุดของชาวมุสลิม ชาวมุสลิมมากมายจึงไม่พอใจที่มีทหารเข้ามาประจำการถาวรในเมือง การมีอยู่ของทหารสหรัฐในซาอุหลังจากสิ้นสุดสงครามเป็นหนึ่งในสาเหตุที่เป็นแรงจูงใจให้กับเหตุการณ์11 กันยายน[135] การระเบิดหอโคบาร์ และการเลือกวันระเบิดสถานทูตสหรัฐ (7 สิงหาคม) ในปีพ.ศ. 2541 ซึ่งนับเป็นระยะเวลาแปดปีตั้งแต่ที่ทหารสหรัฐเข้าไปตั้งฐานในซาอุดิอาระเบีย[136] โอซามา บิน ลาเดนย้ำเสมอว่าศาสดามุฮัมมัดได้ห้ามมิให้มี"การปรากฏตัวของพวกนอกศาสนาในพื้นที่ของอาหรับ"[137] ในปีพ.ศ. 2539 บิน ลาเดนได้ทำการฟัตวาโดยเรียกร้องให้ทหารของสหรัฐถอยกำลังออกจากซาอุดิอาระเบีย ในเดือนธันวาคมพ.ศ. 2542 บิน ลาเดนได้ให้สัมภาษณ์ว่าเขารู้สึกว่าชาวอเมริกัน "อยู่ใกล้เมกกะมากเกินไป" และมองว่าเป็นการกระทำที่ยั่วยุโลกอาหรับ[138]
การคว่ำบาตร
แก้ในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2533 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีมติที่ 661 ออกมาหลังจากที่อิรักรุกรานคูเวต ซึ่งมติดังกล่าวทำให้เกิดการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิรัก ทำให้สินค้ามากมายรวมทั้งยา อาหาร และสิ่งของอื่น ๆ ที่จำเป็นขาดแคลนในอิรัก ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2533-2546 ผลจากนโยบายของรัฐบาลอิรักและการคว่ำบาตรทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรง ส่งผลให้เกิดปัญหาความยากจนและอดอยากไปทั่วประเทศ
ในทศวรรษที่ 2533 สหประชาชาติตัดสินใจที่จะลดระดับการคว่ำบาตรลงเพราะมีชาวอิรักมากมายได้รับผลเสีย หลายการศึกษายังคงถกเถียงกันว่ามีผู้คนมากแค่ไหนที่เสียชีวิตในเขตใต้และกลางของอิรักในช่วงที่มีการคว่ำบาตร[139][140][141]
น้ำมันที่รั่วไหล
แก้ในวันที่ 23 มกราคม อิรักได้ทิ้งน้ำมันดิบจำนวน 400 ล้านแกลลอน (1.5 ล้านลูกบาศก์เมตร) ลงในอ่าวเปอร์เซีย[142] ส่งผลให้เกิดการรั่วไหลของน้ำมันนอกชายฝั่งครั้งที่เลวร้ายที่สุด ณ เวลานั้น[142] รายงานกันว่าการกระทำดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อทำให้นาวิกโยธินสหรัฐไม่สามารถยกพลขึ้นบกได้ (เรือ"มิสซูรี"และ"วิสคอนซิน"ได้ระดมยิงใส่เกาะเฟลากาเพราะคิดว่าอิรักอาจเตรียมทำการโจมตีสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกจากเกาะดังกล่าว)[143] ประมาณ 30–40% ของน้ำมันที่รั่วไหลเกิดจากการเข้าโจมตีเป้าหมายตามชายฝั่งโดยกองกำลังพันธมิตร[144]
การเผาน้ำมันในคูเวต
แก้การเผาน้ำมันของคูเวตเกิดขึ้นจากฝีมือของทหารอิรักที่วางเพลิงบ่อน้ำมัน 700 แห่งตามนโยบายเผาทำลายในตอนที่พวกเขาล่าถอยจากคูเวตในปีพ.ศ. 2534 การวางเพลิงเริ่มขึ้นในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 และควบคุมเพลิงได้ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2534[145]
สาเหตุที่ไม่สามารถควบคุมเพลิงไหม้ได้ก็เพราะว่าพื้นที่ดังกล่าวมีอันตรายเกินไปสำหรับนักดับเพลิง ทหารอิรักได้วางทุ่นระเบิดบกไว้ทั่วบริเวณบ่อน้ำมัน ทำให้ทหารต้องเข้าไปเก็บกู้ระเบิดก่อนที่จะส่งนักดับเพลิงเข้าไปดับไฟ ประมาณกันว่ามีน้ำมันถูกเผาไป 6 ล้านบาเรล (9.5 แสนลูกบาศก์เมตร) ในแต่ละวัน ในที่สุดทีมดับเพลิงเอกชนก็สามารถเข้าควบคุมเพลิงได้ โดยคูเวตเสียน้ำมันคิดเป็นเงินได้ 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[146] การลุกไหม้กินเวลา 10 เดือนซึ่งก่อให้เกิดมลพิษไปทั่วประเทศ
ค่าใช้จ่าย
แก้สภาคองเกรสได้คำนวณจำนวนเงินที่สหรัฐใช้จ่ายไปกับสงครามเป็นจำนวน 61,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[147] ประเทศอื่น ๆ ใช้เงินไปประมาณ 52,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย คูเวต ซาอุดิอาระเบียและรัฐอาหรับอื่น ๆ ในอ่าวเปอร์เซียใช้เงินไป 36,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เยอรมนีและญี่ปุ่นใช้เงินไป 16,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (แต่ไม่ได้ส่งทหารเข้าร่วมเพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญ) 25% ของจากช่วยเหลือจากซาอุดิอาระเบียเป็นการช่วยเหลือทางด้านการบริหารให้กับทหาร เช่น อาหารและการเดินทาง[147] 74% ของจำนวนทหารทั้งหมดเป็นทหารสหรัฐ จึงทำให้เป็นชาติที่ใช้เงินมากที่สุดในสงคราม
ผลกระทบต่อชาติกำลังพัฒนา
แก้นอกจากผลกระทบต่อชาติในอ่าวเปอร์เซียแล้ว ผลกระทบอื่น ๆ คือการหยุดชะงักทางเศรษฐกิจหลักจากที่สงครามได้ส่งผลกระทบต่อหลายชาติ สถาบันการพัฒนาของต่างประเทศได้ทำการศึกษาขึ้นในปีพ.ศ. 2534 เพื่อเข้าถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประเทศกำลังพัฒนาและการตอบสนองของนานาประเทศ รายงานสรุปนั้นออกมาในวันสุดท้ายของสงครามโดยพบความเป็นไปได้สองอย่าง คือ ชาติกำลังพัฒนาหลายชาติจะได้รับผลกระทบอย่างหนักและแม้ว่าจะมีวิธีรับมือต่อวิกฤตการณ์ดังกล่าว แต่การกระจายความช่วยเหลือก็ต้องทำอย่างละเอียดมาก[148]
สถาบันการพัฒนาในต่างประเทศได้ให้ปัจจัยในด้านของค่าเสียหายโดยประกอบด้วย การนำเข้าน้ำมัน กระแสเงินส่ง ค่านิคมที่ดิน ค่าเสียหายจากการส่งออกและการท่องเที่ยว อียิปต์สูญเงิน 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐและ 3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เยเมนสูญเงิน 830 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ 10% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ในขณะที่จอร์แดนสูญเงิน 18,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ 32% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
นานาประเทศจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยการร่วมกันให้ความช่วยเหลือผ่านทางกลุ่มร่วมมือทางการเงินวิกฤตการณ์อ่าวเปอร์เซีย (The Gulf Crisis Financial Co-ordination Group) มีประเทศทั้งหมด 24 ประเทศเข้าร่วมกลุ่ม โดยส่วนมากมาจากองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา และประเทศในอ่าวเปอร์เซีย ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ แล���คูเวต สมาชิกของกลุ่มได้ตกลงที่จะกระจายเงินจำนวน 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเข้าสู่การช่วยเหลือด้านการพัฒนา
ธนาคารโลกรับมือกับปัญหาด้วยการเร่งร่ายจ่ายของโครงการที่ดำเนินอยู่และปรับเงินกู้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้นำมาตรการการปล่อยเงินกู้เข้ามาใช้สองมาตรการ ได้แก่ การช่วยเสริมการปรับโครงสร้าง (Enhanced Structural Adjustment Facility) และการช่วยเหลือเงินชดเชยและเงินฉุกเฉิน (Compensatory & Contingency Financing Facility) ประชาคมยุโรปช่วยเหลือด้วยการเสนอเงินจำนวน 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
เทคโนโลยี
แก้อาวุธนำวิถีด้วยความแม่นยำ เช่น ขีปนาวุธนำวิถีเอจีเอ็ม-130 ของสหรัฐ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การโจมตีทุกครั้งสามารถลดจำนวนผู้เสียชีวิตพลเรือนได้มากกว่าสงครามครั้งก่อน ๆ แม้ว่ามันจะถูกใช้น้อยครั้งกว่าระเบิดทั่วไปที่ไร้ความแม่นยำก็ตาม กองกำลังผสมสามารถระเบิดอาคารในย่านเมืองของแบกแดดได้ในขนาดที่ว่านักข่าวในโรงแรมสามารถเห็นขีปนาวุธกำลังบินเข้าหาเป้าหมาย
อาวุธนำวิถีด้วยความแม่นยำคิดเป็น 7.4% ของระเบิดทั้งหมดที่กองกำลังผสมใช้ ระเบิดแบบอื่น ๆ ได้แก่ชุดระเบิดพวง ซึ่งจะระเบิดและกระจายระเบิดขนาดย่อมออกไปทั่วบริเวณ[149] และระเบิดเดซี่คัตเตอร์ขนาด 15,000 ปอนด์ที่สามารถทำลายทุกสิ่งในรัศมีหลายร้อยหลา
ระบบจีพีเอสเองก็มีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้กองกำลังผสมสามารถหาทางข้ามทะเลทรายขนาดใหญ��ได้อย่างง่ายดาย แต่ด้วยการที่เครื่องรับสัญญาณมีจำนวนน้อย บางหน่วยจึงต้องใช้แบบที่เป็นเชิงพาณิชย์แทน และเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดจึงต้องปิดการตั้งค่าบางอย่างของระบบจีพีเอสในช่วงปฏิบัติการพายุทะเลทรายเพื่อให้ตัวรับสัญญาณแบบเชิงพาณิชย์สามารถให้ตำแหน่งที่แม่นยำเทียบเท่าแบบของทหาร[150]
ระบบแจ้งเตือนและควบคุมทางอากาศหรือเอแว๊กส์ (AWACS) และระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมมีบทบาทสำคัญมากในสงคราม ตัวอย่างเช่น เครื่องบินกรัมแมน อี-2 ฮอว์คอายและโบอิง อี-3 เซนทรีของสหรัฐ เครื่องบินทั้งสองแบบถูกนำมาใช้ในปฏิบัติการบัญชาการและควบคุม ระบบดังกล่าวทำให้การสื่อสารระหว่างทหารอากาศ ทหารบก และทหารเรือเป็นไปได้ง่าย นี่เป็นหนึ่งในหลายสาเหตุที่กองกำลังผสมสามารถเอาชนะการรบทางอากาศได้
อิรักได้ใช้เครื่องทำสำเนาของอเมริกาในการสร้างแผนการรบของตนเอง แต่เครื่องทำสำเนาเหล่านั้นกลับมีตัวส่งสัญญาณที่ถูกซ่อนเอาไว้ทำให้อากาศยานการสงครามอิเลคทรอนิกของสหรัฐสามารถจับตำแหน่งของฝ่ายอิรักและโจมตีเป้าหมายเหล่านั้นได้อย่างแม่นยำ[151]
ขีปนาวุธสกั๊ดและเพเทรียต
แก้บทบาทของขีปนวุธสกั๊ดมีความโดดเด่นอย่างมากในสงคราม สกั๊ดเป็นขีปนาวุธยุทธวิธีที่สหภาพโซเวียตพัฒนาขึ้นและถูกใช้โดยกลุ่มกองกำลังโซเวียตในเยอรมนีของกองทัพแดงที่ประจำการอยู่ในเยอรมนีตะวันออก มันมีหัวรบเป็นระเบิดนิวเคลียร์และหัวรบเคมีที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำลายส่วนควบคุมและบัญชาการของเยอรมนีตะวันตก นอกจากนี้แล้วยังสามารถใช้เพื่อยิงเข้าใส่ทหารราบโดยตรงได้อีกด้วย
ขีปนาวุธสกั๊ดใช้ตัวนำวิถีแบบเฉื่อยซึ่งจะทำงานอยู่สักระยะพร้อมกับเครื่องยนต์ อิรักใช้สกั๊ดเพื่อโจมตีใส่อิสราเอลและซาอุดิอาระเบีย ขีปนาวุธบางลูกสร้างความเสียหายมหาศาลในขณะที่บางลูกทำได้เพียงเล็กน้อย ความกลัวต่อสกั๊ดเพิ่มขึ้นเมื่อคาดกันว่าอิรักอาจใช้หัวรบที่เป็นอาวุธชีวภาพหรือเคมี แต่กระนั้นก็ไม่มีขีปนาวุธแบบดังกล่าวโจมตีใส่ที่ใด
ขีปนาวุธเพเทรียตของสหรัฐถูกนำมาใช้ในสงครามเป็นครั้งแรก กองทัพสหรัฐอ้างว่ามันสามารถจัดการกับขีปนาวุธสกั๊ดได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การวิเคราะห์ภายหลังพบว่าขีปนาวุธเพเทรียตยิงถูกแค่ 9% เท่านั้น ในขณะที่ 45% เป็นการยิงใส่เศษซากของขีปนาวุธหรือยิงผิดเป้าหมาย[152] กระทรวงกลาโหมของเนเธอร์แลนด์ที่ได้นำขีปนาวุธเพเทรียตไปใช้เพื่อปกป้องพลเรือนในอิสราเอลและตุรกี ได้อ้างในเวลาต่อมาว่าขีปนาวุธเพเทรียตทำได้ดีกว่านั้น[87] นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์ครั้งหนึ่งที่ซอฟต์แวร์ของขีปนาวุธเกิดขัดข้องทำให้ไม่สามารถเข้าสกัดขีปนาวุธสกั๊ดได้และลงเอยด้วยการมีผู้เสียชีวิต[153] ทั้งกองทัพสหรัฐและบริษัทผู้ผลิตขีปนาวุธยังคงย้ำว่าขีปนาวุธเพเทรียต"ทำหน้าที่ได้ราวกับปาฏิหารย์"ในสงครามอ่าว[152]
หมายเหตุ
แก้- ↑ The numbering of Persian Gulf conflicts depends on whether the Iran–Iraq War (1980–1988) is referred to as the First (Persian) Gulf War (English language sources prior to the start of the Kuwait war in 1990 usually called it the Gulf War), which would make the 1990 war the Second (Persian) Gulf War. Different sources may call the conflicts by different names. The name 'Persian Gulf' is itself a subject of dispute. The start date of the Kuwait War can also be seen as either August 1990 (when Iraq's Saddam Hussein invaded Kuwait) or as January 1991 (the start of Operation Desert Storm, when the US-led coalition forced Iraq out of Kuwait), so that the war is also often called the 1991 Gulf War, the 1990–1991 Gulf War, the 1990s Gulf War, etc ... This dating is also used to distinguish it from the other two 'Gulf Wars'.
อ้างอิง
แก้- ↑ "Den 1. Golfkrig". Forsvaret.dk. 24 September 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-12. สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.
- ↑ Gulf War, the Sandhurst-trained Prince Khaled bin Sultan al-Saud was co commander with General Norman Schwarzkopf www.casi.org.uk/discuss เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ General Khaled was Co-Commander, with U.S. General Norman Schwarzkopf, of the allied coalition that liberated Kuwait www.thefreelibrary.com เก็บถาวร 2011-04-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Gulf War coalition forces (latest available) by country "www.nationmaster.com". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2013. สืบค้นเมื่อ 2007-09-13.
- ↑ Hersh, Seymour (2005). Chain of Command. Penguin Books. p. 181.
- ↑ International Law Norms, Actors, Process, 3rd Edition
- ↑ 7.0 7.1 "Persian Gulf War". MSN Encarta. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-01. สืบค้นเมื่อ 2016-01-17.
- ↑ 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 "1991 Gulf War Information". cryan.com.
- ↑ 9.0 9.1 "Guerre du Golfe : le dernier combat de la division Tawakalna". checkpoint-online.ch.
- ↑ 10.0 10.1 Cooper, Tom; Sadik, Ahmad (16 September 2003). "Iraqi Invasion of Kuwait; 1990". Air Combat Information Group. สืบค้นเมื่อ 17 April 2010.
- ↑ Kenneth Michael Pollack-- Arabs at War: Military Effectiveness, 1948-1991. 2002. Page 573.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 "Fast Facts about Operation Desert Shield/Desert Storm". osd.mil. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-06. สืบค้นเมื่อ 2016-01-17.
- ↑ "The Use of Terror during Iraq's invasion of Kuwait". The Jewish Agency for Israel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2005. สืบค้นเมื่อ 22 June 2010.
- ↑ "Kuwait: missing people: a step in the right direction". Red Cross. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-07. สืบค้นเมื่อ 2016-01-17.
- ↑ "The Wages of War: Iraqi Combatant and Noncombatant Fatalities in the 2003 Conflict". Project on Defense Alternatives. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-04. สืบค้นเมื่อ 9 May 2009.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 Fetter, Steve; Lewis, George N.; Gronlund, Lisbeth (28 January 1993). "Why were Casualties so low?" (PDF). Nature. London. 361 (6410): 293–296. doi:10.1038/361293a0. hdl:1903/4282. S2CID 4343235.
- ↑ "Frontline Chronology" (PDF). Public Broadcasting Service. สืบค้นเมื่อ 20 March 2007.
- ↑ "Tenth anniversary of the Gulf War: A look back". CNN. 16 January 2001. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-22. สืบค้นเมื่อ 6 June 2007.
- ↑ Kenneth Estes. "ISN: The Second Gulf War (1990–1991) – Council on Foreign Relations". Cfr.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-02. สืบค้นเมื่อ 18 March 2010.
- ↑ Operation Iraqi Freedom: Strategies, Approaches, Results, and Issues for Congress. (PDF) . Retrieved on 2014-05-24.
- ↑ Peters, John E; Deshong, Howard (1995). Out of Area or Out of Reach? European Military Support for Operations in Southwest Asia (PDF). RAND Corporation. ISBN 0-8330-2329-2.
- ↑ "Memória Globo". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-25. สืบค้นเมื่อ 2016-01-17.
- ↑ "Livraria da Folha – Livro conta como Guerra do Golfo colocou a CNN no foco internacional – 08/09/2010". .folha.uol.com.br. สืบค้นเมื่อ 13 May 2011.
- ↑ A Guerra do Golfo, accessed on 29 March 2011
- ↑ A Guerra do Golfo, os Estados Unidos e as Relações Internacionais accessed on 29 March 2011.
- ↑ Guerra/Terrorismo – O maior bombardeio da história เก็บถาวร 2012-04-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, access on 27 November 2011.
- ↑ Douglas A. Borer (2003). "Inverse Engagement: Lessons from U.S.-Iraq Relations, 1982–1990". U.S. Army Professional Writing Collection. US Army. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2006. สืบค้นเมื่อ 12 October 2006.
- ↑ Sciolino, Elaine (1991). The Outlaw State: Saddam Hussein's Quest for Power and the Gulf Crisis. John Wiley & Sons. p. 164. ISBN 9780471542995.
- ↑ Cleveland, William L. A History of the Modern Middle East. 2nd Ed pg. 464
- ↑ Duiker, William J; Spielvogel, Jackson J. World History: From 1500. 5th edition. Belmont, California, USA: Thomson Wadsworth, 2007. Pp. 839.
- ↑ Cleveland, William L. A History of the Modern Middle East. 2nd Ed pg. 463
- ↑ Academic forum for foreign affairs, Austria.
- ↑ "Saddam's message of friendship to president Bush (Wikileaks telegram 90BAGHDAD4237)". U.S. Department of State. 25 July 1990. สืบค้นเมื่อ 2 January 2011.
- ↑ 34.0 34.1 Finlan (2003). p. 26.
- ↑ 35.0 35.1 "Kuwait: Organization and Mission of the Forces". Library of Congress Country Studies. สืบค้นเมื่อ 14 April 2012.
- ↑ Finlan (2003). p. 25.
- ↑ Childs, John; Corvisier, André (1994). A Dictionary of Military History and the Art of War. Wiley-Blackwell. p. 403. ISBN 9780631168485.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Knights, Michael (2005). Cradle of Conflict: Iraq and the Birth of Modern U.S. Military Power. United States Naval Institute. p. 20. ISBN 9781591144441.
- ↑ Dan Vaught. "Eyewitness, Col. Fred Hart 1". Users.lighthouse.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-18. สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.
- ↑ Finlan (2003). p. 29.
- ↑ "Gulf War of 1991 Effects on Israel & Palestinian Arabs". Palestinefacts.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-24. สืบค้นเมื่อ 13 May 2011.
- ↑ "Myths & Facts – The Gulf Wars". Jewishvirtuallibrary.org. สืบค้นเมื่อ 13 May 2011.
- ↑ 43.0 43.1 Ziad Swaidan; Mihai Nica (June 2002). "The 1991 Gulf War And Jordan's Economy". Middle East Review of International Affairs. 6 (2). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-08-04.
- ↑ Deese, David A. "Persian Gulf War, Desert Storm – War with Iraqi". The History Professor. Concord Learning Systems. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-01-14.
- ↑ *Finlan (2003). p. 29. *"Resolution 661 (1990)". United Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-10. สืบค้นเมื่อ 13 April 2012.
- ↑ Lori Fisler Damrosch, International Law, Cases and Materials, West Group, 2001
- ↑ 47.0 47.1 Friedman, Thomas L. (22 August 1990). "Confrontation in the Gulf: Behind Bush's Hard Line; Washington Considers a Clear Iraqi Defeat To Be Necessary to Bolster Its Arab Allies". The New York Times. New York. pp. A1. สืบค้นเมื่อ 16 September 2010.
- ↑ "Confrontation in the Gulf; Proposals by Iraqi President: Excerpts From His Address". The New York Times. New York. 13 August 1990. pp. A8. สืบค้นเมื่อ 17 October 2010.
- ↑ 49.0 49.1 Waldman, Shmuel (2005). Beyond a Reasonable Doubt. Feldheim Publishers, p. 179. ISBN 1-58330-806-7
- ↑ BBC News. "1990: Outrage at Iraqi TV hostage show". Retrieved 2 September 2007.
- ↑ Royce, Knut (29 August 1990). "MIDDLE EAST CRISIS Secret Offer Iraq Sent Pullout Deal to U.S". Newsday Washington Bureau. New York. สืบค้นเมื่อ 17 October 2010.
- ↑ Royce, Knut (3 January 1991). "Iraq Offers Deal to Quit Kuwait U.S. rejects it, but stays 'interested'". Newsday Washington Bureau. Long Island, N.Y. p. 5. สืบค้นเมื่อ 24 October 2010.
- ↑ Tyler, Patrick E. (3 January 1991). "CONFRONTATION IN THE GULF; Arafat Eases Stand on Kuwait-Palestine Link". The New York Times. New York. สืบค้นเมื่อ 17 October 2010.
- ↑ Friedman, Thomas L. (11 January 1991). "CONFRONTATION IN THE GULF; As U.S. Officials See It, Hands of Aziz Were Tied". The New York Times. pp. A10. สืบค้นเมื่อ 30 September 2010.
- ↑ See Paul Lewis, "Confrontation in the Gulf: The U.N.; France and 3 Arab States Issue an Appeal to Hussein," New York Times, 15 January 1991, p. A12
- ↑ Michael Kranish et al., "World waits on brink of war: Late effort at diplomacy in gulf fails," Boston Globe, 16 January 1991, p. 1
- ↑ Ellen Nimmons, A.P., "Last-ditch pitches for peace; But U.S. claims Iraqis hold key," Houston Chronicle, 15 January 1991, p. 1
- ↑ Gilles Kepel Jihad: The Trail of Political Islam.
- ↑ "The Operation Desert Shield/Desert Storm Timeline". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 30 June 2010.
- ↑ "15 Years After Desert Storm, U.S. Commitment to Region Continues". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-08. สืบค้นเมื่อ 29 March 2007.
- ↑ "UN Security Council Resolution 678, Iraq / Kuwait". Council on Foreign Relations. 29 November 1990. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2009.
- ↑ "The Unfinished War: A Decade Since Desert Storm". CNN In-Depth Specials. 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-17. สืบค้นเมื่อ 5 April 2008.
- ↑ Lynch, Colum (1 November 2006). "Security Council Seat Tied to Aid". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 18 March 2010.
- ↑ Bush, George H. W. (11 September 1990). "Address Before a Joint Session of Congress". Miller Center of Public Affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-16. สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.
- ↑ "Photos don't show buildup". St. Petersburg Times. 6 January 1991. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-04. สืบค้นเมื่อ 13 January 2012.
- ↑ Bulletin of the Atomic Scientists, Volume 59, page 33, Educational Foundation for Nuclear Science (Chicago, Ill.), Atomic Scientists of Chicago, Bulletin of the Atomic Scientists (Organization), 2003.
- ↑ "How PR Sold the War in the Persian Gulf | Center for Media and Democracy". Prwatch.org. สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.
- ↑ 68.0 68.1 Rowse, Ted (1992). "Kuwaitgate – killing of Kuwaiti babies by Iraqi soldiers exaggerated". Washington Monthly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-29. สืบค้นเมื่อ 2013-06-29.
- ↑ Makiya 1993, p 40.
- ↑ Makiya 1993, pp 31–33
- ↑ Makiya 1993, p 32.
- ↑ Edwin E. Moïse. "Limited War : The Stereotypes". Clemson University. สืบค้นเมื่อ 2 July 2010.
- ↑ Operation Desert Storm globalsecurity.com
- ↑ "CNN.com In-depth specials — Gulf War (via Internet Archive)". CNN. 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-12. สืบค้นเมื่อ 23 March 2008.
- ↑ Lee, Robin J. (2002). "Fixed-Wing Combat Aircraft Attrition in Desert Storm". สืบค้นเมื่อ 30 January 2012.
Sources: Gulf War Airpower Survey, Vol. 5; Norman Friedman, Desert Victory; World Air Power Journal. Additionally, Mark Bovankovich and LT Chuck Chase offered corrections and several intriguing details on these incidents. All errors, however, remain entirely mine.
- ↑ Atkinson, Rick (1994). Crusade: The Untold Story of the Persian Gulf War. Houghton Mifflin Harcourt, p. 47. ISBN 0-395-71083-9
- ↑ Lawrence Freedman and Efraim Karsh, The Gulf Conflict: Diplomacy and War in the New World Order, 1990–1991 (Princeton, 1993), 332.
- ↑ "Geneva Meeting on Persian Gulf Crisis". C-SPAN. 9 January 1991. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2011. สืบค้นเมื่อ 18 March 2010.
- ↑ Rostker, Bernard (2000). "Information Paper: Iraq's Scud Ballistic Missiles". Wisconsin Project on Nuclear Arms Control from 2000-2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-14. สืบค้นเมื่อ 21 May 2009.
- ↑ Lawrence Freedman and Efraim Karsh, The Gulf Conflict: Diplomacy and War in the New World Order, 1990–1991 (Princeton, 1993), 331–41.
- ↑ Thomas, Gordon, Gideon's Spies: The Secret History of the Mossad
- ↑ The Gulf War
- ↑ Atkinson, Rick; Balz, Dan (January 23, 1991). "Scud Hits Tel Aviv, Leaving 3 Dead, 96 Hurt". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ June 2, 2013.
- ↑ The Gulf War (1991)
- ↑ "Three Isrealis killed as Scuds hit Tel Aviv". The Tech. 1991. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-28. สืบค้นเมื่อ 11 January 2009.
- ↑ Sprey, Pierre M. "Evaluating Weapons: Sorting the Good from the Bad." CDI, February 2011.
- ↑ 87.0 87.1 "Betrokkenheid van Nederland" (ภาษาดัตช์). Ministerie van Defensie. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-28. สืบค้นเมื่อ 11 January 2009.
- ↑ Cheney, Richard: In My Time: A Personal and Political Memoir
- ↑ "DOD: Information Paper- Iraq's Scud Ballistic Missiles". Iraqwatch.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-14. สืบค้นเมื่อ 18 March 2010.
- ↑ John Pike. "Operation Desert Sabre / Gulf War Ground Campaign". Globalsecurity.org. สืบค้นเมื่อ 18 March 2010.
- ↑ Andrew Leydon. "Carriers in the Persian Gulf War". Leyden.com. สืบค้นเมื่อ 18 March 2010.
- ↑ twentieth century battlefields, the gulf war
- ↑ Fisk, Robert. The Great War for Civilisation, Vintage (2007 reprint), at p. 646.
- ↑ "Abbas apology to Kuwait over Iraq". BBC News. 12 December 2004.
- ↑ ""Cheney changed his view on Iraq", by Charles Pope, Seattle Post-Intelligencer, 29 September 2004". 28 September 2004. สืบค้นเมื่อ 7 January 2005.
- ↑ 96.0 96.1 Crocker III, H. W. (2006). Don't Tread on Me. New York: Crown Forum. p. 384. ISBN 978-1-4000-5363-6.
- ↑ Morin, Jean H.; Gimblett, Richard Howard (1997). Operation Friction, 1990–1991: The Canadian Forces in the Persian Gulf. Dundurn Press. p. 170. ISBN 978-1-55002-257-5.
- ↑ Scott Peterson, "'Smarter' bombs still hit civilians, Christian Science Monitor, 22 October 2002.
- ↑ 99.0 99.1 Robert Fisk, The Great War For Civilisation; The Conquest of the Middle East (Fourth Estate, 2005), p.853.
- ↑ "Toting the Casualties of War". Businessweek. 6 February 2003.
- ↑ Ford, Peter (9 April 2003). "Bid to stem civilian deaths tested". Christian Science Monitor.
- ↑ Keaney, Thomas; Eliot A. Cohen (1993). Gulf War Air Power Survey. United States Dept. of the Air Force. ISBN 978-0-16-041950-8.
- ↑ "Wages of War – Appendix 2: Iraqi Combatant and Noncombatant Fatalities in the 1991 Gulf War". Comw.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-04. สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.
- ↑ 104.0 104.1 104.2 104.3 104.4 104.5 "In-Depth Specials – Gulf War". CNN. 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2001.
- ↑ "ASN Aircraft accident Lockheed C-130H Hercules 469 Rash Mishab". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-07. สืบค้นเมื่อ 2013-07-02.
- ↑ "Roll of Honour". Britains-smallwars.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-01. สืบค้นเมื่อ 13 May 2011.
- ↑ "Saudi Arabia – Persian Gulf War, 1991". Country-data.com. สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.
- ↑ After the War; 92 Senegalese soldiers die in Saudi Air Crash. New York Times.
- ↑ "The Role of the United Arab Emirates in the Iran-Iraq War and the Persian Gulf War". Country-data.com. สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.
- ↑ Miller, Judith. "Syria Plans to Double Gulf Force." The New York Times, 27 March 1991.
- ↑ "Soldier Reported Dead Shows Up at Parents' Doorstep". Associated Press. 22 March 1991.
- ↑ Schmitt, Eric (22 March 1991). "After the War". The New York Times.
- ↑ "Role of Kuwaiti Armed Forces in the Persian Gulf War". Country-data.com. 24 February 1991. สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.
- ↑ Blanford, Nicholas (2001). "Kuwait hopes for answers on its Gulf War POWs". Christian Science Monitor.
- ↑ Persian Gulf War – MSN Encarta. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2009.
- ↑ Schröder H, Heimers A, Frentzel-Beyme R, Schott A, Hoffman W (2003). "Chromosome Aberration Analysis in Peripheral Lymphocytes of Gulf War and Balkans War Veterans" (PDF). Radiation Protection Dosimetry. 103: 211–219. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-09-24. สืบค้นเมื่อ 2009-09-10.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Hindin, R. et al. (2005) "Teratogenicity of depleted uranium aerosols: A review from an epidemiological perspective," Environmental Health, vol. 4, pp. 17.
- ↑ An Analysis of Uranium Dispersal and Health Effects Using a Gulf War Case Study เก็บถาวร 2012-02-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Albert C. Marshall, Sandia National Laboratories
- ↑ John Pike. "E-8 Joint-DEATH STAR [JSTARS]". Globalsecurity.org. สืบค้นเมื่อ 18 March 2010.
- ↑ Clancy & Horner 1999, pp. 499–500.
- ↑ 121.0 121.1 "Buried Alive: U.S. Tanks Used Plows To Kill Thousands In Gulf War Trenches" Newsday (New York), 12 September 1991, p. 1, Patrick Day Sloyan
- ↑ "frontline: the gulf war: appendix: Iraqi death toll". สืบค้นเมื่อ 4 December 2005.
- ↑ John Simpson, The Wars Against Saddam. MacMillan: Basingstoke. 2003.
- ↑ "Kuwait – Population". Countrystudies.us. สืบค้นเมื่อ 13 May 2011.
- ↑ [1], บีบีซี News, 30 May 2001
- ↑ [2]
- ↑ 23 June 1991, Washington Post, Bart Gellman
- ↑ "The View From France: America's Unyielding Policy toward Iraq," Foreign Affairs, Vol. 74, No. 1, January/February 1995, pp.61–62
- ↑ Rubin, Michael (December 2001). "Sanctions on Iraq: A Valid Anti-American Grievance?" (PDF). 5 (4). Middle East Review of International Affairs: 100–115. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-09-07. สืบค้นเมื่อ 2013-07-01.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "Frontline: War Stories". Pbs.org. สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.
- ↑ "The Flight That Changed My Life". Johnnichol.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-29. สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.
- ↑ "War Story:John Peters". Pbs.org. สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.
- ↑ The One that Got Away by Chris Ryan & Bravo Two Zero by Andy McNab
- ↑ "A Woman's Burden". Time magazine. 28 March 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-04-04. สืบค้นเมื่อ 2013-07-01.
- ↑ 135.0 135.1 "US pulls out of Saudi Arabia". BBC News. 29 April 2003. สืบค้นเมื่อ 29 November 2009.
- ↑ Plotz, David (2001) What Does Osama Bin Laden Want? เก็บถาวร 2011-08-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Slate
- ↑ Bergen, Peter L. (2001). Holy War Inc. Simon & Schuster. p. 3.
- ↑ Yusufzai, Rahimullah (26 September 2001). "Face to face with Osama". The Guardian. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-19. สืบค้นเมื่อ 30 June 2010.
- ↑ "Iraq surveys show 'humanitarian emergency'". 12 August 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-06. สืบค้นเมื่อ 29 November 2009.
- ↑ Spagat, Michael (September 2010). "Truth and death in Iraq under sanctions" (PDF). Significance.
- ↑ Rubin, Michael (December 2001). "Sanctions on Iraq: A Valid Anti-American Grievance?". 5 (4). Middle East Review of International Affairs: 100–115. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-28. สืบค้นเมื่อ 2013-07-04.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ 142.0 142.1 "Duke Magazine-Oil Spill-After the Deluge, by Jeffrey Pollack-Mar/Apr 2003". Dukemagazine.duke.edu. สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.
- ↑ "V: "Thunder And Lightning"- The War With Iraq (Subsection:The War At Sea)". The United States Navy in "Desert Shield" / "Desert Storm". United States Navy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-05. สืบค้นเมื่อ 26 November 2006.
- ↑ Leckie, Robert (1998). The Wars of America. Castle Books.
- ↑ Wellman, Robert Campbell (14 February 1999). ""Iraq and Kuwait: 1972, 1990, 1991, 1997." Earthshots: Satellite Images of Environmental Change". U.S. Geological Survey. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-10-28. สืบค้นเมื่อ 27 July 2010.
- ↑ Husain, T. (1995). Kuwaiti Oil Fires: Regional Environmental Perspectives. Oxford: BPC Wheatons Ltd. p. 68.
- ↑ 147.0 147.1 "How much did the Gulf War cost the US?". People.psych.cornell.edu. 20 May 1997. สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.
- ↑ "The Impact of the Gulf Crisis on Developing Countries". ODI Briefing Paper. March 1991. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-03. สืบค้นเมื่อ 29 June 2011.
- ↑ "Dumb Bombs". Fas.org. สืบค้นเมื่อ 18 March 2010.
- ↑ McNamara, Joel. GPS for Dummies.
- ↑ "Something wrong with our **** chips today". The Economist. 7 April 2011. สืบค้นเมื่อ 13 June 2011.
- ↑ 152.0 152.1 Cirincione, Joseph (October 1992). "The Performance of the Patriot Missile in the war" (PDF). Carnegie Endowment for International Peace. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-12-23. สืบค้นเมื่อ 4 December 2005.
- ↑ "The Patriot Missile Failure". Ima.umn.edu. สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.
ผลงานที่อ้างถึง
แก้- Bourque, Stephen A. (2001). Jayhawk! The 7th Corps in the Persian Gulf War. Center of Military History, United States Army. LCCN 2001028533. OCLC 51313637.
- Desert Storm: Ground War by Hans Halberstadt
- Challenger Squadron by Simon Dunstan
- Desert Rats:The British 4 and 7 Armoured Brigades, WW2 to Today by Hans Halberstadt
- Dinackus, Thomas D. (2000). Order of Battle: Allied Ground Forces of Operation Desert Storm. Central Point, Oregon: Hellgate Press. ISBN 1-55571-493-5.
- Burton, James G. The Pentagon Wars: Reformers Challenge the Old Guard, Annapolis, Maryland: Naval Institute Press, 1993. ISBN 1-55750-081-9.
- Blitzkrieg in the Gulf: Armor of the 100 Hour war by Yves Debay
- Desert Redleg: Artillery Warfare in the First Gulf War by Col. L. Scott Lingamfelter
บรรณานุกรม
แก้- Arbuthnot, Felicity (17 September 2000). "Allies Deliberately Poisoned Iraq Public Water Supply in Gulf War". Sunday Herald. Scotland. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2005. สืบค้นเมื่อ 4 December 2005.
- Atkinson, Rick; Devroy, Ann (12 January 1991). "U.S. Claims Iraqi Nuclear Reactors Hit Hard". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 4 December 2005.
- Austvik, Ole Gunnar (1993). "The War Over the Price of Oil". International Journal of Global Energy Issues.
- Bard, Mitchell. "The Gulf War". Jewish Virtual Library. สืบค้นเมื่อ 25 May 2009.
- Barzilai, Gad (1993). Klieman, Aharon; Shidlo, Gil (บ.ก.). The Gulf Crisis and Its Global Aftermath. Routledge. ISBN 978-0-415-08002-6.
- Blum, William (1995). Killing Hope: U.S. Military and CIA Interventions Since World War II. Common Courage Press. ISBN 978-1-56751-052-2. สืบค้นเมื่อ 4 December 2005.
- Bolkom, Christopher; Pike, Jonathan. "Attack Aircraft Proliferation: Areas for Concern". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2005. สืบค้นเมื่อ 4 December 2005.
- Brands, H. W. "George Bush and the Gulf War of 1991." Presidential Studies Quarterly 34.1 (2004): 113–131. online เก็บถาวร 29 เมษายน 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Brown, Miland. "First Persian Gulf War". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2007.
- Emering, Edward John (2005). The Decorations and Medals of the Persian Gulf War (1990 to 1991). Claymont, DE: Orders and Medals Society of America. ISBN 978-1-890974-18-3. OCLC 62859116.
- Finlan, Alastair (2003). The Gulf War 1991. Osprey. ISBN 978-1-84176-574-7.
- Forbes, Daniel (15 May 2000). "Gulf War crimes?". Salon Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2011. สืบค้นเมื่อ 4 December 2005.
- Hawley., T. M. (1992). Against the Fires of Hell: The Environmental Disaster of the Gulf War. New York u.a.: Harcourt Brace Jovanovich. ISBN 978-0-15-103969-2.
- Hiro, Dilip (1992). Desert Shield to Desert Storm: The Second Gulf War. Routledge. ISBN 978-0-415-90657-9.
- Clancy, Tom; Horner, Chuck (1999). Every Man a Tiger: The Gulf War Air Campaign. Putnam. ISBN 978-0-399-14493-6.
- Hoskinson, Ronald Andrew; Jarvis, Norman (1994). "Gulf War Photo Gallery". สืบค้นเมื่อ 4 December 2005.
- Kepel, Gilles (2002). "From the Gulf War to the Taliban Jihad / Jihad: The Trail of Political Islam".
- Latimer, Jon (2001). Deception in War. London: John Murray. ISBN 978-0-7195-5605-0.
- Little, Allan (1 December 1997). "Iraq coming in from the cold?". BBC. สืบค้นเมื่อ 4 December 2005.
- Lowry, Richard S. "The Gulf War Chronicles". iUniverse (2003 and 2008). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2008.
- MacArthur, John. "Independent Policy Forum Luncheon Honoring". สืบค้นเมื่อ 4 December 2005.
- Makiya, Kanan (1993). Cruelty and Silence: War, Tyranny, Uprising, and the Arab World. W.W. Norton. ISBN 978-0-393-03108-9.
- Moise, Edwin. "Bibliography: The First U.S. – Iraq War: Desert Shield and Desert Storm (1990–1991)". สืบค้นเมื่อ 21 March 2009.
- Munro, Alan (2006). Arab Storm: Politics and Diplomacy Behind the Gulf War. I.B. Tauris. ISBN 978-1-84511-128-1.
- Naval Historical Center (15 May 1991). "The United States Navy in Desert Shield/Desert Storm". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 December 2005. สืบค้นเมื่อ 4 December 2005.
- Wright, Steven (2007). The United States and Persian Gulf Security: The Foundations of the War on Terror. Ithaca Press. ISBN 978-0-86372-321-6.
- Niksch, Larry A; Sutter, Robert G (23 May 1991). "Japan's Response to the Persian Gulf Crisis: Implications for U.S.-Japan Relations". Congressional Research Service, Library of Congress. สืบค้นเมื่อ 4 December 2005.
- Odgers, George (1999). 100 Years of Australians at War. Sydney: Lansdowne. ISBN 978-1-86302-669-7.
- Riley, Jonathon (2010). Decisive Battles: From Yorktown to Operation Desert Storm. Continuum. p. 207. ISBN 978-1-84725-250-0.
SAS first units ground January into iraq.
- Roberts, Paul William (1998). The Demonic Comedy: Some Detours in the Baghdad of Saddam Hussein. New York: Farrar, Straus and Giroux. ISBN��978-0-374-13823-3.
- Sifry, Micah; Cerf, Christopher (1991). The Gulf War Reader. New York, NY: Random House. ISBN 978-0-8129-1947-9.
- Simons, Geoff (2004). Iraq: from Sumer to post-Saddam (3rd ed.). Palgrave Macmillan. ISBN 978-1-4039-1770-6.
- Smith, Jean Edward (1992). George Bush's War. New York: Henry Holt. ISBN 978-0-8050-1388-7.
- Tucker, Spencer (2010). The Encyclopedia of Middle East Wars: The United States in the Persian Gulf, Afghanistan, and Iraq Conflicts. ABC-Clio. ISBN 978-1-84725-250-0.
- Turnley, Peter (December 2002). "The Unseen Gulf War (photo essay)". สืบค้นเมื่อ 4 December 2005.
- Walker, Paul; Stambler, Eric (1991). "... and the dirty little weapons". Bulletin of the Atomic Scientists. Vol. 47 no. 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2007. สืบค้นเมื่อ 30 June 2010.
- Victoria, William L. Cleveland, late of Simon Fraser University, Martin Bunton, University of (2013). A History of the Modern Middle East (5th ed.). Boulder, CO: Westview Press. p. 450. ISBN 978-0813348339.
Last paragraph: "On 16 January 1991 the air war against Iraq began
- Frank, Andre Gunder (20 May 1991). "Third World War in the Gulf: A New World Order". Political Economy Notebooks for Study and Research, No. 14, pp. 5–34. สืบค้นเมื่อ 4 December 2005.
- Frontline. "The Gulf War: an in-depth examination of the 1990–1991 Persian Gulf crisis". PBS. สืบค้นเมื่อ 4 December 2005.
- "Report to Congress on the Conduct of the Persian Gulf War, Chapter 6". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 August 2019. สืบค้นเมื่อ 18 Aug 2021.
- "25 years since the "Locusta" Operation". 25 September 2015.
- "Iraq (1990)". Ministero Della Difesa (ภาษาอิตาลี).
ภาพยนตร์
แก้- Dawn of the World (2008)
- Bravo Two Zero (1999)
- Courage Under Fire (1996)
- The Finest Hour (1991)
- The Heroes of Desert Storm (1991)
- Lessons of Darkness (1992) (a documentary)
- Live from Baghdad (2002)
- Towelhead (2007)
- Three Kings (1999)
- The Manchurian Candidate (2004)
- Used as a back drop for the film The Big Lebowski (1998). It is frequently discussed as well.
- Used in retconned backstory for The Punisher (2004)
- Airlift (2016) – A Bollywood film based on the true story of the evacuation of 170,000 Indians stranded in the war zone.
นวนิยาย
แก้- Braving the Fear – The True Story of Rowdy US Marines in the Gulf War (by Douglas Foster) ISBN 978-1-4137-9902-6
- Bravo Two Zero (by Andy McNab) ISBN 0-440-21880-2
- The Fist of God (by Frederick Forsyth) ISBN 0-553-09126-3
- Glass (Pray the Electrons Back to Sand) (by James Chapman)
- Gulf in the War Story: A US Navy Personnel Manager Confides in You (diary from inside the real Top Gun, VF-1 "Wolfpack" by Bob Graham) ISBN 978-1-4751-4705-6
- Hogs dime novel series by James Ferro
- Jarhead (by Anthony Swofford) ISBN 0-7432-3535-5
- Savant (by James Follett)
- Summer 1990 (by Firyal AlShalabi)
- Third Graders at War (by Felix G)
- To Die in Babylon by Harold Livingston
- M60 vs T-62 Cold War Combatants 1956–92 (by Lon Nordeen & David Isby)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สงครามอ่าว