หน่วยปฏิบัติการพิเศษ

หน่วยตำรวจที่มีความเชี่ยวชาญการใช้อาวุธและยุทธวิธีพิเศษระดับตำรวจภูธร

หน่วยปฏิบัติการพิเศษ (ตัวย่อ: ปพ. / นปพ.) (อังกฤษ: Special Operation Unit) เป็นหน่วยตำรวจสังกัด กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ (อังกฤษ: Special Operation Sub-Division: SO / Provincial Special Operation Sub-Division: PSO)[1] อยู่ภายใต้ตำรวจภูธรภาค 1–9 และตำรวจภูธรจังหวัด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีความเชี่ยวชาญการใช้อาวุธและยุทธวิธีพิเศษ (อังกฤษ: Special Weapons And Tactics: S.W.A.T.) มีการจัดหน่วยในหลายระดับตามภัยคุกคามในอดีต และปัจจุบันมีขีดความสามารถในการปฏิบัติการพิเศษต่อภัยคุกคามที่เป็นอาชญากรรม และการก่อการร้าย ด้วยการแย่งชิงตัวประกัน การจับกุม ฯลฯ ตามแนว "การบริหารวิกฤตการณ์" (อังกฤษ: Crisis Management) โดยมีพื้นที่รับผิดชอบระดับจังหวัดและระดับภาค และ เมืองพัทยา ปัจจุบันเป็นหน่วยระดับกองกำกับการ มีอุปกรณ์ครบมือ เช่น ปืนยิงแห, ปืนไฟฟ้า, ปืนพก, ปืนลูกซอง, ปืนกลเบา, ปืนกลมือ, ปืนเล็กยาว, ปืนเล็กสั้น, ระเบิดมือ, ระเบิดแก๊สน้ำตา, ปืนไรเฟิลซุ่มยิง, อุปกรณ์ต่อต้านการจลาจล ฯลฯ มีการแต่งกายเป็นเอกลักษณ์คือสวมหมวกเบเร่ต์เขียว[2] ประกอบกับเครื่องแบบสนามสีกากีแกมเขียว

กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ
Special Operation Sub-Division
อาร์มหน่วยปฏิบัติการพิเศษตำรวจภูธร
เครื่องหมายปฏิบัติการพิเศษขั้นชำนาญการ
S.W.A.T. Advance
ชื่อทางการกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ
อักษรย่อกก.ปพ. / นปพ. / SO / PSO
ข้อมูลองค์กร
ก่อตั้งพ.ศ. 2510
โครงสร้างเขตอำนาจ
เขตอำนาจในการปฏิบัติการประเทศไทย
แผนที่เขตอำนาจของ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ
เขตอำนาจตามกฎหมายประเทศไทย, เมืองพัทยา ยกเว้นกรุงเทพมหานคร
ลักษณะทั่วไป

หน่วยงานปกครอง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ส่วนงาน • กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรภาค 1 – 9
 • กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัด 76 จังหวัด

ปัจจุบันมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษในระดับกองบัญชาการ 9 หน่วย สังกัดตำรวจภูธรภาค 1 – 9 และในระดับหน่วยปฏิบัติการภายใต้ตำรวจภูธรจังหวัด 76 จังหวัด ยกเว้นในพื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล ซึ่งมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษคือหน่วยอรินทราช 26

ประวัติ

แก้

ยุคต่อต้านคอมมิวนิสต์

แก้

หน่วยปฏิบัติการพิเศษของตำรวจภูธร มีจุดเริ่มต้นในช่วงปี พ.ศ. 2510 – 2511[3] ภายใต้การสนับสนุนจากองค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐอเมริกา (United State Operation Mission: USOM) เพื่อฝึกบุคลากรที่มีศักยภาพในการต่อต้านภัยจากลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยบุคลากรจากตำรวจภูธรซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดได้ถูกส่งไปฝึกตามที่ตั้งของหน่วยรบพิเศษของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และถูกส่งไปประจำตามพื้นที่รับผิดชอบที่มีความรุนแรงของภัยคุกคามคอมมิวนิสต์สูง[4] อาทิ การคุ้มกันความปลอดภัยให้กับข้าราชการพลเรือนหน่วยงานต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานในเขตปลดปล่อยคอมคอมมิวนิสต์ ในพื้นที่กิ่งอำเภอต่าง ๆ (ในขณะนั้น) จังหวัดพัทลุง ร่วมกับทหาร และกองอาสารักษาดินแดน[5] การจัดตั้งฐานปฏิบัติการต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อวางกำลังต่อต้านกองกำลังของคอมมิวนิสต์[6] รวมถึงการปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลือในพื้นที่เมื่อฝ่ายเดียวกันเกิดการเพลี่ยงพล้ำ[7]

ปฏิบัติการหนึ่งซึ่งถูกพูดถึงในปัจจุบันเกี่ยวกับการร่วมปฏิบัติการต่อต้านคอมมิวนิสต์ของตำรวจหน่วยปฏิบัติการพิเศษ[8] คือปฏิบัติการที่ฐานปฏิบัติการบ้านหมากแข้ง ตำบลกกสะทอน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ซึ่งเป็นฐานปฏิบัติการของตำรวจหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ซึ่งถูกกลุ่มคอมมิวนิสต์เข้าปิดล้อมและโจมตี รวมถึงยิงเฮลิคอปเตอร์สนับสนุนจากกองบัญชาการผสมพลเรือนตำรวจทหาร 1617 จนตก ทำให้ไม่สามารถส่งกำลังทางอากาศได้ จึงต้องนำกำลังลงที่ฐานบ้านห้วยมุ่น และเดินเท้ามาสนับสนุน แต่ก็ถูกซุ่มโจมตีจนเกิดความสูญเสียเช่นกัน[9] โดยในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้มอบหมายให้ ร้อยเอกสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (พระอิสริยยศในขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินไปแก้ไขสถานการณ์ ซึ่งหลังจากรับฟังการบรรยายสรุป ได้สั่งการให้เข้าไปในพื้นที่ทันที ผ่านทางเฮลิคอปเตอร์ พร้อมราชองครักษ์ 7 นาย[8] เมื่อถึงฐานปฏิบัติการได้มีคำสั่งให้ปืนใหญ่จาก ฐานบ้านห้วยมุ่น ยิงสนับสนุน และทรงให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจถึงวิธีวางกำลัง และได้ปฏิบัติการจนคอมมิวนิสต์ล่าถอย

ยุคสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

แก้

ในปี พ.ศ. 2546 สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีการพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการต่อต้านการก่อการร้าย และรองรับภัยคุกคามต่าง ๆ เพื่อรองรับตามแผนรักษาความสงบ ตามหลักสูตร พัฒนาศัพยภาพหน่วยปฏิบัติการพิเศษ โดยปรับหลักสูตรจากหลักสูตรการต่อต้านการก่อการร้ายสากล 6 เดือน เหลือ 1 เดือน มอบหมายให้หน่วยนเรศวร 261 รับผิดชอบการฝึก โดยยังคงรักษาประสิทธิภาพการปฏิบัติการได้อยู่ และในปี พ.ศ. 2547 ได้มีการฝึก ยุทธวิธีตำรวจพิเศษ และ ชุดพิเศษเฉพาะกิจ สำหรับ��องรับการเผชิญเหตุในกรณีที่ไม่สามารถรอการสนับสนุนจากหน่วยปฏิบัติการพิเศษ นเรศวร 261 หรือ อรินทราช 26 โดยฝึกในหลักสูตรการปฏิบัติการทางยุทธวิธีตำรวจในเมืองในระยะประชิด (Close Quarter Battle: CQB) การปิดล้อมตรวจค้น การจับกุม หรือเข้าควบคุมสถานการณ์ร้ายแรงตามกรอบของกฎหมายในเขตเมือง

เครื่องหมาย

แก้

หน่วยปฏิบัติการพิเศษของตำรวจภูธรนั้น จะประดับเครื่องหมายรูปอาร์มที่แขนเสื้อด้านขวา ลักษณะเครื่องหมายรูปอาร์มสีเลือดหมู ตรงกลางปักเป็นรูปเสือลายพาดกลอนสีเหลืองดำกำลังกระโดดตัดกับสายฟ้าสีขาวบนช่อชัยพฤกษ์สีขาว เหนือรูปอาร์มมีอักษรคำว่า หน่วยปฏิบัติการพิเศษ[10]

ต่อมาได้มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2536) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบตำรวจ พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2) ให้ยกเลิกเครื่องหมายตามข้อ 83[11] แต่ปัจจุบันยังมีการใช้งานอยู่ ทั้งในรูปแบบเดิม และในรูปแบบที่ไม่มีช่อชัยพฤกษ์สีขาวประดับอยู่ซึ่งเป็นที่นิยมในการประดับมากกว่า

การจัดกำลัง

แก้
 
หมวกเบเร่ต์สีเขียว ประกอบเครื่องแบบสนามสีกากีแกมเขียวเป็นเอกลักษณ์ของหน่วยปฏิบัติการพิเศษตำรวจภูธร (นปพ.)

หน่วยปฏิบัติการพิเศษ จะจัดกำลังเป็น 2 ระดับ คือระดับตำรวจภูธรภาค และระดับตำรวจภูธรจังหวัด

ตำรวจภูธรภาค 1

แก้

หน่วยปฏิบัติการพิเศษ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรภาค 1 มีชื่อหน่วยว่า ปราบไพรีอริศัตรูพ่าย[12] มีเขตอำนาจในการปฏิบัติการครอบคลุมพื้นที่ 9 จังหวัดในความรับผิดชอบของตำรวจภูธรภาค 1 นอกจากนี้ยังมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษในระดับภูธรจังหวัด ประกอบไปด้วย

  1. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  2. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี
  3. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานี
  4. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการ
  5. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดสระบุรี
  6. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดอ่างทอง
  7. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดลพบุรี
  8. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดสิงห์บุรี
  9. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดชัยนาท

ตำรวจภูธรภาค 2

แก้

หน่วยปฏิบัติการพิเศษ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรภาค 2 มีชื่อหน่วยว่า บูรพา 491[13] มีเขตอำนาจในการปฏิบัติการครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัดในความรับผิดชอบของตำรวจภูธรภาค 2 นอกจากนี้ยังมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษในระดับภูธรจังหวัด[4] ประกอบไปด้วย

  1. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี
  2. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดระยอง
  3. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดฉะเชิงเทรา
  4. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดจันทบุรี
  5. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดตราด
  6. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดปราจีนบุรี
  7. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดนครนายก
  8. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดสระแก้ว

ตำรวจภูธรภาค 3

แก้

หน่วยปฏิบัติการพิเศษ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรภาค 3 มีชื่อหน่วยว่า กำแหงสงคราม[14] มีเขตอำนาจในการปฏิบัติการครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัดในความรับผิดชอบของตำรวจภูธรภาค 3 นอกจากนี้ยังมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษในระดับภูธรจังหวัด ประกอบไปด้วย

  1. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา
  2. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี
  3. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดอำนาจเจริญ
  4. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์
  5. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดศรีสะเกษ
  6. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดชัยภูมิ
  7. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดบุรีรัมย์
  8. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดยโสธร

ตำรวจภูธรภาค 4

แก้
 
หน่วยปฏิบัติการพิเศาควบคุมฝูงชนระหว่างทำแผนประกอบคำรับสารภาพของสมคิด พุ่มพวงที่สถานีตำรวจภูธรกระนวน

หน่วยปฏิบัติการพิเศษ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรภาค 4 มีชื่อหน่วยว่า ทศรถ 491[14] มีเขตอำนาจในการปฏิบัติการครอบคลุมพื้นที่ 12 จังหวัดในความรับผิดชอบของตำรวจภูธรภาค 4 นอกจากนี้ยังมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษในระดับภูธรจังหวัด ประกอบไปด้วย

  1. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดขอนแก่น
  2. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี
  3. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดเลย
  4. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดมหาสารคาม
  5. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดกาฬสิทธุ์
  6. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดร้อยเอ็ด
  7. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดมุกดาหาร
  8. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดนครพนม
  9. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร
  10. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดหนองคาย
  11. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดหนองบัวลำภู
  12. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดบึงกาฬ

ตำรวจภูธรภาค 5

แก้

หน่วยปฏิบัติการพิเศษ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรภาค 5 มีชื่อหน่วยว่า ยักขราช 49[15] มีเขตอำนาจในการปฏิบัติการครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัดในความรับผิดชอบของตำรวจภูธรภาค 5 นอกจากนี้ยังมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษในระดับภูธรจังหวัด ประกอบไปด้วย

  1. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่
  2. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย
  3. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดลำปาง
  4. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดแม่ฮ่องสอน
  5. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดลำพูน
  6. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดแพร่
  7. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดน่าน
  8. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดพะเยา

ตำรวจภูธรภาค 6

แก้

หน่วยปฏิบัติการพิเศษ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรภาค 6 มีชื่อหน่วยว่า สีหราช 65[16] มีเขตอำนาจในการปฏิบัติการครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัดในความรับผิดชอบของตำรวจภูธรภาค 6 นอกจากนี้ยังมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษในระดับภูธรจังหวัด ประกอบไปด้วย

  1. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดพิษณุโลก
  2. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดสุโขทัย
  3. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดตาก
  4. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชร
  5. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดอุตรดิตถ์
  6. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดพิจิตร
  7. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดเพชรบูรณ์
  8. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดนครสวรรค์
  9. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดอุทัยธานี

ตำรวจภูธรภาค 7

แก้

หน่วยปฏิบัติการพิเศษ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรภาค 7 มีชื่อหน่วยว่า อินทรี 7[17] มีเขตอำนาจในการปฏิบัติการครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัดในความรับผิดชอบของตำรวจภูธรภาค 7 นอกจากนี้ยังมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษในระดับภูธรจังหวัด ประกอบไปด้วย

  1. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม
  2. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดสุพรรณบุรี
  3. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดราชบุรี
  4. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดกาญจนบุรี
  5. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสาคร
  6. กองกำกับ��ารปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสงคราม
  7. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดเพชรบุรี
  8. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ตำรวจภูธรภาค 8

แก้

หน่วยปฏิบัติการพิเศษ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรภาค 8 มีชื่อหน่วยว่า สารสิน ซึ่งเป็นหน่วยหลักของภาค8 มีเขตอำนาจในการปฏิบัติการครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัดในความรับผิดชอบของตำรวจภูธรภาค 8 นอกจากนี้ยังมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ในระดับภูธรจังหวัดมีชื่อหน่วยว่า ราชเดช ประกอบไปด้วย

  1. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี
  2. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดนครศรีธรรมราช
  3. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร
  4. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดระนอง
  5. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดพังงา
  6. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต
  7. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดกระบี่

ตำรวจภูธรภาค 9

แก้

หน่วยปฏิบัติการพิเศษ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรภาค 9 มีชื่อหน่วยว่า แดนไทย 54[18] และ พาลี 63 มีเขตอำนาจในการปฏิบัติการครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัดในความรับผิดชอบของตำรวจภูธรภาค 9 นอกจากนี้ยังมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษในระดับภูธรจังหวัด ประกอบไปด้วย

  1. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา[19]
  2. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดพัทลุง
  3. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดตรัง
  4. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดสตูล
  5. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี[20]
  6. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดยะลา[21]
  7. กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส[22][23]

หมายเหตุ หน่วยปฏิบัติการพิเศษระดับภูธรภาค 9 ทั้งสองหน่วย อยู่ภายใต้ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรภาค 9 (กก.ปพ.ภ.9)

  • แดนไทย 54 ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2554 เพื่อทดแทนคอมมานโดกองปราบปราม (สยบริปูสะท้าน) ที่ถูกดึงกำลังกลับต้นสังกัดและโอนย้ายไปเป็นกองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เดิมแดนไทย 54 สังกัด กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศชต.)[24] ปัจจุบันสังกัด กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรภาค 9 หลังการยุบรวมศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้ากับตำรวจภูธรภาค 9[25]
  • พาลี 63 ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ปฏิบัติหน้าที่เป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็วของกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรภาค 9

หลักสูตรการฝึก

แก้

หน่วยปฏิบัติการพิเศษนั้น จะมีหลักสูตรการฝึกทบทวนประจำตามหลักสูตรของแต่ละกองกำกับการ[4] โดยจะมีหลักสูตรหลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่เป็นหลักสูตรในการพัฒนาและเสริมศักยภาพ อาทิ

  • หลักสูตรการต่อต้านการก่อการร้าย เป็นหลักสูตรการฝึกประมาณ 18 สัปดาห์[26] ฝึกโดยหน่วยปฏิบัติการพิเศษอรินทราช 26 และนเรศวร 261
  • หลักสูตรหน่วยปฏิบัติการพิเศษขั้นชำนาญการ (S.W.A.T. Advance) เป็นหลักสูตรการฝึกประมาณ 8 สัปดาห์[27] ฝึกโดยหน่วยปฏิบัติการพิเศษนเรศวร 261
  • หลักสูตรการฝึกอบรมการทำลายวัตถุระเบิด (EOD) เป็นหลักสูตรการฝึกประมาณ 14 สัปดาห์[28] มีทั้งการฝึกในด้านของทฤษฎีและการปฏิบัติ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับหน่วยในการตรวจสอบและพิสูจน์ทราบวัตถุต้องสงสัยในการปฏิบัติการ[23]
  • หลักสูตรนักปฏิบัติการใต้น้ำ เป็นหลักสูตรการฝึกประมาณ 49 วัน[29] โดยกองบังคับการตำรวจน้ำ[30] มีเนื้อหาเกี่ยวกับการอารักขาและรักษาความปลอดภัย การค้นหา ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำและทางทะเล และภัยพิบัติทางธรรมชาติ สำรวจค้นหาของกลางและสิ่งผิดกฎหมายใต้น้ำ[31]

วัฒนธรรมร่วมสมัย

แก้

หน่วยปฏิบัติการพิเศษ ถูกกล่าวถึงในบทเพลงลูกทุ่งในเพลงชื่อว่า นปพ. ครวญ ประพันธ์โดย ทองใบ รุ่งเรือง และขับร้องโดย ไวพจน์ เพชรสุพรรณ มีเนื้อหากล่าวถึงการปฏิบัติงานร่วมกันกับตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ในพื้นที่ห่างไกล ทำให้อาภัพในความรัก โดยถูกนำไปขับร้องใหม่ในอีกหลากหลายเวอร์ชัน อาทิ ยอดรัก สลักใจ[32] อ๊อด โฟร์เอส[33]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "สำนักงานตำรวจแห่งชาติ - หน่วยงานในสังกัด". www.royalthaipolice.go.th (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-09-02.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. ราชกิจจานุเบกษา. กฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2525) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบตำรวจ พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2)[ลิงก์เสีย]. เล่ม 99 ตอนที่ 80, วันที่ 11 มิถุนายน 2525, หน้า 19
  3. "ส่อง ตำรวจไทย (เพิ่งรู้ว่าตำรวจก็เจ๋ง ๆ หลายหน่วย)". Pantip.
  4. 4.0 4.1 4.2 "ชุดยุทธวิธีตำรวจพิเศษ บูรพา 491". www.inv.p2.police.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-24. สืบค้นเมื่อ 2022-03-28.
  5. ปริญญา นวลเปียน. (2561). โซนสีเทาในพื้นที่สีแดง: ภาพสะท้อนจากเขตปลดปล่อยบริเวณชุมชนเชิงเขาบรรทัดในยุคสงครามเย็น. วารสารรูสมิแล, 39 (3), 7–20 สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rusamelae/article/view/178870
  6. การปฏิบัติงานของ พคท.ในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย "ยุทธการสามชัย". marines.navy.mi.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-12. สืบค้นเมื่อ 2022-04-02.
  7. ความคิดเห็นที่ 53 (144302) "ย้อนรอยสมรภูมิ"เขาค้อ" ตอนที่ 1". khaoko.com.
  8. 8.0 8.1 "'วาสนา' เผยบทสัมภาษณ์ ตร. ระบุ ร.10 ทรงตีลังกาม้วนหน้าทางยุทธวิธี ณ 'บ้านหมากแข้ง' กลางดงคอมมิวนิสต์". prachatai.com.
  9. "ย้อนรอยบ้านหมากแข้งสมรภูมิ "พระราชา"". NationTV. 11 November 2020.
  10. ราชกิจจานุเบกษา. กฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2525) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบตำรวจ พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2)[ลิงก์เสีย]. เล่ม 99 ตอนที่ 80, วันที่ 11 มิถุนายน 2525, หน้า 87
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-28. สืบค้นเมื่อ 2022-03-28.
  12. "รวบตัวแล้ว คนร้ายแหกด่านตำรวจที่ปทุมธานี นำตัวไป สภ.ธัญบุรี (ชมคลิป)". www.thairath.co.th. 2016-03-21.
  13. matichon (2022-07-28). "PCT5 ร่วมบูรพา491 เปิดปฏิบัติการตัดวงจรขบวนการส่งคนไทยข้ามแดนไปทำงานแก๊งคอล". มติชนออนไลน์.
  14. 14.0 14.1 รายการตำรวจอินดี้ : Start S.W.A.T CHALLENGE 2019, สืบค้นเมื่อ 2022-03-27
  15. pearsaralee (2021-12-05). "ภ.5 จัดการฝึกปฐมพยาบาลและทบทวนยุทธวิธีตำรวจของชุดปฏิบัติการพิเศษ (ยักขราช 49)". Chiang Mai News.
  16. reporter4. "บิ๊กอ้อ สั่งนเรศ58สยบชายคลั่งจ่อขมับตัวเอง | Police News Varieties" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  17. "ฝึกหน่วยปฏิบัติการพิเศษอินทรี7เขี้ยวเล็บตำรวจภาค7". คมชัดลึกออนไลน์. 2014-10-21.
  18. ""บิ๊กใหม่" นำกำลังออกล่า 2 สมุน "ไอ้แกร็ก" หลังสืบทราบหนีกบดานในพื้นที่ป่าพะยอม". m.mgronline.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  19. "กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษตำรวจภูธรสงขลา". www.facebook.com.
  20. "กก.ปฏิบัติการพิเศษ ภ.จว.ปัตตานี". www.facebook.com.
  21. "กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดยะลา". www.facebook.com.
  22. "กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส". www.facebook.com.
  23. 23.0 23.1 "เผย"ชุดอีโอดี"ตกเป็นเป้าสังหาร". www.posttoday.com. 2013-10-29.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  24. "ชุดปฏิบัติการพิเศษ แดนไทย 54 ตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้". www.facebook.com.
  25. "ปิดตำนาน "ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจชายแดนภาคใต้" 13 ปี ฟันเฟืองดับไฟใต้ ขวัญกำลังใจยังดีอยู่ไหม?". mgronline.com. 2017-08-01.
  26. "อรินทราช 26 หน่วยจู่โจมผู้อยู่เบื้องหลังปฏิบัติการสำคัญ". bangkokbiznews. 2020-02-09.
  27. INSIGHT POLICE - โครงการฝึกหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ขั้นชำนาญการ (S.W.A.T), สืบค้นเมื่อ 2022-03-29
  28. "ทำไมกล้าเรียน? เจาะหลักสูตร EOD เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย ท้า��ายพญายมฯ นักรบกู้บึม!". www.thairath.co.th. 2018-10-17.
  29. "45 วัน...ฝึกเข้ม ซีลตำรวจ กู้ภัยพิบัติ...ชม clip การฝึก By ธัชดล ปัญญาพานิชกุล จากบล็อก โอเคเนชั่น oknation.net". oknation.nationtv.tv. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-18. สืบค้นเมื่อ 2022-03-29.
  30. "ตำรวจน้ำเปิดการฝึกอบรมหลักสูตรนักปฏิบัติการใต้น้ำ หน่วยพิทักษ์สันติราษฎร์ทางน้ำ - 77 ข่าวเด็ด". 2018-05-31.
  31. ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วย ประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 11 การศึกษา การฝึกและอบรม ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2554 เก็บถาวร 2022-06-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  32. ยอดรัก สลักใจ ชุด ต.ช.ด. ขอร้อง, สืบค้นเมื่อ 2022-03-28
  33. น.ป.พ.ครวญ - อ๊อด โฟร์เอส # ตำนานลูกทุ่ง 6 [Official MV], สืบค้นเมื่อ 2022-03-28