คริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์
คริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์[12] หรือ ศาสนจักรออร์โธดอกซ์รัสเซีย[13] (รัสเซีย: Русская православная церковь; อังกฤษ: Russian Orthodox Church) ในยุคก่อนปี ค.ศ. 1943 เรียกว่าคริสตจักรออร์ทอดอกซ์แห่งรัสเซีย คือประชาคมของคริสต์ศาสนิกชนซึ่งรวมกันเป็นคริสจักรแบบออโตเซฟาลีในคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ โดยอยู่ภายใต้เขตอำนาจของอัครบิดรแห่งมอสโกและรัสทั้งปวง
คริสตจักรนี้ถือเป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาคริสตจักรทั้งหมดที่สังกัดคริสจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และเป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกรองจากคริสตจักรโรมันคาทอลิก[14] ตามข้อมูลสถิติที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 2 ก.พ. ค.ศ. 2010 คริสตจักรนี้มี 160 เขตมิสซังซึ่งประกอบด้วย 30,142 แพริช บริหารงานโดยบิชอป 207 องค์ บาทหลวง 28,434 องค์ และพันธบริกร 3,625 คน มีอารามสังกัดถึง 788 แห่ง เป็นของนักพรตชาย 386 แห่ง และของนักพรตหญิงอีก 402 แห่ง[15] ประมุขสูงสุดองค์ปัจจุบันคือ อัครบิดรคีริลล์แห่งมอสโก
ประวัติ
แก้คริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่าหนึ่งพันปี ตามที่สืบทอดมาจากนักบุญอันดรูว์ อัครทูตคนแรกของพระเยซู ซึ่งมีตำนานระบุว่าท่านเคยทำการประกาศข่าวดีที่ภูเขาเคียฟ ส่วนข้อเท็จจริงที่ยอมรับกันในปัจจุบันก็คือ รัสเซียรับคริสต์ศาสนามาจากจักรวรรดิไบแซนไทน์
บุคคลสำคัญคือนักบุญคิริลและนักบุญมิโทเดียสที่ได้เผยแผ่ศาสนาคริสต์ในรัสเซียตอนใต้ ชาวรัสเซียจึงขนานนามท่านทั้งสองว่า ผู้เป็นแสงสว่างแก่ชาวสลาฟ และเมื่อ ค.ศ. 954 นักบุญเจ้าหญิงโอลกาแห่งเคียฟ ( Princess Olga of Kiev) ได้รับศีลล้างบาป โดยทรงเป็นคริสตชนคนแรกในประวัติศาสตร์ของชาวรัสเซีย และเมื่อปี ค.ศ. 988 เจ้าชายวลาดีมีร์ (Prince Vladimir) พระนัดดาในเจ้าหญิงโอลกา ได้มีการรับศีลล้างบาปเป็นคริสตชนอย่างสมบูรณ์
ในระยะแรก ศาสนจักรออร์โธด็อกซ์รัสเซียขึ้นตรงกับเขตอัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิล จนกระทั่งได้ยกฐานะขึ้นเป็นเขตอัครบิดรแห่งมอสโกและรัสเซียทั้งมวล ในปี ค.ศ. 1589 โดยมียอฟแห่งมอสโกเป็นอัครบิดรแห่งมอสโกและรัสทั้งมวลเป็นองค์แรก ในศตวรรษที่ 10 - 11 โบสถ์และอารามก็เริ่มสร้างและพัฒนาขึ้นมาหลายแห่ง
ในปี ค.ศ. 1051 นักบุญแอนโทนีแห่งคูหา (St. Anthony of the Caves) ได้สร้างอารามแห่งคูหา (Monastery of the Caves) ในเมืองเคียฟ และนำประเพณีต่าง ๆ แบบอาธอเนียนเข้ามาในรัสเซีย อารามแห่งนี้เป็นศูนย์กลางการยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวรัสเซีย ในจดหมายเหตุได้บันทึกไว้หลายเล่ม ด้วยการเป็นศูนย์กลางแห่งศรัทธาในสมัยรัสเซียโบราณ อารามมีความเจริญรุ่งเรือง และมีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตของชาวรัสเซีย อารามแห่งนี้ได้มีการวาดภาพไอคอน พระเป็นเจ้า ศีลปะ วรรณคดี ผลงานทางศาสนา และ ประวัติศาสตร์ผู้แปลวรรณกรรมเป็นภาษารัสเซียอยู่จำนวนมาก[16]
ศาสนจักรออร์โธด็อกซ์รัสเซียในประเทศไทย
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "Внутренняя жизнь и внешняя деятельность Русской Православной Церкви с 2009 года по 2019 год". www.patriarchia.ru.
- ↑ "Доклад Святейшего Патриарха Кирилла на Епархиальном собрании г. Москвы (20 декабря 2019 года) / Патриарх / Патриархия.ru". www.patriarchia.ru.
- ↑ "Russian Orthodox Church (Moscow Patriarchate)". World Council of Churches. สืบค้นเมื่อ 25 December 2022.
- ↑ Voronov, Theodore (13 October 2001). "The Baptism of Russia and Its Significance for Today". orthodox.clara.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2007. สืบค้นเมื่อ 12 July 2007.
- ↑ Damick, Andrew S. "Life of the Apostle Andrew". chrysostom.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2007. สืบค้นเมื่อ 12 July 2007.
- ↑ Voronov, Theodore (13 October 2001). "The Baptism of Ukraine and Its Significance for Today". orthodox.clara.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2007. สืบค้นเมื่อ 12 July 2007.
- ↑ "Primacy and Synodality from an Orthodox Perspective". สืบค้นเมื่อ 5 March 2015.
- ↑ "Religions in Russia: a New Framework". www.pravmir.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2012. สืบค้นเมื่อ 25 December 2012.
- ↑ "Number of Orthodox Church Members Shrinking in Russia, Islam on the Rise - Poll". www.pravmir.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 May 2013. สืบค้นเมื่อ 25 December 2012.
- ↑ "Russian Orthodox Church | History & Facts". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Brien, Joanne O.; Palmer, Martin (2007). The Atlas of Religion (ภาษาอังกฤษ). Univ of California Press. p. 22. ISBN 978-0-520-24917-2.
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 482
- ↑ "สารกรมการศาสนาแสดงความอาลัยการสิ้นพระชนม์ของอัครบิดรอเล็กซีที่ 2" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-05-14.
- ↑ Русская церковь объединяет свыше 150 млн. верующих в более чем 60 странах -митрополит Иларион Interfax.ru 2 MArch 2011
- ↑ Доклад Святейшего Патриарха Кирилла на Архиерейском cовещании 2 февраля 2010 года patriarchia.ru February 2, 2010 (รัสเซีย)
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-13. สืบค้นเมื่อ 2016-11-19.
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/>
ที่สอดคล้องกัน