รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูน
รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูน (อาหรับ: اَلْخِلَافَةُ ٱلرَّاشِدَةُ, อักษรโรมัน: al-Khilāfah ar-Rāšidah; อังกฤษ: Rashidun Caliphate) เป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์รัฐแรกที่ก่อตั้งขึ้นหลังจากการเสียชีวิตของมุฮัมมัด ปกครองโดยเคาะลีฟะฮ์ 4 พระองค์แรกของมุฮัมมัดหลังเสียชีวิตใน ค.ศ. 632 (ฮ.ศ. 11) ในช่วงที่มีตัวตน จักรวรรดินี้มีกำลังทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการทหารที่ทรงอิทธิพลที่สุดในเอเชียตะวันตก
รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูน الخلافة الراشدة | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
632–661 | |||||||||||||||
รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูนในช่วงสูงสุดในรัชสมัยเคาะลีฟะฮ์ อุษมาน เมื่อ ป. ค.ศ. 654 | |||||||||||||||
เมืองหลวง | มะดีนะฮ์ (632–656) กูฟะฮ์ (656–661) | ||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาอาหรับคลาสสิก | ||||||||||||||
ศาสนา | อิสลาม | ||||||||||||||
การปกครอง | รัฐเคาะลีฟะฮ์ | ||||||||||||||
เคาะลีฟะฮ์ | |||||||||||||||
• 632–634 | อะบูบักร์ (องค์แรก) | ||||||||||||||
• 634–644 | อุมัร | ||||||||||||||
• 644–656 | อุษมาน | ||||||||||||||
• 656–661 | อะลี (องค์สุดท้าย) | ||||||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||||||
632 | |||||||||||||||
633 | |||||||||||||||
• อุมัรขึ้นครองราชย์ | 634 | ||||||||||||||
• การลอบสังหารอุมัรและอุษมานขึ้นครองราชย์ | 644 | ||||||||||||||
• การลอบสังหารอุษมานและอะลีขึ้นครองราชย์ | 656 | ||||||||||||||
661 | |||||||||||||||
• ฟิตนะฮ์ครั้งที่หนึ่ง (ความขัดแย้งภายใน) สิ้นสุดหลังฮะซันสละราชสมบัติ | 661 | ||||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||||
655[1] | 6,400,000 ตารางกิโลเมตร (2,500,000 ตารางไมล์) | ||||||||||||||
สกุลเงิน | |||||||||||||||
|
รัฐเคาะลีฟะฮ์จัดตั้งขึ้นหลังมุฮัมมัดเสียชีวิตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 632 และการอภิปรายเรื่องการสืบทอดตำแหน่งผู้นำ อะบูบักร์ (ค. 632 – 634) เพื่อนในวัยเด็กและผู้ติดตามที่ใกล้ชิดของมุฮัมมัดจากตระกูลบะนูตัยม์ ได้รับเลือกเป็นเคาะลีฟะฮ์องค์แรกที่มะดีนะฮ์และเริ่มต้นการพิชิตาบสมุทรอาหรับ รัชสมัยของพระองค์สิ้นสุดเมื่อพระองค์สวรรคตในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 634 และอุมัร (ค. 634 – 644) บุคคลที่อะบูบักร์เลือกจากบะนูอะดี ขึ้นดำรงตำแหน่งต่อ ในรัชสมัยอุมัร รัฐเคาะลีฟะฮ์ได้ขยายตัวในอัตราที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยปกครองเหนือพื้นที่จักรวรรดิไบแซนไทน์มากกว่าสองในสาม และจักรวรรดิซาเซเนียนเกือบทั้งหมด อุมัรถูกลอบสังหารในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 644 และคณะกรรมการหกคนของอุมัรได้เลือกอุษมาน (ค. 644 – 656) สมาชิกตระกูลบะนูอุมัยยะฮ์ ขึ้นมาดำรงตำแหน่งต่อ ในรัชสมัยอุษมาน รัฐเคาะลีฟะฮ์พิชิตเปอร์เซียทั้งหมดใน ค.ศ. 651 และขยายไปในดินแดนไบแซนไทน์ต่อ นโยบายที่เห็นแก่ญาติของอุษมานทำให้พระองค์ได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรงจากชนชั้นนำมุสลิม และในที่สุดก็ถูกกลุ่มกบฏลอบสังหารในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 656
อะลี (ค. 656 – 661) สมาชิกตระกูลบะนูฮาชิมของมุฮัมมัด ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งต่อ พระองค์ย้ายเมืองหลวงไปที่กูฟะฮ์ อะลีเป็นผู้นำในสงครามกลางเมืองที่มีชื่อว่า ฟิตนะฮ์ครั้งที่หนึ่ง เนื่องจากอำนาจอธิปไตยของพระองค์ไม่ได้รับการยอมรับจากมุอาวิยะฮ์ที่ 1 (ค. 661 – 680) ญาติของอุษมานและผู้ว่าการซีเรีย ผู้เชื่อว่าอุษมานถูกฆาตกรรมโดยมิชอบด้วยกฎหมายและคนที่ลงมือฆ่าควรได้รับโทษ นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มที่สามที่รู้จักกันในชื่อ เคาะวาริจญ์ ที่เคยเป็นผู้สนับสนุนอะลี ก่อกบฏต่อทั้งฝ่ายอะลีกับมุอาวิยะฮ์หลังปฏิเสธที่จะยอมรับอนุญาโตตุลาการในยุทธการที่ศิฟฟีน สงครามนี้นำไปสู่การโค่นล้มรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูนและจัดตั้งรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ของมุอาวิยะฮ์ใน ค.ศ. 661 สงครามกลางเมืองนี้นำไปสู่ความแตกแยกระหว่างมุสลิมนิกายซุนนีกับชีอะฮ์อย่างถาวร โดยชีอะฮ์เชื่อว่าอะลีเป็นเคาะลีฟะฮ์ผู้ทรงธรรมคนแรก และเป็นอิหม่ามถัดจากมุฮัมมัด พวกเขาโปรดปรานความสัมพันธ์ทางสายเลือดของอะลีกับมุฮัมมัด[2]
รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูนมีช่วงระยะเวลาการขยายทางทหารอย่างรวดเร็ว 25 ปี ตามมาด้วยความขัดแย้งภายใน 5 ปี กองทัพรอชิดูนในช่วงสูงสุดมีทหารมากกว่า 100,000 นาย ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 650 นอกจากคาบสมุทรอาหรับแล้ว รัฐเคาะลีฟะฮ์ได้พิชิตลิแวนต์ถึงทรานส์คอเคซัสทางเหนือ แอฟริกาเหนือจากอียิปต์ถึงตูนิเซียในปัจจุบันทางตะวันตก และที่ราบสูงอิหร่านถึงพื้นที่บางส่วนของเอเชียกลางและเอเชียใต้ทางตะวันออก เคาะลีฟะฮ์รอชิดูนทั้ง 4 พระองค์ได้รับเลือกจากการเลือกตั้งขนาดเล็กประกอบด้วยสมาชิกที่โดดเด่น���องสมาพันธ์ชนเผ่ากุร็อยช์ที่มีชื่อว่า ชูรอ (อาหรับ: شُـوْرَى, แปลว่า การปรึกษาหารือ)[3]
ที่มา
แก้หลังการเสียชีวิตของมุฮัมมัดใน ค.ศ. 632 ผู้ติดตามของท่านในมะดีนะฮ์ถกเถียงกันว่าใครควรสืบทอดกิจการของมุสลิม ในขณะที่ครอบครัวของมุฮัมมัดกำลังยุ่งอยู่กับพิธีฝังศพ อุมัรและอะบูอุบัยดะฮ์ อิบน์ อัลญัรรอห์ถวายสัตย์ปฏิญาณตนต่ออะบูบักร์ ภายหลังฝ่ายอันศอรกับกุร็อยช์จึงเริ่มปฏิบัติตาม อะบูบักร์จัดตั้งตำแหน่ง เคาะลีฟะฮ์ เราะซูลุลลอฮ์ (خَـلِـيْـفَـةُ رَسُـوْلِ اللهِ, "ผู้สืบทอดจากศาสนทูตของอัลลอฮ์") หรือสั้น ๆ ว่า เคาะลีฟะฮ์[4] อะบูบักร์เริ่มดำเนินการรบเพื่อเผยแผ่อิสลาม ตอนแรกพระองค์จะต้องปราบชนเผ่าอาหรับที่อ้างว่าแม้ว่าพวกตนจะให้คำมั่นว่าจะจงรักภักดีต่อมุฮัมมัดและเข้ารับอิสลาม แต่พวกเขาก็ไม่ได้มีความเกี่ยวดองอะไรกับอะบูบักร์ ในฐานะเคาะลีฟะฮ์ อะบูบักร์และผู้สืบทอดทั้งสามพระองค์ไม่ได้เป็นกษัตริย์และไม่ได้อ้างตำแหน่งนั้น แต่การเลือกตั้งและความเป็นผู้นำของพวกเขาขึ้นอยู่กับคุณธรรม[5][6][7][8]
ฝ่ายซุนนีเชื่อว่า เคาะลีฟะฮ์รอชิดูนทั้ง 4 พระองค์มีความเชื่อมโยงกับศาสดามุฮัมมัดผ่านการแต่งงาน เป็นคนกลุ่มแรกที่เข้ารับอิสลาม[9] เป็นสิบคนที่ได้รับสัญญาว่าจะได้เข้าสวรรค์ เป็นผู้ติดตามที่ใกล้ชิดของท่านผ่านความสัมพันธ์และการสนับสนุน และมักได้รับการยกย่องอย่างสูงจากมุฮัมมัดและได้รับมอบหมายให้มีบทบาทเป็นผู้นำในชุมชนมุสลิมช่วงแรก เคาะลีฟะฮ์เหล่านี้เป็นที่รู้จักในมุสลิมนิกายซุนนีว่า รอชิดูน หรือเคาะลีฟะฮ์ที่ได้รับ"แนวทางที่ถูกต้อง" (اَلْخُلَفَاءُ ٱلرَّاشِدُونَ, al-Khulafāʾ ar-Rāšidūn) มุสลิมนิกายซุนนีรายงานว่า ชื่อรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูนมาจากฮะดีษที่มีชื่อเสียง[10]ของมุฮัมมัดที่กล่าวไว้ล่วงหน้าว่า จะมีรัฐเคาะลีฟะฮ์หลังจากท่าน 30 ปี[11] (ระยะเวลาของรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูน) และจะตามมาด้วยการปกครองโดยกษัตริย์ (รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยแบบสืบสันตติวงศ์)[12][13] นอกจากนี้ ฮะดีษอื่น ๆ ในซุนัน อะบูดาวูดกับมุสนัด อะห์มัด อิบน์ ฮันบัลระบุว่า พระเจ้าจะฟื้นฟูเคาะลีฟะฮ์ที่ได้รับแนวทางที่ถูกต้องอีกครั้งจนกระทั่งวาระสุดท้าย[14] อย่างไรก็ตาม มุสลิมนิกายชีอะฮ์ไม่ใช้ศัพท์นี้ เนื่องจากพวกเขาไม่ถือว่าเคาะลีฟะฮ์สามพระองค์แรกปกครองโดยชอบธรรม[15] ถึงกระนั้น มุสลิมนิกายชีอะฮ์ซัยดียะฮ์เชื่อว่าเคาะลีฟะฮ์สามองค์แรกเป็นผู้นำที่มีความชอบธรรม[16]
สิ่งสืบทอด
แก้นักวิชาการฆราวาสบางส่วนตั้งคำถามต่อมุมมองรอชิดูนของซุนนี รอเบิร์ต จี. ฮอยแลนด์กล่าวว่า "นักเขียนที่มีชีวิตในช่วงเวลาเดียวกันกับเคาะลีฟะฮ์ 4 องค์แรก ... ไม่ได้บันทึกเกี่ยวกับพวกเขาน้อยมาก และชื่อของพวกเขาไม่ได้ปรากฏบนเหรียญ จารึก หรือเอกสาร จนกระทั่งเคาะลีฟฮ์งอค์ที่ 5" มุอาวิยะฮ์ที่ 1 (661–680) "ที่มีหลักฐานเกี่ยวกับการทำงานของรัฐบาลอาหรับthat เนื่องจากปรากฏชื่อพระองค์บนสื่อทางการของรัฐทั้งหมด"[17] อย่างไรก็ตาม ก็มีจารึกที่เขียนขึ้นในสมัยนั้น หนึ่งในนั้นระบุชื่อและวันเสียชีวิตของอุมัร และมีเหรียญที่ปรากฏในรัชสมัยนั้นด้วย (ถึงแม้ว่าวัตถุเหล่านั้นจะไม่ปรากฏชื่อ แต่ปรากฏเพียง "ด้วยพระนามของอัลลอฮ์" ตามที่ฮอยแลนด์กล่าวไว้)[18]
ฮอยแลนด์ยังตั้งคำถามถึงข้อกล่าวหาว่ารอชิดูนมีศีลธรรมเหนือกว่าอุมัยยะฮ์ โดยระบุว่าอะลีมีส่วนเกี่ยวข้องในสงครามกลางเมืองครั้งแรก (ฟิตนะฮ์ครั้งที่หนึ่ง) และอุษมานได้ "ใช้รูปแบบการปกครองแบบเห็นแก่ญาติแล้ว"[19] ซึงเคาะลีฟะฮ์องค์หลังถูกประณาม และสงสัยว่าแนวคิด “ยุคทอง” ของอิสลามในยุคแรกเริ่มมาจากความต้องการของนักวิชาการศาสนาสมัยอุมัยยะฮ์ตอนปลายถึงอับบาซียะฮ์ เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างเคาะลีฟะฮ์กลุ่มแรก (ซึ่งมีอำนาจในการออกกฎหมายมากกว่า) และเคาะลีฟะฮ์ร่วมสมัยที่พวกเขาต้องการติดตามในเรื่องศาสนาของพวกเขา (อุละมาอ์) ทำให้ในภายหลัง กลุ่มผู้ติดตาม "ได้รับการปรับปรุง" เป็น "แบบอย่างของความกตัญญูกตเวทิตาธรรม"[20]
ข้อความเหล่านี้มีความคล้ายคลึงกับมุมมองผู้ติดตาม (รวมเคาะลีฟะฮ์รอชิดูน) ของชีอะฮ์ ชีอะฮ์หลายคนไม่มีมุมมองเดียวกันกับซุนนีที่เชื่อว่าผู้ติดตามล้วนเป็นแบบอย่างของความกตัญญู แต่กล่าาวหาหลายคนว่าสมรู้ร่วมคิดหลังจากท่านศาสดาเสียชีวิต เพื่อลิดรอนอะลีกับลูกหลานของเขาจากการเป็นผู้นำ ในมุมมองของชีอะฮ์ ผู้ติดตามหลายคนและผู้สืบทอดเป็นผู้แย่งชิง แม้แต่คนหน้าซื่อใจคด ที่ไม่เคยหยุดที่จะล้มล้างศาสนาเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง[21]
การทหาร
แก้กองทัพรอชิดูนเป็นหน่วยรบหลักของกองกำลังติดอาวุธอิสลามในคริสต์ศตวรรษที่ 7 โดยร่วมรบกับกองทัพเรือรอชิดูน กองทัพรักษาระเบียบวินัย ความกล้าหาญเชิงกลยุทธ์ และองค์กรในระดับสูงมาก พร้อมกับแรงจูงใจและความคิดริเริ่มของกองกำลังทหาร ตลอดทั้งประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ กองทัพนี้เป็นหนึ่งในกองกำลังทางทหารที่ทรงพลังและมีประสิทธิภาพที่สุดทั่วทั้งภูมิภาค โดยในช่วงสูงสุดของรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูน ขนาดสูงสุดของกองทัพคือประมาณ 100,000 นาย[22]
กองทัพรอชิดูน
แก้กองทัพรอชิดูนแบ่งออกเป็นทหารราบและทหารม้าเบา การสร้างยุทโธปกรณ์ทางทหารของกองทัพมุสลิมยุคแรกขึ้นมาใหม่นั้นเป็นปัญหา เมื่อเทียบกับกองทัพโรมันกับกองทัพมุสลิมสมัยกลางยุคหลัง ขอบเขตภาพลักษณ์มีขนาดเล็กมาก ส่วนใหญ่ไม่ชัดเจน หลักฐานทางกายภาพมีเหลืออยู่น้อยมาก และหลักฐานส่วนใหญ่ก็ยากที่จะระบุวันที่ได้[23] ทหารสวมหมวกเหล็กและสัมฤทธิ์แบบเอเชียกลางจากอิรัก[24]
กองทัพเรือรอชิดูน
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
รายพระนาม
แก้ช่วงเวลา | เคาะลีฟะฮ์ | อักษรวิจิตร | ความสัมพันธ์กับมุฮัมมัด | พระราชบิดามารดา | ตระกูล | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
8 มิถุนายน 632 – 22 สิงหาคม 634 | อะบูบักร์ (أبو بكر) |
|
บะนูตัยม์ |
| ||
23 สิงหาคม 634 – 3 พฤศจิกายน 644 | อุมัร (عمر) |
|
บะนูอะดี |
| ||
11 พฤศจิกายน 644 – 20 มิถุนายน 656 | อุษมาน (عثمان) |
|
บะนูอุมัยยะฮ์ |
| ||
20 มิถุนายน 656 – 29 มกราคม 661 | อะลี (علي) |
|
บะนูฮาชิม |
|
อ้างอิง
แก้- ↑ Rein Taagepera (September 1997). "Expansion and Contraction Patterns of Large Polities: Context for Russia". International Studies Quarterly. 41 (3): 495. doi:10.1111/0020-8833.00053. JSTOR 2600793.
- ↑ Triana, María (2017). Managing Diversity in Organizations: A Global Perspective (ภาษาอังกฤษ). Taylor & Francis. p. 159. ISBN 9781317423683.
- ↑ Bosworth, C.E.; Marín, Manuela; Ayalon, A. (1960–2007). "Shūrā". ใน Bearman, P.; Bianquis, Th.; Bosworth, C.E.; van Donzel, E.; Heinrichs, W.P. (บ.ก.). Encyclopaedia of Islam, Second Edition. doi:10.1163/1573-3912_islam_COM_1063.
- ↑ McHugo 2017, p. 93.
- ↑ Azyumardi Azra (2006). Indonesia, Islam, and Democracy: Dynamics in a Global Context. Equinox Publishing (London). p. 9. ISBN 9789799988812.
- ↑ C. T. R. Hewer; Allan Anderson (2006). Understanding Islam: The First Ten Steps (illustrated ed.). Hymns Ancient and Modern Ltd. p. 37. ISBN 9780334040323.
- ↑ Anheier, Helmut K.; Juergensmeyer, Mark, บ.ก. (2012). Encyclopedia of Global Studies. Sage Publications. p. 151. ISBN 9781412994224.
- ↑ Claire Alkouatli (2007). Islam (illustrated, annotated ed.). Marshall Cavendish. p. 44. ISBN 9780761421207.
- ↑ Catharina Raudvere, Islam: An Introduction (I.B.Tauris, 2015), 51–54.
- ↑ Asma Afsaruddin (2008). The first Muslims: history and memory. Oneworld. p. 55.
- ↑ Safia Amir (2000). Muslim Nationhood in India: Perceptions of Seven Eminent Thinkers. Kanishka Publishers, Distributors. p. 173. ISBN 9788173913358.
- ↑ Heather N. Keaney (2013). Medieval Islamic Historiography: Remembering Rebellion. Sira: Companion- versus Caliph-Oriented History: Routledge. ISBN 9781134081066.
He also foretold that there would be a caliphate for thirty years (the length of the Rashidun Caliphate) that would be followed by kingship.
- ↑ Hamilton Alexander Rosskeen Gibb; Johannes Hendrik Kramers; Bernard Lewis; Charles Pellat; Joseph Schacht (1970). "The Encyclopaedia of Islam". The Encyclopaedia of Islam. Brill. 3 (Parts 57–58): 1164.
- ↑ Aqidah.Com (December 1, 2009). "The Khilaafah Lasted for 30 Years Then There Was Kingship Which Allaah Gives To Whomever He Pleases". Aqidah.Com. Aqidah.Com. สืบค้นเมื่อ 16 August 2014.
- ↑ Sowerwine, James E. (2010). Caliph and Caliphate: Oxford Bibliographies Online Research Guide (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. p. 5. ISBN 9780199806003.
- ↑ Rane 2010, p. 83.
- ↑ Hoyland, In God's Path, 2015: p. 98
- ↑ Ghabban, A.I.I., Translation and concluding remarks by and Hoyland, R., 2008. The inscription of Zuhayr, the oldest Islamic inscription (24 AH/AD 644–645), the rise of the Arabic script and the nature of the early Islamic state 1. Arabian Archaeology and Epigraphy, 19(2), pp. 210–237.
- ↑ Hoyland, In God's Path, 2015: p. 134
- ↑ Hoyland, In God's Path, 2015: p. 227
- ↑ Zaman, M.Q., 1998. Sectarianism in Pakistan: The radicalization of Shi ‘i and Sunni identities. Modern Asian Studies, 32(3), p. 691.
- ↑ Fratini, Dan (2006-04-01). "The Battle Of Yarmuk, 636". Military History Online. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-16. สืบค้นเมื่อ 2014-11-29.
- ↑ Hugh Kennedy (2001). "Chapter Seven: Weapons and equipment in early Muslim armies". The Armies of the Caliphs: Military and Society in the Early Islamic State. London: Routledge. p. 168. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05. สืบค้นเมื่อ 2023-01-28.
- ↑ Kennedy, Hugh (2001). "Chapter Eight: Fortification and siege warfare". The Armies of the Caliphs: Military and Society in the Early Islamic State. London: Routledge. p. 183. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05. สืบค้นเมื่อ 2023-01-28.
- ↑ 25.0 25.1 25.2 شبارو, عصام محمد (1995). First Islamic Arab State (1–41 AH/ 623–661 CE). 3. Arab Renaissance House – Beirut, Lebanon. p. 370.
- ↑ 26.0 26.1 26.2 Madelung 1997.
ข้อมูล
แก้- Abun-Nasr, Jamil M. (1987), A History of the Maghrib in the Islamic Period, Cambridge, New York, Melbourne: Cambridge University Press, ISBN 0-521-33767-4
- Bosworth, C. Edmund (July 1996). "Arab Attacks on Rhodes in the Pre-Ottoman Period". Journal of the Royal Asiatic Society. 6 (2): 157–164. doi:10.1017/S1356186300007161. JSTOR 25183178. S2CID 163550092.
- Charles, Robert H. (2007) [1916]. The Chronicle of John, Bishop of Nikiu: Translated from Zotenberg's Ethiopic Text. Merchantville, NJ: Evolution Publishing. ISBN 9781889758879.
- Donner, Fred M. (2010). Muhammad and the Believers, at the Origins of Islam. Cambridge, MA: Harvard University Press. ISBN 9780674050976.
- Fitzpatrick, Coeli; Walker, Adam Hani (25 April 2014). Muhammad in History, Thought, and Culture: An Encyclopedia of the Prophet of God [2 volumes]. ABC-CLIO. ISBN 978-1-61069-178-9 – โดยทาง Google Books.
- Frastuti, Melia (2020). "Reformasi Sistem Administrasi Pemerintahan, Penakhlukkan di Darat Dan Dilautan Pada Era Bani Umayyah". Jurnal Kajian Ekonomi Hukum Syariah (ภาษามาเลย์). 6 (2): 119–127. doi:10.37567/shar-e.v6i2.227. S2CID 234578454. สืบค้นเมื่อ 27 October 2021.
- Hinds, Martin (October 1972). "The Murder of the Caliph Uthman". International Journal of Middle East Studies. 13 (4): 450–469. doi:10.1017/S0020743800025216. JSTOR 162492. S2CID 159763369.
{{cite journal}}
: CS1 maint: date and year (ลิงก์) - Hoyland, Robert G. (2015). In God's Path: the Arab Conquests and the Creation of an Islamic Empire. Oxford University Press.
- Madelung, Wilferd (1997). The Succession to Muhammad: A Study of the Early Caliphate. Cambridge, England: Cambridge University Press. ISBN 0521646960.
- McHugo, John (2017). A Concise History of Sunnis & Shi'is. Georgetown University Press. ISBN 978-1-62-616587-8.
- Netton, Ian Richard (19 December 2013). Encyclopaedia of Islam (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 978-1-135-17960-1.
- Rane, Halim (2010). Islam and Contemporary Civilisation. Academic Monographs. ISBN 9780522857283.
- แม่แบบ:The Byzantine Revival, 780–842
- แม่แบบ:Byzance et les Arabes
- Weeramantry, Judge Christopher G. (1997). Justice Without Frontiers: Furthering Human Rights. Brill Publishers. ISBN 90-411-0241-8.