ยุทธการที่เตียงฮัน

ยุทธการที่เตียงฮัน เกิดขึ้นในเตียงฮัน (ฉางอาน) เมืองหลวงของราชวงศ์ฮั่นตะวันออกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 192[1] ช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นโหมโรงเข้าสู่ยุคสามก๊ก

ยุทธการที่เตียงฮัน
ส่วนหนึ่งของ สงครามในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่น

ภาพลิฉุยและกุยกีโจมตีเตียงฮัน เมืองหลวงของราชวงศ์ฮั่น วาดในสมัยราชวงศ์ชิง
วันที่28 มิถุนายน ค.ศ. 192[1]
สถานที่
เตียงฮัน (ฉางอาน; ใกล้กับซีอานในปัจจุบัน)
ผล ลิฉุย/กุยกีได้รับชัยชนะ
คู่สงคราม
กองกำลังของลิฉุย/กุยกี
(ฝ่ายนิยมตั๋งโต๊ะ)
กองกำลังของอ้องอุ้น
(ฝ่ายที่ฆ่าตั๋งโต๊ะ)
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ลิฉุย
กุยกี
กาเซี่ยง
อ้องอุ้น  โทษประหารชีวิต
ลิโป้

เบื้องหลัง

แก้

หลังจากการสังหารหมู่ขันที (กันยายน ค.ศ. 189) ตั๋งโต๊ะได้เข้าควบคุมราชสำนักในลกเอี๋ยง (ลั่วหยาง)บังคับให้ หองจูเปียนสละราชบัลลังก์ให้กับ พระเจ้าเหี้ยนเต้และกำหนดตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีให้ตัวเอง ปกครองด้วยกำปั้นเหล็ก[2] เหล่าพันธมิตรขุนศึกเปิดตัวการทัพปราบตั๋งโต๊ะซึ่งมีผลให้ตั๋งโต๊ะเผาเมืองลกเอี๋ยงลักพาตัวจ��กรพรรดิและย้ายราชสำนักไปยังเมืองเตียงฮัน[2] กองทัพพันธมิตรไม่สามารถไล่ตามพวกเขาได้และแตกสลาย ขุนศึกหลายคนกลับบ้านเพื่อเริ่มภารกิจของตนเองเพื่อยึดครองอาณาจักร ซึ่งอำนาจส่วนกลางหายไปเกือบหมดแล้ว[2]

ในปี ค.ศ. 192 งิวฮูขุนพลและลูกเขยผู้ภักดีของตั๋งโต๊ะ สั่งให้ลิฉุยและกุยกี โจมตีขุนพลจูฮีหลังจากนั้นพวกเขาก็บุกโจมตีเองฉวน (อิ่งชฺวัน) และตันลิว (เฉินหลิว)[3][4] ในขณะเดียวกัน อ้องอุ้นได้ชักชวนขุนพลลิโป้ (บุตรบุญธรรมและองครักษ์ส่วนตัวของตั๋งโต๊ะ) และขุนพลลิซกให้เข้าร่วมแผนการลอบสังหารตั๋งโต๊ะซึ่งดำเนินการสำเร็จในวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 192[2] โดยลิโป้โจมตีอย่างรุนแรง[5] จากนั้นอ้องอุ้นก็เข้าควบคุมราชสำนักในฐานะผู้สำเร็จราชการ และตั้งเป้าหมายที่จะกำจัดผู้ภักดีต่อตั๋งโต๊ะที่เหลืออยู่ทั้งหมด[1] เมื่อลิซกล้มเหลวในการเอาชนะงิวฮู ลิโป้ได้ประหารชีวิตผู้สมรู้ร่วมคิดของพวกเขาอย่างลิซก[6]

การรบ

แก้

เมื่อถึงเวลาที่ลิฉุย กุยกีและทหารของพวกเขากลับมาที่เตียงฮัน งิวฮูก็ถูกสังหารโดยกองทหารของเขาเอง[3][4] ลิฉุยและกุยกียอมจำนนต่ออ้องอุ้นแต่ร้องขอการนิรโทษกรรมสำหรับการกระทำในอดีตของพวกเขา เนื่องจากพวกเขากลัวการประหารชีวิตเพราะพวกเขามีส่วนร่วมในระบอบการปกครองของตั๋งโต๊ะ[3] อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้สำเร็จราชการคนใหม่ปฏิเสธ พวกเขาจึงทำตามคำแนะนำของกาเซี่ยงที่ปรึกษาของพวกเขาและตัดสินใจบุกเมืองหลวงเพื่อยึดอำนาจการควบคุมราชสำนักและช่วยตัวเองให้รอด[3] ในยุทธการที่เตียงฮันเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 192[1] ลิฉุยและกุยกีขับไล่ลิโป้ให้หนีไป สังหารขุนนางและพลเรือน[3] และจับตัวอ้องอุ้นไปประหารในอีกไม่กี่วันต่อมา[1]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Rafe de Crespigny (October 2017). "Wang Yun 王允". A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms (23 – 220 AD). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-16. สืบค้นเมื่อ 25 February 2020.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Rafe de Crespigny (October 2017). "Dong Zhuo 董卓". A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms (23 – 220 AD). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-27. สืบค้นเมื่อ 25 February 2020.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Rafe de Crespigny (October 2017). "Li Jue 李傕". A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms (23 – 220 AD). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-16. สืบค้นเมื่อ 25 February 2020.
  4. 4.0 4.1 Rafe de Crespigny (October 2017). "Guo Si 郭汜 also Guo Duo 多". A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms (23 – 220 AD). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-16. สืบค้นเมื่อ 25 February 2020.
  5. Rafe de Crespigny (October 2017). "Lü Bu 呂布". A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms (23 – 220 AD). สืบค้นเมื่อ 25 February 2020.[ลิงก์เสีย]
  6. Rafe de Crespigny (October 2017). "Li Su 李肅". A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms (23 – 220 AD). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-16. สืบค้นเมื่อ 25 February 2020.