มิชิมะ ยูกิโอะ

นักเขียนชาวญี่ปุ่น

มิชิมะ ยูกิโอะ (ญี่ปุ่น: 三島 由紀夫โรมาจิMishima Yukio) เป็นนามปากกาของ ฮิราโอกะ คิมิตาเกะ (ญี่ปุ่น: 平岡 公威โรมาจิHiraoka Kimitake; 14 มกราคม ค.ศ. 1925 - 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1970) เป็นกวีและนักเขียนชาวญี่ปุ่น ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักเขียนท่านหน��่งที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับ มิชิมะเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมถึง 3 ครั้ง[2] และเกือบได้รับรางวัลนี้ในปี ค.ศ. 1968 (แต่คาวาบาตะ ยาซูนาริได้รับรางวัลแทน)[3]

มิชิมะ ยูกิโอะ
三島由紀夫
มิชิมะใน ค.ศ. 1955
เกิดฮิราโอกะ คิมิตาเกะ
14 มกราคม ค.ศ. 1925(1925-01-14)
Nagazumi-cho 2-chome, ยตสึระ-กุ, นครโตเกียว จังหวัดโตเกียว จักรวรรดิญี่ปุ่น[1]
เสียชีวิต25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1970(1970-11-25) (45 ปี)
สาเหตุเสียชีวิตฆ่าตัวตายด้วยการเซ็ปปูก
สุสานสุสานทามะ โตเกียว
การศึกษามหาวิทยาลัยโตเกียว
อาชีพ
  • นักเขียน
  • playwright
  • นักแสดง
  • นายแบบ
  • ผู้กำกับละครและภาพยนตร์
  • ข้าราชการ
  • นักเคลื่อนไหวทางการเมือง
นายจ้าง
องค์การทาเตโนไก ("Shield Society")
อาชีพนักเขียน
ภาษาญี่ปุ่น
ช่วงเวลาร่วมสมัย (คริสต์ศตวรรษที่ 20)
แนวs
แนวร่วมในทางวรรณคดี
ผลงานที่สำคัญ
ช่วงปีที่ทำงาน1938–1970
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ三島 由紀夫
การถอดเสียง
โรมาจิMishima Yukio
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ平岡 公威
การถอดเสียง
โรมาจิHiraoka Kimitake
ลายมือชื่อ

ประวัติ

แก้

มิชิมะ ยูกิโอะ หรือชื่อเกิดว่า ฮิราโอกะ คิมิตาเกะ เกิดเมื่อ ค.ศ. 1925 ในครอบครัวที่มีบรรพบุรุษเป็นซามูไร ตอนยังเป็นเด็ก มิชิมะอาศัยอยู่กับคุณย่า จนถึงปี ค.ศ. 1937 เขาก็ย้ายกลับไปอยู่กับครอบครัว มิชิมะเป็นเด็กเรียนดี และสนใจในวรรณกรรมตะวันตก งานเขียนของเขาได้รับการตีพิมพ์ตั้งแต่สมัยเขาอยู่ชั้นมัธยมศึกษา เมื่อเรียนกฎหมายที่มหาวิทยาลัยโตเกียว เขาก็เปลี่ยนมาใช้นามปากกา "มิชิมะ ยูกิโอะ" เพื่อปกปิดอายุตัวเอง[4] หลังเรียนจบ มิชิมะทำงานในกระทรวงการคลัง แต่ต่อมาก็ลาออกมาเขียนนิยาย เขามีแนวคิดที่จะฟื้นฟู "บูชิโด" และต่อต้านการพัฒนาแบบตะวันตกของญี่ปุ่น มิชิมะเชื่อในลัทธิชาตินิยมสุดโต่ง และ มีความคิดฟื้นฟูจักรพรรดิโชวะให้กลับไปมีอำนาจสูงสุดในญี่ปุ่น เพื่อแสดงความรับผิดชอบที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ที่มาพร้อมกับอิทธิพลของตะวันตก โดยเฉพาะในช่วงการยึดครองญี่ปุ่น และ ช่วงหลังการลงนามสนธิสัญญาซานฟรานซิสโก[5] จึงเริ่มรวบรวมผู้คน จนในวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1970 มิชิมะและพรรคพวกอีก 4 คนก็บุกยึดศูนย์บัญชาการกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น จับผู้บัญชาการเป็นตัวประกัน และปลุกระดมให้กองทัพก่อรัฐประหาร แต่ไม่เป็นผล มิชิมะจึงกระทำเซ็ปปูกุ หรือคว้านท้องตัวเอง[6][7]

ชีวิตส่วนตัว

แก้

นอกจากจะเป็นนักเขียน มิชิมะยังเป็นเคยแสดงภาพยนตร์มาแล้ว 5 เรื่อง[8] นอกจากนี้เขายังฝึกเพาะกายและศิลปะการต่อสู้อื่น ๆ อีกด้วย[9]

ด้านความสัมพันธ์ เขาเคยคบหากับโชดะ มิจิโกะ (ต่อมาโชดะเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะและทรงขึ้นเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีมิจิโกะ)[10] ต่อมามิชิมะสมรสกับซูงิยามะ โยโกะในปี ค.ศ. 1958 ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 2 คน

อ้างอิง

แก้
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ bio-m1
  2. YUKIO MISHIMA - BIOGRAPHY
  3. Revealing the many masks of Mishima
  4. A View of the Snowy Mountain :: 1941-1964
  5. "Yukio Mishima -- C.M. Stassel". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-15. สืบค้นเมื่อ 2015-03-01.
  6. Yukio Mishima Essay - Mishima, Yukio
  7. MISHIMA’S SUICIDE
  8. Yukio Mishima by iMDb
  9. Sun and Steel
  10. The Man Who Would Be Samurai

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้