ภาษาโส้ ภาษาไทโส้ ภาษากะโซ่ ภาษามังกอง หรือ ภาษาโทรฺ (โส้: พะซา โทรฺ) เป็นภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก กลุ่มมอญ-เขมร สาขามอญ-เขมรตะวันออก สาขาย่อยกะตู ใกล้เคียงกับภาษาบรู ชื่อภาษาโส้ใช้ในประเทศไทยเท่านั้น ในประเทศลาวใช้ชื่อภาษามังกอง

ภาษาโส้
พะซา โทรฺ
ออกเสียง/pʰasaː tʰrɔː/
ประเทศที่มีการพูดไทย, ลาว
จำนวนผู้พูด160,000 คน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรไทย (ในไทย)
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน ไทย
รหัสภาษา
ISO 639-3sss

ภาษาโส้มีผู้พูดประมาณ 160,000 คน โดยอยู่ในลาว 102,000 คน (พ.ศ. 2536) ในไทย 58,000 คน (พ.ศ. 2544) ในลาวมีผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในแขวงคำม่วนและแขวงสุวรรณเขต มีผู้รู้หนังสือภาษาแม่น้อยกว่าร้อยละ 1 อัตราการรู้หนังสือภาษาที่สองราวร้อยละ 15–25 ในไทยมีผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดนครพนม จังหวัดสกลนคร และจังหวัดมุกดาหาร มีทั้งหมด 53 หมู่บ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อพยพมาจากลาว นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ หรือความเชื่อดั้งเดิม มีผู้รู้หนังสือภาษาแม่น้อยกว่าร้อยละ 1 อัตราการรู้หนังสือภาษาที่สองราวร้อยละ 25–50 ในปัจจุบันเริ่มรับวัฒนธรรมและปรับตัวเข้ากับคนไทยมากขึ้น

สัทวิทยา

แก้

พยัญชนะ

แก้
หน่วยเสียงพยัญชนะภาษาโส้ถิ่นกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร[1]
ลักษณะการออกเสียง ตำแหน่งเกิดเสียง
ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
เสียงนาสิก m n ɲ ŋ
เสียงหยุด ก้อง b d
ไม่ก้อง ไม่พ่นลม p t c k ʔ
พ่นลม
เสียงเสียดแทรก f s h
เสียงรัว r
เสียงข้างลิ้น l
เสียงกึ่งสระ w j
  • หน่วยเสียงที่เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้ายมี 14 หน่วยเสียง ได้แก่ /m/, /n/, /ɲ/, /ŋ/, /p/, /t/, /c/, /k/, /ʔ/, /h/, /r/, /l/, /w/ และ /j/
  • หน่วยเสียงพยัญชนะต้นควบมี 11 หน่วยเสียง ได้แก่ /br/, /bl/, /pr/, /pl/, /tr/, /kr/, /kl/, /pʰr/, /tʰr/, /kʰr/ และ /kʰl/
  • หน่วยเสียงพยัญชนะท้ายควบมี 3 หน่วยเสียง ได้แก่ /wʔ/, /jʔ/ และ /jh/ เช่น /kʰɛː/ 'เคยชิน', /ʔajuː/ 'จี้ (ให้หัวเราะ)', /pɔːjh/ 'เก้ง'
  • หน่วยเสียง /cʰ/ ไม่ปรากฏเป็นพยัญชนะต้นเดี่ยวของคำพยางค์เดียว
  • หน่วยเสียง /f/ พบในคำยืมจากภาษาไทย เช่น /fajfaː/ 'ไฟฟ้า'

สระ

แก้

สระเดี่ยว

แก้
หน่วยเสียงสระเดี่ยวภาษาโส้ถิ่นกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร[2]
ระดับลิ้น ตำแหน่งลิ้น
หน้า กลาง หลัง
สูง i, ɯ, ɯː u,
กึ่งสูง e, o,
กลาง ə, əː
กึ่งต่ำ ɛ, ɛː ʌ, ʌː ɔ, ɔː
ต่ำ a, ɑ, ɑː

สระประสม

แก้

หน่วยเสียงสระประสมภาษาโส้ถิ่นกุสุมาลย์มี 5 หน่วยเสียง[3] ได้แก่ /iə/, /ia/, /ɯə/, /uə/ และ /ua/

ลักษณะน้ำเสียง

แก้

ภาษาโส้ถิ่นกุสุมาลย์มีลักษณะน้ำเสียง 2 ลักษณะ[4] ได้แก่ ลักษณะน้ำเสียงปกติและลักษณะน้ำเสียงทุ้มต่ำ

ระบบการเขียน

แก้

ตัวเขียนภาษาโส้อักษรไทยตามที่คณะกรรมการจัดทำระบบเขียนภาษาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยอักษรไทย สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้กำหนดไว้ มีดังนี้

พยัญชนะ
อักษรไทย เสียง ตัวอย่างคำ ความหมาย
/k/ กฺ กิ้งก่า
อะลี่ หมู
/kʰ/ ค็อง ข้อง
/ŋ/ ง่วาจ ดื่ม
มะนา ตะวัน
/c/ จิม็ นก
ซะมู มด
/cʰ/ อึญแช็ เชือก
/s/ ซียะ ปลา
/ɲ/ ญัาด แย้
กะแซ็ งู
/d/ บ้าน
/t/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย) เปรี่ย กล้วย
/t/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น) อง ไม้หนีบฟ่อนข้าว
/tʰ/ แก่
/n/ ปลาไหล
อึมแป แมลงแคง
/b/ บุ กระบุง
/p/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย) ระฮี ตะขาบ
/p/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น) ปี เต่า
/pʰ/ วก แดด
/f/ ฟฟ ไฟฟ้า
/m/ มั่ นัยน์ตา
ระแด แมงป่อง
/j/ ทองคำ
อึนตร่ว ไก่
/r/ ร่ คันไถ
เตี่ย จักจั่น
/l/ ลี่ยม เคียว
ตะปั ครกกระเดื่อง
/w/ วั่ วัด
อะตา อ้อย
/ʔ/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น
หรือเมื่อเป็นพยัญชนะท้ายควบ)
อุยฮ์ ไฟ
กะนอยอ์ ตะขอ
/h/ อง ต่อ (แมลง)
อะแซ็ ม้า
ปะนุยฮ์ ไม้กวาด
ไม่มีรูป /ʔ/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย
และตามหลังสระเสียงสั้น)
ติ ที่
เดฺอะ น้ำ
  • พยัญชนะ และ เมื่อเป็นส่วนหนึ่งของพยัญชนะท้ายควบ
    จะใส่ทัณฑฆาตกำกับไว้
  • พยางค์นาสิก /m̩/, /n̩/, /ɲ̩/ และ /ŋ̩/ เขียนแทนด้วยรูป
    อึม, อึน, อึญ และ อึง ตามลำดับ
สระ
อักษรไทย เสียง ตัวอย่างคำ ความหมาย
–ะ /a/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย
และอยู่ในคำหลายพยางค์
หรือเมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/)
ไซ อิ่ม
เฮฺิก็ลเฮฺิย เผอเรอ
ทำ
–ั /a/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย
ที่ไม่ใช่ /ʔ/, /j/, /w/)
วั่ เกลียดชัง
กะนั ค่ำ, มืด
–า /aː/ ไหม้
–ิ /i/ ติ กลัดกระดุม
–ี /iː/ คี ลืม
–ึ /ɯ/ ตะยึ่ ยืน
–ือ /ɯː/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) อะอือ อุ้ม, ถือ
–ื /ɯː/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย) ตื่ยฮะ หรือเปล่า
–ุ /u/ รุ่ หลุม
–ู /uː/ บู เมา
เ–ะ /e/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) ป่ ขี่หลัง
เ–็ /e/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) ร็่ ทำให้แหลก
เ– /eː/ ม่น ใช่
แ–ะ /ɛ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) หยุด
แ–็ /ɛ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) ระแน็ ไม้สอยผลไม้
แ– /ɛː/ ไนลวอ์ นี้แหละ
โ–ะ /o/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) ต่ หลบซ่อน
โ–ะ (ลดรูป) /o/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) ป่ง มัน, เผือก
โ– /oː/ อะก่ (จมูก) โด่ง
โ–ฺะ /ɔ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) โอฺะ กระเพาะไก่
โ–ฺะ (ลดรูป) /ɔ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) ตฺกฺ ตั๊กแตนตำข้าว
โ–ฺ /ɔː/ ละโกฺ หมอน
เ–าะ /ɑ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) าะ ปู่
–็อ /ɑ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) ป็อ กระโดดลง
–อ /ɑː/ ต้อนวัวควาย
เ–อะ /ə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) ต่อะ ถึง
เ–ิ–็ /ə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) เดิม็ ล้ม
เ–อ /əː/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) ล่ เล่น
เ–ิ /əː/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย) เปิ่ กระทะ
เ–ฺอะ /ʌ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) เอฺอะ อดอยาก
เ–ฺิ–็ /ʌ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) เซฺิง็ ได้ยิน
เ–ฺอ /ʌː/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) ลฺอ หัว
เ–ฺิ /ʌː/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย) ลฺิ เกิน
ไ– /aj/ อะ พวกเขา
เ–า /aw/ หลาน
เ–ียะ /iə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) รี่ยะ เห็ด
เ–ีย /iə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) รี่ย หั่น, ซอย
–ียะ /ia/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) อึมปี่ยะ พ่อ
–ียา /ia/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย
หรือเมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น)
รี่ยา เอาใจใส่
รี่ยา เหียง
เ–ือะ /ɯə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/)
ไม่พบตัวอย่าง
เ–ือ /ɯə/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย
หรือเมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น)
เลื่อ เลื่อย (กริยา)
ปะเจือ ขยี้
–ัวะ /uə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) ตะลั่วะ จิ้งเหลน
–ัว /uə/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) ซะญัว จั่วบ้าน
–ว– /uə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) กร่ หมู่บ้าน, เมือง
–วะ /ua/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) อึงก่วะ ผม, ฉัน
–วา /ua/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย
หรือเมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น)
ละอวา กว้าง
กร่วา รั้ว
  • เสียงสระบางเสียงจะเขียนแทนด้วยรูปสระไทยที่ออกเสียงใกล้เคียงกัน
    และใส่พินทุ () กำกับไว้ข้างใต้เพื่อแสดงเสียงที่ต่างออกไป ในกรณี
    ที่เป็นพยัญชนะต้นควบ จะใส่พินทุไว้ใต้พยัญชนะตัวที่สอง เช่น โทรฺ
    มีพยัญชนะต้นควบคือ ทร ส่วน ละโกฺล มีพยัญชนะต้นเดี่ยวคือ
    และพยัญชนะท้ายคือ
  • รูปสระสั้นที่มีเครื่องหมาย –็ จะใส่ –็ ไว้เหนือพยัญชนะต้นเดี่ยวหรือ
    พยัญชนะต้นควบตัวที่สอง เช่น ต็อก, แกล็ ในกรณีที่เป็นสระ เ–ิ–็
    และ เ–ฺิ–็ จะเลื่อน –็ ไปไว้เหนือพยัญชนะถัดไป เนื่องจากชนกับ
    รูปสระบน (–ิ) เช่น เดิก็, เกลฺิก็
ลักษณะน้ำเสียง
อักษรไทย ลักษณะ
น้ำเสียง
ตัวอย่างคำ ความหมาย
ไม่มีรูป ปกติ ปึฮ เปิด
แป็ญ ยิง
ซังกะซี สังกะสี
ตะแบลปล็อง ตะไคร้
–่ ทุ้มต่ำ ปึ่ ฝั่งน้ำ
ป็่ เต็ม
ล่วาจ ยางนา
ตะรี่ยาบตี่ยาบตี่ยา คราดกวาดปุ๋ยคอก
  • เครื่องหมายแสดงลักษณะน้ำเสียงทุ้มต่ำจะปรากฏเหนือ
    พยัญชนะต้นเดี่ยวหรือพยัญชนะต้นควบตัวสุดท้าย เช่น
    วี่, ล็่อฮ, อึนโตร่, ร่วง ในกรณีที่เป็นสระประสม
    –วะ หรือ –วา เครื่องหมายนี้จะปรากฏเหนือพยัญชนะ
    ที่อยู่ข้างหน้า โดยถือว่า เป็นส่วนหนึ่งของรูปสระ
    ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของรูปพยัญชนะต้นควบอย่างในอักขรวิธี
    ภาษาไทย เช่น อึงก่วะ, มะก่วาง, อะล่วาย, ร่วาง

อ้างอิง

แก้
  1. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2565). คู่มือระบบเขียนภาษาโทรฺอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 26.
  2. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2565). คู่มือระบบเขียนภาษาโทรฺอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 30.
  3. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2565). คู่มือระบบเขียนภาษาโทรฺอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 31.
  4. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2565). คู่มือระบบเขียนภาษาโทรฺอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 32.
  • Gordon, Raymond G., Jr. (ed.), (2005). Ethnologue: Languages of the World, Fifteenth edition. Dallas, Tex.: SIL International. Online version: http://www.ethnologue.com/.