ฟรีดริช ชิลเลอร์

โยฮัน คริสท็อฟ ฟรีดริช ฟ็อน ชิลเลอร์ (เยอรมัน: Johann Christoph Friedrich von Schiller) เป็นกวี นักเขียนบทละคร นักเขียน นักประวัติศาสตร์ นักการแพทย์ และนักปรัชญาชาวเยอรมัน หลัง ค.ศ. 1788 ชิลเลอร์ได้เป็นเพื่อนสนิทกับโยฮัน ว็อล์ฟกัง ฟ็อน เกอเทอ นักปรัชญาชื่อดัง ทั้งคู่มักจะพบปะถกเถียงเรื่องสุนทรียศาสตร์อยู่เสมอ ชิลเลอร์ยังเป็นคอยผลักดันให้เกอเทอทำงานหลายอย่างที่คั่งค้างจนแล้วเสร็จ คนในยุคปัจจุบันเรียกความสัมพันธ์และข้อถกเถียงของทั้งคู่ว่าคตินิยมคลาสสิกไวมาร์ (Weimar Classicism) ชิลเลอร์ยังเป็นผู้แต่งโคลงกลอนเยอรมันที่ชื่อปีติศังสกานท์ ซึ่งถูกนำไปดัดแปลงเป็นบทเพลงซิมโฟนีหมายเลข 9 ของลูทวิช ฟัน เบทโฮเฟิน

ฟรีดริช ชิลเลอร์
Friedrich Schiller
เกิดโยฮัน คริสท็อฟ ฟรีดริช ชิลเลอร์
10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1759(1759-11-10)
มาร์บัคอัมเน็คคาร์ ดัชชีเวือร์ทเทิมแบร์ค
จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
เสียชีวิต9 พฤษภาคม ค.ศ. 1805(1805-05-09) (45 ปี)
ไวมาร์ ดัชชีซัคเซิน-ไวมาร์
จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
อาชีพกวี, นักเขียนบทละคร, นักเขียน, นักประวัติศาสตร์, นักปรัชญา
สัญชาติเยอรมัน
แนวร่วมในทางวรรณคดีชตวร์มอุนท์ดรัง, สำนักคลาสสิกไวมาร์
ผลงานที่สำคัญ
คู่สมรสชาร์ล็อทเทอ ฟ็อน เล็งเงอเฟ็ลท์
บุตร4 คน
ญาติJohann Kaspar Schiller [de] (พ่อ), Elisabeth Dorothea Schiller [de], born Kodweiß (แม่), Christophine Reinwald (sister)

ลายมือชื่อ

งานนิพนธ์ของชิลเลอร์มีลักษณะเด่นชัดในแง่ว่าไม่มีงานจำพวกโคลงรักอ่อนหวาน หรือโคลงที่แสดงความรู้สึก ความอ่อนไหวในอารมณ์ของเดี่ยวบุคคล ชิลเลอร์เขียนแต่งานที่เกี่ยวข้องกับมวลชนส่วนรวม มีภาษาและรูปแบบที่สง่าจริงจัง เนื้อหาเกี่ยวกับความคิด (Gedankenlyrik) แสดงอุดมคติสูงส่ง ต้องการเสนอคุณธรรม ความดีงามที่จะจรรโลงสังคมและมนุษย์โลกให้อยู่ด้วยกันอย่างสุขสันติ มีเกียรติ และมีเสรีภาพ[1]

ประวัติ

แก้
 
อนุสาวรีย์เกอเทอ-ชิลเลอร์ เมืองไวมาร์ ประเทศเยอรมนี

ฟรีดริช ชิลเลอร์ เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1759 ในเมืองชนบทมาร์บัค แคว้นเวือร์ทเทิมแบร์ค เป็นลูกชายเพียงคนเดียวของแพทย์ทหาร ดร.โยฮัน คัสพาร์ ชิลเลอร์ (Johann Kaspar Schiller) กับนางเอลีซาเบ็ท โดโรเทอา ค็อดไวส์ (Elisabeth Dorothea Kodweiß) ส่วนบุตรอีก 5 คนเป็นลูกสาว ชิลเลอร์เติบโตมาในครอบครัวเคร่งศาสนา ตอนเด็กเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล การศึกษาคัมภีร์ทำให้เขาเริ่มสนใจการเขียนบทละคร[2] ช่วงที่ฟรีดริชเกิดเป็นช่วงที่บิดาติดราชการในสงครามเจ็ดปี บิดาของเขาตั้งชื่อลูกชายคนนี้ตามนามของพระเจ้าฟรีดริชมหาราช แต่แทบทุกคนเรียกเขาสั้น ๆ ว่าฟริทซ์ (Fritz)[3]

ดร.คัสพาร์ผู้เป็นบิดาแทบจะไม่ได้อยู่ติดบ้านในช่วงสงคราม ถึงกระนั้นเขาก็พยายามปลีกตัวมาเยี่ยมครอบครัวเสมอ[4] เมื่อสงครามสิ้นสุดใน ค.ศ. 1763 ดร.คัสพาร์ได้รับคำสั่งไปประจำการอยู่ที่เมืองชเวบิชกมึนท์ ทำให้ครอบครัวต้องย้ายบ้านตามไปที่นั่น แต่เนื่องจากปัญหาด้านค่าครองชีพ ทำให้ครอบครัวเลือกจะลงหลักปักฐานที่เมืองลอร์ช (Lorch) เมืองเล็ก ๆ ใกล้เคียงแทน[5]

แม้ครอบครัวจะมีความสุขดีที่ลอร์ช แต่��ร.คัสพาร์กลับทำงานอย่างไม่มีความสุขที่นั่น ชิลเลอร์ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานในลอร์ช แต่คุณภาพการศึกษาที่นั่นแย่มาก ฟรีดริชกับพี่สาวจึงมักจะโดดเรียนเป็นประจำ[6] ครอบครัวชิลเลอร์ต้องการให้ฟรีดริชบวชเป็นพระ จึงฝากฝังบาทหลวงคนหนึ่งให้สอนภาษาละตินและกรีกให้เขา ฟรีดริชในวัยเด็กดูจะตื่นเต้นกับการเป็นนักบวชมาก เขามักเอาผ้าคลุมสีดำมาตัวแล้วเล่นเป็นนักบวชตามประสาเด็ก[7]

ในปีค.ศ. 1766 ครอบครัวชิลเลอร์ย้ายไปยังเมืองลูทวิชส์บวร์ค เมืองหลวงของดัชชีเวือร์ทเทิมแบร์ค เนื่องจากดร.คัสพาร์ไม่ได้รับเงินเดือนมาสามปีแล้ว ที่ผ่านมาพวกเขาอยู่ได้ด้วยเงินเก็บซึ่งบัดนี้แทบจะไม่เหลือ ดร.คัสพาร์ได้รับการบรรจุเป็นแพทย์ทหารในกองทหารรักษาการณ์ของลูทวิชส์บวร์ค[8]

เด็กชายชิลเลอร์เป็นที่สะดุดตาของดยุกแห่งเวือร์ทเทิมแบร์ค เขาถูกส่งตัวเขาเข้าเรียนโรงเรียนทหารของดยุก และได้เรียนวิชาแพทย์ที่นั่น เนื่องจากฟรีดริชมักป่วยออด ๆ แอด ๆ เสมอจึงหวังจะนำวิชาแพทย์มารักษาตัวเอง ที่โรงเรียนทหาร ชิลเลอร์มีโอกาสได้อ่านหนังสือของรูโซและเกอเทอ และเริ่มพูดคุยเรื่องอุดมคติคลาสสิกกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน เขาเขียนบทละครเรื่อง จอมโจร (Die Räuber) เนื้อเรื่องเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างพี่น้องชนชั้นสูงสองคน คนพี่เป็นแกนนำนักเรียนกลุ่มกบฏไปจัดตั้งกองกำลังในป่าโบฮีเมียและกลายเป็นกองโจรคุณธรรมอย่างโรบินฮูด ส่วนคนน้องซึ่งสืบทอดยศตระกูลเป็นฝ่ายปฏิวัติหัวสาธารณรัฐนิยมที่ต้องการแก้ไขความเสื่อมทรามทางสังคม บทละครนี้ทำให้เขากลายเป็นดาวเด่นขึ้นมา[9]

ใน ค.ศ. 1780 เขาได้รับบรรจุเป็นแพทย์ทหารในเมืองชตุทท์การ์ทซึ่งเป็นงานที่เขาไม่ชอบเอาเสียเลย ชิลเลอร์หนีออกจากกรมทหารเพื่อไปแสดงละคร จอมโจร ในเมืองมันไฮม์ นั่นทำให้เขาถูกจับกุมตัวและขังคุกเป็นเวลาสองสัปดาห์ ดยุกแห่งเวือร์ทเทิมแบร์คยังได้สั่งห้ามเขาตีพิมพ์งานประพันธ์ใด ๆ อีกในอนาคต[10]

เขาหนีออกจากชตุทท์การ์ทใน ค.ศ. 1782 และเดินทางผ่านฟรังค์ฟวร์ท, มันไฮม์, ไลพ์ซิช, เดรสเดิน จนถึงไวมาร์ ฐานะทางการเงินของชิลเลอร์ไม่ค่อยสู้ดีนักจนต้องขอความช่วยเหลือจากครอบครัวรวมถึงจากสตรีแต่งงานแล้วคนหนึ่ง[11] ชิลเลอร์ตัดสินใจลงหลักปักฐานที่ไวมาร์ใน ค.ศ. 1787 แต่สองปีต่อมาได้งานเป็นอาจารย์ด้านประวัติศาสตร์และปรัชญาในเยนา ใน ค.ศ. 1803 เขาได้รับการประดับคำว่า ฟ็อน (von) ไว้ในนามสกุลเป็นเกียรติยศ[11]

อ้างอิง

แก้
  1. อำภา โอตระกูล. ร้อยกรองและร้อยแก้วในวรรณคดีเยอรมัน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537.
  2. Simons, John D (1990). "Frederich Schiller". Dictionary of Literary Biography, Volume 94: German Writers in the Age of Goethe: Sturm und Drang to Classicism. ISBN 9780810345744.
  3. Lahnstein 1984, p. 18.
  4. Lahnstein 1984, p. 20.
  5. Lahnstein 1984, pp. 20–21.
  6. Lahnstein 1984, p. 24.
  7. Lahnstein 1984, p. 25.
  8. Lahnstein 1984, p. 27.
  9. "Johann Anton Leisewitz", Encyclopædia Britannica
  10. "Friedrich Schiller biography". Studiocleo.com. สืบค้นเมื่อ 6 November 2013.
  11. 11.0 11.1 Friedrich Schiller, Encyclopædia Britannica, retrieved 17 March 2014