พระพรหมวชิโรดม (สุทัศน์ วรทสฺสี)

เจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร, รองแม่กองบาลีสนามหลวง

พระพรหมวชิโรดม ดร.,ป.ธ.๙ [1] นามเดิม สุทัศน์ ไชยะภา ฉายา วรทสฺสี ชาวจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ[2]ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะภาค 10, เจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร[3] แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร และรองแม่กองบาลีสนามหลวง

พระพรหมวชิโรดม

(สุทัศน์ วรทสฺสี)
ส่วนบุคคล
เกิด6 มีนาคม พ.ศ. 2514 (53 ปี)
นิกายมหานิกาย
การศึกษานักธรรมเอก
เปรียญธรรม 9 ประโยค
• ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู
• พุทธศาสตรบัณฑิต
• ศึกษาศาสตรบัณฑิต
• ครุศาสตรมหาบัณฑิต
• อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
• ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
• ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์เชิดชูเกียรติคุณ
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
รางวัลรางวัลเสาเสมาธรรมจักร สาขาการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม (พ.ศ. 2559)
อุปสมบท21 มิถุนายน พ.ศ. 2535
พรรษา32 พรรษา
ตำแหน่งเจ้าคณะภาค 10
เจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร
• รองแม่กองบาลีสนามหลวง

ประวัติ

แก้

ชาติภูมิ

แก้

พระพรหมวชิโรดม[4]นามเดิมชื่อ สุทัศน์ ไชยะภา เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2514 บิดาชื่อ นายสา ไชยะภา มารดาชื่อ นางจันทร์ ไชยะภา ภูมิลำเนาเดิม ณ บ้านเลขที่ 152 บ้านราษฎร์นิยม ตำบลโคกตูม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

การบรรพชา และอุปสมบท

แก้

เมื่อจบประถมศึกษาปีที่ 6 แล้วก็ได้บรรพชาครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2527 โดยมีพระครูวิบูลวุฒิคุณ (ฉลัน) อดีตเจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวงและรองเจ้าคณะอำเภอนางรอง เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านจึงเข้าศึกษานักธรรมตรีที่สำนักศาสนศึกษาแห่งนี้ จากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อนักธรรมโท-เอก และบาลี ณ วัดกลาง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้การปกครองของ พระมงคลวชิรธาดา (บัณฑร ชินวํโส)[5] [6](น.ธ.เอก,อภิธรรมบัณฑิต) เจ้าคณะอำเภอนางรอง(สมัยนั้น) เมื่อสอบประโยค ป.ธ.๔ ได้แล้ว พระมงคลวชิรธาดา (บัณฑร ชินวํโส,น.ธ.เอก,อภิธรรมบัณฑิต) จึงนำมาฝากพระราชเมธี (วรวิทย์) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ รองเจ้าคณะภาค 10 และเจ้าคณะ 8 ขณะนั้น เพื่อเข้าศึกษาต่อ ท่านมีวิริยะอุตสาหะในการศึกษาอย่างยวดยิ่งสามารถสอบผ่านชั้นประโยค ป.ธ.๕ ถึง ป.ธ.๙ โดยไม่สอบตกเลย    ธรรมเนียมวัดมหาธาตุนั้น เมื่อมีสามเณรนวกะเข้ามาอยู่อาศัยแต่ละปี จะต้องผ่านการอบรมกรรมฐาน การอบรมขนบธรรมเนียมประเพณีของวัดมหาธาตุ และบรรพชาใหม่ ท่านจึงได้บรรพชาอีกครั้ง เมื่อวันที่ 4 เดือนกรกฎาคม  พ.ศ. 2533 ณ พระอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหา���คร โดยมี พระเดชพระคุณพระสุเมธาธิบดี (บุญเลิศ ทตฺตสุทฺธิ), ป.ธ.๘ อดีตเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ อดีตเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม เป็นพระอุปัชฌาย์

เมื่อสอบไล่ได้เปรียญธรรม 6 ประโยค พออายุครบอุปสมบท ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2535 ณ อุโบสถวัดกลาง ตำบลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีพระพรหมกวี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ) อดีตเจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยาราม, อดีตเจ้าคณะภาค10 อดีตหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 6 ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระราชเมธี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร รองเจ้าคณะภาค 10 เป็นพระอุปัชฌาย์ และมีพระธรรมวชิรสุตาภรณ์ (สุพจน์ โชติญาโณ) เจ้าอาวาสวัดกลาง (พระอารามหลวง) ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์, และเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระครูธีรคุณาธาร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ มีพระมงคลวชิรธาดา (บัณฑร ชินวํโส) เจ้าอาวาสวัดกลาง ตำบลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ และที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอนางรอง ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูพิทักษ์ชินวงศ์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาจากพระอุปัชฌาย์นามว่า" วรทสฺสี "

อุปสมบทแล้ว ก็ศึกษาต่อจนจบ ป.ธ.๙ ที่สำนักเรียนวัดมหาธาตุก็ได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี-ปริญญาโท และปฏิบัติหน้าที่ครูสอนในมหาธาตุวิทยาลัยจนถึงปีพุทธศักราช 2540 จึงได้เป็นพระอนุจรติดตามพระเทพปริยัติสุธี (วรวิทย์) ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ไปอยู่วัดโมลีโลกยาราม นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในระยะแรกทำหน้าที่เป็นรองอาจารย์ใหญ่(พ.ศ. 2541-2543) และอาจารย์ใหญ่ (พ.ศ. 2544-ปัจจุบัน) ตามลำดับ ช่วยพระอุปัชฌาย์สอนบาลีและนักธรรมและบูรณปฏิสังขรณ์วัดโมลีโลกยารามตามความสามารถ จนทำให้สำนักเรียนวัดโมลีโลกยารามภายใต้การนำของพระเทพปริยัติสุธี (วรวิทย์) ทะยานขึ้นสู่ อันดับ 1 ของประเทศ ในปัจจุบันนอกจากจะทำงานบริหารการศึกษาของสำนักเรียนแล้ว ท่านยังได้ศึกษาต่อจนจบระดับปริญญาเอกอีกด้วย

วุฒิการศึกษา

แก้

งานปกครองบริหารกิจการคณะสงฆ์

แก้
  • พ.ศ. 2544 เป็น พระกรรมวาจาจารย์
  • พ.ศ. 2545 เป็น ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร
  • พ.ศ. 2554 เป็น ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร
  • พ.ศ. 2555 เป็น เจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร
  • พ.ศ. 2557 เป็น พระอุปัชฌาย์ (วิสามัญ)
  • พ.ศ. 2557 เป็น เจ้าคณะเขตบางกอกใหญ่
  • พ.ศ. 2557 เป็น รองเจ้าคณะภาค 9
  • พ.ศ. 2564 เป็น เจ้าคณะภาค 10[7]

งานด้านการศึกษา

แก้
  • พ.ศ. 2537 เป็น กรรมการตรวจประโยคธรรมสนามหลวง
  • พ.ศ. 2539 เป็น กรรมการตรวจประโยคบาลีสนามหลวง
  • พ.ศ. 2540 เป็น หัวหน้าศูนย์สังฆศาสน์ธำรง ตำบลนนทรี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นศูนย์การศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลีของสำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม
  • พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2543 เป็น รองอาจารย์ใหญ่ สำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม
  • พ.ศ. 2544 เป็น อาจารย์ใหญ่ สำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม
  • พ.ศ. 2552 เป็น ผู้นำประโยคบาลีไปเปิดสอบ ณ หน่วยสอบวัดมหาพุทธาราม (พระอารามหลวง) จังหวัดศรีสะเกษ
  • พ.ศ. 2552 เป็น พระวิทยากรประจำ บรรยายถวายความรู้ เรื่อง “การศาสนศึกษา” แก่พระสังฆาธิการระดับเจ้าคณะตำบล และเจ้าอาวาสตั้งใหม่ทั่วประเทศ รวมปีละ 5 รุ่น ณ สถาบันพระสังฆาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2553 เป็น ผู้นำประโยคบาลีไปเปิดสอบ ณ หน่วยสอบวัดมหาธาตุ จังหวัดยโสธร
  • พ.ศ. 2553 เป็น คณะกรรมการอำนวยการในการสอบธรรมสนามหลวงประจำปี ณ สนามสอบวัดราชสิทธาราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
  • พ.ศ. 2554 เป็น ผู้อำนวยการศูนย์สังฆศาสน์ธำรง ตำบลนนทรี อำเภอกบินทร์บุรีจังหวัดปราจีนบุรี
  • พ.ศ. 2554 เป็น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฝ่ายวิชาการสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง
  • พ.ศ. 2554 -พ.ศ. 2555 เป็น คณะกรรมการอำนวยการในการสอบบาลีสนามหลวงประจำปี ณ สนามสอบวัดราชสิทธาราม เ��ตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
  • พ.ศ. 2554 เป็น คณะทำงานยกร่างข้อสอบธรรมศึกษา วิชาวินัย
  • พ.ศ. 2555 เป็น ผู้แทนแม่กองธรรมสนามหลวง นำข้อสอบธรรมศึกษาไปเปิดสอบ ณ วัดวชิรธรรมปทีป มลรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2555 เป็น ผู้อำนวยการศูนย์มหาบาลีวิชชาลัย ซึ่งเป็นศูนย์ศึกษาภาษาบาลีสำหรับฆราวาสทั่วไป
  • พ.ศ. 2555 เป็น วิทยากรบรรยายถวายความรู้ด้านการบริหารการศึกษาบาลีแก่ครูบาลี และเจ้าสำนักเรียน-เจ้าสำนักศาสนศึกษาทั่วประเทศ โดยกองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติร่วมกับสำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง
  • พ.ศ. 2555 เป็น วิทยากรบรรยายถวายความรู้วิชา “บาลีไวยากรณ์” แก่ครูสอนบาลีทั่วประเทศ โดยกองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติร่วมกับสำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง ณ วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
  • พ.ศ. 2555 เป็น คณะกรรมการพิจารณากำหนดเกณฑ์การคัดเลือกครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกบาลีดีเด่นประจำปี
  • พ.ศ. 2556 เป็น กรรมการควบคุมห้องสอบบาลีสนามหลวง ประจำปี ณ สนามสอบวัดกัลยาณมิตร เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
  • พ.ศ. 2565 เป็น รองแม่กองบาลีสนามหลวง ประจำหนตะวันออก
  • พ.ศ. 2565 เป็น ที่ปรึกษาคณะกรรมการประจำวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด[8]มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ผลงานเชิงประจักษ์

แก้
  • เป็นผู้บริหารสำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม จนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน กล่าวคือ มีพระภิกษุสามเณรสอบพระปริยัติธรรมแผนกบาลีได้เป็นอันดับ ๑ ของกรุงเทพมหานคร และเป็นอันดับ ๑ ของประเทศติดต่อหลายปี ดังนี้

๑. มีผลสอบพระปริยัติธรรมแผนกบาลีได้อันดับที่ ๑ ของสำนักเรียนในกรุงเทพมหานครติดต่อกัน คือ พ.ศ. ๒๕๕๐, ๒๕๕๒, ๒๕๕๓, ๒๕๕๔, ๒๕๕๕, ๒๕๕๖, ๒๕๕๗, ๒๕๕๘, ๒๕๕๙, ๒๕๖๐, ๒๕๖๑, ๒๕๖๒, ๒๕๖๓, ๒๕๖๔, ๒๕๖๕, ๒๕๖๖, ๒๕๖๗

๒. มีผลสอบพระปริยัติธรรมแผนกบาลีได้อันดับที่ ๑ ของประเทศติดต่อกัน คือ พ.ศ. ๒๕๕๙, ๒๕๖๐, ๒๕๖๑, ๒๕๖๒, ๒๕๖๓, ๒๕๖๔ , ๒๕๖๕ , ๒๕๖๖ , ๒๕๖๗

ผลงานการแต่งตำรา

แก้
  • เคล็ดลับวิชาสัมพันธ์ไทย ชั้นประโยค ป.ธ.3 (พ.ศ. 2538)
  • ธรรมศึกษาชั้นตรี ฉบับปรับปรุงตามหลักสูตรใหม่
  • ปัญหาและเฉลยบาลีสนามหลวงชั้นเปรียญเอก (พ.ศ. 2549)
  • หลักสูตรบาลีไวยากรณ์และหลักสัมพันธ์
  • เบญจศีลเบญจธรรม อุดมชีวิตของมนุษย์
  • คู่มือคู่ใจพระคาถาธรรมบท
  • พระธัมมปทัฏฐกถา แปลโดยพยัญชนะภาค1 - ภาค4
  • พระธัมมปทัฏฐกถา แปลโดยพยัญชนะ ภาค5 - ภาค8

รางวัลเกียรติคุณ

แก้

ศาสนกิจพิเศษ

แก้

สมณศักดิ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. https://www.khaosod.co.th/newspaper-column/amulets/news_4619704
  2. chanhena, Bandit. "สถาปนาสมณศักดิ์ "พระธรรมราชานุวัตร" ขึ้นรองสมเด็จฯที่ "พระพรหมวชิโรดม"". เดลินิวส์.
  3. https://www.watmoli.org/index.php?url=about&code=admin&cat=A
  4. https://www.matichon.co.th/court-news/news_2612215
  5. ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการประกาศพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์,เล่ม 141,ตอนที่ 38 ข, 3 กรกฎาคม 2567,หน้า4.ลำดับที่ 22. พระครูพิทักษ์ชินวงศ์ วัดกลาง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ มีนามว่า พระมงคลวชิรธาดา
  6. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์,เล่ม 100,ตอนที่ 207 , 31 ธันวาคม 2526,ฉบับพิเศษ หน้า 32 . เจ้าอธิการบัณฑร วัดกลาง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็น พระครูพิทักษ์ชินวงศ์
  7. https://www.navy.mi.th/index.php/main/detail/content_id/20276
  8. http://roiet.mcu.ac.th/?page_id=2190
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๒๖, ตอนที่ ๖ ข, ๒๒ เมษายน ๒๕๕๒, หน้า ๗
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๓๑, ตอนที่ ๒๐ ข, ๒๖ กันยายน ๒๕๕๗, หน้า ๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๓๓, ตอนที่ ๒๒ ข, ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๙, หน้า ๓
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๓๗, ตอนที่ ๒๐ ข, ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓, หน้า ๐๑
  13. ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการประกาศสถาปนาสมณศักดิ์,เล่ม 141,ตอนที่ 17ข,หน้า 1, 8 พฤษภาคม 2567

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้