พระคัมภีร์คนยาก
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
พระคัมภีร์คนยาก (อังกฤษ: Poor Man's Bible) คำว่า “พระคัมภีร์คนยาก” ในปัจจุบันหมายถึงงานศิลปะภายในคริสต์ศาสนสถานที่อาจจะเป็นงานชิ้นเดียวหรืองานชุดที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนสาระของคัมภีร์ไบเบิลต่อประชากรส่วนใหญ่ที่ไร้การศึกษา ศิลปะ “พระคัมภีร์คนยาก” อาจจะเป็นงานประติมากรรม งานแกะสลัก จิตรกรรม งานโมเสก หรือหน้าต่างประดับกระจกสี ในโบสถ์บางแห่งหน้าต่างบานเดียวก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็น “พระคัมภีร์คนยาก” ขณะที่ในโบสถ์อื่นทั้งโบสถ์อาจจะตกแต่งด้วยบทบรรยายพระคัมภีร์ไบเบิลอันซับซ้อนภายใต้หัวใจของเรื่องที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน[1]
ที่มา
แก้พระคัมภีร์ภาพ
แก้“พระคัมภีร์คนยาก” มิใช่งานเดียวกับงานที่เรียกกันว่า “บิเบลียเพาเพรุม” (Biblia Pauperum หรือ “พระคัมภีร์สำหรับคนจน”) ซึ่งเป็นคัมภีร์ไบเบิลที่เป็นสิ่งพิมพ์ประกอบภาพที่อาจจะออกมาในรูปของเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร หรือ หนังสือภาพพิมพ์แกะไม้ก็ได้ หนังสือพระคัมภีร์ภาพสีวิจิตรเป็นงานที่มีราคาสูงเกินกว่าที่ผู้ยากจนสามารถเป็นเจ้าของได้ แต่ถ้าเป็นงานที่พิมพ์จากบล็อกไม้ก็มีราคาต่ำกว่ามากและอาจจะใช้เป็นตำราสำหรับสอนผู้ยากจน
ตามชื่อภาษาละตินจะแปลว่าพระคัมภีร์สำหรับคนจนแต่หนังสือพระคัมภีร์ภาพแต่ในสมัยแรกเป็นหนังสือที่สร้างขึ้นสำหรับผู้มีฐานะดี และงานแกะสลักและหน้าต่างประดับกระจกสีจะเป็นงานที่สร้างขึ้นเพื่อความรู้ความบันเทิงสำหรับผู้ที่เข้ามาในคริสต์ศาสนสถาน และงานทั้งสองประเภทนี้ต่างก็ครอบคลุมหัวเรื่องหรือเนื้อเรื่องเดียวกัน และถือว่าเป็น งานประเภทที่เรียกว่า “รูปเคารพ”
การเขียนงานจากแม่แบบ
แก้ในสมัยก่อนที่จะเกิดสิ่งพิมพ์ขึ้น การสืบทอดเรื่องราวจากหนังสือกระทำโดยการคัดลอกจากต้นฉบับซึ่งเป็นวิธีเดียวที่ใช้ในการอนุรักษ์บทงานเขียนคัมภี��์ไบเบิลและวรรณกรรมอื่น ๆ[2] นอกไปจากบทเขียนแล้วหนังสือคัดลอกเหล่านี้ก็มักจะมีความเห็นและภาพประกอบสอดแทรกด้วย ภาพที่ประกอบแม้ว่าจะเขียนโดยผู้มีความสามารถที่มีเอกลักษณ์และแนวเขียนทางด้านเทคนิคที่เป็นของตนเอง แต่ลักษณะรูปแบบของหัวเรื่องที่เขียนโดยทั่วไปแล้วมักจะเหมือนกันในรูปแบบของฉากเรื่องราวและองค์ประกอบอย่างเดียวกันที่เขียนซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพียงแต่ใช้มีเดียที่ต่างกันเท่านั้น
ตัวอย่างเช่นแม่บท (Motif) ที่เป็นภาพแกะหลายตัวที่ตัวหนึ่งจะยกเท้าขึ้นมาเกาหู ก็จะนิยมเขียนกันในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 ในเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร จิตรกรรมฝาผนัง หรือแผ่นงานสลักหรือภาพตัวแบบคู่ที่มีปีกที่พบบนโลงหินของโรมันโบราณก็นำมาใช้กันในศิลปะศาสนาคริสต์กันเสมอในการวาดภาพทูตสวรรค์เช่นในภาพสลักหินของพระเยซูกับทูตสวรรค์สององค์เหนือพระพาหาจากราวคริสต์ศตวรรษที่ 7 หรือ 8 ในสเปน[1] หรือ ในภาพพระเยซูทรงรับบัพติศมาวาดโดยปีเอโตร เปรูจีโน การสร้างภาพจากแม่แบบที่เดิมเป็นหนังสือวิจิตรมักจะพบในการสร้างหน้าต่างประดับกระจกสี ที่มักจะนำมาจาก “บิเบลียเพาเพรุม”
การถ่ายทอดความคิด
แก้ระหว่างการเดินทางไปยังดินแดนต่าง ๆ ในยุโรปไปจนถึงฮังการีราวระหว่างปี ค.ศ. 1220 ถึงปี ค.ศ. 1230 วีลาร์ เดอ ออนกูร์ นายช่างด้านการก่อสร้าง (Master-builder) จากพิคาร์ดในฝรั่งเศสก็ได้วาดภาพสถาปัตยกรรม, ภาพวิทยาศาสตร์ และ รูปแบบต่าง ๆ ที่ยังคงเหลือไว้เป็นสมุดภาพเอาไว้ ภาพวาดส่วนใหญ่เป็นภาพที่ไม่ใช่ภาพเขียนต้นฉบับ ที่ออนกูร์เขียนขึ้นจากสิ่งก่อสร้างและงานศิลปะที่พบเห็นระหว่างการเดินทาง การที่จะทำให้ภาพเหล่านี้มีประโยชน์ในการใช้สอยโดยผู้อื่น แต่ละภาพก็มีหมายเหตุประกอบที่เขียนอย่างละเอียดบรรจงโดยนักคัดอักษรวิจิตรและนำไปใส่รวมกันไว้ในกระเป๋าเอกสารที่เรียกว่า “portfolio” ซึ่งทำให้เราทราบถึงวิธีการถ่ายทอดรูปลักษณ์, ลวดลายการตกแต่ง และความคิดความอ่านจากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่ง
แม้ว่าชื่อของช่างสลักหิน, จิตรกร, นักเขียนเอกสารตัวเขียนวิจิตร และ นักสร้างงานกระจกสีส่วนใหญ่แล้วจะสูญหายไปแต่เราก็ยังสามารถที่จะติดตามความเคลื่อนไหวของศิลปินบางคนได้บ้าง เช่น
- วิลเลียมแห่งซองส์ ช่างสลักหิน, กล่าวกันว่าเป็นสถาปนิกที่ทำหน้าที่ก่อสร้างบริเวณร้องเพลงสวด (Choir) สำหรับมหาวิหารแคนเตอร์บรีในอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1174
- แม็ทธิว แพริส นักบันทึกประวัติศาสตร์ และ จิตรกรเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร จาก มหาวิหารเซนต์อัลบันไปยังสตรอนด์ไฮม์ในปี ค.ศ. 1248
- ปิแยร์แห่งอาแฌงกูร์ต ช่างสลักหิน ไปยังเนเปิลส์ในปี ค.ศ. 1270 [2] เก็บถาวร 2006-06-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ฮิวจ์ วิลเฟรด ช่างสลักหินจากลอนดอนไปทำงานที่อาวินย��งในปี ค.ศ. 1321 [3]
- แม็ทธิวแห่งอาร์ราส ช่างสลักหินจากอาวีญงไปทำงานที่ปรากในปี ค.ศ. 1344
- ยาน ฟาน เอค จิตรกรจาก Maeseyck ไปทำงานที่ลิสบอนในปี ค.ศ. 1428
- ฮวน เดอ โคโลเนีย ช่างสลักหินจากโคโลญไปทำงานที่เบอร์กอสในปี ค.ศ. 1442 [4]
- จอห์น โมโรว์ ช่างสลักหินจากปารีสไปทำงานที่แอบบีเมลโรสในปี ค.ศ. 1450 [5] เก็บถาวร 2006-08-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ฮูโก ฟาน เดอร์ โกส์ จิตรกรจากเก้นท์ไปทำงานที่ฟลอเรนซ์ในปี ค.ศ. 1475
- ไวท์ สโตสส์ ประติมากรจากเนิร์นแบร์กไปทำงานที่คราเคาว์ในปี ค.ศ. 1477
สื่อมวลชนและที่ตั้ง
แก้จิตรกรรมฝาผนัง
แก้จิตรกรรมฝาผนังคือภาพเขียนบนพื้นผิวที่ฉาบด้วยปูนพลาสเตอร์ คำว่าจิตรกรรมฝาผนังในภาษาอังกฤษ “mural” มาจากภาษาลาตินว่า “muralis” ซึ่งเป็นงานที่มีราคาต่ำกว่าเมื่อเทียบกับงานโมเสกหรืองานกระจกสี และเป็นงานที่มีอายุยืนยาวอยู่ได้นานถ้าอยู่ในสภาพดี แต่ง่ายต่อการเกิดความเสียหายถ้าถูกความชื้นและรอยด่างจากควันเทียน จิตรกรรมฝาผนังที่บรรยายเรื่องราวมักจะเขียนกันบนตอนบนของผนังตอนบนหรือบนเพดาน และตอนล่างก็อาจจะเขียนให้ดูเหมือนหินอ่อนหรือม่าน นอกจากบริเวณดังกล่าวแล้วก็ยังมีเขียนกันตามโค้ง, เพดานโค้ง และ โดม
จิตรกรรมฝาผนังเป็นงานศิลปะที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการตกแต่งในสิ่งก่อสร้างของโรมันโบราณ จิตรกรรมฝาผนังตกแต่งสิ่งก่อสร้างทางคริสต์ศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดพบในสุสานใต้ดินแห่งกรุงโรม ภาพที่วาดหลายภาพเป็นรูปเคารพของพระเยซูในรูปแบบ “ชุมพาบาลผู้ประเสริฐ” (Good Shepherd) ที่มักจะเป็นภาพของชายหนุ่มไม่มีเครา ที่มีแกะคล้องอยู่บนไหล่ อีกหัวข้อหนึ่งที่นิยมกันคือ “แม่พระและพระกุมาร”, “โยนาห์” ถูกโยนลงทะเล, และ “อาหารค่ำมื้อสุดท้าย” ภาพเขียนภาพหนึ่งที่ยังอยู่ในสภาพที่ดีมากอยู่ในสุสานอเรลลีที่เป็นภาพแรก ๆ ของพระเยซูที่กลายมาเป็นภาพที่เขียนโดยทั่วไป เป็นภาพชายชาวยิวมีหนวดสวมเสื้อคลุมยาว ภาพนี้เป็นภาพที่ทรงทำการเทศนาแก่ฝูงแกะและแพะไม่ใช่แก่กลุ่มชน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความเชื่อมั่น จิตรกรรมฝาผนังต่อมากลายมาเป็นงานศิลปะที่นิยมใช้ตกแต่งคริสต์ศาสนสถานโดยทั่วไป
หัวข้อเรื่องที่เขียนจากคัมภีร์ไบเบิลจะพบโดยทั่วไปในบริเวณต่าง ๆ ที่ประชากรนับถือคริสต์ศาสนาโดยทั่วไป ในโรมาเนียมีกลุ่มคริสต์ศาสนสถานที่ต่างจากคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ที่ตกแต่งด้วยจิตรกรรมฝาผนังทั้งภายนอกและภาพในโบสถ์กันอย่างอร่ามหรูหรา บนซุ้มโค้งใหญ่เป็นภาพ “การพิพากษาครั้งสุดท้าย”[6]
นอกจากนั้นแล้วจิตรกรรมฝาผนังก็ยังเป็นที่นิยมกันโดยทั่วไปในอิตาลีที่วาดโดยวิธีที่เรียกว่า “จิตรกรรมฝาผนังปูนสด” หรือ “fresco” ที่เขียนบนปูนพลาสเตอร์ที่เพิ่งฉาบเสร็จที่ยังมีความชื้นอยู่บ้าง งานเขียนชิ้นเอกหลายชิ้นจากสมัยยุคกลาง จนถึง ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยายังคงมีตัวอย่างให้เห็นในปัจจุบันอยู่หลายแห่ง ชิ้นที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดของการเขียนบรรยายเรื่องจากคัมภีร์ไบเบิลมิได้เป็นงานเขียนที่สร้างขึ้นสำหรับคนยากจนและเป็นงานเขียนสำหรับผู้มีอำนาจและมีฐานะดี คือ งานเขียนภาพบนเพดานโบสถ์น้อยซิสทีนโดยไมเคิล แอนเจโลระหว่าง ค.ศ. 1508 ถึง ค.ศ. 1512 สำหรับสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2
การเขียนจิตรกรรมฝาผนังเกิดขึ้นในฝรั่งเศสโดยเฉพาะทางตอนใต้ที่ผนังมักจะมีขนาดที่กว้างกว่าผนังที่สร้างกันทางตอนเหนือที่จะนิยมการสร้างหน้าต่างประดับกระจกสีมากกว่า ในอังกฤษจิตรกรรมฝาผนังมีเหลืออยู่เพียงไม่กี่ชิ้นเพราะถูกทำลายไปมากระหว่างการปฏิรูปศาสนา งานจิตรกรรมฝาผนังชั้นดีมีพบอยู่บ้างในเยอรมนีและสเปน
งานโมเสก
แก้งานโมเสกเป็นศิลปะตกแต่งบนพื้นราบโดยใช้ชิ้นหินหรือแก้วหลากสีฝังบนปูน งานโมเสกทองจะใช้การแปะแผ่นทองคำเปลวลงบนแผ่นกระจกใส และฝังด้านที่เป็นแผ่นทองคำเปลวลงบนปูน สีทองที่เห็นก็จะเป็นสีทองที่ลอดมาจากกระจกทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันการขีดข่วนหรือการร่อน การใช้โมเสกสีทองมักจะใช้ในการสร้างฉากหลังของตัวรูปแบบที่ทำให้ภาพดูสว่างเรือง การฝังโมเสกทำได้บนพื้นผิวที่ราบเท่ากันที่แบนหรือโค้งที่มักจะใช้ในการตกแต่งเพดานโค้งหรือโดม คริสต์ศาสนสถานที่ตกแต่งด้วยโมเสกแทบทั้งสถานจะดูเหมือนเป็นห้องที่อาบด้วยภาพและลวดลายไปทั้งห้อง
งานโมเสกเป็นการตกแต่งที่นิยมกันทั่วไปในจักรวรรดิโรมัน และเนื่องจากความคงทนของงานทำให้มีการนำไปใช้ในการตกแต่พื้นด้วย ที่เริ่มด้วยการตกแต่งด้วยกรวดชิ้นเล็ก ๆ หรือแผ่นกระเบื้องหินอ่อนชิ้นเล็ก ช่วงศาสนาคริสต์ยุคแรกก็จะนิยมการตกแต่งด้วยกระเบื้องกระจกบนผนังและเพดานโค้ง ตัวอย่างก็ได้แก่การตกแต่งเพดานโค้งที่มิได้เป็นเรื่องราวภายในที่เก็บศพซานตาคอแสตนซาในกรุงโรม ซึ่งเป็นที่เก็บพระศพของคอนสแตนตินาพระราชธิดาในจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 แต่ตัวอย่างที่ดีของการตกแต่งอันวิจิตรจากปลายสมัยโรมันก็เห็นจะเป็นการตกแต่งมุขโค้งด้านสกัดของโบสถ์ซานตาพูเดนเซียนาในกรุงโรม ส่วนการตกแต่งที่โบสถ์ซานตาพราสเซเดไม่ไกลนักเป็นการตกแต่งงานโมเสกแบบไบแซนไทน์
งานโมเสกเป็นการตกแต่งที่นิยมกันเป็นอันมากในสมัย ไบแซนไทน์ที่มักจะพบทั่วไปในกรีซ, ตุรกี, อิตาลี, ซิซิลี, รัสเซีย และอื่น ๆ ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็ได้มีการใช้โมเสกทองในการตกแต่งโดมของมหาวิหารเซนต์พอลในกรุงลอนดอนเป็นภาพ “กำเนิดมนุษย์”[7] เก็บถาวร 2009-09-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน แต่งานโมเสกเป็นงานที่หาดูได้ยากในบริเวณตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ในยุโรปตะวันตก นอกไปจากปรากและอาเคิน
งานสลักหิน
แก้-
“การประกาศของเทพ” (ซ้าย)
“การไปเยือนเอลิซาเบ็ธ” (ขวา)
มหาวิหารแร็งส์
ฝรั่งเศส -
รูปสลักภาพชุดชีวิตของ
นักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมา
มหาวิหารอาเมียง
ฝรั่งเศส -
รูปสลักบนฉากหิน
มหาวิหารซอลสบรี
อังกฤษ -
รูปสลักบนแท่นเทศน์
นิโคลา ปิซาโน
โบสถ์ซานอันเดรีย
อิตาลี
ประติมากรรมที่แกะจากหินเป็นงานศิลปะที่ถาวรที่สุดในการสร้างภาพ ความทนทานต่อสภาพภาวะอากาศทำให้เป็นวิธีที่ใช้ในการสร้างสิ่งตกแต่งประดับภายนอกคริสต์ศาสถานที่อาจจะเป็นทั้งรูปสลักลอยตัวหรือเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้าง หรือเป็นแผงภาพนูน รูปสลักที่ใช้ตกแต่งภายนอกสิ่งก่อสร้างที่คงอยู่อย่างไม่เสื่อมโทรมเท่าใดนักมาจนถึงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ก็มาถูกฝนกรดกัดกร่อนทำลายเสียหายไปมากอย่างรวดเร็ว แต่รูปสลักหินที่ใช้ตกแต่งภายในสิ่งก่อสร้างยังคงรักษารูปทรงไว้เป็นอย่างดีเช่นรูปสลักภาพชุดชีวิตของนักบุญยอห์นให้บัพติศมาภายในมหาวิหารอาเมียงในฝรั่งเศส หรือรูปสลักบนฉากหินที่มหาวิหารซอลสบรีในอังกฤษ
-
การตกแต่งด้านหน้าของ
มหาวิหารโนเทรอดามแห่งอาเมียงส์”
ฝรั่งเศส -
การตกแต่งด้านหน้าของ
มหาวิหารเอ็กซิเตอร์”
อังกฤษ -
การตกแต่งด้านหน้าของ
มหาวิหารเวลล์ส”
อังกฤษ -
หน้าบันโรมาเนสก์
คริสต์ศตวรรษที่ 12
แอบบีเวเซอเล
ฝรั่งเศส
ประติมากรรมสลักหินของคริสต์ศาสนามีพื้นฐานมาจากรูปสลักบนโลงหินของโรมันที่มักจะเป็นภาพสลักตกแต่ง โลงหินของคริสเตียนมักจะมีภาพตกแต่งที่เป็นแผงขนาดเล็กที่เป็นเรื่องราวหรือภาพพระเยซูบนบัลลังก์ล้อมรอบด้วยนักบุญ ในสมัยไบแซนไทน์ในอิตาลีการตกแต่งด้วยประติมากรรมนูนก็เริ่มนำไปใช้ในการตกแต่ง “คาเทดรา”, “แท่นเทศน์”, “ซุ้มชิโบเรียม” และสิ่งอื่น ๆ ภายในคริสต์ศาสนสถาน ประติมากรรมสลักหินบนเสามักจะเป็นประติมากรรมตกแต่งแทนที่จะเป็นการบรรยายเรื่องราว ประติมากรรมที่บรรยายเรื่องราวในยุโรปตะวันตกมารุ่งเรืองที่สุดในสมัยโรมาเนสก์ และ สมัยกอทิก โดยเฉพาะในการตกแต่งมุขด้านหน้าด้านตะวันตก (West Front) ของมหาวิหาร ที่แพร่ขยายไปทั่วยุโรป ในอังกฤษการตกแต่งสถาปัตยกรรมด้วยประติมากรรมสลักหินที่เป็นรูปลักษณ์ต่าง ๆ ที่เด่นที่สุดจะเป็นการตกแต่งฉากหินที่เป็นช่องเล็กช่องน้อยบนมุขด้านหน้าด้านตะวันตก แต่งานเหล่านี้ก็ถูกทำลายเสียหายไปมากระหว่างการปฏิรูปศาสนา
หน้าต่างประดับกระจกสี
แก้หน้าต่างประดับกระจกสีสร้างโดยการตัดกระจกสีเป็นชิ้นเล็กและนำมาประกอบเป็นภาพตามแม่แบบที่ร่างไว้โดยเชื่อมต่อกันด้วยตะกั่ว ภายในกรอบแข็งที่ทำด้วยโลหะ รายละเอียด เช่น รายละเอียดบนใบหน้าก็อาจจะใช้วิธีวาดบนผิวกระจก และย้อมด้วยสีเหลืองสดเพื่อทำให้บริเวณที่ขาวเด่นขึ้น ผลที่ออกมาก็จะเป็นภาพที่อร่ามตาด้วยสีสัน และเพิ่มความสว่างให้แก่บริเวณภายในของตัวโบสถ์ด้วย ขณะที่ตัวหน้าต่างประดับกระจกสีจะใช้เป็นการบรรยายเรื่องราว ถ้าตะกั่วที่ใช้ในการเชื่อมได้รับการรักษาไว้เป็นอย่างดีหน้าต่างก็จะคงทนอยู่ได้นานเป็นเวลาหลายร้อยปี
-
หน้าต่างประกาศก
มหาวิหารเอาก์สบูร์ก
เยอรมนี -
การพิพากษาครั้งสุดท้าย
โบสถ์เซนต์แมรี, แฟร์ฟอร์ด
อังกฤษ -
อาดัมและอีฟ
โบสถ์ที่เซนต์นีออท
คอร์นวอลล์, อังกฤษ
ในอิตาลีระหว่างสมัยไบแซนไทน์หน้าต่างมักจะปิดด้วยแผ่นอะลาบาสเทอร์บาง ๆ ที่แม้จะไม่เป็นรูปแต่ก็จะเป็นลวดลายเมื่อแสงส่องผ่าน งานอะลาบาสเทอร์ชิ้นที่เป็นรูปก็มีบ้างเช่นแผ่นอะลาบาสเทอร์ที่เป็นภาพพระวิญญาณบริสุทธิ์ภายในมหาวิหารนักบุญเปโตรในกรุงโรม [8] งานกระจกสีที่เป็นภาพแรกที่สุดเท่าที่ทราบเป็นภาพพระเศียรของพระเยซูขนาดเล็กที่บางชิ้นหลุดหายไปที่พบในคูไม่ไกลจากอารามลอร์ชที่เชื่อกันว่าสร้างมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 9 นอกจากนั้นก็มีแผ่นกระจกสีไม่มากนักจากคริสต์ศตวรรษที่ 10 และ 11 ที่ปัจจุบันเป็นของพิพิธภัณฑ์ แผ่นแรกที่สุดเป็นแผ่นกระจกสีสี่แผ่นของพระเจ้าเดวิดและประกาศกสามองค์ที่มหาวิหารเอาก์สบวร์คในเยอรมนีที่เชื่อกันว่าสร้างมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1100 หน้าต่างประดับกระจกสีเป็นงานศิลปะหลักของการตกแต่งมหาวิหารและคริสต์ศาสนสถานต่าง ๆ ในฝรั่งเศส, สเปน, อังกฤษ และ เยอรมนี ในอิตาลีก็มีอยู่บ้างแต่ไม่มากนักที่สำคัญคือหน้าต่างที่สร้างโดยดุชโชที่มหาวิหารซีเอนา และที่ฐานของโดมที่มหาวิหารฟลอเรนซ์ที่ออกแบบโดยศิลปินฟลอเรนซ์ของต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ที่รวมทั้งโดนาเทลโล, เพาโล อูเชลโล และ ลอเร็นโซ กิเ���อร์ติ[9] เก็บถาวร 2006-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
จิตรกรรมแผง
แก้จิตรกรรมแผงคืองานจิตรกรรมที่เขียน��นแผ่นไม้ ก่อนที่จะมีการเขียนด้วยสีน้ำมันที่ริเริ่มโดยศิลปินชั้นครูในเนเธอรแลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 จิตรกรรมแผงก็จะเขียนด้วยวิธีที่เรียกว่า “เทมเพอรา” โดยการผสมสีฝุ่นกับไข่แดง และเขียนลงบนพื้นขาว สีสันจะเกิดขึ้นจากชั้นสีต่าง ๆ ที่จิตรกรเขียนด้วยฝีแปรงสั้น ๆ รายละเอียดสุดท้ายก็มักจะตกแต่งด้วยทองคำเปลว เมื่อมีการเขียนภาพด้วยสีน้ำมันที่แพร่หลายไปทั่วยุโรป การเขียนภาพก็ทำได้ง่ายขึ้น และ จิตรกรก็สามารถเขียนที่มีขนาดใหญ่ขึ้นได้ด้วย
-
“ชะลอร่างจากกางเขน”
พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์
เบอซองซง, ฝรั่งเศส
ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 การเขียนด้วยวิธีที่ว่านี้ทำกันในอียิปต์ในการเขียน “ภาพเหมือนผู้ตาย” ซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่ในสภาพที่อยู่เป็นอันมาก จิตรกรรมแผงเทมเพอราเป็นศิลปะที่นิยมทำกันในสมัยไบแซนไทน์และเป็นวิธีที่นิยมในการเขียน “ไอคอน” การเขียนด้วยเทมเพอราเป็นวิธีการเขียนที่ต้องทำกันอย่างประณีตบรรจง ซึ่งทำให้ภาพที่เขียนมักจะมีขนาดเล็ก และมักนำมาติดกันเป็นแผงโดยการใช้บานพับที่เรียกว่า “บานพับภาพสอง” หรือ “บานพับภาพสาม” หรือ “บานพับภาพหลาย” (polyptych) ขึ้นอยู่กับจำนวนภาพบนบานพับ จิตรกรรมแผงที่ใช้เป็นฉากแท่นบูชายังคงมีเหลือให้เห็นอยู่โดยเฉพาะในอิตาลีที่รวมทั้งงานเขียนจากคริสต์ศตวรรษที่ 13 โดยศิลปินเช่นดุชโช, ชิมาบูเ��� และ จอตโต ดี บอนโดเน
เมื่อเทคนิคการเขียนภาพเปลี่ยนไปเป็นการเขียนด้วยสีน้ำมันจิตรกรรมแผงสีน้ำมันก็มาแทนที่จิตรกรรมแผงเทมเพอรา สีน้ำมันมีคุณสมบัติที่ทำให้สีดูอร่ามและลึกกว่าการเขียนด้วยสีฝุ่น ที่ทำให้ผิวภาพมีลักษณะที่เป็นธรรมชาติมากกว่า
งานสีน้ำมันบนผ้าใบ
แก้สีน้ำมันประกอบด้วยรงควัตถุผสมกับน้ำมันเมล็ดฝ้ายหรือน้ำมันชนิดอื่น ซึ่งเป็นวัสดุการเขียนที่ใช้เวลแห้งนาน ที่เป็นวิธีการเขียนที่ทำให้ศิลปินสามารถนำไปใช้ในการเขียนภาพแนวต่าง ๆ ได้ เช่น การเขียนบนแผงไม้แข็ง แต่เพราะความยืดหยุ่นของสีผสมทำให้ใช้เขียนบนผ้าใบที่ทำจากผ้าลินินเนื้อแน่นก็ได้ ทั้งน้ำมันเมล็ดฝ้ายและผ้าลินินจึงต่างก็เป็นผลิตผลของพืชชนิดเดียวกันที่ปลูกกันทางยุโรปตอนเหนือ การขึงผ้าใบบนกรอบสามารถทำให้สร้างภาพเขียนขนาดใหญ่ได้มากกว่าการเขียนบนแผ่นไม้ที่ทำกันมาแต่เดิม นอกจากนั้นน้ำหนักของภาพก็ยังเบากว่าและขนย้ายได้สะดวกกว่า แต่ง่ายต่อการได้รับความเสียหายระหว่างการขนย้ายมากกว่า
ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 จิตรกรรมสีน้ำมันจะเขียนกันอย่างปราณีตบรรจงเพื่อสร้างความราบมันและสว่างเรืองจากชั้นสีต่าง ๆ เพื่อเลียนแบบคุณสมบัติของการเขียนด้วยเทมเพอรา ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 การใช้สีน้ำมันเพิ่มความเป็นอิสระมากขึ้น และการใช้ฝีแปรงก็กว้างและหยาบขึ้นจนสามารถเห็นฝีแปรงแบบต่าง ๆ ได้
-
“การประกาศของเทพ”
ทิเชียน
โบสถ์ซานซาลวาดอร์แห่งเวนิส
เวนิส, อิตาลี -
“พระแม่มารีคาลเตลฟรังโค”
มหาวิหาร
คาลเตลฟรังโค, อิตาลี
สีน้ำมันเดิมเป็นวิธีการเขียนที่นิยมกันในการเขียนฉากแท่นบูชาและในที่สุดก็มาแทนที่การเขียนด้วยเทมเพอรา ความง่ายของการเขียนภาพขนาดใหญ่ด้วยสีน้ำมันนอกจากจะสามารถทำให้จิตรกรสามารถสร้างฉากแท่นบูชาขนาดใหญ่กว่าเดิมได้ และมาแทนที่บานพับภาพที่ประกอบด้วยแผงเล็ก ๆ มาเชื่อมติดต่อกัน แต่ยังมีน้ำหนักเบากว่าไม้มาก ซึ่งทำให้สามารถใช้ติดตั้งบนเพดานได้ จิตรกรสามารถเขียนภาพบนผ้าใบที่ขึงไว้ในกรอบก่อนที่จะนำไปติดตั้งได้ โดยไม่ต้องใช้การตั้งนั่งร้านขึ้นไปเขียนกันบนเพดาน จิตรกรเวนิส เช่น ทิเชียน, ทินโทเรตโต และ เพาโล เวโรเนเซต่างก็เขียนงานโดยวิธีนี้ ปีเตอร์ พอล รูเบนส์ เขียน “ทุกขกิริยาของพระเยซู” เป็นภาพเขียนขนาดใหญ่
งานไม้
แก้คุณสมบัติของไม้เหมาะกับการใช้ในการเป็นศิลปะตกแต่งต่าง ๆ ภายในคริสต์ศาสนสถาน ที่อาจจะเป็นงานแกะสลัก, งานปะแผ่นไม้บนผนัง หรือ งานฝังไม้กับวัสดุอื่น ไม้สามารถนำไปขัดเงา, ทาสี หรือ ปิดทองก็ได้ งานที่ทำก็อาจจะเป็นประติมากรรมแบบลอยตัว งานที่แกะอย่างปราณีตโดยช่างฝีมือเช่นงานของทิลมัน รีเมนชไนเดอร์ หรือ งานสลักฉากแท่นบูชาที่คาลคาร์ทางตอนเหนือของเยอรมนี หรืองานแกะที่นั่งในบริเวณร้องเพลงสวด ที่บาดชูสเซนรีด ทางตอนใต้ของเยอรมนี เป็นงานที่ดูเหมือนมีชีวิตจิตใจ แต่งานแกะสลักไม้เหล่านี้ต้องได้รับการอนุรักษ์จากราและแมลงที่จะสร้างความเสียหายให้แก่เนื้อไม้
-
ฉากแท่นบูชาพระแม่มารี
โบสถ์เซนต์ไมเคิล
ฮิลเดสไฮม์
เยอรมนี -
ฉากแท่นบูชาพระแม่มารี
มหาวิหารเชอร์
สวิสเซอร์แลนด์ -
รายละเอียดฉากแท่นบูชาปิเอต้า
โบสถ์เซนต์นิโคลัย
คาลคาร์
เยอรมนี -
งานสลักไม้ใน
บริเวณร้องเพลงสวด
บาดชูสเซนรีด
เยอรมนี -
นักบุญเซบาสเตียน
ข้างแท่นบูชา
นักบุญอเล็กซานเดอร์
แอบบีอ็อตโตบิวเร็น
เยอรมนี
ในสมัยไบแซนไทน์งานแกะสลักจะนิยมการแกะงาช้างมากกว่าไม้ และส่วนใหญ่แล้วก็จะเป็นงานแกะสลักศิลปะคริสต์ศาสนาขนาดเล็ก, แผง หรือ เฟอร์นิเจอร์ เช่น งานแกะ “บัลลังก์แม็กซิมัส” สำหรับแม็กซิมัสแห่งราเวนนาผู้เป็นพระสังฆราชแห่งราเวนนา ที่เป็นภาพแกะนูนที่เป็นเรื่องราวของพระคัมภีร์ไบเบิลและนักบุญ ประติมากรรมไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรปที่ยังมีอยู่เป็นงานไม้โอ้คทาสีปิดทองเป็นภาพการตรึงกางเขนของพระสังฆราชเยโรที่ทำระหว่าง ค.ศ. 969 ถึง ค.ศ. 971 ภายในมหาวิหารโคโลญ[10] หลังจากนั้นประติมากรรมไม้ก็มีเหลืออยู่มาขึ้นทั้งในรูปของกางเขน, รูปสลักทั้งเล็กและใหญ่ที่อาจจะเป็นพระแม่มารีกับพระบุตร หรือ นักบุญ เฟอร์นิเจอร์ไม้ในคริสต์ศาสนสถานก็จะสลักเสลากันอย่างละเอียดสวยงามตามแต่กำลังทรัพย์ นอกจากนั้นก็ยังมีการสลักคาน และปุ่มไม้บนเพดาน ส่วนการแกะสลักฉากกางเขนก็ทำกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นต้นมา งานแกะไม้โดยเฉพาะการแกะฉากแท่นบูชาในเยอรมนีมารุ่งเรืองที่สุดในสมัยปลายกอธิค/ต้นเรอเนสซองซ์ ในเบลเยียมการแกะสลักไม้มารุ่งเรืองที่สุดในสมัยบาโรกเมื่อมีการแกะแท่นเทศน์ขนาดใหญ่กันอย่างแพร่หลาย
งานโลหะ
แก้งานโลหะของคริสต์ศิลป์มีหลายรูปหลายแบบตั้งแต่กางเขนขนาดเล็กไปจนถึงประติมากรรมขนาดใหญ่ที่สร้างเป็นอนุสรณ์ให้แก่ผู้เสียชีวิตอันหรูหรางดงาม หรือในรูปของฉากกางเขนอันวิจิตร โลหะที่ใช้ก็มีตั้งแต่ทองคำเปลวหรือเงินถักไปจนถึงการหล่อสัมริด และ เหล็กดัด งานโลหะมักจะใช้ในการสร้างภาชนะที่ใช้สำหรับการทำพิธีศีลมหาสนิท, ในการสร้างเชิงเทียน และการตกแต่งขอบคันด้วยลวดลายและเทคนิคการสร้างงานโลหะแบบต่าง ๆ โลหะสามารถใช้ในการหล่อหลอม, ตี, บิด, สลัก, ฝัง และ ลงยา ถ้าอนุรักษ์อย่างถูกต้องก็จะเป็นงานที่คงทนอยู่ได้เป็นเวลานาน โลหะส่วนใหญ่ที่ใช้จะเป็นทอง, เงินลงยา และ สัมริดลงยา
-
หีบเป็นภาพมรณสักขียี่สิบองค์
บรั��เซลส์
เบลเยียม -
ถ้วยศักดิ์สิทธิ์
Palais du Tau
ฝรั่งเศส
ตั้งแต่สมัยไบแซนไทน์ตอนต้นก็เริ่มจะมีงานโลหะที่เป็นภาชนะที่ใช้สำหรับการทำพิธีศีลมหาสนิทออกมาในหลายรูปหลายแบบ บางชนิดเช่น “จานขนมปังศักดิ์สิทธิ์” (Paten) ที่พบที่อันติโอคมีการตกแต่งผิวโลหะ (Repoussé) เป็นลวดลายภาพเกี่ยวกับศาสนา จากคริสต์ศตวรรษที่ 8 ก็เริ่มมีการสร้างกางเขนแบบไบแซนไทน์ และถ้วยอาร์ดาห์จากไอร์แลนด์ที่ตกแต่งด้วยการลงยาคลัวซอนเน (Cloisonné) ตั้งแต่สมัยโรมาเนสก์เป็นต้นมาก็มีงานโลหะต่าง เช่น การประดับแท่นบูชาด้วยทองที่มหาวิหารบาเซิล (ค.ศ. 1022), ประตูสัมริดของมหาวิหารมอนรีอาลโดยโบนันโน ปิซาโน (ค.ศ. 1185), อ่างศีลจุ่มอันวิจิตรที่โบสถ์นักบุญมีคาเอล ฮิลเดสไฮม์ (ค.ศ. 1240) และหีบใส่มงคลวัตถุและงานตกแต่งแท่นเทศน์ของมหาวิหารโคโลญ, งานตกแต่งแท่นบูชา และ สิ่งตกแต่งอื่น ๆ เมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 1400 โดนาเทลโลประติมากรผู้มีชื่อเสียงถูกจ้างให้สร้างรูปลักษณ์สำหรับฉากสำหรับบาซิลิกาซานอันโตนิโอที่ปาดัว
พหุศิลป์
แก้การสร้างงานศิลปะด้วยวัสดุหลายอย่างเป็นเรื่องที่ทำกันตามปกติ เช่น จิตรกรรมสีน้ำมันมักจะอยู่ในกรอบลงยาอันงดงามหรูหรา สิ่งที่ตกแต่งอย่างอร่ามเรืองรองมักจะเป็นการตกแต่งที่ใช้สื่อผสมโดยการผสานงานศิลปะประเภทต่าง ๆ เช่น จิตรกรรมและประติมากรรมเข้าเป็นงานชิ้นเดียวกัน
-
งานไม้และโลหะ
“บริเวณร้องเพลงสวด”
อารามออทโทบิวเริน
ประเทศเยอรมนี -
ภาพเขียนสีน้ำมันและงานไม้
“แท่นบูชาเอก”
โบสถ์นักบุญอันดรูว์
เอลบาคไบฟิชบาคเคา
เยอรมนี -
ศิลปะผสมระหว่างจิตรกรรมและประติมากรรม
“พระเยซูแบกกางเขนและนักบุญเวอโรนิคาซับพระพักตร์”
ภูเขาศักดิ์สิทธิ์แห่งวาราลโล
อิตาลี -
ศิลปผสานวัสดุแบบบาโรกที่สไตน์เฮาสเซน
เยอรมนี -
“พระแม่มารีทรงเครื่อง”
โบสถ์พระตรีเอกภาพ
คอร์โดบา, สเปน -
สื่อผสมจิตรกรรม/ประติมากรรม
แท่นบูชารอง
“แอบบีอันเด็ค”
เยอรมนี -
งานปูนปั้นผสมจิตรกรรม
บนเพดาน
แอบบีโฮลเซน
เยอรมนี -
สื่อผสมจิตรกรรม/ประติมากรรม
งานตกแต่งเหนือแท่นบูชา
แอบบีอ็อตโตบิวเร็น
เยอรมนี
ที่บาซิลิกาซานมาร์โค งานที่มีชื่อเสียงฉากแท่นบูชาทองซานมาร์โค (Pala d'Oro) เป็นฉากแท่นบูชาที่ทำติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปีฉะนั้นลักษณะงานจึงมีทั้งอิทธิพลของศิลปะไบแซนไทน์และศิลปะกอธิค ฉากแท่นบูชาทองทำด้วยทองคำฝังด้วยเอนนาเมล, อัญมณี และ ไข่มุก งานสลักหินแข็งและงานแกะอัญมณีถือกันว่าเป็นงานที่มีคุณค่าในสมัยโบราณที่ใช้ช่างทองผู้มีฝีมือเป็นผู้ทำ ในสมัยบาโรกการใช้สื่อผสมก็เจริญถึงจุดสูงสุดเมื่อมีการสร้างแท่นบูชาจากงานฝังหินประดับ[3] (Pietra dura) และหินอ่อน, ไม้และโลหะ ที่มักจะมีจิตรกรรมสีน้ำมันประกอบด้วย งานบางชิ้นก็ออกมาเหมือนงานลวงตาที่ทำให้ผู้ดูเกิดความรู้สึกว่าได้เห็นมโนทัศน์
งานสื่อผสมอื่นที่นิยมกันก็ได้แก่ประติมากรรมสำหรับสักการะโดยเฉพาะภาพพระแม่มารี ที่มักจะมีพระพักตร์ที่เขียนบนปูนพลาสเตอร์ แต่ก็มีบ้างที่ขี้ผึ้ง, งาช้าง, กระเบื้อง และ เครื่องดินเผาสีหม้อใหม่[4] (terracotta) ประติมากรรมก็มักจะทรงเครื่องอย่างหรูหราด้วยผ้าซาตินตกแต่งด้วยเปียโลหะ และ ลูกไม้, ไข่มุก, ประคำ และบางครั้งก็จะมีอัญมณี หรือสิ่งตกแต่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ถวายโดยผู้ศรัทธา
งานสื่อผสมอีกแบบหนึ่งที่สำคัญคืองาน “จัดฉาก” (Tableau) ที่อาจจะเป็นฉาก “พระเยซูในสวนเกทเสมนี” ที่นิยมสร้างกันในสุสานในเยอรมนี หรือ ฉาก “ความโทมนัส” ที่มักจะเป็นงานชุดที่ตั้งภายในคริสต์ศาสนสถานในเยอรมนีและฝรั่งเศส หรือ “การประสูติของพระเยซู” ที่ทำกันโดยทั่วไประหว่างเทศกาลคริสต์มัส
หัวเรื่อง
แก้ฉากจากพระคัมภีร์ไบเบิล
แก้ชีวิตของพระเยซู หัวข้อที่นิยมกันที่สุดในการสร้าง “พระคัมภีร์คนยาก” คือ งานเกี่ยวกับชีวิตของพระเยซู ที่รวมทั้งการประสูติของพระเยซู, การชื่นชมของแมไจ, การชื่นชมของคนเลี้ยงแกะ, พระเยซูผจญมาร, ทุกขกิริยาของพระเยซู, การตรึงกางเขนของพระเยซู และ พระเยซูคืนชีพ การทำก็อาจจะเป็นภาพต่อเนื่องกันเป็นชุดที่อาจจะเป็นงานจิตรกรรม, งานโมเสก, งานประติมากรรมไม้ หรือ หน้าต่างประดับกระจกสี ที่อาจจะตั้งบนผนังของคริสต์ศาสนสถาน โดยเฉพาะภายในมหาวิหารในฝรั่งเศส หรือ ในเยอรมนี ภาพก็อาจจะตั้งอยู่ในช่องบนฉากกางเขนเพื่อที่จะให้ผู้เดินผ่านรอบจรมุขจะได้มองเห็นได้ง่าย
แต่ก็บ่อยครั้งการสร้างงานก็จะเป็นเพียงช่วงชีวิตช่วงใดช่วงหนึ่ง ที่นิยมกันมากก็คือฉากการตรึงกางเขนและพระเยซูคืนชีพ แต่หัวเรื่องอาจจะแตกต่างกันจากโบสถ์หนึ่งไปอีกโบสถ์หนึ่ง โบสถ์ที่ตั้งอยู่ใกล้สถานพยาบาลก็อาจจะเน้นในเรื่องการรักษาโดยปาฏิหาริย์ หรืออีกโบสถ์หนึ่งก็จะเน้นชีวิตในด้านพระภารกิจของพระองค์ที่ทรงกระทำต่อผู้อื่น หัวเรื่องเหล่านี้เป็นที่นิยมกันมากในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20
ชีวิตของพระนางพรหมจารี การบรรยายพระคัมภีร์อีกรูปแบบหนึ่งคือการสร้างภาพชุด “ชีวิตของพระนางพรหมจารี” ในสมัยแรกที่สร้างก็มักจะเป็นภาพชีวิตในวัยต้นที่อาจจะมีฉากเพิ่มเติมเชิงเคลือบแคลงที่มาจากหนังสือเช่นจาก “พระวรสารนักบุญยากอบ” ที่เขียนขึ้นราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 2 ภาพพระประวัติของพระแม่มารีย์มักจะบรรยายมาจนถึงการกำเนิดของพระเยซู ที่รวมทั้งภาพ “การนมัสการของโหราจารย์” และ “พระเยซูหนีไปอียิปต์” และข้ามมาถึงบั้นปลายชีวิตโดยเฉพาะภาพการ “การตรึงพระเยซูที่กางเขน” และในที่สุด “มรณกรรมของพระนางพรหมจารี” ที่ต่อมาในสมัยกลางมาแทนด้วยภาพ “แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์”
ทางสู่กางเขน งานชุดสำคัญอีกชุดหนึ่งที่นิยมทำกันคืองาน “ทางสู่กางเขน” ซึ่งเป็นภาพเกี่ยวกับทุกขกิริยาของพระเยซูที่บรรยายเหตุการณ์ความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและทางจิตใจของพระเยซูในช่วงเวลาก่อนที่จะทรงถูกพิจารณาคดี และถูกตัดสินให้ถูกประหารชีวิตโดยการตรึงกางเขน การตรึงพระเยซูที่กางเขน “ทางสู่กางเขน” เป็นภาพชุดที่จะปรากฏในโบสถ์คาทอลิกแทบทุกแห่ง ที่ใช้ในการสักการะ และช่วยในการเป็นภาพกระตุ้นการสวดมนต์หรือการทำสมาธิ ภาพชุดทางสู่กางเขนมักจะเป็นงานจิตรกรรมสีน้ำมัน ประติมากรรมภาพนูน หรือ ไม้สลักนูน ที่ประดับในกรอบที่ห้อยรายบนผนังรอบภายในโบสถ์ เพื่อให้ง่ายต่อการตามลำดับเรื่องราว
พันธสัญญาเดิม งานจากพันธสัญญาเดิมก็เป็นงานอีกประเภทหนึ่งที่เป็นที่นิยม ที่อาจจะเป็นภาพ “พระเจ้าสร้างโลกและมนุษย์” และ ภาพ “ขับจากสวรรค์” เพราะเนื่องมาจากการผิดพระประสงค์ของพระเจ้าของอาดัมและอีฟ งานครบชุดที่เกี่ยวกับพันธสัญญาเดิมเป็นสิ่งที่หาดูได้ยาก ชุดที่เก่าที่สุดทำด้วยโมเสกราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 ภายในมหาวิหารซานตามาเรียมายอเรในกรุงโรม นอกจากนั้นก็มีจิตรกรรมฝาผนังที่สมบูรณ์อีกสองชุดในอิตาลี ชุดหนึ่งวาดโดยจุสโต เดมนาบวยภายในหอศีลจุ่มของมหาวิหารปาดัวในคริสต์ศตวรรษที่ 14 และอีกภาพหนึ่งในช่วงเวลาเดียวกันโดยบาร์โทโล ดิ เฟรดิภายในโบสถ์ที่ซันจีมิญญาโน นอกจากนั้นก็ปรากฏบนหน้าต่างประดับกระจกสีเช่นที่วิหารแซงต์-ชาเปลในกรุงปารีส แต่ภาพชุดพันธสัญญาเดิมที่มีชื่อเสียงที่สุดเป็นภาพที่ปรากฏบนประตูสัมริดของหอศีลจุ่มซานจิโอวานนิแห่งฟลอเรนซ์ที่สร้างโดยลอเร็นโซ กิเบอร์ติที่เรียกกันว่า “ประตูสวรรค์” ส่วนภาพอื่นที่ปรากฏก็มักจะมีขนาดเล็กกว่าที่อาจจะสร้างเหนือประตูหรือหน้าต่างเป็นต้น
ชีวิตของนักบุญ
แก้คริสต์ศาสนสถานและมหาวิหารหลายแห่งใช้ชื่อนักบุญในสมัยแรก ๆ หรือบางโบสถ์ก็จะก่อตั้งโดยหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลบางคนผู้ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นนักบุญ ความสัมพันธ์นี้ก็มักจะออกมาในรูปของการตกแต่งโบสถ์ด้วยงานศิลปะ ที่อาจจะเป็นภาพชีวประวัติของบุคคลดังกล่าวที่เกี่ยวกับการกำเนิด, กิจการที่กระทำ และ/หรือ การพลีชีพ
-
นักบุญคริสโตเฟอร์ กับ นักบุญกลองฟุยล์ และ นักบุญไจล์ส
ฮันส์ เม็มลิง
ค.ศ. 1484 -
รูปสลักไม้
นักบุญเจมส์ใหญ่
โบสถ์เซนต์นิโคลัย
เยอรมนี -
นักบุญเวอโรนิคา
แสดงผ้าซับพระพักตร์พระเยซู
ฮันส์ เม็มลิง
การตกแต่งก็อาจจะเป็นระเบียงภาพ เช่น ประติมากรรมภาพนูนของเรื่องราวชีวิตของนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์ที่มหาวิหารอาเมียงส์ในฝรั่งเศสที่ตั้งอยู่รอบนอกของบริเวณพิธีในบริเวณจรมุข หรืออาจจะเป็นภาพเดี่ยวเช่นประติมากรรมนักบุญเซบาสเตียนขณะที่ถูกผูกกับเสาหรือต้นไม้และมีลูกศรปักเต็มตัว หรือจิตรกรรมหรือประติมากรรมของนักบุญคริสโตเฟอร์แบบพระเยซูข้ามแม่น้ำ เป็นต้น
เรื่องราวชีวิตของนักบุญอาจจะมีพื้นฐานมาจากแหล่งข้อมูลที่เป็นที่น่าเชื่อถือ หรืออาจจะมาจากเรื่องราวที่ประดิษฐ์คิดค้นกันขึ้น บางเรื่องก็ง่ายต่อการเข้าใจว่าเป็นผู้ใด เช่นเรื่องราวเกี่ยวกับโจนออฟอาร์คผู้แต่งตัวอย่างนักรบ, นักบุญสตีเฟนผู้เป็นมรณสักขีองค์แรกของคริสต์ศาสนา หรือ นักบุญฟรานซิสแห่งอาซิซิผู้เทศนานก แต่ก็มีนักบุญอีกมากที่เป็นที่รู้จักกันเฉพาะในท้องถิ่น เช่นนักบุญฟินาแห่งซานจิมิยาโนที่มีภาพเขียนอันงดงามขณะที่กำลังนอนเสียชีวิตที่เขียนโดยโดเมนนิโค เกอร์ลันเดา
ประกาศก, สาวก และ สังฆราช
แก้การสร้างงานเกี่ยวกับประกาศก, สาวก และ สังฆราช หรือผู้เกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนามักจะทำในบริบทของการใช้เป็นสิ่งตกแต่ง หัวเรื่องก็อาจจะเป็นหัวเรื่องที่เข้าใจง่าย เช่นการสร้างแถวบนหน้าต่างประดับกระจกสีเป็นภาพของประกาศกผู้พยากรณ์การมาเกิดของเมสไซยาห์ หรือภาพในช่องโค้งบนฉากก็อาจจะเป็นรูปสลักของพระมหากษัตริย์ผู้มีพระราชศรัทธาต่อศาสนา เช่นการตกแต่งระเบียงกษัตริย์บนผนังภายในด้านตะวันตกของมหาวิหารโนเทรอดามแห่งแรงส์ ถ้าเป็นสาวกก็มักจะเป็นอัครสาวกสิบสององค์ แต่บางครั้งก็จะรวมนักบุญพอล, นักบุญจอห์นแบ็พทิสต์, นักบุญแมรี แม็กดาเลน และอื่น ๆ ซึ่งมักจะเป็นนักบุญที่นิยมกัน หรือบางครั้งก็จะขึ้นอยู่กับท้องถิ่นเช่นความนิยมในการสร้างภาพนักบุญเซบาสเตียน หรือ นักบุญร็อคในอิตาลี หรือความนิยมในการสร้างภาพนักบุญจอห์น นโพมุคในสาธารณรัฐเช็กเป็นต้น ลักษณะรูปทรงที่มักจะเป็นแนวตั้งทำให้เหมาะกับการใช้ตกแต่งประกอบโครงร่างทางสถาปัตยกรรม ที่มักจะเป็นทรงเสา, รอบประตูหรือหน้าต่าง หรือบนชั้นบนด้านหน้าของมหาวิหาร
การเลือกว่าจะสร้างรูปใดหรือหัวข้อใดบางครั้งก็ยากที่จะเข้าใจได้ การเลือกก็ขึ้นอยู่กับปรัชญาท้องถิ่น หรือความต้องการชั่วแล่นของผู้จ้างงานอย่างใดอย่างหนึ่ง บางครั้งรูปที่สร้างก็ง่ายต่อการบอกได้ว่าเป็นผู้ใดเพราะมีสัญลักษณ์ประจำตัวประกอบ เช่นนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์ก็อาจจมีกางเขนใบหญ้าและแถบหรืออาจจะสวมเสื้อขนอูฐ, นักบุญแมรี แม็กดาเลนก็จะมีผอบน้ำมันหอม, นักบุญปีเตอร์ถือกุญแจสวรรค์, นักบุญอากาธาถือถาดที่มีหน้าอก ผู้เป็นมรณสักขีก็มักจะถือใบปาล์ม หรือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการฆ่า นักบุญเดอนีส์ประคองหัวตนเองที่อ้างกันว่าเดินถือรอบเมือง
หัวข้อที่นิยมสร้าง
- บรรพบุรุษของพระเยซู
- ประกาศกแห่งอิสราเอล
- อัครสาวกสิบสององค์
- อีแวนเจลลิสทั้งสี่
- คริสต์ศาสนปราชญ์
- นักบุญผู้พลีชีพ
- นักบุญประจำท้องถิ่น
- นักบุญประจำลัทธินิกาย
เทววิทยาศาสนคริสต์
แก้“จากวิวรณ์ถึงวิวรณ์”
แก้การสื่อความสำนึก, ความรู้สึกผิด และความกลัว
วัตถุประสงค์หนึ่งในการสร้าง “พระคัมภีร์คนยาก” ภายในคริสต์ศาสนสถานก็เพื่อแสดงให้ผู้เข้ามาสักการะได้เห็น “ทางไปสู่การไถ่บาป” (Way to Salvation) การบรรลุถึงจุดที่ว่าทำได้โดยการดำเนินตามวิวรณ์สองทาง โดยเข้าถึงพระเจ้าด้วยตัวของผู้ถือคริสต์ศาสนาเอง และ โดยการสร้างงานศิลปะ
การที่ “พระคัมภีร์คนยาก” จะสามารถบรรลุจุดประสงค์นี้ได้ ผู้ชมงานศิลปะก็จะต้องมีความรู้และยอมรับปรัชญาพื้นฐานว่าตนเป็นสัตว์โลกผู้มีบาปฉะนั้นจึงต้องถูกนำมาพิจารณาในวันตัดสินครั้งสุดท้าย ในวันนั้นซึ่งเป็นวันที่บรรยายในหนังสือเล่มสุดท้ายของพระคัมภีร์ไบเบิลเรียกว่า “หนังสือวิวรณ์ของนักบุญยอห์น” หรือ “หนังสือวิวรณ์” ที่นักบุญยอห์นบรรยายเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นรวมทั้ง Apocalypse และมโนทัศน์ของพระเจ้าประทับบนบัลลังก์บนสัตว์สวรรค์ทั้งสี่ - สิงโตมีปีก, มนุษย์มีปีก, วัวมีปีก และ อินทรี ที่บรรยายในหนังสือเอเสเคียลด้วย
พระธรรมวิวรณ์อาจจะเขียนร่วมกับ “การพิพากษาครั้งสุดท้าย” หรือภาพสรวงสวรรค์ หรือ นรก หรือไม่ก็ได้ เหนือประตูทางเข้าโบสถ์ ในบริเวณที่มีหินมาก ก็อาจจะมีการใช้แผ่นหินแกะเป็นรูปดังว่าเหนือซุ้มประตูเข้าโบสถ์ก็ได้
การสื่อความศรัทธา, ความหวัง และ ความรัก วิวรณ์ทางที่สองที่ “พระคัมภีร์คนยาก” จะทำให้ได้จุดประสงค์คือการบอกให้ผู้ชมงานทราบถึงแผนการของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์ในความรอด (Salvation) โดยการส่งพระบุตรซึ่งคือพระเยซูให้เกิดในร่างของมนุษย์ ให้เติบโตขึ้นท่างกลางมนุษย์ และ ให้เสียพระชีพอย่างทารุณเพื่อเป็นการไถ่บาปต่างที่มนุษย์ได้ทำขึ้น พระเยซูที่ปรากฏในรูปแบบต่าง ๆ ในคริสต์ศาสนสถานก็เพื่อเป็นการแสดงความรัก ความกรุณา และ พระเดชานุภาพของพระเจ้าที่มีต่อมวลมนุษย์ หรือเป็นการกล่าวง่าย ๆ ว่าเป็นหัวใจของ “พระคัมภีร์คนยาก” ทั้งหมด
นัยยะของสิ่งชั่วร้ายที่มนุษย์ประพฤติปฏิบัติอาจจะแสดงให้เห็นได้ด้วยวิธีหลายวิธี แม้ว่าภาพที่น่ากลัวจาก “การพิพากษาครั้งสุดท้าย” จะเป็นงานที่นิยมทำกันในยุคกลาง แต่เมื่อมาถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาหัวข้อเหล่านี้ก็หมดความนิยมลง แต่ที่นิยมเพิ่มขึ้นจะเป็นภาพจากหนังสือปฐมกาลที่เป็นเรื่องราวของอาดัมและอีฟกินผลไม้ที่ถูกห้ามโดยพระเจ้า นอกจากนั้นก็มีภาพเกี่ยวกับบาป 7 ประการ และเรื่องประกอบคำสอนเกี่ยวกับเพื่อนเจ้าสาวผู้ฉลาดเฉลียว และ ผู้งี่เง่า สิ่งที่เขียนขึ้นก็เป็นการทำให้ผู้คนหันเข้าหาพระเจ้าเพื่อให้ได้รับความรักและความกรุณาจากพระองค์
พระกรุณาของพระเจ้าอาจจะแสดงออกได้หลายวิธี เช่นในภาพการกำเนิดของพระเยซู, การพลีชีพของพระเยซู, การคืนชีพของพระเยซู หรือ การแสดงความมีเดชานุภาพของพระเยซู
ในคริสต์ศาสนสถานบางแห่งก็จะเน้��เหตการณ์ที่เกี่ยวกับเซนต์ที่วัดอุทิศให้ เช่นถ้าเป็นวัดที่อุทิศให้แก่นักบุญทอมัสก็อาจจะมีภาพนักบุญทอมัสอยู่บนแท่นบูชาเอกที่เป็นภาพของนักบุญทอมัสเห็นพระเยซูผู้คืนชีพผู้ประกาศพระองค์ว่าเป็น “พระเจ้า” คริสต์ศาสนสถานที่อุทิศให้แก่นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีก็อาจจะมีภาพเรื่องราวชีวิตและปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นกับพระองค์ การได้รับแผลศักดิ์สิทธิ์จากพระเยซูเป็นต้น
บริบทของพันธสัญญาใหม่และพันธสัญญาเดิม
แก้การตกแต่งภาพเกี่ยวกับฉากชีวิตของพระเยซูบางครั้งก็จะสร้างในบริบทของหรือเรื่องราวที่คล้ายคลึงกันจากพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม หรือบางครั้งก็มาจากกิจการของอัครทูต บุคคลบางคนจากพันธสัญญาเดิมบางท่านก็จะถือว่าเป็น “ปาง” หรือ ผู้ที่มาก่อนพระเยซูในรูปแบบต่าง ๆ แต่โดยทั่วไปแล้วกิจการหรืออุปนิสัยของบุคคลเหล่านี้จะตรงกันข้ามกับพระเยซู ตัวอย่างเช่น ตามพระคัมภีร์อาดัมเป็นผู้ที่ได้รับการสร้างจากความบริสุทธิ์และความไร้มลทินโดยพระเป็นเจ้า และเป็นผู้ที่ไม่สามารถที่จะเอาชนะสิ่งที่มายั่วยวนได้ ที่ทำให้กลายเป็นผู้นำมวลมนุษย์ไปสู่ความมีบาป แต่พระเยซูนั้นตรงกันข้าม พระองค์ทรงดำรงพระชนม์อยู่โดยปราศจากมลทิน และทรงพลีชีพเพื่อที่จะไถ่บาปกรรมต่าง ๆ ที่อาดัมและลูกหลานได้ทำไว้
การอ้างอิงไปยังระหว่างพันธสัญญาเดิม และพันธสัญญาใหม่ก็มักจะทำด้วยวิธีวางเปรียบเทียบอย่างง่าย ๆ โดยเฉพาะในงานกระจกสีของยุคกลาง ที่อาจจะวางฉากชีวิตของพระเยซูตามแนวตั้งกลางขนาบสองข้างด้วยเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกันจากพันธสัญญาเดิมหรือจากกิจการของอัครทูต การกระทำเช่นนี้ก็คล้ายกับการสร้างพระคัมภีร์ภาพที่มักจะวางองค์ประกอบคล้ายคลึงกัน หรือบางครั้งการสร้างพระคัมภีร์คนยากก็อาจจะใช้พื้นฐานจากพระคัมภีร์ภาพ ในหน้าต่างประดับกระจกสีของคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ส่วนที่เป็นเรื่องหลักมักจะมีขนาดใหญ่กว่าเรื่องรองที่มาจากพันธสัญญาเดิม การจัดลักษณะนี้นิยมทำกันอยู่บ้างในการเขียนจิตรกรรมแผงเมื่อต้นสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
หน้าต่างด้านตะวันออกของวัดเซนต์แมรีที่ชิลแลม, เค้นท์
บนหน้าต่างที่สร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการจัดคู่ดังนี้-
- ขณะที่พระเยซูทรงมีความทุกข์ระทมทางอารมณ์ เมื่อทรงสวดมนต์อยู่ในสวนเกทเสมนี พระองค์ก็ตรัสสั่งให้สาวกเปโตร ยากอบ และ ยอห์นคอยอยู่ไม่ไกลนัก แต่สาวกทั้งสามองค์ก็เผลอหลับไป ฉะนั้นจึงเท่ากับเป็นการ “ละทิ้ง” พระองค์ บานล่างเป็นภาพโยเซฟนักฝันถูกจับถ่วงน้ำในบ่อโดยพี่ชายของตนเองและถูกละทิ้ง
- พระเยซูทรงถูกบังคับให้แบกกางเขนไปยังที่ทำการตรึงในบริเวณที่เรียกว่ากอลกอธา บานล่างเป็นภาพอิสอัคแบกฟืนเดินตามอับราฮัมผู้เป็นพ่อโดยไม่รู้ว่าพ่อวางแผนที่จะสังเวยตนเองแก่พระเจ้า
- พระเยซูถูกตรึงที่กางเขน บานล่างเป็นภาพชาวอิสราเอลไลท์ฆ่าแกะสังเวยและทาสีบนคานเหนือประตูด้วยเลือดแกะเป็นสัญญาณแก่เทวดาของพระเจ้าเนื่องในเทศกาลปัสกา
- พระเยซูคืนชีพสามวันหลังจากที่เสด็จสิ้นพระชนม์ไปจากการถูกตรึงกางเขน บานล่างเป็นภาพวาฬคายโยนาห์หลังจากที่กลืนเข้าไปได้สามวัน
- พระเยซูเสด็จสู่สรวงสวรรค์ บานล่างเป็นภาพเอลียาห์ถูกอุ้มขึ้นสวรรค์โดยเทวดา
ชาเปลสโครเวนยี, ปาดัว, อิตาลี ภาพบางชุดที่เป็นภาพชุดที่ซับซ้อน นอกไปจากการอ้างถึงเรื่องราวในพันธสัญญาเดิม ก็ยังอ้างถึงอ้างถึงเรื่องราวในพันธสัญญาใหม่เองด้วย เช่นงานเขียนโดยจอตโต ดี บอนโดเนจิตรกรเอกชาวอิตาลีที่เขียนภายในชาเปลสโครเวนยีที่เมืองปาดัวเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 เมื่อดูเผิน ๆ และก็จะเป็นภาพต่อเนื่องของฉากการเกิดและชีวิตวัยเด็กของเวอร์จินแมรีและชีวิตของพระเยซูเป็นชั้น ๆ บนผนัง ตามลำดับที่ทราบกัน โดยมีแผงเล็กที่เป็นภาพจากพันธสัญญาเดิมประกอบระหว่างภาพเหล่านี้ แต่เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดแล้วก็จะเป็นภาพที่มีบริบทที่ลึกซึ้ง การจัดภาพเหล่านี้เข้าด้วยกันเป็นการจัดที่แสดงความหมายที่แสดงความสัมพันธ์กันระหว่างภาพสองชุด ไม่ว่าจะเป็นการวางภาพตามแนวตั้งในแถวเดียวกัน หรือ การวางตรงข้ามกันระหว่างผนังห้องที่ตรงข้ามกัน การวางภาพคู่เคียงเช่นว่าก็รวมทั้งการวางภาพแมไจคุกเข่าถวายความเคารพชื่นชมพระบุตรคู่เคียงกับภาพนักบุญปีเตอร์คุกเข่าล้างเท้าให้สาวก หรือการชุบชีวิตนักบุญลาซารัสโดยพระเยซูคู่กับการคืนชีพของพระองค์เอง
การสืบทอด
แก้วัตถุประสงค์หนึ่งของการตกแต่งคริสต์ศาสนสถานก็เพื่อเป็นการยืนยันความสำคัญและความมีบทบาทของคริสต์ศาสนสถานต่อคริสต์ศาสนาและต่อผู้ถือคริสต์ศาสนา ในความหมายอย่างกว้าง ๆ คริสต์ศาสนสถานคือผู้ถือคริสต์ศาสนาเอง แต่ในความหมายอย่างแคบ ๆ แล้วคริสต์ศาสนสถานก็จะหมายถึงองค์กร และ โดยเฉพาะองค์กรที่เสี่ยงต่อการถูกทำลายโดยผู้นอกศาสนา, คตินิยม, ความแตกแยก และ การปฏิรูป ซึ่งทำให้จำเป็นที่จะต้องบำรุงรักษา และ ยืนยันความคงอยู่ในฐานะของการเป็นทางสู่ความรอด
การตกแต่งคริสต์ศาสนสถานมักจะสะท้อนบทบาทของสถาบันศาสนา วัตถุประสงค์สำคัญวัตถุประสงค์หนึ่งคือการแสดงว่า “คริสต์ศาสนสถาน” ก่อตั้งขึ้นโดยสาวกและประวัติความเป็นมาก็สามารถสืบสาวกลับไปยังต้นตอได้โดยไม่มีช่องว่าง วิธีหนึ่งที่ใช้ในการแสดงความต่อเนื่องคือการเป็นเจ้าของเรลิกของสาวกหรือนักบุญผู้พลีชีพเพื่อศาสนาจากสมัยคริสเตียนยุคแรก การไปแสวงหาหรือซื้อขายแลกเปลี่ยนอวัยวะของนักบุญหรือเรลิกที่เกี่ยวข้องกับพระเยซูเป็นกิจการที่กระทำกันอย่างแพร่หลายรุ่งเรืองในสมัยกลาง ตัวอย่างเช่น มีคริสต์ศาสนสถานสามแห่งที่ต่างก็อ้างว่าเป็นเจ้าของร่างของมารีย์ชาวมักดาลา หรือจำนวนวัดที่อ้างว่าเป็นเจ้าของพระทนต์น้ำนมของพระแม่มารีย์ก็มีมากกว่าจำนวนฟันน้ำนมของเด็กเป็นต้น
เมื่อมีเรลิกแล้วทางคริสต์ศาสนสถานก็จะสร้างภาชนะ, หีบ หรือ กรอบตกแต่งสิ่งเหล่านี้กันอย่างหรูหราด้วยงาช้าง, ทอง และ อัญมณีอันมีค่า นักบุญบางองค์ที่ได้ชื่อว่าเป็นนักบุญผู้มีอำนาจในการรักษาอาการเจ็บป่วย ก็จะเป็นปัจจัยในการดึงดูดนักแสวงบุญเข้าวัดซึ่งเป็นการสร้างความมั่งคั่งและชื่อเสียงให้แก่วัดที่เกี่ยวข้อง และถ้าเป็นนักบุญที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีการดึงดูดก็จะครอบคลุมไปถึงคริสต์ศาสนาอื่นที่ตั้งเรียงรายบนเส้นทางการแสวงบุญมาจนถึงคริสต์ศาสนสถานที่เป็นที่เก็บรักษามงคลวัตถุของนักบุญผู้นั้น คริสต์ศาสนสถานสามแห่งที่เป็นที่นิยมกันที่สุดของนักแสวงบุญในสมัยกลางคือโบสถ์โฮลีเซพัลเครอในกรุงเยรูซาเลม, มหาวิหารซันตีอาโกเดกอมปอสเตลาในสเปน และ มหาวิหารแคนเทอร์เบอรีในเค้นท์ในอังกฤษ[11]
คริสต์ศาสนสถานโดยเฉพาะสำนักสงฆ์มักจะมีนักบุญประจำวัดที่เป็นของตนเองเช่นมหาวิหารแคนเตอร์บรีก็จะมีนักบุญทอมัสแห่งแคนเตอร์บรี หรือ นักบุญทอมัส เบ็คเค็ทผู้ที่ถูกลอบสังหารโดยข้าราชสำนักในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ขณะที่กำลังทรงสวดมนต์อยู่ในคูหาสวนมนต์ภายในมหาวิหาร และในที่สุดสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ก็ต้องทรงทำการแก้บาปโดยการเดินทางไปแสวงบุญหรือไปแก้บาปที่มหาวิหารแคนเตอร์บรี แม้ว่าหน้าต่างประดับกระจกสีของมหาวิหารจะสูญหายไปมาก แต่ก็ยังมีแผ่นกระจกที่ยังแสดงการปาฏิหาริย์ของนักบุญทอมัส เบ็คเค็ททั้งก่อนหน้าและหลังจากที่เสียชีวิตไปแล้ว
คริสต์ศาสนสถานที่เป็นสำนักสงฆ์จะเน้นเรื่องราวเกี่ยวกับนักบุญประจำลัทธิของสำนักสงฆ์ และที่พบเสมอคือภาพพระแม่มารีและพระบุตรล้อมรอบด้วยนักบุญที่รวมทั้งนักบุญในคริสต์ศตวรรษที่ 1 และนักบุญที่เป็นของลัทธิประจำสำนักสงฆ์ที่ว่าจ้างให้เขียนภาพ
อีกวิธีหนึ่งที่เป็นการรับรองสถานะของคริสต์ศาสนสถานคือบทบาทของความรับผิดชอบในการประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์ เช่นที่พบในวัดเซนต์จอห์นที่ไทด์เวลล์ในดาร์บีเชอร์ในอังกฤษที่เป็นงานแกะไม้ของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่เป็นภาพพิธีรับศีลจุ่ม พิธีรับศีลมหาส��ิท และ พิธีรับศีลบวช
ภาพชุด
แก้โลก
แก้หัวข้องานที่เป็นที่นิยมกันในบรรดาคริสต์ศาสนสถานหลายแห่งจะเป็นภาพสรรเสริญพระบารมีของพระเจ้าในการเป็น “พระผู้สร้าง” และ ผู้วางกฎระเบียบต่าง ๆ ในสิ่งที่ทรงสร้างขึ้น การสร้างงานก็มักจะเป็นภาพพระเจ้าขณะที่กำลังทรงสร้างสิ่งต่าง ๆ ตามที่บรรยายในหนังสือปฐมกาล[5] - สร้างโลก, สร้างพระอาทิตย์ และ พระจันทร์บนท้องฟ้า และ สร้างมนุษย์ชายและหญิงคนแรก นอกจากนั้นก็ยังใช้สัญลักษณ์เช่นแม่น้ำสี่สายสำหรับโลกที่บรรยายว่าเป็นแม่น้ำที่ไหลจากสวนอีเดน เมื่อมาถึงสมัยบาโรก โลกก็จะเป็นลูกโลกกลมที่ความเป็นจริงแตกต่างกันออกไป
เช่นในพระธรรมปฐมกาล[6] ที่ระบุแม่น้ำสี่สายที่แบ่งโลก เช่นเดียวกับบทเขียนสำคัญของคริสต์ศาสนาที่เขียนโดยผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน ตามความเชื่อแล้วก็จะมีสี่ทิศ, ลมสี่ทิศ, ธาตุหลักทั้ง 4ที่ประกอบด้วยไฟ, อากาศ, ดิน และ น้ำ และอารมณ์ทั้งสี่ที่มีผลต่อธรรมชาติของมนุษย์ เลขสี่ดูเหมือนจะเป็นส่วนหนึ่งที่พระเจ้าทรงใช้ในการจัดระบบความเป็นระเบียบของโลก ฉะนั้นการสร้างงานที่เกี่ยวกับจำนวนสี่จึงพบเสมอในศิลปะคริสต์ศาสนา เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง โลก และ สิ่งที่พระเจ้าทรงสร้างในโลก[12]
-
“พระเจ้าสร้างโลก”
พระเจ้าสร้างอีฟจากอาดัม
มีเกลันเจโล
เพดานโบสถ์น้อยซิสทีนน
อิตาลี -
“ระบบจักรวาล”
หน้าต่างเดือนธันวาคม, มกราคม และ กุมภาพันธ์
มหาวิหารโนเทรอดามแห่งชาร์ทร์
ฝรั่งเศส -
แรงงานสิบสองเดือน
การเก็บเกี่ยวในเดือนกันยายน
ราว ค.ศ. 1510 -
“พรสวรรค์จากพระเจ้า”
นักบุญโจเซฟช่างไม้
บานพับภาพ
นายช่างแห่งเฟลมมาลล์
ค.ศ. 1425
จักรราศี
แก้หัวเรื่องที่เกี่ยวกับการเป็นผู้สร้างของพระเจ้า คือระบบของพระเจ้า (God's Order) พระเจ้าในหนังสือปฐมกาลผู้ทรงสร้างพระอาทิตย์ให้ส่องให้โลกสว่างในเวลากลางวัน และพระจันทร์ในเวลากลางคืน ก็ยังทรงจัดให้ดวงดาวต่างให้โคจรไปตามการหมุนเวียนของฤดูกาลเพื่อให้เหมาะสมกับการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว สัญลักษณ์ของจักรราศีขนาดเล็กก็ยังคงใช้ประดับเช่นตามรอบโค้งของประตู หรือ บนหน้าต่างประดับกระจกสี ตามทรงโค้งของวัฏจักร นอกจากนั้นก็ยังเหมาะแก่การตกแต่งบนแผงแคบเล็กบนซี่หน้าต่างกุหลาบที่มีลักษณะกลมด้วย
จักรราศีเป็นสิ่งที่คู่เคียงกับงานศิลปะที่เรียกว่า “แรงงานสิบสองเดือน” (Labours of the Months) ซึ่งเป็นภาพแสดงกิจการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเดือนต่างของรอบปี เช่นการปลูกพืชพรรณ, การเก็บเกี่ยว, การล่าสัตว์ และ การเลี้ยงเทศกาลเป็นต้น
พรสวรรค์จากพระเป็นเจ้า
แก้ตามปรัชญาพระธรรมปฐมกาลกล่าวว่าพระเจ้าทรงสร้างสวรรค์และโลกมนุษย์ และทรงสร้างมนุษย์ในรูปลักษณ์ของพระองค์ (พระธรรมปฐมกาล 1:26)[7] และประทานความสามารถในการสร้างสรรค์ให้ หัวข้อนี้เป็นหัวข้อที่ไม่ปรากฏบ่อยนัก ถ้ามีก็จะเป็นการแสดงพรสวรรค์ในการเป็นช่างหิน, ช่างสลักไม้, จิตรกร และ ช่างกระจกขณะที่กำลังทำงานช่าง นอกจากนั้นก็ยังมีภาพของนักบวช, นักดนตรี หรือ นักคัด และ คนปั่นด้าย, คนทอผ้า, พ่อค้า, คนครัว, คนลากเกวียน, คนฆ่าสัตว์, หมอยา, คนล่าขนสัตว์, ชาวประมง และ คนเลี้ยงแกะ
โดยทั่วไปแล้วการสร้างงานศิลปะที่เป็นภาพชีวิตชาวบ้านจะไม่จัดอยู่ในประเภทศิลปะที่เรียกว่าวิจิตรศิลป์ แต่จะเป็นศิลปะที่ถือกันว่าเป็นศิลปะระดับรองหรือบางครั้งก็ไม่เป็นที่ทราบกัน ศิลปินจึงมักจะซ่อนภาพเหล่านี้ไว้ในพงใบไม้บนหัวเสา หรือ บนปุ่มหินบนเพดาน หรือบางครั้งก็จะเป็นแผ่นภาพเล็ก ๆ ตกแต่งภายนอกสิ่งก่อสร้าง หรือ สลักไว้ใต้เก้าอี้อิงภายในบริเวณร้องเพลงสวด
แต่ถ้างานศิลปะประเภทนี้สร้างโดยสมาคมศิลปิน ก็อาจจะเป็นงานชั้นดีที่สร้างโดยศิลปินมีชื่อ เช่นประติมากรรมชุดนักบุญผู้พิทักษ์ที่อยู่ในช่องบนผนังด้านนอกของโบสถ์ซันมีเกเล ใน ฟลอเรนซ์ที่เป็นภาพนักบุญจอร์จโดยโดนาเทลโล ซึ่งเป็นประติมากรรมที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดชิ้นหนึ่งของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนต้น นักบุญผู้พิทักษ์ต่างก็มีอาชีพต่าง ๆ เช่น ช่างเหล็ก, ทหาร, แพทย์, คนเก็บภาษี และ ช่างทำรองเท้า[13] เก็บถาวร 2009-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน[14] เก็บถาวร 2012-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ตัวอย่างสำคัญ
แก้ภาพ | สถานที่ |
---|---|
หอล้างบาปแห่งปาดัว งานตกแต่งหอศีลจุ่มกลมขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ข้างมหาวิหารปาดัวเป็นงานชิ้นเอกของจุสโต ดิ เมนาบวยและถือกันว่าเป็นงานจิตรกรรมฝาผนังอันสมบูรณ์ของศิลปะพระคัมภีร์คนยากที่สร้างระหว่าง ค.ศ. 1376 ถึง ค.ศ. 1378 | |
โบสถ์ซันจีมิญญาโน โบสถ์ซันจีมิญญาโนมีจิตรกรรมฝาผนังที่ยังอยู่ในสภาพที่ดีมากโดยจิตรกรหลายคน ที่ประกอบด้วยภาพการตัดสินครั้งสุดท้าย, ฉากจากพันธสัญญาเดิมที่รวมทั้งเรื่องของโจป และ ชีวิตของพระเยซู และงานจิตรกรรมฝาผนังที่สำคัญอีกหลายชิ้น | |
งานโมเสกที่มหาวิหารซันมาร์โก มหาวิหารซันมาร์โกมีงานโมเสกอันงดงามตกแต่งประตูทางเข้า, ซุ้ม, ผนัง, เพดานโค้ง, โดม และ พื้น นอกจากนั้นก็ยังมีฉากกางเขน และ ฉากแท่นบูชาทองซานมาร์โค และเรลิกอีกมากมาย[15] เก็บถาวร 2006-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน | |
ประติมากรรมและหน้าต่างประดับกระจกสีที่มหาวิหารชาทร์ มหาวิหารชาทร์มีหน้าต่างประดับกระจกสีที่รวมทั้งหน้าต่างที่เชื่อกันว่าเป็นหน้าต่างประดับกระจกสีแรกของโลก นอกจากนั้นด้านหน้าก็ยังเป็นประตูที่ตกแต่งด้วยงานสลักหินของสมัยกอทิกอันวิจิตรตระการตา งานประติมากรรมจากคริสต์ศตวรรษที่ 12 ที่ประตูหลวงเป็นงานที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดงานหนึ่งในงานเขียนทางประวัติศาสตร์[16] เก็บถาวร 2006-04-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน | |
ทางเข้าด้านตะวันตกของโบสถ์แซงต์ทีโบต์, ทัน, โอต์-แรง ทางเข้าด้านตะวันตกของโบสถ์แซงต์ทีโบต์ ทันน์มีประตูทางเข้าที่ใหญ่และสลักเสลาอย่างสวยงาน ตอนบนเป็นหน้าบันซ้อนกันหลายชั้น แถบแต่งโค้ง และรูปปั้นที่เป็นฉาก 150 ฉากจากทั้งพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ที่ประกอบดัวยตัวปั้นกว่า 500 ตัว | |
หน้าต่างประดับกระจกสีของมหาวิหารแคนเทอร์เบอรี มหาวิหารแคนเทอร์เบอรีมีหน้าต่างประดับกระจกสีของต้นสมัยกอทิกมากกว่ามหาวิหารใดในอังกฤษ แต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็ได้มีการถอดหน้าต่างเหล่านี้บางส่วนไปเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ หรือ เป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมส่วนบุคคล โดยสร้างงานใหม่แทนที่ | |
ฉากแท่นบูชาเกนต์ มหาวิหารเกนต์มีงานฉากแท่นบูชาชิ้นเอก ฉากแท่นบูชานี้ฉากเดียวก็สามารถเป็น “พระคัมภีร์คนยาก” ได้ด้วยตนเอง ภาพต่าง ๆ บนฉากประดับแท่นบูชาประกอบด้วยภาพบาปกำเนิด และ การไถ่บาป โดยมีลูกแกะศักดิ์สิทธิ์แห่งพระเจ้าและพระเยซูประทับบนบัลลังก์เป็นศูนย์กลาง[17] | |
ภาพนักบุญแซ็คคาไรห์, เวนิส นักบุญเศคาริยาห์เป็นบิดาของนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมา เรื่องราวของนักบุญเศคาริยาห์ปรากฏในพระวรสารนักบุญลูกา. โบสถ์นักบุญเศคาริยาห์ เวนิสที่อุทิศให้แก่นักบุญเศคาริยาห์มีภาพเขียนสีน้ำมันอยู่หลายภาพโดยจิตรกรคนสำคัญของเวนิสที่รวมทั้งภาพแม่พระและพระกุมารล้อมรอบด้วยนักบุญโดยเบลลีนี[18] เก็บถาวร 2006-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน | |
หน้าต่างประดับกระจกสีของมหาวิหารเซนต์แอนดรูว์ ซิดนีย์ หน้าต่างประดับกระจกสีของมหาวิหารเซนต์แอนดรูว์สร้างขึ้นในสมัยที่มีการฟื้นฟูศิลปะที่สูญหายไปในสมัยวิกตอเรีย ในออสเตรเลียก็ได้มีการสร้างวัดในช่วงนี้ราวสิบสองวัดภายในช่วงห้าสิบปี วัดที่เก่าที่สุดคือมหาวิหารเซนต์แอนดรูว์ ที่เป็นมหาวิหารที่มีงานหน้าต่างประดับกระจกสีแบบอังกฤษของคริสต์ศตวรรษที่ 19 อย่างครบถ้วน ที่รวมทั้งภาพชุดชีวิตของพระเยซู, ปาฏิหาริย์ และ ตำนานแฝงคำสอน |
ระเบียงภาพ
แก้-
งานแกะงาช้าง
“การถวายพระกุมารในพระวิหาร”
คริสต์ศตวรรษที่ 14 -
ประติมากรรมนูน
“พระเยซูรับศีลจุ่ม”
คริสต์ศตวรรษที่ 13
แอบบีแซงต์เดอนีส์
ฝรั่งเศส -
หน้าต่างประดับกระจกสี
“การนมัสการของคนเลี้ยงแกะ” -
หน้าต่างประดับกระจกสี
“พระเยซูในสวนเกทเสมนี
และการหยันพระเยซู”
มหาวิหารเก้นท์
ราวคริสต์ศตวรรษที่ 16
เบลเยียม -
หน้าต่างประดับกระจกสี
“The Miraculous draught of Fish”
คริสต์ศตวรรษที่ 13
มหาวิหารแคนเตอร์บรี
อังกฤษ -
หน้าต่างประดับกระจกสี
“พระเยซูคืนชีพ”
คริสต์ศตวรรษที่ 20
สวิตเซอร์แลนด์ -
หน้าต่างประดับกระจกสี
“พระเยซูรักษาคนรับใช้ของทหาร”
ราวคริสต์ศตวรรษที่ 19
สเปเยอร์, เยอรมนี -
งานโมเสก
“พระเยซูผู้พิพากษา”
ค.ศ. 1090-ค.ศ. 1100
กรีซ
บรรณานุกรม
แก้- Donald Attwater - The Penguin Dictionary of Saints, Penguin Books (1965)
- Luciano Berti - Florence, the City and its Art, Becocci Editore (1979)
- Luciano Berti - The Uffizi, Becocci Editore (1971)
- Sarah Brown - Stained Glass, an Illustrated History, Bracken Books (1990) ISBN 1-85891-157-5
- T.Francis Bumpus - The Cathedrals and Churches of Belgium, T.Werner Laurie Ltd (1928)
- P.and C.Cannon Brooks - Baroque Churches, Paul Hamlyn (1969)
- Enzo Carli - Sienese Painting, Summerfield Press (1983) ISBN 0-584-50002-5
- Andre Chastel - The Art of the Italian Renaissance, Alpine Fine Arts Collection ISBN 0-88168-139-3
- Kenneth Clark, David Finn - The Florence Baptistery Doors, Thames and Hudson (1980)
- Sarel Eimerl - The World of Giotto, Time-Life Books, Amsterdam (1967) ISBN 0-900658-15-0
- Mgr. Giovanni Foffani - Padua- Baptistery of the Cathedral, Edizioni G Deganello (1988)
- Andre Grabar - The Beginnings of Christian Art, Thames and Hudson (1966)
- Howard Hibbard - Masterpieces of Western Sculpture, (1977)
- Rene Huyghe, editor - Larousse Encyclopedia of Byzantine and Medieval Art, Paul Hamlyn (1963)
- Simon Jenkins - England's Thousand Best Churches, Allen Lane, Penguin Press (1999) ISBN 0-713-99281-6
- Andrew Martindale - The Rise of the Artist in the Middle Ages and Early Renaissance, Thames and Hudson (1972) ISBN 0-500-56006-4
- Emile Male, The Gothic Image, Religious Art in France of the Thirteen Century, English trans of 3rd edn of 1913, Collins, London (and many other editions)
- Wim Swan - The Gothic Cathedral, Omega Books (1988) ISBN 0-907853-48-X
- Wim Swan - Art and Architecture of the Late Middle Ages, Omega Books (1988) ISBN 0-907853-35-8
- Rosella Vantaggi - San Gimignano, Town of Fine Towers, Plurigraf-Narni-Terni (1979)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- The Internet Biblia Pauperum
- Gallery of Ancient Mosaics เก็บถาวร 2006-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Villard de Honnecourt เก็บถาวร 2006-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The Catacombs of Rome
- The Joy of Shards- History of Mosaic Art เก็บถาวร 2017-10-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Udine, the City of Tiepolo เก็บถาวร 2010-03-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Frescoes in the Sistine Chapel
- Jacopo Robusti Tintoretto
- Medieval Stained Glass windows from Esslingen am Neckar
- Churches of Venice เก็บถาวร 2006-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The Churchmouse Website เก็บถาวร 2019-08-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
อ้างอิง
แก้- ↑ Poor Man's Bible, Bible materials, God's gender, helping oneself: Ask the Pastor The Rev. Walter P. Snyder
- ↑ Art101B--Aguilar - Scribe Ezra Rewriting the Sacred Records, from Codex Amiatinus. early 8th century
- ↑ มะลิฉัตร เอื้ออานันท์. “พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ” สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ. 2545
- ↑ มะลิฉัตร เอื้ออานันท์. “พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ” สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ. 2545
- ↑ the Book of Genesis, chapter 1 Holy Bible
- ↑ Genesis 2,10-14
- ↑ พระธรรมปฐมกาล 1:26[ลิงก์เสีย]