คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Faculty of Humanities and Social Sciences, Suansunandha Rajabhat University
ไฟล์:มนุษยศาสตร์ สวนนัน.jpg
คติพจน์คณะแห่งความเป็นเลิศทางวิชาการ วิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สถาปนา1 มีนาคม พ.ศ. 2548
คณบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ ศศิธรเสาวภา
ที่อยู่
เลขที่ 1 ถนนอู่ทองนอก
แขวงดุสิต เขตดุสิต
กรุงเทพมหานคร 10300
สี  สีเขียวอ่อน
เว็บไซต์hs.ssru.ac.th

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (อังกฤษ: Faculty of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Nakhon Pathom University)  เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม กระทรวงศึกษาธิการ

ประวัติ

แก้

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2518 ตามพระราชบัญญัติ ให้วิทยาลัยครูทุกแห่งเป็นสถาบันระดับอุดมศึกษาจึงได้มีการก่อตั้ง“คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” โดยได้เปิดสอนในระดับอนุปริญญาระดับปริญญาตรี 4 ปีและปริญญาตรี 2 ปี (หลังอนุปริญญา)สาขาการศึกษา  มีวิชาเอก 3 วิชาคือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2527 มีการพัฒนาหลักสูตร และเปิดสอนหลักสูตรศิลปะศาสตร์

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2535“คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” เปลี่ยนเป็น  “คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์”  ตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏและตำแหน่ง“หัวหน้าคณะ” เปลี่ยนเป็น“คณบดี”

ในปัจจุบันภาครัฐและภาคเอกชน มีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับภาษาต่างประเทศมากขึ้น โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทางคณะได้เปิดสอนวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาษาฝรั่งเศส และภาษาจีนเป็นวิชาเลือกของโปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยววิชาเลือกเสรีของโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจและโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งมีนักศึกษาสนใจเรียนมากขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี

ในปีก พ.ศ. 2545 ทางคณะฯ จึงได้จัดทำศักยภาพของโปรแกรมวิชาภาษาญี่ปุ่นและโปรแกรมวิชาภาษาจีนซึ่งประกอบด้วย  หลักสูตรแผนการเรียนอาจารย์ผู้สอนสื่อการสอนแหล่งวิทยาการแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพโดยเปิดสอน “โปรแกรมวิชาภาษาญี่ปุ่น” และ“โปรแกรมวิชาภาษาจีน”ในระดับปริญญาตรี 4 ปี และในเมื่อวันที่10 มิถุนายน 2545 ได้รับความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยนอร์มอลยูนนาน(Yunnan Normal University) ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในการจัดตั้งศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีน (Chinese Language and Culture Center) และได้เปิดอบรมหลักสูตรภาษาจีนให้กับคณาจารย์และประชาชนผู้สนใจรวมทั้งให้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยฯ ในการจัดการเรียน  การสอน“โปรแกรมวิชาภาษาจีน” ระดับปริญญาตรี  4  ปี

ต่อมา พ.ศ. 2546  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้ลงนามความร่วมมือทางวิชาการในการจัดการศึกษาสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยน��ร์มอลยูนนาน  (Joint Venture 2+2 Bachelor’s Degree Program) ทั้งนี้นักศึกษาจะเรียนที่มหาวิทยาลัยนอร์มอลยูนนาน  2 ปีและอีก 2 ปีที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาในสาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยนักศึกษาชาวจีนดังกล่าวจะเริ่มเรียนที่สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา 2548  เป็นต้นมา[1]

ค่านิยม

แก้
  • จัดการศึกษาเชิงคุณภาพสู่ความเป็นเลิศ
  • มุ่งมั่นปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
  • สร้างคุณค่าและนวัตกรรมให้กับผู้รับบริการ
  • โปร่งใส เสมอภาค ซื่อสัตย์ ยุติธรรม
  • บุคลากรทุกคนมีเกียรติ ศักดิ์ศรี มีคุณค่าต่อองค์กร

อัตลักษณ์

แก้

"เป็นนักปฏิบัติ ถนัดวิชาการ เชี่ยวชาญการสื่อสาร ชำนาญการคิด มีจิตสาธารณะ"

เอกลักษณ์

แก้

"เน้นความเป็นวัง ปลูกฝังองค์ความรู้ ยึดมั่นคุณธรรมให้เชิดชู เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่สากล"

ค่านิยม

แก้
  • W (Wisdom & Creativity) ปัญญาและความคิดสร้างสรรค์
  • H (Happiness & Loyalty) ความผาสุกและความภักดีในองค์กร
  • I (Intergration & Collaboration) บูรณาการ และความร่วมมือ
  • P (Professionalism) ความเป็นมืออาชีพ      

พันธกิจ

แก้
  1. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม คุณภาพระดับแนวหน้าตรงกับความต้องการของชุมชนและสังคม  ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้อยู่ร่วมในสังคมโลกอย่างมีความสุข
  2. วิจัยสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้สู่การพัฒนาท้องถิ่น ตลอดจนการพัฒนาภูมิปัญญาไทย  และเสริมสร้างทักษะภาษาต่างประเทศสู่สากล
  3. ให้บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ชุมชน สังคมและประชาคมอาเซียนอย่างมีคุณภาพ  เพื่อยกมาตรฐานชุมชน สังคม
  4. อนุรักษ์ พัฒนาให้บริการและศูนย์กลางบริการข้อมูลสารสนเทศทางด้านศิลปวัฒนธรรม  กรุงรัตนโกสินทร์สู่สากล

หลักสูตรการศึกษา

แก้
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ภาควิชา ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
กลุ่มมนุษยศาสตร์ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
  • สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
  • สาขาวิชาภาษาจีน
- -
กลุ่มสังคมศาสตร์ หลักสูตรสารสนเทศศาสตรบัณฑิต (สท.บ.)
  • สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์
    • แขนงระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
    • แขนงสารสนเทศศึกษา

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  • สาขาวิชาการบริหารสังคมและวัฒนธรรม
    • แขนงการจัดการพัฒนาสังคม
    • แขนงการจัดการทางวัฒนธรรม
  • สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและธุรกิจที่พัก
  • สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ
    • แขนงธุรกิจนำเที่ยวเพื่อสุขภาพและกีฬา
    • แขนงธุรกิจการบิน
    • แขนงการประชุมนิทรรศการ และอีเว้นท์

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.)

  • สาขารัฐประศาสนศาสตร์
    • แขนงการบริหารรัฐกิจ
    • แขนงการบริหารภาครัฐและเอกชน
  • สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น
  • สาขาวิชาบริหารงานตำรวจ

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.)

  • สาขาวิชานิติศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • สาขาวิชาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  • สาขาวิชาการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น
  • สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน
-

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้