มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (อังกฤษ: Buriram Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ และเป็นมหาวิทยาลัยประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อตุลาคม พ.ศ. 2514 ในนาม "วิทยาลัยครูบุรีรัมย์" ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
Buriram Rajabhat University | |
ชื่อเดิม | สถาบันราชภัฏบุรีรัมย์ |
---|---|
ชื่อย่อ | มรภ.บร. / BRU |
คติพจน์ | สุวิชโช ชเน สุโต โหตุ (ผู้มีความรู้ดี ย่อมเป็นเด่นในหมู่ชน) |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
สถาปนา | 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 |
สังกัดการศึกษา | กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
สังกัดวิชาการ | คณะวิชา 12 |
งบประมาณ | 502,386,400 บาท (พ.ศ. 2568)[1] |
นายกสภาฯ | รองศาสตราจารย์ คมเพชร ฉัตรศุภกุล |
อธิการบดี | รองศาสตราจารย์ มาลิณี จุโฑปะมา |
อาจารย์ | 415 คน (พ.ศ. 2560) |
บุคลากรทั้งหมด | 778 คน (พ.ศ. 2560) |
ผู้ศึกษา | 14,994 คน (พ.ศ. 2560) |
ที่ตั้ง | เลขที่ 439 ถนนจิระ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31000 |
เพลง | อาศิรวาทราชภัฏ |
ต้นไม้ | ราชพฤกษ์ |
สี | ████ สีม่วง สีเหลือง |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย |
ประวัติ
แก้มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ได้เริ่มก่อตั้งเป็น “วิทยาลัยครูบุรีรัมย์” การก่อสร้างได้เริ่มขึ้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2514 ด้วยความต้องการของทางราชการและประชาชนชาวจังหวัดบุรีรัมย์ นำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ (นายสุรวุฒิ บุญญานุสาสน์) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งนี้เพื่อสนองความต้องการของประเทศที่กำลังขาดแคลนวิทยาลัยครูบุรีรัมย์ได้เริ่มก่อตั้งเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2514 โดยได้รับงบประมาณ (ปีงบประมาณ 2515) จำนวน 9 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารเรียน 1 หลัง ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานด้านถนน ไฟฟ้า และประปา เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2547 มีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏขึ้นมาใช้แทนพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฎ มหาวิทยาลัยบุรีรัมย์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลทำให้การดำเนินการตามภารกิจมีความคล่องตัวมากขึ้น มีสภามหาวิทยาลัย สภาวิชาการ สภาส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยและสภาคณาจารย์และข้าราชการพลเรือน เกิดขึ้น การแบ่งส่วนราชการของมหาวิทยาลัยประกอบด้วยสำนักงานอธิการบดีคณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาการจัดการ สถาบันวิจัย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ และสำนักส่ง��สริมวิชาการและงานทะเบียน มีโครงการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเป็นหน่วย��านภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ได้ดำเนินการขอใช้พื้นที่ราชพัสดุบริเวณตำบลปะคำและตำบลหูทำนบซึ่งเดิมอยู่ในความดูแลของสถานีวิจัยและทดสอบพันธุ์สัตว์บุรีรัมย์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 1,834 ไร่ 1งาน 32 ตารางวา และกระทรวงการคลังได้อนุญาตให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวเมื่อเดือน กรกฎาคม 2548 ซึ่งมหาวิทยาลัยกำลังดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อจัดสร้างเป็นวิทยาเขต โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ท้องถิ่นตามปรัชญาของมหาวิทยาลัย
คณะ สำนักและสถาบัน
แก้- คณะครุศาสตร์
- คณะวิทยาศาสตร์
- คณะเทคโนโลยีการเกษตร
- คณะวิทยาการจัดการ
- คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
- คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
- คณะพยาบาลศาสตร์ (รับนักศึกษารุ่นแรกภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2561)
- บัณฑิตวิทยาลัย
- สถาบันวิจัยและพัฒนา เก็บถาวร 2006-04-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- โครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์
- โครงการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์
- โครงการจัดตั้งศูนย์การแพทย์ราชภัฏร่มเกล้า
บุคคลที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
แก้- เนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
- ครูโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
- ประยงค์ ชื่นเย็น เป็นนักเรียบเรียงเสียงประสานเพลงลูกทุ่งชื่อดัง
- ประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ 5 สมัย
- เพิ่มพูน ทองศรี เป็นนักการเมืองชาวไทย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบสัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 4 สังกัดพรรคพลังประชาชน และเป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดบุรีรัมย์
- เอมอร สินธุไพร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด
- อ.สัญญาลักษณ์ ดอนศรี นักประพันธ์เพลงลูกทุ่งหมอลำอีสาน
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๒๕, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๘