ปลาเทวดา
ชนิด P. scalare ชนิดพันธุ์ดั้งเดิม ที่เรียกว่า "ปลาเทวดาอัลตั้มเปรู" หรือ "ปลาเทวดาอัลตั้มโอริโนโค"
ภาพแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกันของส่วนหน้าของปลาเทวดาทั้ง 3 ชนิด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Cichlidae
วงศ์ย่อย: Cichlasomatinae
สกุล: Pterophyllum
Heckel, 1840
ชนิดต้นแบบ
Platax scalaris
Cuvier, 1831
ชนิด

ปลาเทวดา (อังกฤษ: Angelfish) เป็นปลาน้ำจืดในสกุล Pterophyllum (/เทอ-โร-ฟิล-ลั่ม/; เป็นภาษาละตินแปลว่า "ครีบใบไม้" ซึ่งหมายถึง ลักษณะรูปร่างลำตัวที่คม[1]) ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามกันอย่างหลากหลาย

ลักษณะ

แก้

มีรูปร่างโดยรวมเป็นรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว ลำตัวแบนข้างมาก มีปากขนาดเล็ก ครีบหลังเป็นกระโดงสูงอยู่ค่อนไปทางด้านหาง ครีบหลังบานยาวออกมาจากลำตัว ครีบท้องมีอยู่หนึ่งคู่เรียวเล็กและปลายชี้แหลม พบในลุ่มแม่น้ำอเมซอนและแม่น้ำโอริโนโคในทวีปอเมริกาใต้และลุ่มแม่น้ำใกล้เคียง มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงในถิ่นที่มีพืชพรรณไม้น้ำขึ้นหนาแน่น และสภาพน้ำมีความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 5-5.5

ในสมัยอดีต ในการทำเหมืองใต้ดิน จะมีการนำปลาเทวดาหย่อนลงไปทดสอบก่อนที่มนุษย์จะลงไป เนื่องจากอาจมีก๊าซพิษอยู่ภายในใต้ดิน เพราะปลาเทวดาเป็นปลาที่มีความอ่อนไหวต่อสภาพอากาศง่ายมาก ซึ่งจากการช่วยไม่ให้มีมนุษย์ต้องตายนั้นจึงทำให้ได้ชื่อสามัญว่า "Angelfish" หรือ "ปลาเทวดา"

การจำแนก

แก้

แบ่งออกได้เป็นทั้งหมด 3 ชนิด คือ

  • Pterophyllum altum เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุด เพราะมีความสูงของลำตัวเมื่อโตได้เต็มที่ถึง 15 นิ้ว ขณะที่ความยาวจากหัวถึงหางเพียง 8 นิ้วเท่านั้น มีหน้าผากที่ลาดกว่าชนิดอื่น ๆ มีพื้นลำตัวสีเทาอมเขียวและมีประกายสีเงินเคลือบทับทั่วตัว และมีลายเส้นสีดำจนหรือสีน้ำตาลไหม้พาดลำตัวเป็นแนวตั้งกลมกลืนกับจุดบนลำตัวก็ได้ โดยเส้นที่ยาวสุดจะเป็นเส้นที่ 5 ซึ่งเป็นเส้นบริเวณโคนหาง
  • Pterophyllum leopoldi มีรูปร่างอ้วนสั้นเนื่องจากมีครีบบนแ��ะครีบล่างสั้นกว่าชนิดอื่นอย่างเห็นได้ชัด และมีจุดใหญ่สีเข้มบนเส้นที่ 4 ที่คาดลำตัวโดยบางตัวก็จะอยู่บริเวณติดกับครีบบน และส่วนหน้าผากจะมีแนวลาดมากกว่า นอกจากนี้ปลาเทวดาสายพันธุ์นี้ยังมีจุดเด่นพิเศษอีกอย่างคือลายเส้นเล็กที่อยู่ระหว่างเส้นใหญ่คาดตา และเส้น��หญ่คาดอกนั้น จะเป็นเส้นเล็กจาง ๆ 2 เส้น ไม่ได้เป็นเส้นเดียวเหมือน 2 ชนิดข้างต้น และมีความแตกต่างอีกประการหนึ่งคือมีเหลือบสีฟ้าเปล่งประกายทั่วทั้งตัว
  • Pterophyllum scalare มีลักษณะภายนอกเหมือนชนิด P. altum ทุกประการ แต่มีขนาดลำตัวที่เล็กลงมากว่ามาก ซึ่งปลาในชนิดนี้จัดเป็นต้นตระกูลของปลาเทวดาทั้งหมดที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาตู้สวยงามเช่นทุกวันนี้ พบในแม่น้ำโอริโนโค

อนึ่ง นักมีนวิทยาบางคนได้จำแยกชนิดของปลาเทวดาให้มากกว่านี้ โดยมีชนิดถึง 5 ชนิด ได้แก่ P. dumerilii, P. eimekei ซึ่งเป็นอีก 2 ชนิดเพิ่มเติมขึ้นมา แต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ เพราะเชื่อว่าทั้ง 2 ชนิดนั้นได้กลายพันธุ์มาจากชนิดที่มีดั้งเดิมอยู่แล้วทั้ง 3

และสำหรับในชนิด P. altum นั้น ในปัจจุบันได้มีการนิยมเลี้ยงกันมากขึ้น โดยมีชื่อเรียกกันว่า "ปลาเทวดาป่า" หรือ "ปลาเทวดาอัลตั้ม" แต่เป็นชนิดที่เลี้ยงค่อนข้างยาก เนื่องจากปลามักปรับตัวให้กับสภาพน้ำไม่ได้ ซึ่งในปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว และในชนิด P. scalare ที่เป็นต้นตระกูลของสายพันธุ์ต่าง ๆ ในปัจจุบัน หากเป็นปลาที่เป็นปลาสายพันธุ์ดั้งเดิม ก็จะนิยมเรียกว่า "ปลาเทวดาอัลตั้มเปรู" หรือ "ปลาเทวดาอัลตั้มโอริโนโค"

ปลาสวยงาม

แก้

ปลาเทวดาได้รับความนิยมในแง่ของการเป็นปลาตู้สวยงามมาช้านาน โดยผู้เลี้ยงนิยมเลี้ยงในตู้ไม้น้ำ ซึ่งปลาเทวดาเป็นปลาที่มีอุปนิสัยเรียบร้อย แต่ถ้าหากก้าวร้าวแล้วก็จะค่อนข้างยากที่จะเลี้ยงรวมกับปลาประเภทอื่น ๆ โดยมนุษย์นั้นได้พัฒนาสายพันธุ์ของปลาเทวดาชนิด P. scalare ให้มีสีสันแตกต่างจากเดิมไปมาก เช่น "ปลาเทวดาหินอ่อน" ที่มีสีสันเป็นสีดำสลับกับขาวทั้งตัว, "ปลาเทวดาดำ" ที่เป็นสีดำทั้งตัว, "ปลาเทวดาแพล็ตตินั่ม" ที่มีทั้งสีขาวสะอาดตา ดวงตาสีดำ และสีทองเหลือบเป็นประกายทั้งตัว ดวงตาสีแดง, "ปลาเทวดามุก" ที่เป็นสีเหลืองอ่อน ๆ ดูสะอาดตาทั้งตัว เป็นต้น

การขยายพันธุ์ของปลาเทวดา สามารถกระทำได้ในตู้เลี้ยง โดยวางไข่ติดกับวัตถุใต้น้ำที่มีลักษณะค่อนข้างมั่นคงแข็งแรง การวางไข่แต่ละครั้งประมาณ 300-1,000 ฟอง ใช้เวลาฟักเป็นตัวราว 36 ชั่วโมง ปลาที่พร้อมจะผสมพันธุ์และวางไข่ได้มีอายุตั้งแต่ 8-10 เดือนขึ้นไป

รูปภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Ocheltree, Courtney (November 13, 2015). "The angelfish's Latin name, Pterophyllum, means "winged leaf", a reference to their body shape". ทวิตเตอร์. สืบค้นเมื่อ July 20, 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Pterophyllum ที่วิกิสปีชีส์