ทวีปอเมริกาใต้

ทวีปในซีกโลกใต้

อเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรพาดผ่าน อยู่ในซีกโลกตะวันตกและมีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ เป็นอนุทวีปทางใต้ของทวีปอเมริกา มีการใช้ทวีปอเมริกาใต้ในการเรียกแทนภูมิภาคต่าง ๆ (เช่น ลาตินอเมริกา กรวยใต้) เพิ่มมากขึ้นอันเป็นผลมากจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์[5]

อเมริกาใต้
พื้นที่17,840,000 ตารางกิโลเมตร (6,890,000 ตารางไมล์) (อันดับที่ 4)
ประชากร420,458,044 (พ.ศ. 2560; อันดับที่ 5)[1]
ความหนาแน่น21.4 คน/ตารางกิโลเมตร
จีดีพี (อำนาจซื้อ)6.53 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ ค.ศ. 2021; อันดับที่ 5)[2]
จีดีพี (ราคาตลาด)2.90 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ ค.ศ. 2021; อันดับที่ 4)[3]
จีดีพีต่อหัว6,720 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ ค.ศ. 2021; อันดับที่ 5)[4]
เดมะนิมชาวอเมริกาใต้
ประเทศ
ดินแดน
ภาษา
เขตเวลาUTC-2 ถึง UTC-5
เมืองใหญ่รายชื่อเมืองในทวีปอเมริกาใต้
รหัส UN M49005 – อเมริกาใต้
419ลาตินอเมริกา
019ทวีปอเมริกา
001โลก
แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้

ทางตะวันตกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันออกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก และทางเหนือติดกับทวีปอเมริกาเหนือ และ ทะเลแคริบเบียน ทวีปอเมริกาใต้ประกอบด้วยรัฐอธิปไตย 12 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา โบลิเวีย บราซิล ชิลี โคลอมเบีย เอกวาดอร์ กายอานา ปารากวัย เปรู ซูรินาม อุรุกวัย และ เวเนซุเอลา 1 จังหวัดโพ้นทะเลของฝรั่งเศส เฟรนช์เกียนา และดินแดนในภาวะพึ่งพิงอย่าง หมู่เกาะฟอล์กแลนด์และดินแดนโพ้นทะเลของบริเตน นอกจากนี้หมู่เกาะเอบีซี, เซนต์เฮเลนา อัสเซนชัน และตริสตันดากูนยา, เกาะบูเว, บางส่วนของปานามา, เกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช, ประเทศตรินิแดดและโตเบโก มักนับรวมอยู่ในเขตของทวีปอเมริกาใต้ด้วย

อเมริกาใต้มีขนาดพื้นที่��ระมาณ 17,840,000 ล้านตารางกิโลเมตร ใน ค.ศ. 2018 มีประชากรอยู่ที่ 423 ล้านคน[1] อเมริกาใต้มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 รองจาก เอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ บราซิลเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในทวีป คิดเป็นมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรในทวีป รองลงมาคือ โคลัมเบีย อาร์เจนตินา เวเนซุเอลา และเปรู ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา บราซิล สามารถสร้างมูลค่าจีดีพีได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของจีดีพีทวีป ทำให้บราซิลขึ้นเป็นมหาอำนาจประจำภูมิภาคนี้[5]

การตั้งถิ่นฐานของประชากรจะตั้งถิ่นฐานบริเวณชายฝั่งทางตะวันตกและทางตะวันออกของทวีป ภายในทวีปและภูมิภาคปาตาโกเนียเป็นพื้นที่ ๆ มีการตั้งถิ่นฐานเบาบางที่สุด บริเวณทางตะวันตกและทางใต้ของทวีปมีลักษณะเป็นเทือกเขา ส่วนทางตะวันออกจะมีทั้งพื้นที่สูง และที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ โดยมีแม่น้ำสายใหญ่ที่สำคัญ เช่น แม่น้ำแอมะซอน แม่น้ำโอริโนโก แม่น้ำปารานาไหลผ่าน ทวีปอเมริกาใต้ส่วนใหญ่อยู่ในเขตร้อน

วัฒนธรรมและชาติพันธุ์ของประชากรในทวีปนี้มีต้นกำเนิดจากปฏิสัมพันธ์ของชนพื้นเมืองกับกองกิสตาดอร์และผู้อพยพชาวยุโรป ชาวพื้นเมืองกับทาสชาวแอฟริกัน ผลจากการเป็นอาณานิคมเป็นเวลานานทำให้ประชากรส่วนใหญ่ในทวีปพูดภาษาโปรตุเกสและภาษาสเปนเป็นหลัก มีวัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตแบบตะวันตก ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้นเมื่อนำเทียบกับ ยุโรป เอเชีย และ แอฟริกาแล้วอเมริกาใต้ถือเป็นทวีปที่สงบสุขและมีสงครามเพียงเล็กน้อย[6]

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์

แก้
 

หลักฐานทางโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ พบว่ามีคนอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ตั้งแต่ประมาณ 12,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยพบเครื่องมือหินและเครื่องใช้ที่ทำด้วยหนังสัตว์ในประเทศชิลี กระทั่ง 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในประเทศเปรูปัจจุบันมีวัฒนธรรมนาสคาเกิดขึ้น โดยมีการศึกษาเกี่ยวกับการโคจรของดวงอาทิตย์และมีการใช้เครื่องประดับ

ประชากรในทวีปอเมริกาใต้ สันนิษฐานว่าอพยพมาจากทวีปเอเชียเข้าสู่ทวีปอเมริกาเหนือโดยผ่านช่องแคบเบริง แล้วเดินทางลงใต้ผ่านอเมริกากลางจนถึงอเมริกาใต้เช่นปัจจุบัน ดังนั้นชนพื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้และอเมริกาเหนือจึงมีความสัมพันธ์กันทางเชื้อชาติ โดยในเปรู อินเดียนแดงได้สร้างจักรวรรดิอินคา ครอบคลุมอาณาเขตกว้างขวางทางตะวันตกของทวีป โดยมีเมืองกุสโกเป็นศูนย์กลางของอาณาจักร

ในปี พ.ศ. 2042 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เดินทางด้วยเรือมายังรอยต่อของอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ซึ่งชื่อของเขาก็เป็นที่มาของประเทศโคลอมเบียในปัจจุบัน กระทั่ง พ.ศ. 2043 ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปโดยเฉพาะประเทศสเปน อิตาลี โปรตุเกส อังกฤษ และฝรั่งเศส ได้เข้ามาสำรวจ และยึดครองดินแดนเป็นอาณานิคมเป็นจำนวนมาก ประเทศเจ้าของอาณานิคมจากยุโรปยึดครองและได้ผลประโยชน์จากดินแดนในทวีปอเมริกาใต้มานานหลายร้อยปี จนกระทั่งใน พ.ศ. 2261 โฆเซ เด ซาน มาร์ติน ปลดปล่อยประเทศอาร์เจนตินา, ชิลี, และเปรูให้เป็นอิสระจากสเปน และปลดปล่อยประเทศบราซิลให้เป็นอิสระจากโปรตุเกสในเวลาต่อมา ปัจจุบันประเทศฝรั่งเศสยังคงยึดครองดินแดนเฟรนช์เกียนาทางตอนเหนือของทวีปเอาไว้

ลักษณะทางกายภาพ

แก้

ทำเลที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

ทวีปอเมริกาใต้ตั้งอยู่บนซีกโลกใต้เป็นส่วนมากโดยอยู่ระหว่างละติจูดที่ 12 องศาเหนือ ถึง 56 องศาใต้ และลองจิจูด 35 องศาตะวันออก ถึง 117 องศาตะวันตก มีเนื้อที่ประมาณ 17.8 ล้านตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยล่ะ 14 ของแผ่นดินโลก ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก และมีเนื้อที่แผ่นดินติดต่อกันทำให้ชายฝั่งของทะเลมีน้อยเมื่อเทียบกับขนาดของทวีป โดยทวีปอเมริกาใต้มีแผ่นดินใหญ่รูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม

อาณาเขต

แก้

ทวีปอเมริกาใต้มีอาณาเขตติดต่อกับทวีปต่าง ๆ ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับประเทศปานามาของทวีปอเมริกาเหนือ และจดทะเลแคริบเบียน
ทิศตะวันออก จดมหาสมุทรแอตแลนติก อาณาเขตสิ้นสุดที่เกาะจอร์เจียใต้
ทิศตะวันตก จดมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ และอาณาเขตสิ้นสุดที่เกาะอีสเตอร์ของประเทศชิลี
ทิศใต้ จดช่องแคบเดรกในทวีปแอนตาร์กติกา และ อาณาเขตสิ้นสุดที่แหลมฮอร์นของประเทศชิลี

ทวีปอเมริกาใต้ประกอบด้วย 13 ประเทศ และ 3 เขตการปกครอง ซึ่งแบ่งออกตามลักษณะภูมิประเทศได้ 4 กลุ่ม ดังนี้

  • เขตที่สูงกายอานา อยู่ทางตอนเหนือของทวีป มี 4 ประเทศ คือ ประเทศกายอานา ซูรินาม เวเนซุเอลา และโคลอมเบีย ประเทศโคลอมเบียมีประชากรมากที่สุดในเขตนี้
  • เขตเทือกเขาแอนดีส อยู่ทางภาคตะวันตกของทวีป ประกอบด้วย 4 ประเทศ คือ ประเทศเปรู เอกวาดอร์ โบลิเวีย และ ชิลี ประเทศโบลิเวียมีเนื้อที่มากที่สุด ส่วนประเทศเปรูมีประชากรมากที่สุดในเขตนี้
  • เขตลุ่มน้ำตะวันออกเฉียงใต้ของเทือกเขาแอนดิส ประกอบด้วยประเทศอาร์เจนตินา ปารากวัย และ อุรุกวัย ประเทศอาร์เจนตินามีเนื้อที่และประชากรมากที่สุดในเขตนี้
  • เขตลุ่มน้ำแอมะซอนและที่ราบสูงบราซิล ได้แก่ ประเทศบราซิล ซึ่งมีเนื้อที่มากกว่า 8.5 ล้านตารางกิโลเมตร

ตารางแสดงประเทศในทวีปอเมริกาใต้

ประเทศ พื้นที่
(km²)
ประชากร
(1 กรกฎาคม 2548)
ความหนาแน่น
(per km²)
เมืองหลวง
  กายอานา   214,970     765,283 3.6 จอร์จทาวน์
  โคลอมเบีย 1,138,910  42,954,279 37.7 โบโกตา
  ชิลี [7]   756,950  15,980,912 21.1 ซานเตียโก
  ซูรินาม   163,270     438,144 2.7 ปารามาริโบ
  บราซิล 8,514,877 187,550,726 22.0 บราซิเลีย
  โบลิเวีย 1,098,580   8,857,870 8.1 ซูเกร
  ปารากวัย   406,750   6,347,884 15.6 อาซุนซิออน
  เปรู 1,285,220  27,925,628 21.7 ลิมา
  เวเนซุเอลา   912,050  25,375,281 27.8 การากัส
  หมู่เกาะฟอล์กแลนด์    12,173       2,967 0.24 สแตนลีย์
  อาร์เจนตินา 2,766,890  39,537,943 14.3 บัวโนสไอเรส
  อุรุกวัย   176,220   3,415,920 19.4 มอนเตวิเดโอ
  เอกวาดอร์   283,560  13,363,593 47.1 กีโต
  เกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช (  บริเตนใหญ่)     3,093           0a 0 คิงเอดเวิร์ดพอยต์
  เฟรนช์เกียนา (  ฝรั่งเศส)    91,000     195,506 2.1 กาแยน

ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้

แก้
จุดที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ สถานที่ ประเทศ (จังหวัด/แคว้น/รัฐ)
จุดเหนือสุด แหลมกายีนาส ประเทศโคลอมเบีย (จังหวัดกวาคีรา)
จุดใต้สุด แหลมฟาวเวิร์ด ประเทศชิลี (แคว้นมากายาเนสและลาอันตาร์ตีกาชีเลนา)
จุดตะวันออกสุด แหลมโคเคอรูส ประเทศบราซิล (รัฐปาราอีบา)
จุดตะวันตกสุด แหลมปารีนเนียส ประเทศเปรู (แคว้นปิวรา)
ยอดเขาที่สูงที่สุด ยอดเขาอากอนกากวา ประเทศอาร์เจนตินา (รัฐเมนโดซา)
เกาะที่ใหญ่ที่สุด เกาะติเอร์ราเดลฟูเอโก ประเทศอาร์เจนตินา (รัฐติเอร์ราเดลฟูเอโก) และประเทศชิลี (แคว้นมากายาเนสและลาอันตาร์ตีกาชีเลนา)
แม่น้ำที่ยาวที่สุด แม่น้ำแอมะซอน ประเทศเปรู (แคว้นโลเรโต), ประเทศโคลอมเบีย (จังหวัดอามาโซนัส), และประเทศบราซิล (รัฐอามาโซนัส, รัฐปารา, รัฐอามาปา)
ผิวน้ำต่ำที่สุด ทะเลสาบซานตากรุซ ประเทศอาร์เจนตินา (รัฐซานตากรุซ)

ลักษณะภูมิประเทศ

แก้

แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่

เขตที่สูงกายอานา

แก้

เขตที่สูงกายอานาประกอบด้วย เขตที่สูงกายอานา (Guiana Highland) และที่ลุ่มยาโนส (Llanos) เป็นพื้นที่อยู่ทางทิศเหนือสุดของทวีป เป็นหินอัคนีหรือหินแกรนิต มีความยาวในแนวตะวันออกถึงตะวันตกมากว่า 1,600 กิโลเมตร พื้นที่สูงเริ่มจากตอนใต้ของประเทศเวเนซุเอลาไปถึงเหนือสุดของประเทศบราซิล ประกอบด้วยที่ราบสูง มีร่องน้ำลึกมาก มีน้ำตกที่สูงสุดของโลก คือ น้ำตกเอนเจลซึ่งมีความสูง 979 เมตร

ที่ลุ่มยาโนสอยู่ทางทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือของที่สูงกายอานา เป็นพื้นที่ราบลุ่มระหว่างเทือกเขาแอนดีสและที่สูงกายอานา อยู่ในประเทศโคลอมเบียและประเทศเวเนซุเอลา มีแม่น้ำที่สำคัญ คือ โอริโนโค (Orinoco) ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำทำให้เป็นที่ราบลุ่มสมบูรณ์

เขตเทือกเขาแอนดีส

แก้

เทือกเขาแอนดีส เป็นเทือกเขาแคบวางตัวยาวในแนวเหนือ-ใต้เลียบชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ เริ่มตั้งแต่แหลมเหนือสุดของทวีปอเมริกาใต้ เป็นแนวยาวลงไปจนสุดแหลมฮอร์นของประเทศชิลี ด้านทิศตะวันตกติดมหาสมุทรแปซิฟิก มีชายฝั่งแคบมากและภูเขาสูงชัน มีแม่น้ำสายสั้น ๆ ไหลลงมหาสมุทรแปซิฟิก บางบริเวณเป็นเขตแห้งแล้งหรือหนาวเย็นจัด ด้านทิศตะวันออกของเทือกเขาแอนดีสจะมีความลาดชันน้อยกว่าซีกตะวันตก และเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสำคัญ เช่น แม่น้ำแอมะซอน เป็นต้น

เขตลุ่มน้ำภาคใต้

แก้

เขตลุ่มน้ำภาคใต้อยู่ทางทิศตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส เริ่มตั้งแต่ตอนใต้ของประเทศโบลิเวียไปจนสุดแหลมภาคใต้ของประเทศอาร์เจนตินา ประกอบด้วยที่ราบแพมพาส (Pampas) และปาตาโกเนีย (Patagonia) ในประเทศอาร์เจนตินา

ที่ราบแพมพาสมีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติขนาดใหญ่ และมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านไปลงสู่อ่าวริโอเดลาปลาตา (Río de la Plata) ระหว่างเมืองหลวงของประเทศอุรุกวัย (กรุงมอนเตวิเดโอ) และประเทศอาร์เจนตินา (กรุงบัวโนสไอเรส)

ที่ราบปาตาโกเนีย มีภูมิอากาศแบบทะเลทรายหนาวเย็น อยู่ทางตอนใต้ของประเทศอาร์เจนตินา มีพื้นที่ค่อนข้างขรุขระและมีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น พื้นที่บางส่วนเป็นธารน้ำแข็งและทะเลสาบ ชายฝั่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเพนกวิน, แมวน้ำ, วาฬ, และสัตว์อื่น ๆ ที่อาศัยอยู่

เขตลุ่มแม่น้ำแอมะซอนและที่สูงบราซิล

แก้

เขตลุ่มน้ำแอมะซอนและที่สูงบราซิลในประเทศบราซิล เริ่มตั้งแต่ด้านตะวันออกของเทือกเขาแอนดีสในประเทศเปรูจนถึงด้านตะวันออกของบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกลุ่มน้ำแอมะซอน หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "แอมะโซเนีย" (Amazonia) เป็นพื้นที่ราบต่ำ มีระดับความสูงต่ำกว่า 200 เมตร มีความลาดเทน้อยมาก แม่น้ำมีความยาว 6,570 กิโลเมตร คลุมพื้นที่มากกว่า 8 ล้านตารางกิโลเมตร พื้นที่เต็มไปด้วยป่าดิบชื้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ส่วนที่สูงบราซิลอยู่ทางทิศตะวันออกติดมหาสมุทรแอตแลนติก เริ่มตั้งแต่ตอนกลางของประเทศบราซิลลงไปติดประเทศอุรุกวัย มีความยาวประมาณ 1,280 กิโลเมตร ประกอบด้วยภูเขาไม่สูงมากนัก นอกจากภูมิประเทศทั้งหมด 4 เขต แล้ว ทวีปอเมริกาใต้ยังมีชายฝั่งทะเล โดยทางตะวันออกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก และทางตะวันตกติดมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งบริเวณชายฝั่งทางตอนใต้ของทวีปจะเป็นฟยอร์ด (Fjord) ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของธารน้ำแข็ง และมีสัตว์หลายชนิดอาศัยอยู่

ทางตอนเหนือของทวีปมีแม่น้ำไหลลงทะเลแคริบเบียน แม่น้ำแอมะซอนไหลจากเทือกเขาแอนดีสลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกที่เมืองมากาปา ประเทศบราซิล โดยบริเวณปากแม่น้ำนั้นมีเกาะเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีแม่น้ำปารากวัย, แม่น้ำอุรุกวัย, แม่น้ำซาลาโต, แม่น้ำซูบัต, และแม่น้ำสายสั้น ๆ อีกจำนวนมาก ไหลจากทางทิศตะวันตกของทวีปไปลงมหาสมุทรแอตแลนติกทางด้านตะวันออก

ลักษณะภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติ

แก้

ลักษณะภูมิอากาศ

แก้

ทวีปอเมริกาใต้ มีเนื้อที่ส่วนมากอยู่ในเขตร้อน โดยเฉพาะทางตอนเหนือของทวีป จะมีลักษณะอากาศแบบมรสุมเขตร้อนจนถึงแบบอบอุ่น ส่วนในทางใต้จะได้รับอิทธิพลจากขั้วโลกใต้ ทำให้มีอากาศหนาวเย็น สามารถแบ่งภูมิอากาศตามแบบเคิปเปนได้ดังนี้

  1. เขตภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น หรือฝนตกชุกเขตร้อน (Af) และภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน (Am) มีฝนตกชุกมากทั้งปี เช่น พื้นที่ชายฝั่งตะวันตกและตอนใต้ของประเทศโคลอมเบีย ตอนเหนือและชายฝั่งตะวันออกของประเทศบราซิล เป็นต้น
  2. เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) เป็นเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้นสลับแล้ง ได้แก่ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศบราซิลและทางทิศตะวันตกของประเทศเอกวาดอร์
  3. เขตภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตร้อน (BWh) เป็นเขตภูมิอากาศที่มีฝนตกน้อยกว่า 250 มิลลิเมตรต่อปี เช่น พื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศเวเนซุเอลาที่ติดกับทะเลแคริบเบียน เป็นต้น
  4. เขตภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตหนาว (BWk) เป็นเขตภูมิอากาศแบบทะเลทรายแต่มีอากาศหนาวเย็น ได้แก่ พื้นที่ทางตะวันตกของเทือกเขาแอนดีส ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณประเทศเปรูและชิลี
  5. เขตภูมิอากาศแบบแห้งแล้งกึ่งทะเลทรายหรือทุ่งหญ้าสเตปป์ (BSh) เป็นเขตภูมิอากาศแบบแห้งแล้ง ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในรอบปี 380-760 มิลลิเมตร ได้แก่ พื้นที่ทางเหนือสุดของทวีปในประเทศโคลอมเบียและทางตอนกลางของอาร์เจนตินา
  6. เขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Cfa) เป็นเขตที่มีฝนตกชุก เนื้องจากชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันออก มีกระแสน้ำอุ่นบราซิลไหลเลียบชายฝั่งลงมาทางทิศใต้ เช่น บริเวณประเทศอาร์เจนตินาและอุรุกวัยที่ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก
  7. เขตภูมิอากาศแบบชื้นภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก (Cfb) มีฤดูหนาวยาวนาน ได้แก่ พื้นที่ด้านตะวันตกของประเทศชิลีและปลายแหลมของทวีป
  8. เขตภูมิอากาศแบบที่สูง (H) เป็นภูมิอากาศที่หนาวเย็นบนเทือกเขาสูง ได้แก่ บริเวณเทือกเขาแอนดีส

ลักษณะพืชพรรณธรรมชาติ

แก้

ทวีปอเมริกาใต้เป็นทวีปที่มีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุดในโลก โดยลุ่มน้ำแอมะซอนนั้นเป็นพื้นที่ป่าไม้เขตร้อนที่สำคัญ พืชพรรณธรรมชาติในทวีปอเมริกาแบ่งออกได้เป็นเขต

ป่าดิบ

แก้

เป็นป่าไม้ที่มีลำต้นสูง ไม่มีกิ่วสาขาในระดับต่ำ รากมีลักษณะเป็นแนวนูนขึ้นมาบนต้น ใบใหญ่ และมีสีเขียวตลอดปี พันธุ์ไม้มีความหลากหลายมาก มักพบกล้วยไม้ ไม้เลื้อย เช่น เถาวัลย์ เฟิร์น และมอส เป็นต้น ป่าดิบชื้นในลุ่มน้ำแอมะซอนเป็นป่าไม้ประมาณร้อยล่ะ 25 ของพื้นที่ป่าไม้โลก นอกจากนั้นยังพบป่าดินชื้นในประเทศเวเนซุเอลา โคลอมเบีย และเอกวาดอร์ อีกด้วย

หมายเหตุ

แก้
  1. บางครั้งถูกรวมด้วย ขึ้นอยู่กับคำนิยามของชายแดนอเมริกาเหนือ-ใต้ ประเทศปานามาอาจอยู่ในกลุ่มประเทศข้ามทวีป
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 ถูกรวมเป็นครั้งคราว ในทางกายภาพเป็นส่วนหนึ่งของอเมริกาใต้ แต่ในทางภูมิรัฐศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของอเมริกาเหนือ
  3. ถูกรวมเป็นครั้งคราว เกาะภูเขาไฟโดดเดี่ยวบนแผ่นอเมริกาใต้ ในทางธรณีวิทยา เกาะอัสเซนชันเป็นส่วนหนึ่งของอเมริกาใต้ แต่ในทางภูมิรัฐศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของทวีปแอฟริกา
  4. ถูกรวมเป็นครั้งคราว เกาะภูเขาไฟโดดเดี่ยวระหว่างแผ่นแอฟริกากับแผ่นแอนตาร์กติก ในทางชีวภูมิศาสตร์และธรณีวิทยา เกาะบูเวมีส่วนเกี่ยวข้องกับแอนตาร์กติกา ถึงแม้ว่าในทางภูมิศาสตร์มันจะอยู่ใกล้กับแอนตาร์กติกาและแอฟริกา แผนโลกของสหประชาชาติจัดให้เกาะนี้อยู่ในอเมริกาใต้แทน
  5. ในทางธรณีวิทยา เกาะเซาท์จอร์เจียและส่วนใต้สุดของอเมริกาใต้ฝั่งแผ่นดินใหญ่อยู่ในแผ่นสโกเชีย ในขณะที่หมู่เกาะเซาท์แซนด์วิชอยู่ใกล้กับแผ่นแซนด์วิช ในทางชีวภูมิศาสตร์และอุทกวิทยา เกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิชมีส่วนเกี่ยวข้องกับแอนตาร์กติกา แผนโลกของสหประชาชาติได้รวมดินแดนพิพาทในอเมริกาใต้ด้วย

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
  2. "GDP PPP, current prices". International Monetary Fund. 2021. สืบค้นเมื่อ 16 January 2021.
  3. "GDP Nominal, current prices". International Monetary Fund. 2021. สืบค้นเมื่อ 16 January 2021.
  4. "Nominal GDP per capita". International Monetary Fund. 2021. สืบค้นเมื่อ 16 January 2021.
  5. 5.0 5.1 Schenoni, Luis L. (1 January 1970). "Unveiling the South American Balance". Estudos Internacionais 2(2): 215–232. สืบค้นเมื่อ 8 December 2016.
  6. Holsti 1996, p. 155
  7. Includes Easter Island in the Pacific Ocean, a Chilean territory frequently reckoned in Oceania. Santiago is the administrative capital of Chile; Valparaíso is the site of legislative meetings.

ข้อมูล

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้