ประวัติศาสตร์ออสเตรีย
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
ประวัติศาสตร์ออสเตรีย ในช่วงก่อนปลายศตวรรษที่ 8 ประเทศออสเตรียมีชนชาติอพยพต่าง ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ได้แก่ ชนเผ่าเยอรมันที่ข้ามแม่น้ำดานูบลงมาทางตอนใต้ และชาวสลาฟที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ออสเตรีย จนสิ้นสุดศตวรรษที่ 8 ชาร์เลอมาญ (Charlemagne) ได้ก่อตั้งเขตชายแดนระหว่างแม่น้ำอินส์ แรบและดราวา เพื่อเป็นป้อมปราการ ป้องกันการรุกราน ของชาวเอวาร์ และภายหลังจากที่ชาวโรมันได้อพยพออกไป นักบวชชาวไอริชและสก็อตจึงได้เข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนา ในดินแดนบริเวณเทือกเขาอัลไพน์แห่งนี้ ราชวงศ์บาเบนแบร์ก (Babenberg) ของชาวบาวาเรียนได้เข้าปกครองออสเตรียในปี พ.ศ. 1519 ซึ่งยังมีประชาชนอยู่เพียงเล็กน้อย
ในศตวรรษต่อ ๆ มา ราชวงศ์บาเบนเบิร์กได้ใช้ยุทธศาสตร์สร้างความแข็งแกร่ง ให้แก่อาณาจักร และขยายประเทศไปอย่างกว้างขวาง ภายหลังจากทางราชวงศ์ได้หมดอำนาจลง ในกลางศตวรรษที่ 13 ราชวงศ์ฮับส์บูร์ก (Habsburg) ได้เข้ามามีอำนาจในดินแดนนี้แทน และขยายอาณาเขตออกไป จนถึงแถบประเทศสเปน จนกระทั่ง ในปี 2065 ราชวงศ์ฮับส์บูร์กจึงได้แตกออกเป็นสายออสเตรีย และสายสเปน อย่างไรก็ตาม ราชวงศ์ฮับส์บูร์กยังคงขยายอาณาเขตต่อไป โดยในปี พ.ศ. 2069 ได้ผนวกดินแดนโบฮีเมียและฮังการีเข้าไว้ด้วย
ในช่วงศตวรรษที่ 16 และ 17 ออสเตรียต้องเผชิญหน้ากับอาณาจักรออตโตมัน แต่โดย ที่ออสเตรียสามารถเอาชนะกองทัพของอาณาจักรออตโตมันได้ ออสเตรียจึงได้ครอบครองดินแดนเพิ่มขึ้น และกลายเป็นมหาอำนาจรายหนึ่งในยุโรป ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 18 จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา และจักรพรรดิโยเซฟที่ 2 ได้ทำการปฏิรูปและวางรากฐานการปฏิรูปการบริหารจัดการของรัฐให้ทันสมัย แต่การปฏิวัติฝรั่งเศสและสงครามนโปเลียนได้ทำให้สถานการณ์ทางการเมืองในขณะนั้นเปลี่ยนไป
จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. 2488 เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ฝ่ายพันธมิตรได้ช่วยออสเตรียให้ฟื้นตัวขึ้น สู่ความเป็นประเทศสาธารณรัฐอีกครั้ง แต่ออสเตรียยังคงถูกยึดครองโดยกองทัพฝรั่งเศส อังกฤษ สหภาพโซเวียต และสหรัฐอเมริกาจนถึงปี 2498 ซึ่งได้มีการลงนามใน สนธิสัญญาประเทศออสเตรีย และในปีเดียวกัน รัฐสภาออสเตรียได้ออกกฎหมายให้ออสเตรียเป็นประเทศที่มีสถานะเป็นกลางอย่างถาวร ออสเตรียได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538
ก่อนสมัยกลาง
แก้ดินแดนที่เป็นประเทศออสเตรียปัจจุบันมีมนุษย์อาศัยตั้งแต่ยุคหินเก่าและเป็นเหมืองเกลือที่สำคัญในยุคหินใหม่ การตั้งบ้านเมืองเป็นราชอาณาจักรเริ่มเมื่อราว พ.ศ. 93 โดยชาวเคลต์ที่เข้ามาตั้งราชอาณาจักรนอริคัมทางใต้ของแม่น้ำดานูบ จนกระทั่ง พ.ศ. 528 จึงถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน
เมื่อจักรวรรดิโรมันล่มสลายใน พ.ศ. 1019 ดินแดนนอริคัมถูกรุกรานโดยชนเผ่าเยอรมันทางตอนเหนือและชนเผ่าอื่น ๆ ทั้งชาวแวนดัล ชาวฮ่น ชาวบาวาเรียน และชาวสลาฟ ในช่วงระหว่างยุคการรุกรานของบาบาเรียน อนารยชนสลาฟแห่งคารานทาเนียนได้อพยพมาในเทือกเขาแอลป์และขยายอาณาเขตกว้างขึ้นเรื่อยๆช่วงระหว่างศตวรรษที่ 7 ได้รวมกับพวกเซลโต-โรมานิกและก่อตั้งดินแดนคาเรนทาเนียครอบคลุมภาคตะวันออกและภาคกลางของออสเตรีย ในช่วงนั้นชนเผ่าเยอรมันแห่งบาวาเรียได้เข้ามาบุกเบิกในช่วงศตวรรษที่ 5 และ 6 ทางภาคตะวันตกของประเทศและในบาวาเรียซึ่งปัจจุบันคือ วอรารล์เบิร์กที่พวกอารามานเข้ามาอยู่ ชนเผ่าเยอรมันได้รวมกับพวกราเอโต-โรมานิกและผลักดันให้พวกอารามานต้องอพยพไปอยู่ในเทือกเขา
คาเรนทาเนียภายใต้การกดขี่ของเผ่าเอวาร์ได้ประกาศอิสรภาพจากบาวาเรียใน พ.ศ. 1288 และได้กลายเป็นมาร์กราเวียท (เคานท์) ระหว่างผ่านไปหลายศตวรรษ ชาวบาวาเรียนได้อพยพลงมาแถบแม่น้ำดานูบและขึ้นไปในเทือกเขาแอลป์ และปัจจุบันชาวออสเตรียจึงนิยมพูดภาษาเยอรมันกันมากพวกบาวาเรียนได้อยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์คาโรลินเจียนและได้กลายเป็นดัชชีแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ตามลำดับ ต่อมา ดยุกทาซิลโลที่ 3 แห่งบาวาเรียผู้ต้องการอิสรภาพแก่บาวาเรียได้ถูกกำจัดและขับไล่ไปจากบาวาเรียโดยชาร์เลอมาญใน พ.ศ. 1331
พระเจ้าชาร์เลอมาญทรงเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในจักรวรรดิของพระองค์ เมื่อพระองค์สวรรคตและเกิดการแย่งชิงราชสมบัติของพระราชนัดดา จนมีการแบ่งราชอาณาจักรแฟรงค์ตามสนธิสัญญาแวร์เดิง ออสเตรียเป็นส่วนหนึ่งของแฟรงค์ตะวันออกและถูกรุกรานโดยฮังการีในพ.ศ. 1452
ออสเตรียภายใต้ราชวงศ์บาเบนเบิร์ก
แก้หลังจากจักรพรรดิออทโทมหาราชกำจัดชาวแมกยาร์หรือชาวฮังการีในการต่อสู้ที่เลชฟิลด์ เมื่อ พ.ศ. 1498 พระองค์ได้สร้างเมืองหน้าด่านจากแม่น้ำดานูบไปจนถึงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเบนส์ ซึ่งทำให้ออสเตรียมีความสำคัญยิ่งขึ้น ชื่อ "ออสเตรีย" ปรากฏครั้งแรกในปีพ.ศ. 1509 ในเอกสารออสตราริชิซึ่งอ้างถึงดินแดนของบาเบนเบิร์ก คำว่า Austria ในภาษาละตินมาจากภาษาเยอรมัน Österreich ที่แปลว่าดินแดนตะวันออก เหล่าขุนนางใหม่ ๆ ได้ถูกแต่งตั้งขึ้นในออสเตรีย ผู้หนึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม "มาร์เชีย ออเรียนทอลลิส" (marchia orientalis) ซึ่งกลายเป็นเสาหลักแห่งแดนออสเตรีย
ออทโทที่ 1 ได้มอบเมืองหน้าด่านทางตะวันออกให้มาร์เกรฟเลโอโปลด์แห่งบาเบนเบิร์กในปี พ.ศ. 1515 ซึ่งได้มีการขยายแนวพรมแดนไปถึงแม่น้ำไลทา และตั้งกรุงเวียนนาเป็นเมืองหลวงเมื่อ พ.ศ. 1683 ในศตวรรษต่อ ๆ มา ราชวงศ์บาเบนเบิร์กได้ใช้ยุทธศาสตร์สร้างความแข็งแกร่ง ให้แก่อาณาจักรและขยายประเทศไปอย่างกว้างขวาง ในปี พ.ศ. 1699 เอกสาร Privilegium Minus ได้ยกระดับออสเตรียขึ้นเป็นดัชชี ในปี พ.ศ. 1735 บาเบนเบิร์กได้รับสิทธิในการครอบครองดัชชีแห่งสไทเรียด้วยข้อตกลงจอร์เกนเบิร์ก ในเวลานั้น ดยุกบาเบนเบิร์กได้กลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลมากที่สุดในภูมิภาคออสเตรีย เจริญสูงสุดในสมัยดยุกลีโอโปลด์ที่ 6 แห่งออสเตรีย (พ.ศ. 1741 - พ.ศ. 1773)
ตระกูลบาเบนเบิร์กหรือบาเบนแบร์กสิ้นสายลงใน พ.ศ. 1789 หลังจากเจ้าชายฟรีดริชที่ 2 ดยุกแห่งออสเตรีย ถูกสังหารในการรบกับชาวฮังการี สภาฐานันดรของออสเตรียเลือกพระเจ้าออทโทคาร์ที่ 2 แห่งโบฮีเมียเป็นประมุขคนใหม่ ซึ่งสร้างความไม่พอใจแก่เคานต์รูดอล์ฟที่ 4 แห่งฮับบูร์กที่ต้องการครอบครองออสเตรียเช่นกัน จากข้อมูลในเอกสาร interregnum ในระยะเวลา 10 ปีระหว่างนี้มีการโต้แย้งกันอย่างมาก พระเจ้าออทโทคาร์ที่ 2แห่งโบฮีเมียได้เข้ายึดครองดัชชีแห่งออสเตรีย สไทเรียและคารินเทียทั้งหมด จนกระทั่งเคานต์รูดอล์ฟที่ 4 ได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิรูดอล์ฟที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จึงบีบบังคับให้พระเจ้าออทโทคาร์ที่ 2 แห่งโบฮีเมียยกออสเตรียและดินแดนใกล้เคียงให้พระองค์ ผลสุดท้ายเกิดสงครามขึ้น และพระเจ้าออทโทคาร์ที่ 2 แห่งโบฮีเมียสิ้นพระชนม์ในสนามรบเมื่อ พ.ศ. 1821 ทำให้ออสเตรียอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮับส์บูร์กจนกระทั่งเปลี่ยนการปกครองเป็นสาธารณรัฐ
ออสเตรียสมัยราชวงศ์ฮับส์บูร์ก
แก้จุดเริ่มต้น (พ.ศ. 1821 - พ.ศ. 2069 )
แก้หลังจากพระเจ้าออทโทคาร์พ่ายแพ้และสวรรคตกลางสมรภูมิให้กับกษัตริย์ชาวเยอรมันในปีพ.ศ. 1821 ออสเตรียได้อยู่ภายใต้อำนาจแห่งราชวงศ์ฮับส์บูร์กหรือราชวงศ์ออสเตรียยาวนานถึง 640 ปี ราชวงศ์ฮับบูร์กได้ขยายอำนาจปกครองดินแดนทางตะวันออกของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์มากขึ้นจนออสเตรียมีความสำคัญมากขึ้นไปด้วย ราชวงศ์ฮับส์บูรก์ได้ทำการรวบรวมแคว้นหรือดัชชีเล็ก ๆ ในอาณาบริเวณของออสเตรียเช่น ดัชชีเล็ก ๆ ที่อยู่ใกล้ ๆ ดานูบและสไทเรียที่ได้มาจากสมัยพระเจ้าออตโตกาใกล้ ๆออสเตรีย คารินเทียและคานิโอลาได้ตกอยู่ภายใต้ฮับส์บูร์กในปีพ.ศ. 1878 แคว้นไทรอลได้ในปีพ.ศ. 1906 แคว้นเหล่านี้ได้กลายเป็นที่รู้จักกันในนาม "ดินแดนการสืบทอดของฮับส์บูร์ก" (the Habsburg Hereditary Lands) และส่วนมากจะเรียกกันอย่างกว้างขวางว่า ออสเตรีย
การครองราชย์ภายในเวลาอันสั้นของดยุกรูดอล์ฟที่ 4 แห่งออสเตรีย พระอนุชาของพระองค์คือ ดยุกอัลเบิร์ตที่ 3 แห่งออสเตรียและดยุกลีโอโปลด์ที่ 3 แห่งออสเตรียได้ขัดแย้งกันและต้องลงสนธิสัญญานอยบูร์ก ในปี พ.ศ. 1922 ซึ่งทำให้แยกอำนาจของราชวงศ์ฮับบูร์กเป็นสองสายคือสายของดยุกอัลเบิร์ตได้ครอบครองออสเตรียในขณะที่สายของดยุกลีโอโปลด์ครอบครองออสเตรียใน (Inner Austria) คือ สไทเรีย คารินเทียและคานิโอลา ในปี พ.ศ. 1945 มีการแตกแยกกันในสายของดยุกลีโอโปลด์ เมื่อดยุกเออร์เนสผู้โหดเหี้ยมยึดออสเตรียในและดยุกเฟรเดริกที่ 4 แห่งออสเตรียได้ครอบครองแคว้นไทรอลและออสเตรียไกล (Further Austria) การแบ่งแยกนี้ดำรงอยู่จน พ.ศ. 2000 เมื่อพระเจ้าลาดิสลัสที่ 5 กษัตริย์แห่งฮังการีและโบฮีเมีย สมาชิกองค์สุดท้ายของราชวงศ์ฮับบูร์กสายอัลเบิร์ตสิ้นพระชนม์ ราชวงศ์ฮับบูร์กสายเลโอโปลด์ที่มีจักรพรรดิเฟเดอริกที่ 3 จึงรวบรวมแผ่นดินให้เป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จ
ในพ.ศ. 1981 ดยุกอัลเบิร์ตที่ 5 แห่งออสเตรียได้รับเลือกให้เป็น จักรพรรดิซีกิสมุนด์แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ต่อจากพ่อตาของพระองค์ แต่ถึงแม้ว่าพระองค์จะเป็นพระจักรพรรดิแต่จักรพรรดิพระองค์อื่นเป็นพระราชวงศ์ฮับส์บูร์ก มีเพียงพระองค์เป็นพระองค์เดียวที่ไม่ใช่และได้รับการยกเว้น ราชวงศ์ฮับส์บูร์กได้ทำการรวบรวมดินแดน ในปีพ.ศ. 2020 อาร์ชดยุกมักซีมีเลียนพระโอรสในจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 ได้อภิเษกสมรสกับดัซเซสแมรีผู้ร่ำรวยทำให้ได้สิทธิในการครอบครองกลุ่มประเทศต่ำ พระโอรสของพระองค์เจ้าชายฟิลิปรูปงามได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงแห่งคาสตีลและอารากอนทำให้ได้สิทธิในการครอบครองกลุ่มประเทศสเปน อิตาลี แอฟริกาและทวีปโลกใหม่ แต่ในปีพ.ศ. 2063 จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 ได้ให้ดินแดนเหล่านี้แก่พระอนุชาคือสมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
ออสเตรียและการปฏิรูปศาสนา
แก้สมาชิกราชวงศ์ฮับบูร์กได้แต่งงานกับทายาทของรัฐหรือแคว้นต่าง ๆ ทำให้รุ่นต่อ ๆ มา เชื้อสายของราชวงศ์ฮับบูร์กจึงมีอำนาจปกครองดินแดนกว้างขวางตั้งแต่ออสเตรีย เนเปิล ซิซิลี ซาร์ดิเนีย และกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ (เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก) ในปี พ.ศ. 2069 จากยุทธการโมเฮ็คส์ทำให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 2 แห่งฮังการีผู้เป็นพระญาติของพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์สิ้นพระชนม์ในสมรภูมิ จักรพรรดิเฟอร์ดินานด์จึงทรงขยายอาณาเขตโดยรวมโบฮีเมียและส่วนหนึ่งของฮังการีที่ไม่ได้ถูกจักรวรรดิออตโตมันยึดครอง ราชวงศ์ฮับบูร์กได้ขยายอิทธิพลไปยังฮังการี ทำให้ยากที่จะปกครองได้ทั่วถึง รวมทั้งมีภัยรุกรานจากชาวเติร์ก จนนำไปสู่สงครามสิบสามปีหรือสงครามยาว ตั้งแต่พ.ศ. 2136 - พ.ศ. 2149
จักรพรรดิชาลส์ที่ 5กับอาร์ซดุกส์เฟอร์ดินานได้ทำกติกาสัญยาแห่งวอร์มและกติกาสัญญาแห่งบรัสเซลล์แยกดินแดนของราชวงศ์ฮับบูร์กเป็นสองส่วนแบ่งกันปกครอง ทำให้ราชวงศ์ฮับบูร์กแยกเป็นสองสาขาใหญ่ คือสายสเปนและสายออสเตรีย การแบ่งแยกเป็นอย่างสมบูรณ์เมื่อจักรพรรดิชาลส์ที่ 5 สวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2095 และเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นมหาอำนาจใจยุโรปของออสเตรีย
ออสเตรียและเหล่าแคว้นสายราชวงศ์ฮับบูร์ก (ฮังการีและโบฮีเมีย) ได้รับผลกระทบอย่างมากในการปฏิรูปศาสนา แม้ว่าเหล่าผู้นำฮับบูร์กจะยังคงนับถือนิกายโรมันคาทอลิก แต่แคว้นต่าง ๆ ได้เปลี่ยนมานับถือลูเธอรัน ที่ซึ่งพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 1 และเหล่ารัชทายาทคือ จักรพรรดิมักซีมีเลียนที่ 2 จักรพรรดิรูดอล์ฟที่ 2 และ จักรพรรดิมัททีอัสทรงอดทนอดกลั้นต่อเรื่องนี้มาก
ในช่วงหลังศตวรรษที่ 16 อย่างไรก็ตามการปฏิรูปย้อนกลับและคณะแห่งพระเยซูเจ้า (เยสุอิต) ไดมีอิทธิพลมากและการศึกษาของเยซูอิต อาร์ชดยุกแฟร์ดีนันด์ผู้ครองรัฐสติเรีย ดัชชีแห่งคารินเทียและคาร์นิโอลาได้เป็นพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทรงมีกำลังในการปราบปรามพวกนอกรีตในอาณาจักรที่ทรงปกครอง
ออสเตรียและสงครามสามสิบปี
แก้ในพ.ศ. 2162 อาร์ชดยุกเฟอร์ดินานด์ได้รับเลือกให้สืบราชบัลลังก์พระจักรพรรดิต่อจากพระญาติคือ พระจักรพรรดิแม็ทไธยัส ด้วยความที่จักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 2 ทรงเป็นผู้เคร่งในศาสนาอย่างแรงกล้าและดื้อรั้นทำให้ทรงเป็นที่รู้จักกันมาก พระองค์ทรงดำเนินการฟื้นฟูคาทอลิกไม่เพียงเฉพาะแคว้นรัชทายาทแต่โบฮีเมียและฮับบูร์กออสเตรียมีผู้นับถือโปรแตสแตนต์มากที่สุดในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทางนอกอาณาจักรทรงเป็นผู้แข็งกร้าวและไม่ประนีประนอมทรงนำพาอาณาจักรเข้าสู่สงครามสามสิบปีในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2161 ได้เกิดการแบ่งฝ่าย เป็นที่รู้ในการกบฏในโบฮีเมียหลังจากมีความเห็นขัดแย้งกัน พระองค์ได้ให้ความสะดวกแก่ชาวคาทอลิกไปที่ใดก็ได้ พระองค์ทรงกำหนดกฤษฎีกาแห่งการฟื้นฟูในปี พ.ศ. 2172 ซึ่งยุ่งยากแก่การปกครอง ความสัมพันธ์และการยืดเวลาออกไป พระองค์ทรงประสบความสำเร็จในช่วงกลาง พระองค์ทรงมีพลังในการปลุกใจทหารดังเช่นในการปิดล้อมที่เม็กเดบูร์ก
หลังสงคราม
แก้หลังจากสงครามสามสิบปีระหว่างรัฐที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทดลิกและโปรแตสแตนท์สิ้นสุดลงใน พ.ศ. 2191 อำนาจของประมุขออสเตรียในฐานะจักรพรรดิของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ได้ด้อยลง แต่เมื่อออสเตรียเป็นผู้นำในการทำสงครามกับชาวเติร์กจนยับยั้งความพยายามในการยึดกรุงเวียนนาสำเร็จใน พ.ศ. 2226 และขับไล่ชาวเติร์กที่ยึดครองกรุงบูดา เมืองหลวงของฮังการีสำเร็จใน พ.ศ. 2229 ขุนนางฮังการีจึงมอบอำนาจการปกครองฮังการีให้แก่ราชวงศ์ฮับบูร์ก
พ.ศ. 2243 ราชวงศ์ฮับบูร์กสายสเปนสิ้นสายลง ทำให้เกิดสงครามการสืบราชบัลลังก์สเปนระหว่างฝรั่งเศสกับออสเตรีย สงครามสิ้นสุดลงใน พ.ศ. 2257 โดยออสเตรียยอมรับสิทธิของราชวงศ์บูร์บงในการปกครองสเปน โดยออสเตรียได้ปกครองเนธอร์แลนด์ของสเปน (เบลเยียมในปัจจุบัน) และดินแดนในคาบสมุทรอิตาลีที่เคยเป็นของราชวงศ์ฮับบูร์กสายสเปน
ปัญหาสำคัญของราชวงศ์ฮับบูร์กคือการขาดรัชทายาทที่เป็นชาย จนกระทั่งสมัยจักรพรรดิคาร์ลที่ 6 ซึ่งไม่มีราชโอรสได้ทำข้อตกลงในพระราชกฤษฎีกา พ.ศ. 2256 กับประเทศต่าง ๆ เพื่อค้ำประกันสิทธิของพระราชธิดา จนกระทั่งพระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2283 พระธิดาคืออาร์ชดัชเชสมาเรีย เทเรซา ขึ้นครองราชสมบัติแทน พระเจ้าเฟรเดริก วิลเลียมที่ 2 แห่งปรัสเซียเห็นเป็นโอกาสจึงเข้ายึดครองแคว้นไซลีเชียของออสเตรีย ทำให้เกิดสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรียขึ้น สงครามสิ้นสุดเมื่อ พ.ศ. 2288 โดยออสเตรียเป็นฝ่ายพ่ายแพ้เสียแคว้นไซลีเชียให้กับออสเตรียตามสนธิสัญญาเดรสเดิน โดยพระเจ้าเฟรเดริก วิลเลียมที่ 2 ยินยอมสนับสนุนดุ๊กฟรานซิส สตีเวนแห่งลอร์แรน สวามีของอาร์ชดัชเชสมาเรีย เทเรซา ขึ้นเป็นจักรพรรดิของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ออสเตรียภายใต้การปกครองของจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา และพระโอรสคือจักรพรรดิโจเซฟที่ 2 มีความก้าวหน้าและเริ่มขยายอำนาจของออสเตรียไปทางยุโรปตะวันออก และได้ดินแดนเพิ่มขึ้นจากการเข้าไปร่วมแบ่งโปแลนด์ครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2315 กับรัสเซียและปรัสเซีย และครั้งที่ 3 ใน พ.ศ. 2338 นอกจากนั้นยังได้ดินแดนบูโดวินซ์จากจักรวรรดิออตโตมันเมื่อ พ.ศ. 2318
การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
แก้หลังการปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2332 ออสเตรียพยายามช่วยเหลือพระนางมารี อ็องตัวแน็ต ซึ่งเป็นสมาชิกราชวงศ์ฮับบูร์ก ทำให้เกิดสงครามระหว่างฝรั่งเศสกับออสเตรียเมื่อ พ.ศ. 2335 ซึ่งเรียกว่าสงครามปฏิวัติฝรั่งเศสและสงครามนโปเลียน ผลของสงครามออสเตรียเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ เสียดินแดนไปมากมาย การขยายตังของจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 ทำให้จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งออสเตรียตัดสินใจแยกตัวออกจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ยกดินแดนออสเตรียขึ้นเป็นจักรวรรดิออสเตรีย สถาปนาพระองค์เองเป็นจักรวรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิออสเตรียเมื่อ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2347 และสละตำแหน่งจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เมื่อ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2349 ทำให้การดำรงอิสริยยศจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ของราชวงศ์ฮับบูร์กสิ้นสุดลง
เว็บไซต์อ้างอิง
แก้