ศาลรัฐธรรมนูญ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ศาลรัฐธรรมนูญ (อังกฤษ: constitutional court) เป็นศาลสูงที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาเกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยมีอำนาจหลักที่จะวินิจฉัยว่า กฎหมายใดมีปัญหาเรื่องความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ เช่น ขัดกับสิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้หรือไม่
ในหลาย ๆ ประเทศ ไม่จัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญเป็นเอกเทศ และศาลยุติธรรมตามธรรมดาจะรับคดีดังกล่าวเอง นอกจากนี้ ในหลาย ๆ ประเทศก็ไม่เรียกองค์กรนี้ว่า "ศาลรัฐธรรมนูญ" และบางประเทศก็เรียกศาลยุติธรรมว่า ศาลรัฐธรรมนูญ เช่น ศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกาได้ชื่อว่าเป็น "ศาลรัฐธรรมนูญที่เก่าแก่ที่สุดในโลก" เพราะเป็นศาลแรกในโลกที่วินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายต่าง ๆ (คดีระหว่างมาร์บิวรีกับเมดิสัน) แม้ว่าในประเทศสหรัฐอเมริกาจะไม่จัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญเป็นการเฉพาะก็ตาม ส่วนประเทศที่สถาปนาศาลรัฐธรรมนูญอย่างเอกเทศเป็นแห่งแรกของโลกนั้น คือ ประเทศออสเตรีย ซึ่งดำเนินการใน ค.ศ. 1920 แม้ว่าจะถูกเลื่อนไปในราว ๆ ค.ศ. 1934 ถึง 1945 ตามรัฐธรรมนูญที่จัดตั้งศาลนั้น อนึ่ง ก่อนหน้านี้ มีเพียงสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียเท่านั้นที่รับเอาทฤษฎีการทบทวนโดยฝ่ายตุลาการมาใช้ในศาลสูงสุดของประเทศตน
รายชื่อ
แก้ต่อไปนี้เป็นรายชื่อศาลรัฐธรรมนูญที่จัดตั้งขึ้นเป็นเอกเทศ
ระเบียงภาพ
แก้-
อาคารศาลรัฐธรรมนูญคอซอวอ ณ กรุงพริสตีนา (Pristina)
-
อาคารศาลรัฐธรรมนูญโครเอเชีย ณ กรุงซาเกร็บ (Zagreb)
-
ห้องประชุมใหญ่ของศาลรัฐธรรมนูญเช็ก ณ เมืองเบอร์โน (Brno)
-
ที่ทำการคณะตุลาการรัฐธรรมนูญโปแลนด์ ณ กรุงวอร์ซอ (Warszawa)
-
ห้องประชุมปรึกษาคดีของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส (Paris)
-
อาคารศาลรัฐธรรมนูญยูเครน ณ กรุงเคียฟ (Kiev)
-
อาคารศาลรัฐธรรมนูญกลางแห่งเยอรมนี ณ เมืองคาร์ลสรูอา (Karlsruhe)
-
อาคารศาลรัฐธรรมนูญรัสเซีย ณ เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (Saint Petersburg)
-
อาคารศาลรัฐธรรมนูญลิทัวเนีย ณ กรุงวิลนีอุส (Vilnius)
-
อาคารศาลรัฐธรรมนูญสเปน ณ กรุงมาดริด (Madrid)
-
อาคารศาลรัฐธรรมนูญสโลวาเกีย ณ เมืองคอซีเชอ (Košice)
-
ศาลรัฐธรรมนูญออสเตรีย ศาลรัฐธรรมนูญที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ ณ กรุงเวียนนา (Vienna) จน ค.ศ. 2012
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ศาล