ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 สายคลองแงะ–จุดผ่านแดนถาวรสุไหงโก-ลก (เขตแดนไทย/มาเลเซีย) หรือที่เรียกกันในช่วงจังหวัดปัตตานีถึงนราธิวาสว่า ถนนเพชรเกษมสายปัตตานี–นราธิวาส[1] หรือ ถนนเกาหลี[2] หรือ บาตะฮ์กอลี ในภาษามลายูปัตตานี[3] เป็นทางหลวงแผ่นดินที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส มีระยะทางตลอดทั้งสาย 263.779 กิโลเมตร

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42
ถนนเพชรเกษมสายปัตตานี–นราธิวาส, ถนนเกาหลี
ข้อมูลของเส้นทาง
ส่วนหนึ่งของ
ความยาว262.312 กิโลเมตร (162.993 ไมล์)
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตก ถ.กาญจนวณิชย์ ใน อ.สะเดา จ.สงขลา
 
ปลายทางทิศตะวันออก ทางหลวงสหพันธ์หมายเลข 3 ในรันเตาปันจัง รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

รายละเอียดของเส้นทาง

แก้

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 มีจุดเริ่มต้นบนถนนกาญจนวณิชย์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4) ที่บ้านคลองแงะ ตำบลพังลา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เส้นทางมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก ในช่วงแรกเป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร ผ่านอำเภอนาทวี อำเภอเทพา เข้าเขตจังหวัดปัตตานีที่อำเภอโคกโพธิ์ แล้วมุ่งขึ้นเหนือไปยังอำเภอหนองจิก ซึ่งหลังจากนี้ เส้นทางได้ขยายเป็น 4 ช่องจราจร และเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 18 แล้วมุ่งไปทางตะวันออกเข้าอำเภอเมืองปัตตานี อำเภอยะหริ่ง ต่อจากนั้นก็มุ่งไปทางทิศใต้เข้าเขตอำเภอปะนาเระ อำเภอสายบุรี แล้วเข้าสู่จังหวัดนราธิวาสที่อำเภอบาเจาะ ผ่านอำเภอยี่งอ อำเภอเมืองนราธิวาส อำเภอตากใบ และอำเภอสุไหงโก-ลก แล้วสิ้นสุดที่จุดผ่านแดนถาวรสุไหงโก-ลก บริเวณชายแดนมาเลเซีย-ไทย ที่ตำบลสุไหงโก-ลก เชื่อมต่อกับทางหลวงสหพันธ์มาเลเซียหมายเลข 3 ที่เมืองรันเตาปันจัง รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย

ประวัติ

แก้

ก่อนที่จะมีการกำหนดหมายเลขทางหลวง ถนนในช่วงปัตตานี-นราธิวาสมีชื่อว่า ทางหลวงแผ่นดินสายปัตตานี–นราธิวาส ต่อมาได้รับการขนานนามว่า ถนนรามโกมุท เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นเกียรติแก่หลวงปริญญาโยควิบูลย์ (ชม-อุบล รามโกมุท) นายช่างควบคุมการสร้าง[4]

ในสมัยก่อนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 ในช่วงบ้านคลองแงะ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ถึงบ้านดอนยาง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เป็นเส้นทางสายหลักในการเดินทางระหว่างจังหวัดสงขลาสู่จังหวัดปัตตานีแต่เมื่อมีการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 43 ขึ้น ทำให้รถที่สัญจรไปมาได้หันไปใช้เส้นทางนี้แทน เนื่องจากช่วยย่นเวลาและระยะทางได้ดีกว่า และยังเป็นทางหลวงขนาด 4 ช่องจราจร ขณะที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 ช่วงคลองแงะ–ดอนยาง เป็นทางหลวงขนาด 2 ช่องจราจร

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 เคยมีจุดสิ้นสุดอยู่ที่ตัวเมืองนราธิวาส มีระยะทางในตอนนั้นประมาณ 198 กิโลเมตร ต่อมาได้มีการรวมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4084 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4057 เข้าเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงสายนี้ด้วย เพื่อเชื่อมต่อกับจุดผ่านแดนที่สุไหงโก-ลก

รายชื่อทางแยก

แก้
รายชื่อทางแยกบน   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 ทิศทาง: คลองแงะ-สุไหงโก-ลก
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
  คลองแงะ - ดอนยาง
สงขลา 0+000 แยกคลองแงะ     ถนนกาญจนวณิชย์ ไป อำเภอหาดใหญ่     ถนนกาญจนวณิชย์ ไป อำเภอสะเดา, ด่านพรมแดนสะเดา แห่งที่ 1
29+183 แยกนาทวี   ทล.408 ไป อำเภอจะนะ, อำเภอเมืองสงขลา ไม่มี
29+693 แยกวังโต้ ไม่มี   ทล.408 ไป ด่านศุลกากรบ้านประกอบ
60+132 แยกลำไพล   ทล.4085 ไป อำเภอเทพา   ทล.4085 ไป อำเภอสะบ้าย้อย, อำเภอยะหา
ปัตตานี 82+600 แยกนาเกตุ   ทล.42 ไป อำเภอหนองจิก, อำเภอเมืองปัตตานี   ทล.409 ไป จังหวัดยะลา
ตรงไป: ปน.2010 ทางหลวงชนบท ปน.2010 ไปบ้านบาซาเอ
89+600 แยกดอนยาง     ทล.43 ไปอำเภอเทพา, อำเภอหาดใหญ่   ทล.43 ไปวงเวียนมะพร้าวต้นเดียว, อำเภอยะหริ่ง
    ดอนยาง - นราธิวาส
ปัตตานี สะพาน ข้ามคลองชลประทาน
แยกดอนรัก 4296 ถนนหนองจิก เข้าตัวเมืองปัตตานี ไม่มี
100+236 แยกงาแม่นอก   ทล.418 ไป บรรจบถนนหนองจิก   ทล.418 ไป อำเภอแม่ลาน, ยะลา
สะพาน ข้ามแม่น้ำปัตตานี
103+658 แยกตะลุโบะ ถนนยะรัง เข้าตัวเมืองปัตตานี   ทล.410 ไป อำเภอยะรัง, ยะลา
4355 ถนนรามโกมุท เข้าตัวเมืองปัตตานี ไม่มี
107+900 แยกบานา 4356 ทล.4356 ไปบ้านแหลมนก, ท่าเรือปัตตานี ไม่มี
112+800 แยกบ้านดี ไม่มี   ทล.43 ไป อำเภอเทพา, อำเภอหาดใหญ่
ปน.2062 ทางหลวงชนบท ปน.2062 ไป อำเภอยะหริ่ง, บ้านตะโละกาโปร์ ปน.2020 ทางหลวงชนบท ปน.2020 ไปบ้านตาแกะ, บ้านกระโด
126+208   ทล.4075 ไป อำเภอปะนาเระ ไม่มี
135+108 แยกปาลัส   ทล.4061 ไป อำเภอปะนาเระ   ทล.4061 ไป อำเภอมายอ
145+325 ปน.2061 ทางหลวงชนบท ปน.2061 ไป อำเภอสายบุรี   ทล.4074 ไป อำเภอทุ่งยางแดง
สะพาน ข้ามแม่น้ำสายบุรี
152+866   ทล.4060 ไป อำเภอสายบุรี   ทล.4060 ไป อำเภอกะพ้อ
154+559   ทล.4157 ไป อำเภอสายบุรี ไม่มี
สะพาน ข้ามคลองกอตอ
นราธิวาส 159+042   ทล.4136 ไปบ้านละเวง, อำเภอไม้แก่น ไม่มี
160+461   ทล.4167 ไป อำเภอไม้แก่น, บ้านดอนทราย   ทล.4168 ไป อำเภอกะพ้อ
171+196   ทล.4155 ไปบ้านทอน, ท่าอากาศยานนราธิวาส ทางหลวงท้องถิ่น ไปบ้านปาแตรายอ
180+096 แยกยาโง๊ะ   ทล.4066 ไป ท่าอากาศยานนราธิวาส   ทล.4066 ไป จังหวัดยะลา
ไม่มี 4300 ทล.4300 ไป อำเภอยี่งอ
ไม่มี 4300 ทล.4300 ไป อำเภอยี่งอ
193+536 แยกปูต๊ะ ไม่มี     ทล.42 ไป อำเภอตากใบ, อำเภอสุไหงโก-ลก
ตรงไป:   ถนนสุริยะประดิษฐ์ เข้าตัวเมืองนราธิวาส
    นราธิวาส - สุไหงโก-ลก
นราธิวาส สะพาน ข้ามคลองยะกัง
197+333 แยกลำภู   ถนนระแงะมรรคา ไป อำเภอระแงะ   ถนนระแงะมรรคา เข้าตัวเมืองนราธิวาส
สะพาน ข้ามแม่น้ำบางนรา
211+988 แยกสะปอม   ถนนจตุรงค์รัศมี เข้าตัวเมืองนราธิวาส     ทล.42 ไป อำเภอตากใบ
229+962 แยกตากใบ ไม่มี     ทล.42 ไปอำเภอสุไหงโก-ลก
ตรงไป: 4327 ทล.4327 ไป อำเภอตากใบ, บ้านตาบา
262+283 แยกสุไหงโก-ลก     ถนนทรายทอง 5 ไปด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก ไม่มี
ตรงไป: นธ.2031 ถนนทรายทอง 4 ไป อำเภอสุไหงปาดี
ไม่มี ถนนทรายทอง 5 ไป สถานีรถไฟสุไหงโก-ลก
ตรงไป: ทางข้ามทางรถไฟสายใต้ ไปด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก
262+929 เชื่อมต่อจาก:   ทล.4056 จาก อำเภอสุไหงปาดี
ทางข้าม ทางรถไฟสายใต้ ไป อำเภอตากใบ ไม่มี
263+779 สะพาน ข้ามแม่น้ำโก-ลก
ตรงไป:     ทางหลวงสหพันธ์หมายเลข 3 ไปเมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

อ้างอิง

แก้
  1. "แผนที่ทางหลวงในความควบคุมของสำนักทางหลวงที่ 15 (สงขลา)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. ""ปาตานี" นครแห่งความทรงจำ". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  3. Najib Bib Ahmad. "ถนนเกาหลี". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  4. ประวัติที่มาของชื่อ ถนนทางหลวง ต่างๆ

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้