ตำบลสามชุก
สามชุก เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นที่ตั้งของตลาดสามชุก 100 ปี และที่ว่าการอำเภอสามชุก และเป็นแหล่งชุมชนของชาวไทยเชื้อสายจีน พื้นที่ทั้งตำบลอยู่ในเขตเทศบาลตำบลสามชุก
ตำบลสามชุก | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Sam Chuk |
แผนที่ตำบลในจังหวัดสุพรรณบุรี เน้นตำบลสามชุก | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุพรรณบุรี |
อำเภอ | สามชุก |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 29.80 ตร.กม. (11.51 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 9,568 คน |
• ความหนาแน่น | 321.07 คน/ตร.กม. (831.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 72130 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 720803 |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้ตำบลสามชุกมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[2]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลกระเสียว และตำบลนางบวช (อำเภอเดิมบางนางบวช)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลวังลึก
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลย่านยาว
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลบ้านสระ และตำบลหนองผักนาก
ประวัติ
แก้ปี พ.ศ. 2499 นายพินิต โพธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ร่วมกับกำนันตำบลสามชุก ผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน ได้พิจารณาพื้นที่ตำบลสามชุก เป็นพื้นที่ตั้งของศูนย์ราชการอำเภอสามชุก เป็นที่ชุมนุมชนหนาแน่น มีตลาด สถานีอนามัย จึงตั้งเป็น สุขาภิบาลสามชุก ในปี พ.ศ. 2499[3]
ปี พ.ศ. 2508 สุขาภิบาลสามชุกมีชุมชนค่อนข้างหนาแน่นกระจายเต็มพื้นที่ และมีพื้นที่ใกล้เคียง���ป็นพื้นที่ตลาดและมีแนวขตติดต่อกัน นายพัฒน์ บุญยรัตพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี และนายทวี แรงขำ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้พิจารณาขยายเขตสุขาภิบาล โดยมีพื้นที่บางส่วนของหมู่ 1–6 ของตำบลสามชุก บางส่วนของหมู่ 1,4,6,9 ของตำบลย่านยาว และบางส่วนของหมู่ 8 ของตำบลกระเสียว[4] และต่อมาในปี พ.ศ. 2542 สุขาภิบาลสามชุกได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นเทศบาลตำบล[5] ด้วยผลของกฎหมาย
ปี พ.ศ. 2546 เขตองค์การบริหารส่วนตำบลสามชุกมีพื้นที่ 6 หมู่บ้าน ประชากร 2,831 คน และมี 438 ครัวเรือน[6] บางส่วนอยู่ในเขตเทศบาลตำบลสามชุก โดยส่วนที่อยู่นอกเขตเทศบาลมีสภาพไม่เข้าองค์ประกอบความเป็นหมู่บ้าน จึงพิจารณาให้รวมองค์การบริหารส่วนตำบลสามชุกเข้ากับเทศบาลตำบลสามชุก ในปี พ.ศ. 2547[7] ทำให้��ำบลสามชุกอยู่ในเขตเทศบาลตำบลสามชุกทั้งหมด
อ้างอิง
แก้- ↑ ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลสามชุก (เฉพาะตำบลสามชุก) อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (ตอนพิเศษ 37 ง): 1–29. วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2542
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (45 ง): (ฉบับพิเศษ) 69-70. วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2499
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (96 ง): 2739–2741. วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (เขตตำบลสามชุก (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลสามชุก) อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาลตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 102 ง): 21–24. วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2547