ทวี แรงขำ
ศาสตราจารย์ ทวี แรงขำ (2 มกราคม 2450 - 7 ตุลาคม 2528) ข้าราชการ นักการเมืองและนักวิชาการชาวไทย เป็นอดีตรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (ครม.27, 28, 30, 31) อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดหลายจังหวัด และอดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทวี แรงขำ | |
---|---|
รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 16 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2516 | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 23 – 26 ธันวาคม พ.ศ. 2500 | |
นายกรัฐมนตรี | พจน์ สารสิน |
ก่อนหน้า | ประภาส จารุเสถียร |
ดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 | |
นายกรัฐมนตรี | ถนอม กิตติขจร |
ดำรงตำแหน่ง 11 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2512 | |
นายกรัฐมนตรี | ถนอม กิตติขจร |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม พ.ศ. 2512 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 | |
นายกรัฐมนตรี | ถนอม กิตติขจร |
ถัดไป | ถวิล สุนทรศารทูล พ่วง สุวรรณรัฐ มาลัย หุวะนันทน์ |
รักษาการอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
ดำรงตำแหน่ง 27 กันยายน – 21 ตุลาคม พ.ศ. 2500 | |
ก่อนหน้า | จอมพล แปลก พิบูลสงคราม |
ถัดไป | หลวงจำรูญเนติศาสตร์ (จำรูญ โปษยานนท์) |
คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
ดำรงตำแหน่ง 2 ธันวาคม พ.ศ. 2499 – 4 เมษายน พ.ศ. 2512 | |
ก่อนหน้า | มาลัย หุวะนันทน์ |
ถัดไป | ปกรณ์ อังศุสิงห์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 มกราคม พ.ศ. 2450 อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 7 ตุลาคม พ.ศ. 2528 (78 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | พรรคสหประชาไทย |
คู่สมรส | คุณหญิงต่วน แรงขำ |
การทำงาน
แก้ทวี แรงขำ เป็นข้าราชการพลเรือนในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม (พ.ศ. 2487-2488) ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2488 ถึงปี พ.ศ. 2489 ต่อมาได้เข้าทำงานเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2499 ถึงปี พ.ศ. 2512 และเคยรักษาการอธิการบดี ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2500
งานการเมือง
แก้ทวี แรงขำ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลนายพจน์ สารสิน (ครม.27) พ.ศ. 2500[1][2] และในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร (ครม.28, 30, 31)[3] พ.ศ. 2500 และ พ.ศ. 2506-2514 และเป็นประจำสำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2502[4]
ทวี แรงขำ เคยร่วมก่อตั้งพรรคสหประชาไทย กับจอมพลถนอม กิตติขจร ในปี พ.ศ. 2511[5] ได้รับเลือกเป็นรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2515[6] และเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516
ยศกองอาสารักษาดินแดน
แก้- พ.ศ. 2498 ทวี แรงขำ ได้รับพระราขทานยศกองอาสารักษาดินแดน เป็น นายกองเอก ทวี แรงขำ[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2502 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2500 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2509 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[10]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[11]
- พ.ศ. 2498 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[12]
- พ.ศ. 2495 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[13]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 27 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2018-04-09.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๙ ราย)
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมืองในสำนักนายกรัฐมนตรี
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคสหประชาไทย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (๑.พลตรี ศิริ สิริโยธิน ๒.นายทวี แรงขำ ๓.พลเรือเอก กมล สีตกะลิน)
- ↑ "ประกาศสำนักคณะกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน 21 มิถุนายน พ.ศ. 2498" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-10. สืบค้นเมื่อ 2020-07-17.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ��ี่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๐๗ ง หน้า ๒๙๙๓, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๔๓ ง หน้า ๑๘๓๐, ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๕๒, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๖๓ ง หน้า ๒๐๕๔, ๒๓ สิงหาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๗๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๐๘, ๑๒ ธันวาคม ๒๔๙๕