จักรพรรดิแนร์วา

มาร์กุส ก็อกแกย์ยุส แนร์วา ไกซาร์ เอากุสตุส (ละติน: MARCVS COCCEIVS NERVA CAESAR AVGVSTVS; 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 3025 มกราคม ค.ศ. 98) แนร์วาเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันของราชวงศ์เนอร์วัน-อันโตนิน ผู้ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากจักรพรรดิโดมิเชียนเมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 96 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 98 โดยมีพระราชโอรสจักรพรรดิทราจันเป็นผู้ครองราชย์ต่อมา

แนร์วา
รูปแกะสลักหินอ่อนของจักรพรรดิแนร์วา
จักรพรรดิโรมัน
ครองราชย์18 กันยายน ค.ศ. 96 –
27 มกราคม ค.ศ. 98
ก่อนหน้าดอมิติอานุส
ถัดไปตรายานุส
ประสูติ8 พฤศจิกายน ค.ศ. 30
นาร์นิ
มาร์กุส ก็อกไกอุส แนร์วา
สวรรคต25 มกราคม ค.ศ. 98
กรุงโรม
พระราชบุตรตรายานุส (พระโอรสบุญธรรม)
พระนามเต็ม
อิมแปราตอร์ แนร์วา ไกซาร์ เอากุสตุส
พระราชบิดามาร์คัส โคเชียส แนร์วา
พระราชมารดาเซอร์เจีย เพลาติลลา

แนร์วาขึ้นเป็นจักรพรรดิเมื่ออายุได้ 65 ปีหลังจากการรับราชการภายใต้จักรพรรดิเนโรและกษัตริย์ราชวงศ์เฟลเวียน--เวสเปเซียน, ไททัส และ โดมิเชียน ภายใต้จักรพรรดิเนโรแนร์วาเป็นหนึ่งในผู้ติดตามพระจักรพรรดิและเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเปิดเผยการคบคิดพิโซเนียน (Pisonian conspiracy) ของปี ค.ศ. 65 ต่อมาเพราะความที่มีความที่มีความจงรักภักดีราชวงศ์เฟลเวียนแนร์วาก็ได้รับตำแหน่งกงสุลในปี ค.ศ. 71 ในรัชสมัยของจักรพรรดิเวสเปเซียน และในปี ค.ศ. 90 ในรัชสมัยของจักรพรรดิโดมิเชียน

โดมิเชียน 18 กันยายน ค.ศ. 96 ถูกลอบสังหารโดยองค์รักษ์เพรทอเรียน (Praetorian Guard) ในวันเดียวกันแนร์วาก็ได้รับการประกาศให้เป็นจักรพรรดิโดยสภาเซเนทโรมัน ในฐานะพระจักรพรรดิองค์ใหม่แนร์วาก็ประกาศว่าจะฟื้นฟูเสรีภาพที่หยุดยั้งไปในสมัยการปกครองอย่างเผด็จการของโดมิเชียนกลับคืนมา แต่รัชสมัยอันสั้นของแนร์วาเป็นสมัยที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจและความขาดสมรรถภาพในการใช้อำนาจในการควบคุมกองทัพโรมัน การปฏิวัติโดยองค์รักษ์เพรทอเรียนในเดือนตุลาคม ค.ศ. 97 มีผลทำให้แนร์วาต้องรับทราจันผู้ที่เป็นที่นิยมมากกว่าเป็นพระโอรสบุญธรรมและทายาท หลังจากที่ครองราชย์ยังไม่ถึง 15 เดือนแนร์วาก็เสด็จสวรรคตโดยธรรมชาติเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 98 หลั��จากนั้นก็ได้รับตั้งให้เป็นเทพโดยทราจัน

แม้ว่าตลอดชีวิตแนร์วาจะไม่มีบทบาทอะไรที่เป็นที่รู้จักแต่นักประวัติศาสตร์สมัยโบราณก็ถือว่าเป็นพระมหากษัตริย์ที่ดี ทัศนคติที่ต่อมาได้รับการเผยแพร่ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยผู้คงแก่เรียนเอ็ดเวิร์ด กิบบอน ผู้จัดให้แนร์วาและจักรพรรดิที่ตามมาอีกสี่องค์อยู่ในกลุ่มจักรพรรดิโรมันผู้ทรงคุณธรรมห้าพระองค์ (Five Good Emperors) แต่นักประวัติศาสตร์เมื่อไม่นานมานี้ปรับความคิดนี้ใหม่และกล่าวว่าแนร์วาทรงเป็นจักรพรรดิผู้ทรงเป็นผู้มีความตั้งพระทัยดีแต่ทรงอ่อนแอและเกือบนำจักรวรรดิโรมันเข้าสู่สงครามกลางเมือง คุณธรรมอย่างหนึ่งของแนร์วาคือการที่ทรงจัดให้การเปลี่ยนอำนาจระหว่างทราจัน-อันโตนินเป็นไปอย่างราบรื่น

อ้างอิง

แก้

ข้อมูลเพิ่มเติม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จักรพรรดิแนร์วา