งบกระแสเงินสด
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
งบกระแสเงินสด เป็นงบการเงินที่แสดงการเปลี่ยนแปลงเงินสดของกิจการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น รอบปีบัญชี โดยจะแสดงการได้มาและใช้ไปของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดของ 3 กิจกรรมหลักคือ กิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน และ กิจกรรมจัดหาเงิน ช่วยให้ผู้ใช้สามารถประเมินสภาพคล่องของกิจการ โดยเฉพาะความสามารถในการชำระหนี้
โครงสร้างของงบกระแสเงินสด
แก้ในงบกระแสเงินสดมีการจัดโครงสร้างจำแนกประเภทของเงินสดรับและเงินสดจ่ายออกเป็น 3 กิจกรรม ดังนี้
- กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน คือ กระแสเงินสดที่เกิดจากกิจกรรมหลักที่ก่อให้เกิดรายได้ของกิจการ และกิจกรรมอื่นที่ไม่ใช่กิจกรรมลงทุนหรือกิจกรรมจัดหาเงิน [1]
- กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน คือ กระแสเงินสดที่เกิดจากการได้มาและการจำหน่ายสินทรัพย์ระยะยาวและเงินลงทุนอื่นซึ่งไม่รวมอยู่ในรายการเทียบเท่าเงินสด
- กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน คือ กระแสเงินสดที่เกิดจากกิจกรรมที่มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในขนาดและองค์ประกอบของส่วนของเจ้าของและส่วนของการกู้ยืมของกิจการ
ตัวอย่างงบกระแสเงินสดโดยทั่วไป
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน
กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดสุทธิ
บวก เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันต้นปี
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันสิ้นปี
วิธีสร้างงบกระแสเงินสด
แก้กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน สามารถจัดทำได้ 2 วิธี คือ วิธีทางตรง และวิธีทางอ้อม
วิธีทางตรง
แก้วิธีนี้จะคำนวณเงินสดรับ-จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโดยตรง กล่าวคือ ด้านเงินสดรับจะเป็นเงินสดรับจากการขา���สินค้าหรือเงินสดรับอื่นที่เกิดจากการดำเนินงานปกติ ส่วนด้านเงินสดจ่ายจะเป็นเงินสดจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน เช่น เงินสดจ่ายซื้อสินค้า เงินสดจ่ายจ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
วิธีทางอ้อม
แก้วิธีนี้จะเริ่มจากกำไรหรือขาดทุนสุทธิ จากนั้นจึงปรับปรุงด้วยรายการที่ไม่ใช่เงินสด เช่น ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย เป็นต้น จากนั้นจะปรับด้วยรายการที่ไม่ใช่กิจกรรมดำเนินงานแต่ถูกรวมคำนวณกำไรสุทธิตามหลักการบัญชี จากนั้นจะปรับปรุงด้วยการเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์และหนี้สินที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานปกติ เช่น ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ เจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เป็นต้น
กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุนและกิจกรรมจัดหาเงินจะจัดทำตามวิธีทางตรงเท่านั้น
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 เรื่อง งบกระแสสเงินสด หน้า 4