ค่ายกักกันนาซี
นาซีเยอรมนีได้จัดตั้ง���่ายกักกันขึ้นตลอดดินแดนยึดครองของตน ค่ายกักกันนาซีในช่วงแรก ๆ เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากในเยอรมนีภายหลังเหตุการณ์เพลิงไหม้รัฐสภาไรช์สทัก ในปี ค.ศ. 1933 โดยตั้งใจที่จะคุมขังนักโทษการเมืองและผู้ต่อต้านรัฐบาล ค่ายกักกันดังกล่าวได้เพิ่มจำนวนขึ้นอีกในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 เมื่อมีการคุมขังนักโทษการเมืองและกลุ่มบุคคลอีกหลายกลุ่มโดยไม่มีการไต่สวนหรือกระบวนการตุลาการ คำดังกล่าวเป็นคำยืมมาจาก ค่ายกักกันอังกฤษ ระหว่างสงครามอังกฤษ-บัวร์ครั้งที่สอง นักวิชาการเรื่องการล้างชาติโดยนาซี (Holocaust) ได้กำหนดข้อแตกต่างระหว่างค่ายกักกัน (ดังที่อธิบายในบทความนี้) แลค่ายมรณะ ซึ่งเป็นค่ายที่สร้างขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ในการสังหารประชากรจำนวนมากลงเพียงอย่างเดียว ได้แก่ ชาวยิวในทวีปยุโรป ชาวโปล ชาวยิปซี และชาติอื่น ๆ ค่ายมรณะรวมไปถึง เบลเซค โซบิบอร์ ทริบลิงก้า และเอาชวิตซ์-เบอร์เคนาว
ค่ายกักกันระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
แก้ภายหลังการปะทุของสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1939 ค่ายกักกันนาซีได้กลายเป็นสถานที่คุมขังศัตรูของนาซี ระหว่างสงคราม ค่ายกักกันสำหรับ "ผู้ไม่พึงปรารถนา" นี้ได้แพร่กระจายไปทั่วทวีปยุโรป มีการสร้างค่ายใหม่ ๆ ขึ้นใกล้กับศูนย์กลางของประชากร "ผู้ไม่พึงปรารถนา" นี้ ซึ่งมักเพ่งเล็งไปยังประชาคมชาวยิว กลุ่มปัญญาชนชาวโปล พวกคอมมิวนิสต์ หรือโรมา ก่อนสงคราม ในโปแลนด์มีชาวยิวอาศัยอยู่หลายล้านคน ค่ายกักกันส่วนใหญ่มักพบเห็นในพื้นที่ของเจเนรอลกอฟเวอร์เมนท์ ในดินแดนยึดครองโปแลนด์ เพื่อจุดประสงค์ด้านการขนส่ง นอกจากนี้ยังทำให้นาซีขนส่งชาวเยอรมันเชื้อสายยิวออกนอกประเทศได้อีกด้วย
ผู้ต้องขัง
แก้กลุ่มผู้ต้องขังในค่ายกักกันส่วนใหญ่มีจำนวน 6 กลุ่ม โดยชาวยิวและเชลยศึกโซเวียตมีจำนวนมากที่สุด คือ หลายล้านคน นอกจากนี้ ยังมีพวกโรมา (หรือยิปซี), ชาวโปล, นักโทษการเมืองสายกลางหรือฝ่ายซ้าย, พวกรักร่วมเพศ, ผู้ซึ่งมีความบกพร่อง, ผู้นับถือลัทธิพยานพระเยโฮวาห์, นักบวชคาทอลิก, กลุ่มปัญญาชนยุโรปตะวันออก และอื่น ๆ รวมทั้งอาชญากรโดยทั่วไป สำหรับเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกจะถูกส่งไปยังค่ายกักกันในหลายจุดประสงค์[1] เชลยศึกเหล่านี้ที่เป็นยิว หรือที่พวกนาซีเชื่อว่าเป็นยิว มักจะถูกส่งไปยังค่ายเชลยศึกตามปกติ; อย่างไรก็ตาม มีจำนวนน้อยที่ถูกส่งไปยังค่ายกักกันภายใต้นโยบายต่อต้านชาวยิว[2]
ในบางครั้ง ค่ายกักกันใช้เป็นที่คุมขังนักโทษสำคัญ อย่างเช่น นายพลซึ่งมีส่วนรู้เห็นในความพยายามลอบสังหารฮิตเลอร์ เช่น พลเรือเอก วิลเฮล์ม คานาริส ผู้ซึ่งถูกคุมตัวอยู่ที่ฟลอสเซนบูวร์ก เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 จนกระทั่งเขาถูกแขวนคอเมื่อวันที่ 9 เมษายน ไม่นานก่อนสงครามยุติ
ในค่ายกักกันส่วนใหญ่ มีการบังคับให้นักโทษสวมเครื่องแบบซึ่งบ่งชี้เอกลักษณ์ด้วยเข็มสีตามการจัดแบ่งประเภท: สามเหลี่ยมสีแดงสำหรับพวกคอมมิวนิสต์และนักโทษการเมืองอื่น ๆ, สามเหลี่ยมสีเขียวสำหรับอาชญากรทั่วไป, สีชมพูสำหรับชายรักร่วมเพศ, สีม่วงสำหรับผู้นับถือลัทธิพยานพระเยโฮวาห์, สีดำสำหรับพวกยิปซีและพวกที่หลีกหนีสังคม, และสีเหลืองสำหรับชาวยิว[3]
การปฏิบัติต่อนักโทษ
แก้นักโทษนับล้านเสียชีวิตในค่ายกักกันเนื่องจากการทำทารุณโดยเจตนา โรคระบาด การอดอาหาร และการใช้แรงงานหนัก หรือถูกประหารชีวิตเนื่องจากไม่สามารถใช้แรงงานได้ ชาวยิวมากกว่า 3 ล้านคนเสียชีวิตด้วยเหตุผลดังกล่าว ส่วนใหญ่เสียชีวิตในห้องรมแก๊ส แม้ว่าจะมีการสังหารนักโทษบางส่วนด้วยการยิงหรือด้วยวิธีการอื่น ๆ
การขนส่งนักโทษโดยรถรางบรรทุกมักจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เมตตา ที่ซึ่งนักโทษจำนวนมากเสียชีวิตก่อนที่จะไปถึงจุดหมาย นักโทษจะถูกกักตัวอยู่ในรถราง ซึ่งบ่อยครั้งแล้วมักจะเป็นวันหรือเป็นสัปดาห์ โดยไม่มีน้ำหรืออาหาร หรือมิฉะนั้นก็มีให้น้อยมาก นักโทษจำนวนมากเสียชีวิตจากการขาดน้ำในอากาศร้อนจัดในฤดูร้อน หรือแข็งจนตายในฤดูหนาว นอกจากนี้ ค่ายกักกันพบเห็นในเยอรมนีด้วยเช่นกัน และในขณะที่มันมิได้รับการออกแบบมาเพื่อการสังหารหมู่อย่างเป็นระบบโดยเฉพาะ แต่นักโทษจำนวนมากก็เสียชีวิตจากสภาพแวดล้อมที่โหดร้ายหรือไม่ก็ถูกประหารชีวิต
ในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1941 หน่วยเอสเอส รวมทั้งแพทย์และเจ้าหน้าที่จากโครงการปรานีฆาต ที-4 เริ่มต้นการสังหารนักโทษซึ่งได้รับเลือกใน "ปฏิบัติการ 14f13" กองตรวจค่ายกักกันได้จัดหมวดหมู่ไฟล์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการตายของนักโทษรวมกับ 14f และไฟล์ของนักโทษที่ถูกส่งตัวไปยังห้องรมแก๊สที-4 รวมกับ 14f13 ภายใต้ข้อบังคับทางด้านภาษาของเอสเอส นักโทษที่ได้รับเลือกจะระบุสำหรับ "การปฏิบัติอย่างพิเศษ (เยอรมัน: Sonderbehandlung) 14f13" นักโทษจะได้รับเลือกอย่างเป็นทางการ ขึ้นอยู่กับสภาพทางการแพทย์ของพวกเขา; กล่าวคือ ผู้ซึ่งไม่เหมาะสมต่อการใช้แรงงานอย่างถาวร เนื่องจากความเจ็บป่วย และอย่างไม่เป็นทางการ ได้ใช้หลักเกณฑ์ทางเชื้อชาติและการบำรุงพันธุ์มนุษย์: ชาวยิว ผู้พิการ และผู้ซึ่งมีประวัติอาชญากรรมหรือต่อต้านสังคม[4] แต่สำหรับนักโทษชาวยิว ทางการไม่แสร้งทดสอบทางการแพทย์พวกเขาเสียด้วยซ้ำ: บันทึกการจับกุมทั้งหลายจะได้รับการระบุว่าเป็นการวินิจฉัยของแพทย์ทั้งสิ้น[5] ในตอนต้นของปี ค.ศ. 1943 เมื่อมีความต้องการใช้แรงงานมากขึ้น และห้องรมแก๊สที่ค่ายเอาชวิตซ์เริ่มใช้การได้ เฮนริช ฮิมม์เลอร์ ออกคำสั่งยกเลิกปฏิบัติการ 14f13[6]
ภายหลังปี ค.ศ. 1942 มีการก่อตั้งค่ายย่อย ๆ ขนาดเล็กจำนวนมากขึ้นใกล้กับโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อป้อนการบังคับใช้แรงงาน อีเกฟาร์เบนได้ก่อตั้งเครื่องจักรผลิตยางสังเคราะห์ ในปี ค.ศ. 1942 ที่ค่ายกักกันโมโนวิทซ์ (เอาชวิตซ์ 3); มีการก่อตั้งค่ายอื่น ๆ ขึ้นติดต่อกับโรงงานผลิตเครื่องบิน เหมืองถ่านหิน หรือเครื่องจักรผลิตเชื้อเพลิงจรวด สภาพแวดล้อมของนักโทษเลวร้ายมากและมักมีการส่งตัวนักโทษไปยังห้องรมแก๊สหรือถูกสังหาร หากพวกเขาทำงานได้ไม่รวดเร็วพอ
หลังจากการพิจารณาหลายครั้ง การประกาศชะตากรรมสุดท้ายของนักโทษชาวยิว ("การแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้าย") ในปี ค.ศ. 1942 ณ ที่ประชุมวันน์เซ ไปถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูง
เมื่อสงครามใกล้ยุติ ค่ายกักกันได้กลายมาเป็นแหล่งทดลองทางการแพทย์ การทดลองวิชาว่าด้วยการบำรุงพันธุ์มนุษย์ การแช่แข็งนักโทษเพื่อทดสอบผลกระทบที่มีต่อนักบิน และการทดลองและยาเพื่อการสังหารปรากฏในค่ายกักกันหลายแห่ง นักโทษสตรีมักถูกข่มขืนและทำให้ขายหน้าเป็นกิจวัตรในค่ายกักกัน[7]
การปลดปล่อย
แก้ค่ายกักกันหลายแห่งนี้ได้รับการปลดปล่อยโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ระหว่าง ค.ศ. 1943 และ ค.ศ. 1945 ซึ่งมักสายเกินกว่าจะสามารถช่วยเหลือนักโทษที่เหลืออยู่ อาทิ เมื่อกองกำลังสหราชอาณาจักรเข้าสู่ค่ายกักกันเบอร์เกน-เบลเซน ในปี ค.ศ. 1945 ทหารพบว่านักโทษ 60,000 คนมีชีวิตอยู่ แต่นักโทษกว่า 10,000 คน เสียชีวิตในสัปดาห์เดียวกันเนื่องจากไข้รากสาดใหญ่และการขาดอาหาร
ประเภทของค่าย
แก้- ค่ายขั้นแรก(Early camps) โดยไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม ได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วทุกที่ในเยอรมนีเมื่อนาซีได้ครองอำนาจในปี ค.ศ. 1933 ด้วยจำนวนมากเท่าที่มีของกองกำลังตำรวจทางการเมืองที่เติบโตอย่างไม่เป็นระเบียบและแพร่หลายราวกับ"เห็ดผุดขึ้นหลังฝนตก" ที่ฮิมเลอร์ได้นึกขึ้นได้ ค่ายขั้นแรกนี้ได้เรียกว่า "ค่ายป่า"(Wild camps) เพราะบางครั้งก็เกิดมาพร้อมกับการควบคุมดูแลน้อยนิดจากเจ้าหน้าที่ระดับสูง ได้อยู่ภายใต้ของทหา���นาซี ตำรวจทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องถิ่นบางแห่งที่ใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น ห้องเครื่องยนต์ ชั้นโรงเบียร์ ห้องเก็บของ ห้องใต้ดิน เป็นต้น
- ค่ายรัฐ(State camps)(เช่น ดาเคา, Oranienburg, Esterwegen)อยู่ในการดูแลของหน่วยเอสเอ เป็นค่ายต้นแบบสำหรับค่ายกักกันของหน่วยเอสเอสในอนาคต โดยมีนักโทษประมาณ 107,000 คนที่ได้เข้าไปอยู่ในที่แห่งนั้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1935
- ค่ายเชลย(Hostage camps-Geisellager)เป็นที่รู้จักกันในฐานะเป็นค่ายคุกเรือนจำตำรวจ(เช่น Sint-Michielsgestel, Haaren)ที่เชลยถูกจับกุมและถูกฆ่าตายในเวลาต่อมาสำหรับการล้างแค้นที่ต่อต้าน
- ค่ายแรงงาน(Arbeitslager)ค่ายกักกันที่ได้ทำการกักตัวเหล่าเชลยให้ต้องทำงานอย่างหนักภายใต้ความโหดร้ายและทารุณ บางส่วนของเหล่านี้เป้นค่ายย่อย เรียกว่า "ค่ายภายนอก"(Aussenlager) ถูกสร้างขึ้นรอบๆค่ายกลางใหญ่(Stammlager) หรือทำหน้าที่เป็น "ค่ายปฏิบัติการ"ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อความจำเป็นชั่วคราว
- ค่ายเชลยศึก(Kriegsgefangenen-Mannschafts-Stammlager / Stalag) a.k.a. ค่ายหลักสำหรับเชลยที่ถูกจับขังในช่วงสงคราม
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ One of the best-known examples was the 168 British Commonwealth and U.S. aviators held for a time at Buchenwald concentration camp. (See: luvnbdy/secondwar/fact_sheets/pow Veterans Affairs Canada, 2006, “Prisoners of War in the Second World War”[ลิงก์เสีย] and National Museum of the USAF, “Allied Victims of the Holocaust”.) Two different reasons are suggested for this: the Nazis wanted to make an example of the Terrorflieger (“terror-instilling aviators”), or they classified the downed fliers as spies because they were out of uniform, carrying false papers, or both when apprehended.
- ↑ See, for example, Joseph Robert White, 2006, “Flint Whitlock. Given Up for Dead: American GIs in the Nazi Concentration Camp at Berga” (book review)
- ↑ “Germany and the Camp System” PBS Radio website
- ↑ Friedlander, Henry (1995). The Origins of Nazi Genocide: From Euthanasia to the Final Solution. Chapel Hill: University of North Carolina Press. pp. 144.
- ↑ Friedlander, Henry (1995). The Origins of Nazi Genocide: From Euthanasia to the Final Solution. Chapel Hill: University of North Carolina Press. pp. 147-148.
- ↑ Friedlander, Henry (1995). The Origins of Nazi Genocide: From Euthanasia to the Final Solution. Chapel Hill: University of North Carolina Press. pp. 150.
- ↑ Morrissette, Alana M.: The Experiences of Women During the Holocaust เก็บถาวร 2008-02-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, p. 7.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Pages show pictures and videos of the day taken at places connected with World War II (Second World War) เก็บถาวร 2018-08-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Yad VaShem—The Holocaust Martyrs' and Heroes' Remembrance Authority เก็บถาวร 2016-02-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- United States Holocaust Memorial Museum Personal Histories - Camps เก็บถาวร 2006-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at United States Holocaust Memorial Museum
- The Holocaust History Project เก็บถาวร 2004-09-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Official US National Archive Footage of Nazi camps
- Holocaust sites in Germany, Austria, Poland, Czech Republic, France เก็บถาวร 2007-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Concentration Camps at Jewish Virtual Library
- Memory of the Camps, as shown by PBS Frontline
- [1] Private visit – Aug 2007
- Podcast with one of 2,000 Danish policemen in Buchenwald เก็บถาวร 2007-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Nazi Concentration Camp Page with links to original documents!!