ประเทศคอโมโรส
คอโมโรส (อังกฤษ: Comoros; อาหรับ: جزر القمر; ฝรั่งเศส: Comores; คอโมโรส: Komori) หรือชื่อทางการว่า สหภาพคอโมโรส (อังกฤษ: Union of the Comoros; คอโมโรส: Udzima wa Komori; อาหรับ: الاتحاد القمري; ฝรั่งเศส: Union des Comores) เป็นประเทศหมู่เกาะที่ประกอบไปด้วยเกาะ 3 แห่ง ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา ตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของช่องแคบโมซัมบิกในมหาสมุทรอินเดีย เมืองหลวงและใหญ่ที่สุดในคอโมโรสคือโมโรนี ศาสนาของประชากรส่วนใหญ่และเป็นศาสนาประจำชาติคือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี คอโมโรสประกาศเอกราชจากฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 เป็นประเทศเดียวในสันนิบาตอาหรับที่ตั้งอยู่ในซีกโลกใต้ทั้งหมด เป็นรัฐสมาชิกของสหภาพแอฟริกา องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส องค์การความร่วมมืออิสลาม และคณะกรรมาธิการมหาสมุทรอินเดีย มีภาษาราชการสามภาษา ได้แก่ ชิโกโมริ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอาหรับ
สหภาพคอโมโรส Udzima wa Komori (คอโมโรส) اتحاد القمر (อาหรับ) al-Ittiḥād al-Qumurī/Qamarī Union des Comores (ฝรั่งเศส) | |
---|---|
คำขวัญ: وحدة، تضامن، تنمية (ภาษาอาหรับ) Unité - Justice - Progrès (ภาษาฝรั่งเศส) เอกภาพ - ยุติธรรม - ความก้าวหน้า | |
ที่ตั้งของประเทศคอโมโรส (วงกลม) | |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | โมโรนี 11°41′S 43°16′E / 11.683°S 43.267°E |
ภาษาราชการ | ภาษาคอโมโรส ภาษาอาหรับ และภาษาฝรั่งเศส |
ศาสนา | ซุนนี |
เดมะนิม | คอโมเรียน |
การปกครอง | สหพันธ์ ระบบประธานาธิบดี สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญ |
อะซาลี อะษุมานี | |
มุสตาดรอยน์ อับดู | |
สภานิติบัญญัติ | สมัชชาแห่งสหภาพคอโมโรส |
ได้รับเอกราช | |
• ถูกค้นพบโดยนักสำรวจชาวโปรตุเกส | 2046 |
2429 | |
• ดินแดนในอารักขาคอโมโรส | 5 กันยายน 2430 |
• ดินแดนภายใต้ มาดากัสการ์ของฝรั่งเศส | 9 เมษายน 2451 |
27 ตุลาคม 2489 | |
• รัฐคอโมโรส | 22 ธันวาคม 2504 |
• ได้รับเอกราชจาก ฝรั่งเศส | 6 กรกฎาคม 2518 |
• สหพันธรัฐสาธารณรัฐอิสลามคอโมโรส | 24 พฤษภาคม 2521 |
• สหภาพคอโมโรส | 23 ธันวาคม 2544 |
17 พฤษภาคม 2552 | |
พื้นที่ | |
• รวม | 1,861 ตารางกิโลเมตร (719 ตารางไมล์) (อันดับที่ 171) |
น้อยมาก | |
ประชากร | |
• 2562 ประมาณ | 850,886 (อันดับที่ 160) |
457 ต่อตารางกิโลเมตร (1,183.6 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 27) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2562 (ประมาณ) |
• รวม | $2.446 พันล้าน[1] (อันดับที่ 178) |
• ต่อหัว | $2,799[1] (อันดับที่ 177) |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2562 (ประมาณ) |
• รวม | $1.179 พันล้าน[1] (อันดับที่ 182) |
• ต่อหัว | $1,349[1] (อันดับที่ 165) |
จีนี (2556) | 45.0[2] ปานกลาง · อันดับที่ 141 |
เอชดีไอ (2562) | 0.554[3] ปานกลาง · อันดับที่ 156 |
สกุลเงิน | ฟรังก์คอโมโรส (KMF) |
เขตเวลา | UTC+3 (EAT) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+3 (ไม่พบ) |
ขับรถด้าน | ขวา |
รหัสโทรศัพท์ | +269 |
โดเมนบนสุด | .km |
ด้วยพื้นที่เพี��ง 1,659 ตารางกิโลเมตร (641 ตารางไมล์) คอโมโรสจึงเป็นประเทศในแอฟริกาที่เล็กที่สุดเป็นอันดับ 3 [4] มีประชากร 850,886 คน (ปี 2562) [5] ประกอบไปด้วยเกาะใหญ่ 3 เกาะและเกาะเล็กๆ อีกจำนวนมาก หมู่เกาะภูเขาไฟโคโมโรทั้งหลาย ยกเว้นเกาะมายอต(ที่ยังเป็นของฝรั่งเศส) ประชาชนในมายอตลงคะแนนเสียงคัดค้านเอกราชจากฝรั่งเศสในการลงประชามติเมื่อปี พ.ศ. 2517 และยังคงได้รับการบริหารโดยฝรั่งเศสในฐานะจังหวัดโพ้นทะเล ฝรั่งเศสได้วีโต้มติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่จะยืนยันอธิปไตยของชาวคอโมโรส[6][7][8][9] มายอตจึงกลายเป็นหน่วยงานโพ้นทะเลและเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศสในปี 2554 หลังจากการลงประชามติซึ่งมีการลงประชามติอย่างท่วมท้น
เกาะคอโมโรสน่าจะมีการตั้งถิ่นฐานครั้งแรกโดยชาวออสโตรนีเซียน/มาลากาซี ผู้พูดภาษาบันตูจากแอฟริกาตะวันออก และพ่อค้าชาวอาหรับที่เดินเรือ[10] กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสในช่วงศตวรรษที่ 19 ก่อนที่จะได้รับเอกราชในปี 2518 เคยประสบกับการรัฐประหารหรือความพยายามในการทำรัฐประหารมาแล้วกว่า 20 ครั้ง โดยมีประมุขแห่งรัฐหลายคนถูกลอบสังหาร[11][12] นอกจากความไม่มั่นคงทางการเมืองอย่างต่อเนื่องแล้ว ประเทศนี้ยังมีระดับความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้ในระดับสูงสุดกว่าประเทศใดๆ และติดอันดับควอไทล์ระดับกลางในดัชนีการพัฒนามนุษย์[13] ตั้งแต่ปี 2552 ถึง 2557 ประชากรประมาณ 19% มีชีวิตอยู่ต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจนระหว่างประเทศคือมีรายได้เพียง 1.90 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อวัน กำหนดโดยภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ
ที่มาและความหมายของชื่อ
แก้ชื่อของประเทศมาจากคำในภาษาอาหรับ قمر, qamar (ดวงจันทร์)[14]
ประวัติศาสตร์
แก้ผู้คนในยุคก่อนอาณานิคม
แก้การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์บนหมู่เกาะคอโมโรสในยุคแรก คาดว่าน่าจะเป็นชาวโพลีนีเชียนและชาวเมลานีเชียน ซึ่งเดินทางมาถึงเกาะโดยทางเรือจากหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คนกลุ่มนี้น่าจะมาถึงตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 6 ช่วงเวลาที่เก่าแก่ที่สุดของแหล่งโบราณคดีที่พบบนเกาะอ็องฌูอ็องนั้นน่าจะมีอายุประมาณถึงคริสศตวรรษที่ 1[15]
หมู่เกาะคอโมโรสกลายเป็นที่อยู่ของมนุษย์หลากหลายเชื้อชาติไล่ตั้งแต่กลุ่มคนบนฝั่งทวีปแอฟริกา ชาวอาหรับ ชาวเปอร์เซีย ชาวกลุ่มเกาะมลายู และชาวเกาะมาดากัสการ์ กลุ่มคนที่พูดภาษาบันตูก็มาถึงหมู่เกาะนี้ ในช่วงที่มีการขยายตัวของเผ่าบันตูซึ่งเกิดขึ้นเมื่อช่วงต้นสหัสวรรษ
ตามตำนานของคนในยุคก่อนอิสลาม ยักษ์จินนีได้ทิ้งเพชรลงมาซึ่งก่อให้เกิดนรกขนาดใหญ่ ซึ่งก็คือภูเขาไฟการ์ตาลาที่ก่อกำเนิดหมู่เกาะคอโมโรสขึ้นมานั่นเอง
พัฒนาการของหมู่เกาะคอโมโรสแบ่งออกเป็นช่วง ๆ หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดที่เชื่อถือได้อยู่ในช่วงเดมเบนี (คริสศตวรรษที่ 9 - 10) ในช่วงนี้แต่ละเกาะยังแยกกันอยู่อย่างโดดเดี่ยวและมีเพียงหมู่บ้านเดียวเป็นใจกลาง[16] จากคริสศตวรรษที่ 11-15 การค้าขายระหว่างเกาะมาดากัสการ์และพ่อค้าจากตะวันออกกลางก็มั่งคั่งขึ้น ทำให้เกิดหมู่บ้านขนาดเล็กขึ้นมา จากหมู่บ้านก็กลายเป็นเมือง ชาวคอโมโรสมักกล่าวว่าชาวอาหรับได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานบนเกาะนานแล้ว โดยมีบางส่วนที่อพยพมาจากตะวันออกกลางจากประเทศเยเมน (โดยเฉพาะจังหวัดฮัฎเราะเมาต์) และโอมาน
คอโมโรสในยุคกลาง
แก้ตามตำนาน ในปี 632 เมื่อได้ยินข่าวการปรากฏของศาสนาอิสลาม ชาวหมู่เกาะได้ส่งทูตนามว่า Mtswa-Mwindza ไปยังนครเมกกะ แต่เมื่อเขาเดินทางไปถึง ศาสนทูตมุฮัมมัดได้สิ้นไปแล้ว ถึงกระนั้นเขาก็ยังพำนักอยู่ในเมกกะ ก่อนจะกลับสู่เอ็นกาซิดจาและค่อย ๆ เปลี่ยนชาวเกาะให้หันมานับถือศาสนาอิสลามในที่สุด
บันทึกที่เก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับคอโมโรสนั้นได้มาจากงานเขียนของอัลมัสอูดี ที่กล่าวถึงความสำคัญของหมู่เกาะคอโมโรสเช่นเดียวกับดินแดนชายฝั่งอื่น ๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นทางการค้าที่สำคัญของพ่อค้าชาวอาหรับและเปอร์เซียรวมทั้งกะลาสีเพื่อหาปะการัง ไขวาฬ งาช้าง กระดองเต่า ทองคำและทาสไปขาย และยังได้นำศาสนาอิสลามไปเผยแพร่แก่ชาวซานจ์ (อยู่ในแอฟริกาตะวันออก) และชาวเกาะอีกด้วย หมู่เกาะคอโมโรสมีความสำคัญขึ้นเรื่อย ๆ และเติบโตไปพร้อมเกือบเมืองชายฝั่งของแอฟริกาตะวันออกทำให้เกิดมัสยิดน้อยใหญ่ตามมา แม้จะมีระยะที่ห่างจากชายฝั่งพอสมควร แต่หมู่เกาะคอโมโรสก็เป็นแหล่งการค้าที่สำคัญของชาวสวาฮีลี เป็นเส้นทางทางทะเลที่สำคัญระหว่างเมืองกิลวา ซึ่งอยู่ในแทนซาเนียในปัจจุบัน โซฟาลา(สถานที่ส่งออกทองของชาวซิมบับเว)ในโมซัมบิก และเมืองมอมบาซาในเคนยา[17]
หลังจากการมาถึงของชาวโปรตุเกสในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 15 และการล่มสลายของสุลต่านแห่งแอฟริกาตะวันออก สุลต่านซัยฟ์ บิน สุลต่าน ผู้มีอำนาจแห่งโอมานได้เริ่มกำจัดอิทธิพลของชาวดัตช์และโปรตุเกส นอกจากนั้นผู้สืบทอดอำนาจต่อจากเขา คือ สุลต่านซะอีด บิน สุลต่าน ยังได้ขยายอิทธิพลของชาวอาหรับโอมานไปทั่วทั้งภูมิภาค และได้ย้ายศูนย์กลางการปกครองไปอยู่ใกล้แซนซิบาร์ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของโอมาน อย่างไรก็ตาม คอโมโรสยังคงเป็นอิสระและแม้ว่าเกาะเล็ก ๆ สามเกาะมักจะเป็นปึกแผ่นทางการเมือง แต่เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเอ็นกาซึดจาก็มักจะถูกแบ่งออกเป็นอาณาจักรอิสระหลายแห่ง (ntsi)[18]
ในช่วงเวลาที่ชาวยุโรปแสดงความสนใจกับคอโมโรส ชาวเกาะตกอยู่ในตำแหน่งแห่งที่จากการเอารัดเอาเปรียบจากความต้องการของพวกเขา เริ่มจากการจัดหาเส้นทางเดินเรือไปยังอินเดียและต่อมาทาสจะถูกส่งไปยังเกาะเพาะปลูกบนหมู่เกาะมาสคารีน[18]
การติดต่อกับชาวยุโรปและการตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส
แก้นักสำรวจชาวโปรตุเกสได้ไปเยือนหมู่เกาะนี้เป็นครั้งแรกในปีค.ศ. 1503 เกาะเหล่านี้เป็นแหล่งจัดหาอาหารให้กับป้อมของโปรตุเกสที่โมซัมบิกตลอดศตวรรษที่ 16
ในปี 1506 ชาวโปรตุเกสได้เดินทางมาถึงเกาะและเริ่มท้าทายอำนาจบาจัส (หัวหน้าชาวบันตูมุสลิม) และฟานิส (รองหัวหน้า) ปีต่อ ๆ มาในปี 1514 คอโมโรสก็ถูกรุกรานโดยอาฟงซู ดี อาลบูเกร์กี ในขณะนั้นผู้ปกครองชาวมุสลิมเพิ่งจะรอดพ้นจากการระเบิดของภูเขาไฟ แม้ว่าแหล่งพำนักของพวกเขาจะหาได้ไม่ยากแต่ชาวโปรตุเกสก็ไม่เคยหาพวกเขาพบ ในปี 1648 หมู่เกาะก็ถูกปล้นโดยโจรสลัดชาวมาลากาซี พวกเขาปล้นเมืองอีกอนี เมืองศูนย์กลางทางการค้าชายฝั่งใกล้เกาะกร็องด์กอมอร์หลังจากเพิ่งรบชนะสุลต่านที่อ่อนแอของเกาะมาได้
ในปี 1793 นักรบชาวมาลากาซีแห่งเกาะมาดากัสการ์ได้บุกหมู่เกาะคอโมโรสเพื่อนำชาวเกาะมาเป็นทาส จากนั้นจึงได้เข้ามาตั้งรกรากและครอบครองหลายส่วนของหมู่เกาะ บนคอโมโรสในปี 1865 คาดว่าประชากรบนเกาะเป็นทาสถึงกว่าร้อยละ 40[19] ขณะที่ฝรั่งเศสได้เข้ามาตั้งอาณานิคมในปี 1841 ชาวอาณานิคมฝรั่งเศสคนแรกได้มาถึงเกาะมายอต อาเดรียน ซูลี กษัตริย์ชาวมาลากาซีแห่งเกาะมายอตได้ลงนามในสนธิสัญญาปี 1841 ได้ยอมยกดินแดนให้ตกอยู่ใต้อาณัติของฝรั่งเศส
ในปี 1886 เกาะมอเอลี ก็ตกอยู่ใต้อารักขาจากฝรั่งเศสโดยการยินยอมจากราชินีซาลิมา มาชิมบ้า และในปีเดียวกัน หลังจากที่ได้รวบรวมเกาะกร็องด์ กอมอร์เข้าไว้ด้วยกัน สุลต่านซะอีด อะลีก็ได้ยินยอมให้ฝรั่งเศสเข้ามาปกครองต่อ แต่พระองค์ก็ยังมีอำนาจต่อไปจนถึงปี 1909 ซึ่งในปีนั้นพระองค์ก็ได้ทรงสละราชสมบัติเพื่อให้ฝรั่งเศสได้เข้ามาวางกฎอย่างเต็มที่ เกาะคอโมโรสตกอยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการในปี 1912 และตกอยู่ใต้การปกครองของผู้ว่าราชการอาณานิคมโพ้นทะเลของฝรั่งเศสแห่งมาดากัสการ์ในปี ค.ศ.1914[20]
คอโมโรสเป็นสถานีทางการค้าที่สำคัญของบรรดาพ่อค้าที่จะเดินทางไปค้าขายยังตะวันออกไกล หรืออินเดียมาโดยตลอดจนกระทั่งได้มีการเปิดใช้คลองสุเอซ ซึ่งได้ช่วยลดการจราจรทางน้ำในเขตช่องแคบโมซัมบิกได้อย่างมาก สินค้าธรรมชาติที่ส่งออกส่วนใหญ่ก็คือ มะพร้าว วัว ควายและกระดองเต่า ผู้ตั้งรกรากชาวฝรั่งเศส บริษัทจากฝรั่งเศสหรือแม้แต่พ่อค้าชาวอาหรับผู้มั่งคั่ง ได้วางรากฐานเศรษฐกิจที่ขึ้นอยู่กับการเกษตรกรรมซึ่งกินพื้นที่ในการเพาะปลูกเพื่อส่งออกกว่า 1 ใน 3 หลังจากการผนวกดินแดนฝรั่งเศสก็ได้เปลี่ยนเกาะมายอต ให้กลายเป็นดินแดนอาณานิคมเพื่อการปลูกน้ำตาล และไม่นานทุกเกาะก็ได้ถูกเปลี่ยนให้เป็นดินแดนเพื่อการเพาะปลูกพืชส่งออกเช่นกัน พืชเหล่านั้น เช่น กระดังงา วานิลลา กาแฟ ต้นโกโก้ สับปะรด เป็นต้น [21]
ข้อตกลงในการมอบเอกราชได้เกิดขึ้นในปี 1973 และในปี 1978 คอโมโรส ก็ได้รับเอกราช ยกเว้นในเกาะมายอต การลงประชามติจะต้องมีมติเป็นเอกฉันท์ในทั้ง 4 เกาะ แต่มีเพียง 3 เกาะเท่านั้นที่มีมติเป็นเอกฉันท์ ขณะที่มายอตต่อต้านและยังคงอยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศสต่อไป ในวันที่ 6 กรกฎาคม ปี 1975 รัฐบาลได้ประกาศกฎหมายร่างการเป็นเอกราช อาเหม็ด อับดัลลาห์ ได้ประกาศเอกราชของคอโมโรสและกลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกของคอโมโรส
การประกาศเอกราชปี 1975
แก้หลังการประกาศเอกราช 30 ปีต่อจากนั้นคือความวุ่นวายทางการเมืองของคอโมโรสอย่างมาก เริ่มจากในวันที่ 3 สิงหาคม ปี 1975 ทหารรับจ้างชื่อ บ็อบ ดีนาร์ด ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างลับ ๆ จาก ฌาคส์ ฟอกการ์ และรัฐบาลฝรั่งเศส ทำการรัฐประหารรัฐบาลของอาเหม็ด อับดัลลาห์และให้เจ้าชายซาอิด โมฮัมเหม็ด จัฟฟาร์ สมาชิกของแนวร่วมแห่งชาติคอโมโรส หรือ ยูเอ็นเอฟขึ้นเป็นประธานาธิบดีแทน ถัดมาแค่เดือนเดียว พระองค์ก็ถูกขับไล่โดยอาลี โซอิลีห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[22]
ในเวลาเดียวกันที่เกาะมายอต ประชาชนก็ได้มีการลงประชามติถึง 2 ครั้งในการต่อต้านการประกาศเอกราชจากฝรั่งเศส ครั้งแรกเกิดขึ้นในเดือนธันวาคมปี 1974 เสียงส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 63.8 ยังคงต้องการอยู่ในการปกครองของฝรั่งเศสต่อไป ครั้งต่อมาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 1976 คราวนี้เสียงเกือบทุกเสียงกว่าร้อยละ 99.4 ก็ยังคงยืนยันเช่นเดิม ขณะที่บนเกาะที่เหลือทั้ง 3 เกาะที่ถูกปกครองโดยประธานาธิบดีโซอิลีห์ สมาชิกส่วนใหญ่ของรัฐบาลมักจะเป็นพวกสังคมนิยม หรือไม่ก็พวกนิยมการปกครองอย่างโดดเดี่ยวซึ่งยิ่งทำให้ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสตึงเครียดไปทุกขณะ จนเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ปี 1978 บ็อบ ดีนาร์ด ได้กลับมาอีกครั้งพร้อมทั้งล้มล้างอำนาจของโซอิลีห์ และได้แต่งตั้ง อับดัลลาห์กลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้ง ภายใต้การหนุนหลังจากฝรั่งเศสซึ่งต้องการให้รัฐบาลเป็นของชาวโรดีเซียและแอฟริกาใต้ ในช่วงการครองอำนาจของโซอิลีห์ เขาต้องเผชิญหน้ากับการพยายามก่อรัฐประหารถึง 7 ครั้ง จนในที่สุดก็ถูกขับไล่และโดนสังหารในที่สุด[22][23]
ในทางตรงข้ามกับโซอิลีห์ ประธานาธิบดีอับดัลลาห์ถูกมองว่าเป็นพวกเผด็จการ ได้เพิ่มการยึดมั่นในประเพณีแบบศาสนาอิสลาม[24] และยังเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐอิสลามคอโมโรส (République Fédérale Islamique des Comores; جمهورية القمر الإتحادية الإسلامية ) อับดัลลาห์ยังคงเป็นประธานาธิบดีต่อไปจนกระทั่งปี 1989 เมื่อเขารู้สึกหวาดเกรงว่าจะมีการรัฐประหารเกิดขึ้น เขาจึงได้ลงนามในกฤษฎีกากองกำลังแห่งประธานาธิบดี นำโดย บ็อบ ดีนาร์ด เพื่อปลดอาวุธกองกำลังติดอาวุธ ไม่นานหลังจากได้มีการลงนาม อับดัลลาห์ก็ถูกอ้างว่าโดนยิงโดยนายทหารนายหนึ่งที่ไม่พอใจในที่ทำการของเขาเอง แต่แหล่งที่มาในภายหลังอ้างว่า เขาถูกขีปนาวุธต่อต้านรถถังยิงเข้ามาในห้องนอน[25] และแม้ว่า บ็อบ ดีนาร์ด จะได้รับบาดเจ็บด้วย แต่ก็เป็นที่สงสัยว่า ผู้ที่สังหารอับดัลลาห์น่าจะเป็นทหารภายใต้สังกัดของเขานั่นเอง[26]
ไม่กี่วันต่อมา บ็อบ ดีนาร์ด ได้อพยพไปยังแอฟริกาใต้โดยพลร่มของฝรั่งเศส ซาอิด โมฮัมเหม็ด โฌอาร์ พี่ชายต่างแม่ของอับดัลลาห์ได้กลายเป็นประธานาธิบดีคนต่อมา และอยู่ในตำแหน่งจนถึงกันยายนปี 1995 เมื่อบ็อบ ดีนาร์ด กลับมาอีกครั้งกับความพยายามในการทำรัฐประหารอีก แต่คราวนี้ฝรั่งเศสเข้ามาแทรกแซงและบังคับให้ดีนาร์ดยอมจำนน[27][28] ฝรั่งเศสได้ถอดถอนโฌอาร์ออกจากตำแหน่งและให้ไปอยู่ที่รียูนิอองแทน ขณะที่โมฮัมเหม็ด ทากี อับดุลการิม ผู้ซึ่งได้รับการหนุนหลังจากปารีสขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีแทนจากการเลือกตั้ง เขาเป็นผู้นำประเทศตั้งแต่ปี 1996 ผ่านช่วงเวลาของวิกฤตการณ์แรงงาน การปราบปรามของรัฐบาลต่อพวกพยายามแบ่งแบกดินแดนจนกระทั่งเขาสิ้นชีวิตในเดือนพฤศจิกายนปี 1998 ทาชีดีน เบน ซาอิด มาสซุนเด้ได้ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีแทนชั่วคราว[29]
ในปี 1997 หมู่เกาะอ็องฌูอ็องและโมเอลี ได้ประกาศเอกราชจากคอโมโรส ในความพยายามที่จะนำการปกครองของฝรั่งเศสกลับมา แต่ฝรั่งเศสปฏิเสธคำขอจึงนำไปสู่การนองเลือดระหว่างกองกำลังฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายกบฏ และในเดือนเมษายน ปี 1999 พันเอกอซาลี อัสซูมานี่ หัวหน้าฝ่ายกองทัพได้ยึดอำนาจในการรัฐประหารนองเลือด โค่นประธานาธิบดีมาสซุนเด้ลงจากตำแหน่ง โดยอ้างว่าเป็นผู้นำที่อ่อนแอในการเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่วิกฤต และทำให้นี่เป็นการรัฐประหารในคอโมโรสครั้งที่ 18 นับตั้งแต่ประกาศเอกราชในปี 1975 เป็นต้นมา[30] อย่างไรก็ตาม อซาลีก็ล้มเหลวในการที่จะรวบรว���อำนาจและสถาปนาการควบคุมเหนือหมู่เกาะ ซึ่งเป็นหัวข้อหนึ่งในการวิพากษ์วิจารณ์จากนานาชาติ สหภาพแอฟริกัน ภายใต้การอุปถัมภ์ของประธานาธิบดี เธโบ เอ็มเบกี้ แห่งแอฟริกาใต้เรียกร้องให้มีการคว่ำบาตรเหนือเกาะอองฌูอ็อง เพื่อช่วยให้การเจรจาเพื่อความสมานฉันท์สำเร็จผล[31][32] ชื่ออย่างเป็นทางการของประเทศได้เปลี่ยนเป็นสหภาพคอโมโรส และระบบการเมืองที่เป็นอิสระได้ถูกสถาปนาขึ้นในแต่ละหมู่เกาะ พร้อมทั้งรัฐบาลแห่งสหภาพในการปกครองทั้งสามเกาะ
อซาลีก้าวลงจากตำแหน่งเมื่อปี 2002 เพื่อลงแข่งขันในการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งคอโมโรส ซึ่งเขาก็ชนะการเลือกตั้ง ภายใต้การกดดันจากนานาชาติอย่างต่อเนื่อง ในฐานะผู้นำทางทหารที่ได้อำนาจมาโดยใช้กำลัง และไม่ได้มีประชาธิปไตยในระหว่างที่มีอำนาจ อซาลีก็ได้นำคอโมโรสผ่านการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญซึ่งทำให้มีการเลือกตั้ง [33] ร่างกฎหมาย Loi des competences ผ่านการอนุมัติในปี 2005 ซึ่งได้กำหนดความรับผิดชอบในแต่ละรัฐบาล และกำลังอยู่ในขั้นตอนของการนำไปปฏิบัติให้เกิดผล การเลือกตั้งในปี 2006 อาเหม็ด อับดัลลาห์ โมฮัมเหม็ด แซมบี้ ก็ชนะการเลือกตั้ง เขาเป็นนักบวชมุสลิมนิกายสุหนี่ มีชื่อเล่นว่า “อยาโตลเลาะห์” จากการที่เขาได้ใช้เวลาไปศึกษาศาสนาอิสลามในอิหร่าน อซาลียอมรับผลการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นผลให้เกิดสันติสุขขึ้นและเป็นการเปลี่ยนผ่านอำนาจโดยประชาธิปไตยเป็นครั้งแรก สำหรับหมู่เกาะนี้[34]
ในปี 2001 พันเอก โมฮัมเหม็ด บาซาร์ อดีตนายทหาร/ตำรวจฝรั่งเศส ได้ยึดอำนาจขึ้นเป็นประธานาธิบดีบนเกาะอ็องฌูอ็อง เขาจัดฉากการโหวตเมื่อเดือนมิถุนายน 2007 เพื่อยืนยันความเป็นผู้นำของเขา รัฐบาลกลางคอโมโรสไม่ยอมรับเพราะผิดกฎหมาย เช่นเดียวกับสหภาพแอฟริกัน เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2008 ทหารนับร้อยจากสหภาพแอฟริกันและคอโมโรส เข้ายึดอำนาจจากพวกกบฏบนเกาะอ็องฌูอ็อง ซึ่งได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากประชาชน มีรายงานว่าประชาชนนับร้อยถึงพันถูกทรมานระหว่างการดำรงตำแหน่งของบาซาร์[35] กบฏบางคนถูกฆ่าตายและได้รับบาดเจ็บ แต่ไม่มีตัวเลขอย่างเป็นทางการ พลเรือนอย่างน้อย 11 คนได้รับบาดเจ็บ เจ้าหน้าที่บางคนถูกคุมขัง บาซาร์ได้หลบหนีโดยเรือสปีดโบทไปยังดินแดนของฝรั่งเศสในมหาสมุทรอินเดียแห่งมายอตเพื่อหาที่ลี้ภัย
ตั้งแต่ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส คอโมโรสมีประสบการณ์การรัฐประหารกว่า 20 ครั้ง[36]
หลังการเลือกตั้งเมื่อปลายปี 2010 อดีตรองประธานาธิบดี อิกิลีลู โดไอนีน ก็เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2011 เขาเป็นสมาชิกในพรรครัฐบาลมาก่อน ได้รับการสนับสนุนการเลือกตั้งจากอดีตประธานาธิบดีอาเหม็ด อับดัลลาห์ โมฮัมเหม็ด แซมบี้ โดไอนีน ซึ่งเป็นเภสัชกร เป็นประธานาธิบดีของคอโมโรสคนแรกที่มาจากเกาะโมเอลี
สภาพภูมิศาสตร์
แก้คอโมโรสประกอบไปด้วยเกาะเอ็นกาซิดจา (กรองด์ กอมอร์), เกาะเอ็มวาลี (โมเอลี), เกาะเอ็นซวานี่ (อ็องฌูอ็อง) และเกาะมาออเร่ (มายอตต์) ทั้งหมดนี้เป็นเกาะสำคัญในหมู่เกาะคอโมโรส ในขณะที่มีหมู่เกาะเล็กน้อยอีกมากมาย เกาะเป็นที่รู้จักอย่างเป็นทางการในภาษาคอโมเรียนของพวกเขาเอง แม้จะมีชื่อในภาษาต่างประเทศด้วยก็ตามจะใช้ชื่อในภาษาฝรั่งเศส (ในวงเล็บ) เมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดคือ โมโรนี่ ตั้งอยู่บนเกาะเอ็นกาซิดจา หมู่เกาะตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ในช่องแคบโมซัมบิก ระหว่างชายฝั่งแอฟริกัน (ใกล้โมซัมบิกและแทนซาเนีย) กับมาดากัสดาร์ ไม่มีพรมแดนที่อยู่บนแผ่นดิน
ด้วยขนาดเพียง 2,034 ตารางกิโลเมตร (785 ตารางไมล์) ทำให้เป็นหนึ่งในประเทศที่เล็กที่สุดในโลก คอโมโรสยังมีการอ้างสิทธิพื้นที่ทางทะเลอีกประมาณ 320 ตารางกิโลเมตร (120 ตารางไมล์) สภาพภายในหมู่เกาะมีความหลากหลายตั้งแต่ภูเขาสูงชันไปจนถึงเนินเขาเตี้ย ๆ
เอ็นกาซิดจาเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะคอโมโรส มีขนาดโดยประมาณเท่ากับขนาดของเกาะที่เหลือรวมกัน มันเป็นเกาะที่เกิดใหม่ดังนั้นดินจึงมีลักษณะเป็นหินดิน ลักษณะภูมิประเทศที่โดดเด่นของเกาะนี้คือมีภูเขาไฟสองลูก คาร์ธาล่า (ยังปะทุอยู่) และ ลา กริลล์ (ดับสนิทแล้ว) และลักษณะของชายฝั่งที่ไม่สามารถทำเป็นท่าเรือได้ เอ็มวาลี มีเมืองหลวงชื่อ ฟอมโบนี่ เป็นเกาะที่เล็กที่สุดในบรรดา 4 เกาะสำคัญ เอ็นซวานี่ มีเมืองหลวงชื่อ มัทซามูดู มีลักษณะที่โดดเด่นโดยเป็นรูปสามเหลี่ยมซึ่งเกิดจากภูเขาสามลูก ซีมา นีอูมาเคเล่ และจีมีลีเม่ กระจายตัวจากจุดสูงสุด เอ็นตริงกี้ (1,575 m หรือ 5,167 ft)
เกาะที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในหมู่เกาะแห่งนี้ คือ มายอต ซึ่งอุดมไปด้วยดินที่อุดมสมบูรณ์ ขณะเดียวกันก็มีสภาพชายฝั่งที่ดีเหมาะแก่การทำเป็นท่าเรือ พร้อมด้วยประชากรปลาที่มีมากเนื่องจากแนววงแหวนปะการัง ซาอุดซี่ เคยเป็นเมืองหลวงเก่าของอาณานิคมคอโมโรส ตั้งอยู่บนเกาะปามานซี (ฝรั่งเศส : Petite-Terre) เกาะเล็กที่ใหญ่ที่สุดของเกาะมาออเร่ ขณะที่เมืองหลวงในปัจจุบันคือ มามูดซู คำว่า มายอตต์ (หรือมาออเร่) อาจจะหมายถึงกลุ่มของหมู่เกาะ เกาะที่ใหญ่ที่สุดเรียกว่า มาออเร่ (ฝรั่งเศส: Grande-Terre) และรอบเกาะมาออเร่มีเกาะปามานซีที่สะดุดตาที่สุด (Petite-Terre)
หมู่เกาะคอโมโรสก่อตัวขึ้นโดยการระเบิดของภูเขาไฟ ภูเขาไฟคาร์ธาล่าที่ตั้งอยู่บนเกาะเอ็นซาชิดจา เป็นจุดที่สูงที่สุดของประเทศ มีความสูง 2,361 เมตรหรือ 7,748 ฟุต มันยังเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของคอโมโรสที่ไม่มีป่าฝนเขตร้อน คาร์ธาล่า เป็นหนึ่งในภูเขาไฟที่ยังมีการปะทุอยู่ในโลก มีการระเบิดเล็กน้อยเมื่อปี 2006 และก่อนหน้านี้ในเดือนเมษายน 2005 และ 1991 ในการระเบิดเมื่อปี 2005 ซึ่งกินเวลาตั้งแต่ 17-19 เมษายน ประชาชนกว่า 40,000 คนต้องอพยพ บริเวณรอบปากปล่องภูเขาไฟรัศมีกว่า 3-4 กิโลเมตรถูกทำลายทั้งหมด
คอโมโรสยังได้อ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะกลอริโอโซ่ ซึ่งประกอบไปด้วย เกาะกร็องด์ เกลอยูส (Grande Glorieuse) เกาะอีล ดู ลีส์ (Île du Lys) เกาะขนาดเล็กอีก 3 เกาะ อย่าง เกาะเร็ก ร็อก(Wreck Rock) เกาะเซาท์ ร็อก(South Rock) เกาะเวิร์ท ร็อก(Verte Rocks) และอีก 3 เกาะเล็ก ๆ ที่ไม่มีชื่อ ซึ่งหนึ่งในนั้นอยู่ในการปกครองของหมู่เกาะที่กระจัดกระจายในมหาสมุทรอินเดียของฝรั่งเศส Îles Éparses or Îles éparses de l'océan indien (Scattered Islands in the Indian Ocean) หมู่เกาะกลอริโอโซ่ถูกปกครองโดยชาวอาณานิคมคอโมโรสตั้งแต่ก่อนปี 1975 ซึ่งบางครั้งก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะคอโมโรส อดีตเกาะในหมู่เกาะคอโมโรสอย่าง บัง ดู เกย์เซอร์ ซึ่งตอนนี้ได้จมลงแล้ว และอยู่ใกล้กับหมู่เกาะที่กระจัดกระจายฯ ของฝรั่งเศส ถูกมาดากัสการ์เข้ายึดครองในปี 1976 ในฐานะดินแดนที่ยังไม่มีการอ้างสิทธิ ปัจจุบัน คอโมโรสได้เรียกร้องให้เขตดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเขตเศรษฐกิจพิเศษ
สภาพภูมิอากาศ
แก้สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปร้อนและอบอุ่น มีสองฤดูกาลที่สำคัญซึ่งขึ้นกับปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิโดยทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 29-30 องศาเซลเซียส (84-86 องศาฟาเรนไฮต์) ในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดในฤดูฝน (เรียกว่าคาชคาซี่ ช่วงเดือนธันวาคม-เมษายน) และอุณหภูมิโดยเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ประมาณ 19 องศาเซลเซียส (66 องศาฟาเรนไฮต์) ในฤดูหนาว ซึ่งมีอากาศเย็นและแห้ง (เรียกว่า คูซี่ เดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน)[37] หมู่เกาะนี้ไม่ค่อยได้รับอิทธิพลของพายุไซโคลนมากนัก
ระบบนิเวศน์และสภาพแวดล้อม
แก้หมู่เกาะคอโมโรสมีสภาพนิเวศน์ท้องถิ่นในแบบของตัวเอง ซึ่งเรียกว่า ป่าคอโมโรส
รัฐบาล
แก้ระบบการเมืองของหมู่เกาะคอโมโรสเกิดขึ้นในรูปของสหพันธ์สาธารณรัฐประธานาธิบดี ซึ่งประธานาธิบดีของคอโมโรสจะเป็นผู้นำทั้งของรัฐและรัฐบาล มีระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรค รัฐธรรมนูญของสหภาพคอโมโรสเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปจากการลงประชามติเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2001 และมีการเลือกตั้งในเดือนถัดมา ก่อนหน้านี้การปกครองของคอโมโรสเป็นแบบเผด็จ��ารทหาร การถ่ายโอนอำนาจจากอซาลี อัสซูมานี่ไปสู่อาห์เหม็ด อับดัลเลาะห์ โมฮาเหม็ด แซมบี ในปี 2006 เป็นการถ่ายโอนอำนาจที่สงบสุขเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์คอโมโรส
อำนาจบริหารถูกใช้โดยรัฐบาล อำนาจนิติบัญญัติแห่งชาติก็ตกเป็นของทั้งรัฐบาลและรัฐสภา คำปรารภในรัฐธรรมนูญช่วยยืนยันว่าศาสนาอิสลามจะเป็นแรงบันดาลใจในการปกครอง ความมุ่งมั่นในสิทธิมนุษยชน และสิทธิอื่น ๆ อีกหลายข้อตามที่ได้ระบุไว้ ประชาธิปไตยคือชะตากรรมร่วมกันของชาวคอโมโรสทุกคน[38] ในแต่ละเกาะ (ตามบทที่สองแห่งรัฐธรรมนูญ) จะมีอิสระในการปกครองตนเองรวมไปถึง มีรัฐธรรมนูญเป็นของตนเอง(หรือกฎหมายพื้นฐานบางอย่าง) มีประธานาธิบดีและรัฐสภา ประธานาธิบดีและสภาของสหภาพจะมีความแตกต่างไปจากรัฐบาลของแต่ละเกาะ ประธานาธิบดีของสหภาพจะหมุนเวียนกันไปในแต่ละเกาะ[39] ปัจจุบัน โมเอลีเป็นเกาะที่มีสิทธิในตำแหน่งหมุนเวียน และดังนั้น อิกิลีลู โดไอนีน จึงเป็นประธานาธิบดีของสหภาพ เกาะถัดไปได้แก่ กร็องด์ กอมอร์ และ อันฌูอัน ตามลำดับในวาระ 4 ปี[40]
ระบบกฎหมาย
แก้ระบบกฎหมายของชาวคอโมโรสอยู่ภายใต้กฎหมายอิสลาม ประมวลกฎหมายที่สืบทอดมาจากฝรั่งเศส (ประมวลกฎหมายนโปเลียน) และกฎหมายจารีตประเพณี (mila na ntsi) ผู้สูงอายุในหมู่บ้าน คาดิสหรือศาลเตี้ยมักจะเป็นผู้ตัดสินข้อพิพาทต่าง ๆ ฝ่ายตุลาการเป็นอิสระจากฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ศาลฎีกาทำหน้าที่เป็นสภารัฐธรรมนูญในการแก้ไขข้อสงสัยในรัฐธรรมนูญและดูแลการเลือกตั้งประธานาธิบดี ในฐานะศาลสูงยุติธรรม ศาลฎีกาก็จะทำหน้าที่ตัดสินในกรณีที่รัฐบาลถูกกล่าวหาว่าทุจริต ศาลฎีกาประกอบด้วยสมาชิกสองคนที่ได้รับเลือกจากประธานาธิบดี สองคนได้รับการเลือกตั้งโดยสมัชชาแห่งชาติและอีกคนหนึ่งโดยสภาของแต่ละเกาะ[39]
วัฒนธรรมทางการเมือง
แก้ประมาณร้อยละ 80 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐบาลกลาง ใช้ไปในระบบการเลือกตั้งที่ซับซ้อนของประเทศซึ่งมีรัฐบาลกึ่งอิสระและประธานาธิบดีในแต่ละสามเกาะ และมีการหมุนเวียนตำแหน่งประธานาธิบดีของรัฐบาลสหภาพ[41] การลงประชามติเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 เพื่อตัดสินใจว่าจะลดขั้นตอนของระบบการเมืองที่ยุ่งยากนี้ลงหรือไม่ มีผู้ออกมาใช้เสียงเป็นจำนวนร้อยละ 52.7 และร้อยละ 93.8 ของผู้มาใช้สิทธิมีความเห็นพ้องกับประชามตินี้ การลงประชามติจะทำให้ประธานาธิบดีของเกาะแต่ละแห่งกลายเป็นผู้ว่าราชการและรัฐมนตรีกลายเป็นสมาชิกสภา[42]
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
แก้ในเดือนพฤศจิกายน 2518 คอโมโรสกลายเป็นสมาชิกชาติที่ 143 ของสหประชาชาติ ประเทศใหม่นี้ถูกกำหนดให้ครอบคลุมทุกหมู่เกาะถึงแม้พลเมืองของมายอตจะเลือกที่จะเป็นพลเมืองฝรั่งเศส และรักษาเกาะของตนให้เป็นดินแดนของฝรั่งเศสก็ตาม[43]
คอโมโรสได้กดดันในการอ้างสิทธิเหนือมายอตอย่างต่อเนื่อง ก่อนที่จะมีการประชุมสมัชชาแห่งสหประชาชาติซึ่งได้มีการจัดทำมติภายใต้หัวข้อ "คำถามเกาะคอโมโรสแห่งมายอต" ซึ่งเป็นข้อคิดเห็นว่าเกาะมายอตเป็นของคอโมโรสภายใต้หลักการที่ว่า ดินแดนอาณานิคมควรได้รับการคุ้มครองไว้เมื่อได้รับอิสรภาพ อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ มติเหล่านี้มีผลเพียงเล็กน้อยและไม่มีความเป็นไปได้ที่จะสามารถคาดการณ์ได้ว่า มายอตจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของคอโมโรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากประชาชน เมื่อเร็ว ๆ นี้สมัชชาแห่งชาติยังคงรักษาวาระนี้ไว้ในวาระการประชุม แต่เลื่อนออกไปเป็นปี ๆ โดยไม่ดำเนินการใด ๆ หน่วยงานอื่น ๆ รวมทั้งองค์การเอกภาพแอฟริกา กลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและองค์การความร่วมมืออิสลาม ได้ตั้งคำถามที่คล้ายกันเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของฝรั่งเศสเหนือมายอต[44][45] เพื่อปิดการอภิปรายและเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกรวมเข้าด้วยกันโดยใช้กำลังของสหภาพคอโมโรส ประชากรของมายอตได้เลือกอย่างท่วมท้น ที่จะกลายเป็นภูมิภาคโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศสในการลงประชามติในปีพ.ศ. 2552 สถานะใหม่นี้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 31 มีนาคม 2554 และมายอตได้รับการยอมรับว่าเป็นพื้นที่ไกลสุดของสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2557 การตัดสินใจรวมมายอตเข้าเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศสครั้งนี้ถูกต้องตามกฎหมายและแบ่งแยกไม่ได้
คอโมโรสเป็นสมาชิกของสหภาพแอฟริกา สหภาพอาหรับ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูยุโรป ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ คณะกรรมาธิการมหาสมุทรอินเดียและธนาคารเพื่อการพัฒนาแอฟริกัน เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2551 คอโมโรสกลายเป็นประเทศที่ 179 ในการยอมรับพิธีสารเกียวโตต่อกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[46]
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 สหภาพคอโมโรสกลายเป็นที่รู้จักในการยื่นคำร้องต่อสำนักงานอัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน "การโจมตีของอิสราเอลเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เกี่ยวกับกองกำลังความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมมุ่งสู่ฉนวนกาซา" ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 อัยการสูงสุดของ ICC ตัดสินใจว่า[47]เหตุการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดอาชญากรรมสงคราม แต่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานน้ำหนักของการนำคดีไปสู่การพิจารณาของ ICC[48] อัตราการอพยพคนงานมีฝีมือมีค่าประมาณร้อยละ 21.2 ในปี 2543[49]
การทหาร
แก้แหล่งข้อมูลทางการทหารของคอโมโรสประกอบด้วยกองกำลังขนาดเล็กและกองกำลังตำรวจ 500 คนรวมถึงกองกำลังป้องกันสมาชิกอีก 500 คน สนธิสัญญาป้องกันประเทศกับฝรั่งเศสได้จัดให้มีกองกำลังทหารเรือเพื่อปกป้องน่านน้ำ การฝึกอบรมบุคลากรทางทหารของคอโมโรสและการเฝ้าระวังทางอากาศ ฝรั่งเศสยังคงมีเจ้าหน้าที่อาวุโสอยู่ไม่กี่คนตามคำเรียกร้องของรัฐบาลคอโมโรส และยังมีฐานการเดินเรือขนาดเล็กและหน่วยกองพันต่างประเทศ (DLEM) บนเกาะมายอต
เมื่อรัฐบาลใหม่ได้รับการเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน พ.ศ. 2554 ภารกิจที่เชี่ยวชาญจาก UNREC (Lomé) ได้มายังคอโมโรสและได้จัดทำแนวทางในการจัดทำนโยบายด้านความมั่นคงของชาติ ซึ่งถูกพิจารณาโดยผู้เกี่ยวข้องที่แตกต่างกันไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์กรป้องกันประเทศและพลเรือนภาคสังคม[50] หลังจากสิ้นสุดโครงการเมื่อปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 มีการกำหนดกรอบข้อตกลงโดยทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องใน SSR จะถูกจัดตั้งขึ้น จากนั้นจะต้องมีการรับรองจากรัฐสภาและดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่
เศรษฐกิจ
แก้คอโมโรสเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก การเติบโตทางเศรษฐกิจและการลดความยากจนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับรัฐบาล ด้วยอัตราร้อยละ 14.3 ของการว่างงานถือว่าสูงมาก เกษตรกรรมรวมถึงการประมง การล่าสัตว์และการป่าไม้เป็นภาคเศรษฐกิจชั้นนำและ ร้อยละ38.4 ของประชากรทำงานอยู่ในภาคเกษตรกรรมหลักนี้[51]
ความหนาแน่นของประชากรที่สูงถึง 1000 คนต่อตารางกิโลเมตรในเขตเกษตรกรรมที่หนาแน่นที่สุดซึ่งเกี่ยวกับการเพาะปลูก เศรษฐกิจแบบการเกษตรอาจนำไปสู่วิกฤตสิ่งแวดล้อมในอนาคตอันใกล้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากอัตราการเติบโตของประชากรที่สูง ในปี 2547 การเติบโตทางเศรษฐกิจของคอโมโรสที่แท้จริงต่ำถึง 1.9% และ GDP ต่อหัวของประเทศยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง การลดลงดังกล่าวได้รับการอธิบายโดยปัจจัยต่าง ๆ เช่น การลงทุนที่ลดลง การบริโภคลดลง อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นและความไม่สมดุลของการค้าที่เพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากราคาพืชลดลงโดยเฉพาะวานิลลา[51]
นโยบายการคลังถูกจำกัดด้วยรายได้จากการคลังที่ไม่แน่นอน ค่าจ้างการบริการสาธารณะที่ขยายตัว และหนี้ต่างประเทศที่สูงกว่าเกณฑ์ HIPC การเป็นสมาชิกในฟรังก์โซนซึ่งเป็นจุดยึดหลักของเสถียรภาพยังคงเป็นแรงกดดันต่อราคาในประเทศ[52]
คอโมโรสมีระบบการขนส่งที่ไม่เพียงพอ ประชากรที่มีอายุน้อยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและทรัพยากรธรรมชาติมีน้อย ระดับการศึกษาที่ต่ำของแรงงานก่อให้เกิดระดับของกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบพอยังชีพ การว่างงานที่สูงและการพึ่งพาอาศัยเงินทุนจากต่างประเทศและความช่วยเหลือด้านเทคนิค เกษตรกรรมมีสัดส่วนร้อยละ 40 ของ GDP มีการจ้างงานร้อยละ 80 และโดยมากเพื่อการส่งออก คอโมโรสเป็นผู้ผลิตกระดังงารายใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นผู้ผลิตวานิลลารายใหญ่[53]
รัฐบาลกำลังดิ้นรนเพื่อยกระดับการศึกษาและการฝึกอบรมทางเทคนิค เพื่อแปรรูปรัฐวิสาหกิจทางการค้าและอุตสาหกรรม เพื่อปรับปรุงบริการด้านสุขภาพ เพื่อกระจายการส่งออก เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและเพื่อลดอัตราการเติบโตของประชากรในอัตราสูง[54]
คอโมโรสอ้างสิทธิเหนือแนวปะการัง the Banc du Geyser และ หมู่เกาะ Glorioso ว่าเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ[55]
คอโมโรสเป็นสมาชิกขององค์การเพื่อการกลืนกินกฎหมายธุรกิจในแอฟริกา (OHADA)[56]
สังคม
แก้ข้อมูลประชากร
แก้ด้วยประชากรที่น้อยกว่าล้านคน คอโมโรสเป็นประเทศที่มีประชากรน้อยที่สุดแห่งหนึ่งในโลก แต่เป็นหนึ่งในประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดโดยมีประชากรเฉลี่ย 392 คนต่อตารางกิโลเมตร (710/ตารางไมล์) ในปี 2544 ประชากรร้อยละ 34 อยู่ในเขตเมือง และคาดว่าจะเติบโตขึ้นอีกเนื่องจากประชากรในเขตชนบทลดลง ขณะที่การเติบโตของประชากรโดยรวมยังค่อนข้างสูง[57]
เกือบครึ่งหนึ่งของประชากรของคอโมโรสมีอายุต่ำกว่า 15 ปี[58] เมืองที่สำคัญ ได้แก่ โมโรนี มูตซัมมูดู โดโมนี ฟอมโบนี เซมเบฮู มีชาวคอโมโรสประมาณ 200,000 ถึง 350,000 คนในฝรั่งเศส[59]
กลุ่มชาติพันธุ์
แก้ชาวหมู่เกาะคอโมโรสส่วนใหญ่เป็นชาวแอฟริกันอาหรับ หนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะต่าง ๆ ของคอโมโรสยังคงเป็นชาว Shirazi[60] ชนกลุ่มน้อย ทั้งชาวมาดากัสการ์ (คริสเตียน) และอินเดีย (ส่วนใหญ่เป็นอิสลาม นิกาย Ismaili) และชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานของชาวฝรั่งเศสในช่วงแรก คนจีนยังมีอยู่ในบางส่วนของเกาะกร็องด์กอมอร์ (โดยเฉพาะในโมโรนี) ชนกลุ่มน้อยชาวฝรั่งเศสผิวขาวที่มีเชื้อสายยุโรป (เช่น���ัตช์อังกฤษและโปรตุเกส) อาศัยอยู่ในคอโมโรสก็มีบ้าง ชาวฝรั่งเศสส่วนใหญ่อพยพไปหลังจากการประกาศอิสรภาพในปี พ.ศ. 2518[61]
ภาษา
แก้ภาษาที่ใช้ทั่วไปในคอโมโรส คือ ภาษาคอโมโรสหรือชิโกโมริ (Shikomori) เป็นภาษาที่สัมพันธ์กับภาษาสวาฮิลีโดยมีการพูดที่แตกต่างกันถึงสี่สำเนียง (Shingazidja, Shimwali, Shinzwani และ Shimaore) บนเกาะแต่ละแห่งทั้ง 4 เกาะ อักษรอาหรับและละตินก็มีการใช้เช่นเดียวกัน อักษรอาหรับเป็นอักษรที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น และเพิ่งมีการพัฒนาอักขรวิธีขึ้นอย่างเป็นทางการสำหรับอักษรละติน[62]
ภาษาอาหรับและภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการตามด้วยภาษาคอโมโรส ภาษาอาหรับเป็นภาษาที่สองที่ใช้ในการสอนอัลกุรอาน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่ใช้ในการบริหารและเป็นภาษาที่ใช้ในการศึกษานอกระบบอัลกุรอานทั้งหมด ภาษามาลากาซี ภาษา Kibushi มีผู้ใช้โดยประมาณหนึ่งในสามของประชากรบนเกาะมายอต[63]
ศาสนา
แก้ศาสนาอิสลาม นิกายสุหนี่ เป็นศาสนาที่มีบทบาทสำคัญซึ่งคิดเป็นร้อยละ 98 ของประชากร ประชากรกลุ่มน้อยในคอโมโรสส่วนใหญ่เป็นผู้อพยพจากนครหลวงฝรั่งเศสเป็นชาวโรมันคาทอลิก[61]
สุขภาพ
แก้มีแพทย์ 15 คนต่อประชากร 100,000 คน อัตราการเจริญพันธุ์อยู่ที่ 4.7 ต่อผู้หญิง 1 คนในปี 2547 อายุขัยเฉลี่ยอยู่ที่ 67 สำหรับเพศหญิงและ 62 สำหรับผู้ชาย[64]
การศึกษา
แก้เกือบทั้งหมดของประชากรที่มีการศึกษาของคอโมโรสได้เข้าเรียนในโรงเรียนกุรอานในช่วงชีวิตหนึ่งของพวกเขา ก่อนที่จะได้รับการศึกษาตามปกติ ที่นี่เด็กชายและเด็กหญิงได้รับการสอนเกี่ยวกับอัลกุรอานและต้องจดจำ พ่อแม่บางคนเลือกการสอนแบบนี้ในตอนแรก ก่อนที่จะชดเชยการเรียนการสอนในโรงเรียนภาษาฝรั่งเศสให้กับเด็กในภายหลัง นับตั้งแต่การประกาศอิสรภาพและการขับครูชาวฝรั่งเศสออกไป ระบบการศึกษาได้รับผลกระทบจากการฝึกอบรมครูที่แย่มากและผลลัพธ์ที่แย่เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดี ความมั่นคงที่เพิ่งเกิดขึ้นจะช่วยให้มีการปรับปรุงที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น[24]
ในปี 2543 เด็กที่อายุระหว่าง 5 ถึง 14 ปีอยู่ในโรงเรียนถึงร้อยละ 44.2 มีความขาดแคลนทั่วไปของสิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์ ครูที่มีคุณสมบัติ ตำราและทรัพยากรอื่น ๆ ค่าจ้างสำหรับครูมักจะถูกค้างชำระจนหลายคนปฏิเสธที่จะทำงาน[65]
ประมาณร้อยละห้าสิบของประชากรสามารถเขียนอักษรละตินได้ ขณะที่มากกว่าร้อยละ 90 สามารถเขียนอักษรอาหรับได้ มีผู้อ่านออกเขียนได้ประมาณร้อยละ 77.8[66] ภาษาคอโมโรสไม่มีอักษรดั้งเดิมแต่สามารถใช้อักษรได้ทั้งละตินและอาหรับ
วัฒนธรรม
แก้สตรีชาวคอโมโรสพื้นถิ่นจะสวมชุดที่คล้ายส่าหรีที่มีสีสันสวยงามเร���ยกกันว่า ชิโรมานี (shiromani) และปะแป้งด้วยผงไม้จันทน์และปะการังที่เรียกกันว่า ซินซาโน (msinzano) บนหน้าของพวกเขา[67] เสื้อผ้าผู้ชายแบบดั้งเดิมเป็นกระโปรงยาวสีสันสดใสและเสื้อเชิ้ตสีขาวยาว ๆ[68]
เครือญาติและโครงสร้างทางสังคม
แก้สังคมคอโมโรสจะมีระบบการสืบเชื้อสายแบบสองด้าน สมาชิกโดยสายเลือดและมรดกอสังหาริมทรัพย์ (ที่ดิน, บ้าน) ส่งผ่านทางสายมารดา คล้ายกับชาวบันตูหลายคนก็มีการสืบเชื้อสายทางมารดาเช่นเดียวกัน ขณะที่สิ่งของอื่น ๆ และนามสกุลจะสืบทอดทางสายบิดา อย่างไรก็ตาม มีความแตกต่างในแต่ละเกาะ การสืบเชื้อสายทางแม่จะเข้มกว่าบนเกาะเอ็นกาซิดจา[69]
ดนตรี
แก้ดนตรีทารับแบบแซนซิบาร์ยังคงเป็นแนวเพลงมีอิทธิพลมากที่สุดบนหมู่เกาะ[70]
สื่อ
แก้มีหนังสือพิมพ์แห่งชาติของรัฐบาลในคอโมโรส ชื่อ อัล-วัตวาน (Al-Watwan)[71] ตีพิมพ์ในโมโรนี วิทยุคอโมโรสคือบริการวิทยุแห่งชาติและคอโมโรสเนชั่นแนลทีวีคือบริการด้านโทรทัศน์
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "Comoros". International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 17 April 2012.
- ↑ "GINI index". World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2014. สืบค้นเมื่อ 26 July 2013.
- ↑ "Human Development Report 2020" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. December 15, 2020. สืบค้นเมื่อ December 15, 2020.
- ↑ Walker, Iain. "Islands in a Cosmopolitan Sea: A History of the Comoros." Hurst Publishers. 2019, p 8-9.
- ↑ "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
- ↑ "Question of the Comorian island of Mayotte" (PDF). United Nations General Assembly Resolution. 21 October 1976. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 8 April 2008. สืบค้นเมื่อ 18 February 2024.
- ↑ "Comoros – Permanent Mission to the United Nations". 6 January 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2008. สืบค้นเมื่อ 18 February 2024.
- ↑ "Subjects of UN Security Council Vetoes". Global Policy Forum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2008. สืบค้นเมื่อ 27 March 2008.
- ↑ "Article 33, Repertory, Supplement 5, vol. II (1970–1978)" (PDF). United Nations, Office of Legal Affairs (OLA). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 October 2014.
- ↑ Nicolas Brucato; Veronica Fernandes; Stéphane Mazières; Pradiptajati Kusuma; Murray P. Cox; Joseph Wainaina Ng’ang’a; Mohammed Omar; Marie-Claude Simeone-Senelle; Coralie Frassati; Farida Alshamali; Bertrand Fin; Anne Boland; Jean-Francois Deleuze; Mark Stoneking; Alexander Adelaar; Alison Crowther; Nicole Boivin; Luisa Pereira; Pascal Bailly; Jacques Chiaroni; François-Xavier Ricaut (4 January 2018). "The Comoros Show the Earliest Austronesian Gene Flow into the Swahili Corridor". American Journal of Human Genetics. American Society of Human Genetics. 102 (1): 58–68. doi:10.1016/j.ajhg.2017.11.011. PMC 5777450. PMID 29304377.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ20Coups
- ↑ "Intrigue in the world's most coup-prone island paradise". The Economist. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 January 2019. สืบค้นเมื่อ 25 January 2019.
- ↑ "Human Development Report 2021/2022" (PDF). United Nations Development Programme. 2022. p. 283.
- ↑ "Comores Online.com – reference to the history of the name". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-13. สืบค้นเมื่อ 2011-12-04.
- ↑ Federal Research Division of the Library of Congress under the Country Studies/Area Handbook Program (August 1994). Ralph K. Benesch (บ.ก.). A Country Study: Comoros. Washington, D.C.: US Department of the Army.
- ↑ Thomas Spear (2000). "Early Swahili History Reconsidered". The International Journal of African Historical Studies. Boston University African Studies Center. 33 (2): 257–290. doi:10.2307/220649. JSTOR 220649.
- ↑ Thomas Spear (2000). "Early Swahili History Reconsidered". The International Journal of African Historical Studies. 33 (2): 264–5.
- ↑ 18.0 18.1 Thomas Spear (1984). "The Shirazi in Swahili Traditions, Culture, and History". History in Africa. African Studies Association. 11: 291–305. doi:10.2307/3171638. JSTOR 3171638.
- ↑ "Comoros - Early Visitors and Settlers". Library of Congress Country Studies.
- ↑ Andre Bourde (May 1965). "The Comoro Islands: Problems of a Microcosm". The Journal of Modern African Studies. 3 (1): 91–102. doi:10.1017/S0022278X00004924.
- ↑ Barbara Dubins (September 1969). "The Comoro Islands: A Bibliographical Essay". African Studies Bulletin. African Studies Association. 12 (2): 131–137. doi:10.2307/523155. JSTOR 523155.
- ↑ 22.0 22.1 Eliphas G. Mukonoweshuro (October 1990). "The Politics of Squalor and Dependency: Chronic Political Instability and Economic Collapse in the Comoro Islands". African Affairs. 89 (357): 555–577.
- ↑ Moorcraft, Paul L.; McLaughlin, Peter (April 2008) [1982]. The Rhodesian War: A Military History. Barnsley: Pen and Sword Books. pp. 120–121. ISBN 978-1-84415-694-8.
- ↑ 24.0 24.1 Abdourahim Said Bakar (1988). "Small Island Systems: A Case Study of the Comoro Islands". Comparative Education. 24 (2, Special Number (11): Education and Minority Groups): 181–191. doi:10.1080/0305006880240203.
- ↑ Christopher S. Wren (8 December 1989). "Mercenary Holding Island Nation Seeks Deal". New York Times. สืบค้นเมื่อ 8 May 2020.
- ↑ Judith Matloff (6 October 1995). "Mercenaries seek fun and profit in Africa". Vol. 87 no. 219. Christian Science Monitor. ISSN 0882-7729.
- ↑ Marlise Simons (5 October 1995). "1,000 French Troops Invade Comoros to Put Down Coup". New York Times. pp. Section A, Page 10, Column 3.
- ↑ "French Mercenary Gives Up in Comoros Coup". New York Times. Associated Press. 6 October 1995. pp. Section A, Page 7, Column 1.
- ↑ Kamal Eddine Saindou (6 November 1998). "Comoros president dies from heart attack". Associated Press. pp. International News.
- ↑ "COMOROS: COUP LEADER GIVES REASONS FOR COUP". BBC Monitoring Africa (Radio France Internationale). 1 May 1999.
- ↑ Rodrique Ngowi (3 August 2000). "Breakaway island's ruler says no civilian rule until secession crisis resolved". Associated Press.
- ↑ "Mbeki flies in to Comoros islands summit in bid to resolve political crisis". Agence France Presse. 20 December 2003.
- ↑ "Comoros said "calm" after Azali Assoumani declared elected as federal president". BBC Monitoring Africa. 10 May 2002.
- ↑ UN Integrated Regional Information Networks (15 May 2006). "Comoros; Ahmed Abdallah Sambi Set to Win Presidency by a Landslide". AllAfrica, Inc. Africa News.
- ↑ "COMOROS: The legacy of a Big Man on a small island". IRIN.
- ↑ "Anti-French protests in Comoros". BBC News. 27 March 2008. สืบค้นเมื่อ 27 March 2008.
- ↑ Martin Ottenheimer; Harriet Ottenheimer (1994). Historical Dictionary of the Comoro Islands. African Historical Dictionaries; No. 59. Metuchen, N.J.: Scarecrow Press. pp. 20, 72. ISBN 978-0-585-07021-6.
- ↑ "Comoros 2001 (rev. 2009)". Constitute. สืบค้นเมื่อ 23 April 2015.
- ↑ 39.0 39.1 "FUNDAMENTAL LAW OF THE UNION OF COMOROS (English excerpts)". Centre for Human Rights, University of Pretoria, South Africa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Word document)เมื่อ 2006-10-09. สืบค้นเมื่อ 2015-10-11.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ AFRICAN ELECTIONS DATABASE, Elections in the Comoros.
- ↑ "COMOROS: Reforming 'the coup-coup islands'". IRIN.
- ↑ "Comoros: Referendum Approves Downscaling of Government". AllAfrica Global Media. 19 May 2009. สืบค้นเมื่อ 20 May 2009.
- ↑ Security Council S/PV. 1888 para 247 S/11967 [1] [2] เก็บถาวร 17 มีนาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อGA31_first-resolution
- ↑ "Forty-ninth session: Agenda item 36: 49/18. Question of the Comorian island of Mayotte" (PDF). United Nations General Assembly. 6 December 1994. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 May 2008.
- ↑ unfccc.int KYOTO PROTOCOL – STATUS OF RATIFICATION
- ↑ Office of the Prosecutor, Situation on Registered Vessels of Comoros, Greece and Cambodia Article 53(1) Report, Report of 6th November 2014
- ↑ Statement of the Prosecutor of the International Criminal Court, Fatou Bensouda, on concluding the preliminary examination of the situation referred by the Union of the Comoros: “Rome Statute legal requirements have not been met”,Statement of 6th November 2014 เก็บถาวร 2015-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Ratha, Dilip; Sanket Mohapatra; Ani Silwal (2011). "The Migration and Remittances Factbook 2011: Comoros" (PDF). Worldbank.org. สืบค้นเมื่อ 29 November 2016.
- ↑ FINAL EVALUATION, Peace Building Fund Programme in the Comoros 2008–2011, 19 October 2011 – 8 November 2011
- ↑ 51.0 51.1 "UNION OF THE COMOROS: POVERTY REDUCTION AND GROWTH STRATEGY PAPER (UPDATED INTERIM PAPER)" (PDF). Office of the General Commissioner for Planning, Ministry of Planning and Regional Development. October 2005.
- ↑ "Comoros: Financial Sector Profile". mfw4a.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2011. สืบค้นเมื่อ 15 January 2011.
- ↑ Ottenheimer, pp. 3, 10
- ↑ "Rural Poverty Portal". ruralpovertyportal.org.
- ↑ Mohammed Khalid (August 2013). "Disputed Islands of the Indian Ocean: A potential danger to Regional peace". Journal of Indian Oceans Studies. 21 (2): 127-128. ISSN 0972-3080.
- ↑ "OHADA.com: The business law portal in Africa". สืบค้นเมื่อ 22 March 2009.
- ↑ Population Division of the Department of Economic and Social Affairs of the United Nations Secretariat (2005) World Population Prospects: The 2004 Revision and World Urbanization Prospects: The 2005 Revision.
- ↑ "Comoros". Encyclopædia Britannica.
- ↑ "FACTBOX-Relations between France and Comoros". Reuters. 27 March 2008.
- ↑ Ari Nave (2010). Anthony Appiah; Henry Louis Gates (บ.ก.). Encyclopedia of Africa. Oxford University Press. pp. 187–188. ISBN 978-0-19-533770-9.
- ↑ 61.0 61.1 61.2 "Africa :: COMOROS". CIA The World Factbook. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-24. สืบค้นเมื่อ 2017-04-23.
- ↑ Mohamed Ahmed-Chamanga (2010). Introduction à la grammaire structurale du comorien. Moroni: Komedit.
- ↑ Ethnologue report for Comoros. ethnologue.com
- ↑ "WHO Country Offices in the WHO African Region – WHO Regional Office for Africa" (PDF). Afro.who.int. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-01-07. สืบค้นเมื่อ 1 June 2010.
- ↑ "Comoros". 2005 Findings on the Worst Forms of Child Labor เก็บถาวร 2006-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Bureau of International Labor Affairs, U.S. Department of Labor (2006). This article incorporates text from this source, which is in the public domain.
- ↑ UNESCO Institute for Statistics, country profile of Comoros; 2004.
- ↑ "Union of Comoros". Arab Cultural Trust. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-27. สืบค้นเมื่อ 29 November 2016.
- ↑ "Comoros Islands: Islands & Beyond". comoros-islands.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-15. สืบค้นเมื่อ 29 November 2016.
- ↑ Sophie Blanchy (February 2019). "A matrilineal and matrilocal Muslim society in flux: negotiating gender and family relations in the Comoros". Africa. Cambridge University Press. 89 (1): 21–39. doi:10.1017/S0001972018000682. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-11. สืบค้นเมื่อ 2020-05-08.
- ↑ Ewens, Graeme and Werner Graebner. "A Lightness of Touch". 2000. In Broughton, Simon and Ellingham, Mark with McConnachie, James and Duane, Orla (Ed.), World Music, Vol. 1: Africa, Europe and the Middle East, pp 505-508. Rough Guides Ltd, Penguin Books. ISBN 1-85828-636-0
- ↑ "Accueil – Al-Watwan, quotidien comorien, actualités et informations des Comores". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-26. สืบค้นเมื่อ 2017-04-23.
บรรณานุกรม
แก้- Martin Ottenheimer and Harriet Ottenheimer (1994). Historical Dictionary of the Comoro Islands. African Historical Dictionaries; No. 59. Metuchen, N.J.: Scarecrow Press. ISBN 978-0-585-07021-6.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Comoros
- คู่มือการท่องเที่ยว Comoros จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- Wikimedia Atlas of Comoros
- วิกิข่าว มีข่าวเกี่ยวกับบทความ: Comores
- Union des Comores – เว็บไซต์ทางการของรัฐบาลคอโมโรส
- Comoros National Office of Tourism official website เก็บถาวร 2019-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Embassy des Comores – สถานทูตรัฐบาลคอโมโรสประจำนครนิวยอร์ก สหรัฐ
- comoros แหล่งข้อมูลโดย GovPubs จาก the University of Colorado Boulder Libraries
- ประเทศคอโมโรส ที่เว็บไซต์ Curlie
- Comoros จากสำนักข่าวบีบีซี
- Key Development Forecasts for Comoros จาก International Futures