เรื่องของบริเตน

เรื่องของบริเตน[1] (อังกฤษ: Matter of Britain) เป็นชื่อที่เรียกรวมตำนานที่เกี่ยวกับเคลต์และตำนานประวัติศาสตร์ของเกรตบริเตน โดยเฉพาะตำนานที่เกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์[2] และอัศวินโต๊ะกลม

เรื่องของบริเตน เป็นศัพท์ที่ฌ็อง บอแดล (Jean Bodel) กวีชาวฝรั่งเศส นำมาใช้ในกวีนิพนธ์ Chanson de Saisnes ในคริสต์ศตวรรษที่ 12:

Ne sont que III matières à nul homme atandant,
De France et de Bretaigne, et de Rome la grant.
(แปล: "ปกรณัมชุดสามชุดที่ไม่มีผู้ใดที่ควรจะขาด: เรื่องของฝรั่งเศส, เรื่องของบริเตน, เรื่องของโรม")

การใช้ศัพท์ เรื่องของบริเตน เป็นการแยกจากวรรณกรรมที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับบริเตนจากแหล่งอื่น ๆ เช่นตำนานของกรีซโบราณ, เรื่องของโรม และตำนานพาลาดิน (Paladin) ที่เกี่ยวกับชาร์เลอมาญและสงครามกับมัวร์และซาราเซนซึ่งถือกันว่าเป็นส่วนหนึ่งของ เรื่องของฝรั่งเศส แม้ว่าตำนานที่เกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์จะเป็นหัวข้อหลักของตำนานเกี่ยวกับบริเตนแต่ก็มิใช่หัวข้อเดียว หัวข้ออื่นที่ถือว่าอยู่ในเครือข่ายของเรื่องของบริเตนก็ได้แก่ตำนานเกี่ยวกับบรูตัสแห่งบริเตน, กษัตริย์โคล, กษัตริย์เลียร์ (Leir of Britain) และกอกและมากอก (Gog and Magog)

อ้างอิง

แก้
  1. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม ฉบับราชบัณฑิตยสภา (แก้ไขเพิ่มเติม). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2561, หน้า 311.
  2. Britannia.com: Legends of King Arthur[1]
  • Derek Pearsall, Arthurian Romance: a short introduction, Blackwell, Oxford, 2005
  • D. H. Green, The Beginnings of Medieval Romance: Fact and fiction, 1150-1220, CUP Cambridge 2005
  • Carol Dover (ed), A Companion to the Lancelot-Grail Cycle, Boydell & Brewer, 2005

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้