ข้ามไปเนื้อหา

ประชากรศาสตร์ไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พีระมิดประชากรประเทศไทยใน พ.ศ. 2563

บทความว่าด้วย ลักษณะประชากรไทย กล่าวถึง ชนชาติ เชื้อชาติ ศาสนา ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องด้วยประชาชนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย

สถิติจำนวนประชากรไทยนั้นแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแหล่งอ้างอิงและวิธีการเก็บข้อมูล แต่โดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ราว 66-67 ล้านคน คิดเป็นอันดับที่ 4 ในกลุ่มประเทศอาเซียนรองจาก อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ข้อมูลทั้งหลาย อาทิ

* หมายเหตุ: นับคนไทยที่ที่อยู่ในประเทศไทย คนไทยที่ออกนอกประเทศชั่วคราว และคนต่างด้าวที่อยู่ในประเทศไทยเกิน 3 เดือน

และจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ [1] ซึ่งจะมีการจัดทำสำมะโนประชากรและเคหะ ทุก 10 ปี ตามข้อเสนอแนะขององค์การสหประชาชาติ ประเทศไทยมีประชากร 65,479,453 คน แบ่งเป็น ประชากรห��ิง 33.4 ล้านคน (ร้อยละ 51.0) และชาย 32.1 ล้านคน (ร้อยละ 49.0) หรือคิดเป็นอัตราส่วนเพศ ชาย 96.2 คนต่อหญิง 100 คน เป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย 62.3 ล้านคน (ร้อยละ 95.1) และผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยอีก 3.2 ล้านคน (ร้อยละ 4.9)

ทั้งนี้ทั้งนั้น จากข้อมูลโดยสหประชาชาติ ประเทศไทยเป็นประเทศลำดับที่สามในทวีปเอเชียที่โครงสร้างประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (รองจากประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้) โดยคาดหมายว่าสัดส่วนประชากรวัยทำงาน (อายุ 15 - 64 ปี) ของประเทศไทยจะถึงจุดสูงสุดในปี ค.ศ. 2017 คืออยู่ที่ร้อยละ 72 ของประชากรทั้งหมด และจะลดต่ำลงต่ำกว่าร้อยละ 60 ของประชากรก่อนปี ค.ศ. 2050 ในขณะเดียวจำนวนประชากรผู้สูงอายุ (มากกว่า 65 ปีขึ้นไป) จากอยู่ที่อัตราร้อยละ 8.9 ของประชากรทั้งหมดในปี ค.ศ. 2010 จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 19.5 ของประชากรทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 ซึ่งจะส่งผลต่อจำนวนประชากรไทยในอนาคตที่คาดว่าจะลดลงและส่งผลกระทบทางลบต่อความต้องการแรงงานในที่สุด [6][7]

สำมะโนประชากร

[แก้]
ข้อมูลจำนวนประชากร ตามสำมะโนประชากร พ.ศ. 2453 – 2553 ตามข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ [1]
ครั้ง ปีที่สำรวจ
(พ.ศ./ค.ศ.)
จำนวน (คน) อัตราเพิ่ม
(ร้อยละ/ต่อ 10 ปี)
1 2453 (1910) 8,131,247 -
2 2462 (1919) 9,207,355 + 13.2 (ต่อ 9 ปี)
3 2472 (1929) 11,506,207 + 25.0
4 2480 (1937) 14,464,105 + 25.7 (ต่อ 8 ปี)
5 2490 (1947) 17,442,689 + 20.6
6 2503 (1960) 26,257,916 + 50.5 (ต่อ 13 ปี)
7 2513 (1970) 34,397,371 + 31.0
8 2523 (1980) 44,824,540 + 30.3
9 2533 (1990) 54,548,530 + 21.7
10 2543 (2000) 60,916,441 + 11.7
11 2553 (2010) 65,981,659 + 8.3

สถิติจำนวนประชากร และสถิติชีพ

[แก้]
สถิติจำนวนประชากร ตามข้อมูลของ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[8][9][10]
สถิติสาธารณสุข (จำนวนเกิดมีชี��� และจำนวนตาย) โดย กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข[11][12] และ
สถิติจำนวนและอัตราเกิดมีชีพ และตาย ทั่วราชอาณาจักร โดย สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข[13][14] [15]
ปี (พ.ศ./ค.ศ.) จำนวนประชากร จำนวนเกิดมีชีพ จำนวนตาย จำนวนเพิ่มตามธรรมชาติ อัตราเกิดมีชีพ (ต่อ 1,000 คน) อัตราตาย (ต่อ 1,000 คน) อัตราเพิ่มตามธรรมชาติ (ต่อ 1,000 คน) อัตราเจริญพันธุ์รวม [16] แหล่งข้อมูลอื่น
2526/1983 1 055 802 252 592 803 210 21.3 5.1 16.2
2527/1984 956 680 225 282 731 398 19.0 4.5 14.5
2528/1985 973 624 225 088 748 536 18.8 4.4 14.4
2529/1986 945 827 218 025 727 802 18.0 4.1 13.9
2530/1987 884 043 232 968 651 075 16.5 4.3 12.2
2531/1988 873 842 231 227 642 615 16.0 4.2 11.8
2532/1989 905 837 246 570 659 267 16.3 4.4 11.9
2533/1990 956 237 252 512 703 725 17.0 4.5 12.5
2534/1991 960 556 264 350 696 206 17.0 4.7 12.3
2535/1992 57,788,965 964 557 275 313 689 244 16.8 4.8 12.0
2536/1993 58,336,072 957 832 285 731 672 101 16.5 4.9 11.6
2537/1994 59,095,419 960 248 305 526 654 722 16.3 5.2 11.1
2538/1995 59,460,382 963 678 324 842 638 836 16.2 5.5 10.7
2539/1996 60,116,182 994 118 342 645 651 473 15.8 5.7 10.1
2540/1997 60,816,227 897 604 303 918 593 686 14.8 5.0 9.8
2541/1998 61,466,178 897 201 310 534 586 667 14.7 5.1 9.6
2542/1999 61,661,701 754 685 362 607 392 078 12.3 5.9 6.4
2543/2000 61,878,746 773 009 365 741 407 268 12.5 5.9 6.6 1.53
2544/2001 62,308,887 790 425 369 493 420 932 12.7 6.0 6.7 1.54
2545/2002 62,799,872 782 911 380 364 402 547 12.5 6.1 6.4 1.53
2546/2003 63,079,765 742 183 384 131 358 052 11.8 6.1 5.7 1.47
2547/2004 61,973,621** 813 069 393 592 419 477 13.0 6.3 6.7 1.55
2548/2005 62,418,054 809 485 395 374 414 111 13.0 6.4 6.6 1.55
2549/2006 62,828,706 793 623 391 126 402 497 12.7 6.2 6.5 1.53
2550/2007 63,038,247 797 588 393 255 404 333 12.7 6.3 6.4 1.54
2551/2008 63,389,730 784 256 397 326 386 930 12.4 6.3 6.1 1.51
2552/2009 63,525,062 765 047 393 916 371 131 12.1 6.2 5.9 1.47
2553/2010 63,878,267 761 689 411 331 350 358 12.0 6.5 5.5 1.49
2554/2011 64,076,033 795 031 414 670 380 361 12.4 6.5 5.9 1.55
2555/2012 64,456,695 801 737 415 141 386 596 12.4 6.5 5.9 1.56
2556/2013 64,785,909 748 081 426 065 322 016 11.6 6.6 5.0 1.46
2557/2014 65,124,716 711 805 435 624 276 181 11.0 6.7 4.3 1.41
2558/2015 65,729,098 679 502 445 964 233 538 10.4 6.9 3.5 1.45 [17]:12[18]
2559/2016 65,931,550 666,207 469,085 197,122 10.2 7.2 3.0 1.39
2560/2017 66,188,503 656,571 458,010 198,561 10.0 7.0 3.0 1.38 [19]
2561/2018 66,413,979 666,357 473,541 192,568 10.0 7.1 2.9 1.36 [19]
2562/2019 66,558,935 618,193 506,211 111,982 9.3 7.6 1.7 1.25 [20]
2563/2020 66,186,727 587,368 501,438 85,930 8.9 7.6 1.3 1.18
2564/2021 66,171,439 544,570 563,650 -19,080 8.2 8.5 -0.3 1.16
2565/2022 66,090,475 502,107 595,965 -93,858 7.6 9.0 -1.4 1.10[21]
2566/2023 66,052,615 517,934 565,992 -48,054 7.8 8.5 -0.7
2567/2024 65,951,210 462,240 571,646 -109,406 7.0 8.7 -1.7
  • หมายเหตุ
** กรมการปกครองมีการปรับปรุงแก้ไข และจำหน่ายรายการบุคคลในทะเบียนบ้านกลาง ทั่วราชอาณาจักร และโครงการตรวจสอบ แก้ไขรายการบุคคลในทะเบียนบ้าน กรณีชื่อเกิน และซ้ำซ้อน
- จำนวนเกิดมีชีพ หมายถึง จำนวนทารกที่คลอดออกมาโดยวิธีใดก็ตามและไม่คำนึงถึงระยะเวลาของการตั้งครรภ์ โดยที่ทารกที่คลอดออกมานั้นจะต้องมีการหายใจหรือแสดงอาการที่บ่งว่ามีชีวิต เช่น การเต้นของหัวใจ การเต้นของเส้นโลหิต การเต้นของสายสะดือหรือมีการเคลื่อนไหวของร่างกาย
- ตัวเอียง หมายถึงข้อมูลเบื้องต้น โดยการรวบรวมข้อมูลจากการเกิดจากสูติบัตร และการตายจากมรณบัตร (โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)


ข้อมูลล่าสุด

[แก้]

จำนวนการเกิด[22]

  • มกราคม - กรกฎาคม 2563 = ลดลง 337,286
  • มกราคม - กรกฎาคม 2564 = ลดลง 300,336
  • มกราคม - กรกฎาคม 2565 = ลดลง 270,454

จำนวนการตาย

  • มกราคม - กรกฎาคม 2563 = 290,214
  • มกราคม - กรกฎาคม 2564 = 311,949
  • มกราคม - กรกฎาคม 2565 = 341,702

จำนวนเพิ่มตามธรรมชาติ

  • มกราคม - กันยายน 2563 = ลดลง +72,213
  • มกราคม - กันยายน 2564 = ลดลง -15,507

ประชากรแต่ละภาค

[แก้]

ประชากรแต่ละภาค ตามเกณฑ์แบ่งของราชบัณฑิตยสถาน ข้อมูล ณ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[23]

อันดับ ภาค จำนวนประชากร (คน)
1 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 21,716,975
2 ภาคกลาง 20,099,945
3 ภาคใต้ 9,512,975
4 ภาคเหนือ 6,290,583
5 ภาคตะวันออก 4,945,751
6 ภาคตะวันตก 3,486,386
รวม 66,052,615

ชนชาติ

[แก้]

สถานภาพสมรสและภาวะเจริญพันธุ์

[แก้]

ประชากรอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป จานวน 55.2 ล้านคน มีผู้สมรสทั้งสิ้น 31.0 ล้านคน (ร้อยละ 56.2) โดยมีสัดส่วนชายและหญิงที่สมรสแล้วใกล้เคียงกันคือ ร้อยละ 56.6 และ 55.9 ชายมีสัดส่วนที่เป็นโสดสูงกว่าหญิงคือ ร้อยละ 33.6 และ 26.9 และพบว่าหญิงมีสัดส่วนที่เป็นหม้าย หย่า แยกกันอยู่ สูงกว่าชายถึง 2.2 เท่า

หากพิจารณาภาวะเจริญพันธุ์ของหญิงเคยสมรสอายุ 15 - 49 ปี พบว่า หญิง 1 คน มีบุตรเกิดรอดเฉลี่ย 1.51 คน ลดลงจากปี 2543 (1.88 คน) และเมื่อพิจารณาในระดับภาคพบว่า ภาคใต้มีจำนวนบุตรฯ เฉลี่ยสูงสุดและใกล้เคียงกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (1.77 และ 1.75 คน) ส่วนกรุงเทพมหานครมีจำนวนบุตรฯ เฉลี่ยต่ำสุด (1.20 คน) [1]

สถิติสำคัญ โดยวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

[แก้]
อ้างอิง [2]
สถิติจำนวนประชากรตามกลุ่มอายุ

จำนวนการจดทะเบียนสมรสและหย่า

[แก้]
ปี (พ.ศ.) สมรส (คน) หย่า (คน) อัตราการหย่า (ร้อยละ)
2550 307,910 100,420 32.6
2551 318,496 109,084 34.2
2552 300,878 109,277 36.3
2553 305,944 100,402 37.9
2554 308,048 109,312 35.5

สถิติสำคัญโดยสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐอเมริกา

[แก้]

ประมาณการโครงสร้างประชากร

[แก้]
0-14 ปี: 17.2% (ชาย 6,000,434/หญิง 5,714,464)
15-64 ปี: 72.6% (ชาย 24,437,208/หญิง 25,086,710)
65 ปีขั้นไป: 10.2% (ชาย 3,047,938/หญิง 3,914,070) (ข้อมูลประมาณการปี 2559)
0-14 ปี: 19.9% (ชาย 6,779,723/หญิง 6,466,625)
15-64 ปี: 70.9% (ชาย 23,410,091/หญิง 23,913,499)
65 ปีขั้นไป: 9.2% (ชาย 2,778,012/หญิง 3,372,203) (ข้อมูลประมาณการปี 2554)
0-14 ปี: 21.2% (ชาย 7,104,776/หญิง 6,781,453)
15-64 ปี: 70.3% (ชาย 22,763,274/หญิง 23,304,793)
65 ปีขึ้นไป: 8.5% (ชาย 2,516,721/หญิง 3,022,281) (ข้อมูลประมาณการปี 2551)

อายุมัธยฐาน

[แก้]
อายุมัธยฐาน (Median Age) คือ อายุกึ่งกลางที่แบ่งประชากรออกเป็นสองส่วนในจำนวนเท่ากัน โดยส่วนหนึ่งมีอายุน้อยกว่าอายุมัธยฐานและอีกส่วนหนึ่งมีอายุมากกว่าอายุมัธยฐาน [24]
  • 36.2 ปี (ข้อมูลประมาณการปี 2557)

อัตราเพิ่ม

[แก้]
  • 0.35% (ข้อมูลประมาณการปี 2557)
  • 0.543% (ข้อมูลประมาณการปี 2554)
  • 0.615% (ข้อมูลประมาณการปี 2552)

อัตราเกิด

[แก้]
  • เกิด 11.26 คนต่อประชากร 1,000 คน (ข้อมูลประมาณการปี 2557)
  • เกิด 12.81 คนต่อประชากร 1,000 คน (ข้อมูลประมาณการปี 2554)

อัตราตาย

[แก้]
  • ตาย 7.72 คนต่อประชากร 1,000 คน (ข้อมูลประมาณการปี 2557)
  • ตาย 7.38 คนต่อประชากร 1,000 คน (ข้อมูลประมาณการปี 2554)

อัตราการตายของทารก

[แก้]
  • ตาย 9.86 คนต่อประชากรเด็กเกิดแล้วอยู่รอด 1,000 คน (ข้อมูลประมาณการปี 2557)
  • ตาย 15.9 คนต่อประชากรเด็กเกิดแล้วอยู่รอด 1,000 คน (ข้อมูลประมาณการปี 2554)

อายุคาดหมายเมื่อแรกเกิด

[แก้]
ต่อประชากรทั้งหมด: 74.60 ปี
ชาย: 71.1 ปี
หญิง: 78.01 ปี (ข้อมูลปี 2556 สารประชากรมหิดล )

ภาวะการเจริญพันธุ์

[แก้]
  • 1.5 คน/หญิง (ข้อมูลประมาณการปี 2557)
  • 1.66 คน/หญิง (ข้อมูลประมาณการปี 2554)
  • 1.64 คน/หญิง (ข้อมูลประมาณการปี 2551)

อัตราการรู้หนังสือ

[แก้]
นิยาม: อายุ 15 ปีขึ้นไปที่อ่านออกเขียนได้
ต่อประชากรทั้งหมด: 92.6% (ข้อมูลประมาณการปี 2555)
ชาย: 94.9%
หญิง: 90.5% (ข้อมูลประมาณการปี 2545) เด็กอายุ1-12 60%อ่านออกเขียนได้

หมู่เลือด

[แก้]
  • O 31%
  • A 30%
  • B 28%
  • AB 11%

สถิติสำคัญโดยองค์การสหประชาชาติ

[แก้]
  • อัตราการตายของทารก 11.20/1000 คน (2011)
  • อัตราการตายของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี 12/1000 คน (2011)
ข้อมูลประมาณการจำนวนคนเกิดและตาย โดยองค์การสหประชาชาติ [25]
ช่วงปี (ค.ศ.) จำนวนคนเกิด
(คน/ปี)
จำนวนคนตาย
(คน/ปี)
เปลี่ยนแปลง
(คน/ปี)
อัตราเกิด
(ต่อ 1,000 คน)
อัตราตาย
(ต่อ 1,000 คน)
อัตราเพิ่ม
(ต่อ 1,000 คน)
อัตราการเจริญพันธุ์ (คน) อัตราการตายของทารก
(ต่อ 1,000 คน)
1950-1955 940 000 344 000 596 000 42.5 15.6 26.9 6.14 130.3
1955-1960 1 093 000 348 000 745 000 43.0 13.7 29.3 6.14 108.7
1960-1965 1 249 000 353 000 896 000 42.3 12.0 30.3 6.13 90.5
1965-1970 1 385 000 362 000 1 025 000 40.4 10.5 29.9 5.99 75.5
1970-1975 1 371 000 355 000 1 097 000 34.6 8.9 25.7 5.05 63.2
1975-1980 1 297 000 338 000 1 017 000 28.9 7.5 21.4 3.92 50.4
1980-1985 1 201 000 300 000 969 000 24.1 6.0 18.1 2.95 38.9
1985-1990 1 113 000 266 000 949 000 20.4 4.9 15.5 2.30 29.1
1990-1995 1 050 000 313 000 516 000 18.0 5.4 13.6 1.99 22.6
1995-2000 955 000 373 000 701 000 15.6 6.1 9.5 1.77 18.6
2000-2005 914 000 426 000 709 000 14.1 6.6 7.5 1.68 15.1
2005-2010 873 000 486 000 485 000 12.9 7.2 5.7 1.63 12.4

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "บทสรุปสำหรับผู้บริหาร สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553" (PDF). สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 30 มกราคม 2554. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-01-16. สืบค้นเมื่อ 30-01-2012. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "มิเตอร์ประเทศไทย". มหาวิทยาลัยมหิดล. 15 สิงหาคม 2563. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-31. สืบค้นเมื่อ 15-08-2020. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_66.pdf 2566. สืบค้น 22 มกราคม 2567.
  4. "cia". cia. 15 สิงหาคม 2563. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-29. สืบค้นเมื่อ 15-08-2020. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "Total Population - Both Sexes". World Population Prospects 2019. United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division, Population Estimates and Projections Section. 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-15. สืบค้นเมื่อ 24-06-2019. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. SHIGESABURO KABE. Nikkei Asian Review. "Workforce set to become a problem of the ages ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://asia.nikkei.com/magazine/20131205-Rebalancing-act/Cover-Story/Asias-working-age-cohorts-set-to-shrink-on-aging-population เก็บถาวร 2016-06-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2556. สืบค้น 6 ธันวาคม 2556.
  7. Dhara Ranasinghe. CNBC. "This Asian nation faces a growing crisis from aging." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.cnbc.com/id/101119344# 2556. สืบค้น 26 พฤศจิกายน 2557.
  8. สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. " ระบบสถิติ การตรวจสอบข้อมูลสถิติทางการทะเบียน ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/INTERNET/#/statbirth เก็บถาวร 2020-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2564. สืบค้น 11 มกราคม 2564.
  9. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. "ข้อมูลที่สำคัญระดับประเทศ 1. สถิติประชากรและเคหะ ทั่วราชอาณาจักร." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2554. สืบค้น 4 มีนาคม 2559.
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-04. สืบค้นเมื่อ 2014-11-27.
  11. "สถิติสาธารณสุข (จำนวนเกิดมีชีพ และจำนวนตาย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-02-20. สืบค้นเมื่อ 2018-03-20.
  12. สถิติสาธารณสุข (จำนวนเกิดมีชีพ และจำนวนตาย) เก็บถาวร 2018-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2560. สืบค้น 20 มีนาคม 2561.
  13. สถิติสาธารณสุข (จำนวนเกิดมีชีพ และจำนวนตาย)[ลิงก์เสีย]
  14. สถิติจำนวนและอัตราเกิดมีชีพ และตาย ทั่วราชอาณาจักร[ลิงก์เสีย]
  15. สถิติจำนวนและอัตราเกิดมีชีพ และตาย ทั่วราชอาณาจักรเก็บถาวร 2021-01-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน้า 67
  16. "อัตราเจริญพันธุ์รวม" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-12-31. สืบค้นเมื่อ 2016-03-04.
  17. Kijsanayotin, Boonchai; Ingun, Pianghatai; Sumputtanon, Kanet (Mar 2003). Review of National Civil Registration and Vital Statistics Systems: A case study of Thailand (PDF). Bangkok: Thai Health Information Standards Development Center (THIS). p. 12. ISBN 978-616-11-1913-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-01-25. สืบค้นเมื่อ 15 Feb 2015.
  18. "4. Vital statistics summary and life expectancy at birth: 2010-2014" (PDF). UNstats. United Nations. สืบค้นเมื่อ 26 January 2016.
  19. 19.0 19.1 "Population, birth and death throughout the Kingdom, 1993 - 2018". National Economic and Social Development Board. 11 February 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-04. สืบค้นเมื่อ 23 September 2019.
  20. "National Economic and Social Development Council" (xls-file). p. https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=3507. สืบค้นเมื่อ 3 August 2020.
  21. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล จัดงานแถลงข่าว "จำนวนเกิดในประเทศไทยดิ่งต่ำลงจนน่าตกใจ"
  22. "Population statistics of the civil registration (monthly)".
  23. "สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร". stat.bora.dopa.go.th.
  24. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2014-03-15.
  25. Population Division of the Department of Economic and Social Affairs of the United Nations Secretariat, World Population Prospects: The 2010 Revision

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]