ข้ามไปเนื้อหา

กั้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กั้ง
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 400 ล้านปีก่อน–ปัจจุบัน[1]
รูปร่างโดยทั่วไปของกั้ง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ไฟลัมย่อย: Crustacea
ชั้น: Malacostraca
ชั้นย่อย: Hoplocarida
อันดับ: Stomatopoda
Latreille, 1817
วงศ์ใหญ่และวงศ์  [2]

Bathysquilloidea

Gonodactyloidea

Erythrosquilloidea

Lysiosquilloidea

Squilloidea

Eurysquilloidea

Parasquilloidea

กั้ง (อังกฤษ: Mantis shrimps, Stomatopods) คือสัตว์น้ำจำพวกหนึ่ง อาศัยอยู่ในทะเล ในไฟลัม Arthropoda ในชั้น Crustacea ในอันดับสโตมาโตโพดา (Stomatopoda) ซึ่งมีอยู่หลากหลายสกุลและหลากหลายชนิด

กั้ง โดยทั่วไปมีรูปร่างคล้ายกุ้งผสมกับตั๊กแตนตำข้าว ลำตัวยาวคล้ายตะขาบ หายใจด้วยเหงือกเช่นเดียวกับกุ้ง ลำตัวมีรูปร่างแบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้อง ๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ 5 แต่ไม่ถึงปล้องที่ 8 กรีมีลักษณะแบนราบ มีขาทั้งหมด 3 คู่ [1] เป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกตั้งแต่ 400 ล้านปีก่อน [3]

มักอาศัยอยู่ในทะเลโคลน หรือ บริเวณปากแม่น้ำ หรือตามแนวปะการัง และพบได้ถึงระดับความลึกกว่า 1,500 เมตร กั้งเป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดในโลกนี้มาก่อนกุ้ง มีจุดเด่น คือ มีดวงตาขนาดใหญ่ สามารถใช้สแกนมองภาพได้ดี โดยสามารถมองเห็นภาพชัดลึกได้ดี ตาแต่ละข้างของกั้งสามารถมองเห็นได้ 3 ตา และตาแต่ละดวงมองเห็นภาพได้ 3 ภาพ และสามารถกะระยะได้ดีมากเพื่อใช้ในการล่าเหยื่อ กั้งมีแก้วตาหลายพันชิ้น และสามารถมองเห็นสีได้ในระดับที่ซับซ้อน โดยถือว่าเป็นสัตว์จำพวกหนึ่งที่มีระบบการมองเห็นภาพดีที่สุดในอาณาจักรสัตว์โลก[4] ไม่มีก้ามหนีบ แต่มีระยางค์ส่วนอกคู่ที่ 2 มีลักษณะเป็นก้ามสับขนาดใหญ่พับได้คล้ายมีดโกน และมีซี่ฟันแหลมคมเรียงกันเป็นแถวคล้ายหวี ใช้สำหรับฆ่าเหยื่อหรือป้องกันตัว ซึ่งสามารถใช้สับน้ำให้เกิดเป็นแรงขนาดมากได้ จนอาจถึงทำร้ายสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น มนุษย์ให้ได้รับบาดเจ็บได้[5]

กั้งถูกค้นพบแล้วกว่า 500 ชนิด ในประเทศไทยมีรายงานพบแล้วอย่างน้อย 61 ชนิด [6]

กั้งนิยมนำมารับประทานเป็นอาหารเช่นเดียวกับกุ้ง โดยปกติแล้วจะมีราคาสูงกว่ากุ้งธรรมดาหรือปู[7] ในบางชนิดนิยมนำมาแช่กับน้ำปลารับประทานกับข้าวต้ม[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "กั้ง". พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-26. สืบค้นเมื่อ 2011-08-24.
  2. Joel W. Martin & George E. Davis (2001). An Updated Classification of the Recent Crustacea (PDF). Natural History Museum of Los Angeles County. p. 132. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-05-12. สืบค้นเมื่อ 2014-09-16.
  3. "Circular polarization vision in a stomatopod crustacean.". Current Biology. 18.
  4. "สุดยอดสารคดีโลก : ชีวิตมหัศจรรย์ ตอน จักรวาลกว้างใหญ่". ไทยพีบีเอส. 15 September 2014. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.[ลิงก์เสีย]
  5. กั้งตั๊กแตนเจ็ดสี โดย ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
  6. "กั้งตั๊กแตน". มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  7. [ลิงก์เสีย] ธนาคารกั้ง...แห่งแรกของไทย (ตอนที่ 1...จุดกำเนิดความหวัง) จากโอเคเนชั่น
  8. ม.ล.ศิริเฉลิม สวัสดิวัฒน์, ชิม "กั้งแช่น้ำปลา" สูตรเด็ด หอมอร่อยทอดมันไม่ใส่เครื่องแกง จากเดลินิวส์

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]