องค์การบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในกัมพูชา
กัมพูชา | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1992–1993 | |||||||||||||
ที่ตั้งของกัมพูชาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | |||||||||||||
สถานะ | รัฐในอารักขาของสหประชาชาติ | ||||||||||||
เมืองหลวง | พนมเปญ | ||||||||||||
ภาษาทั่วไป | เขมร | ||||||||||||
ผู้แทนพิเศษเลขาธิการ | |||||||||||||
• 1992-1993 | ยาซูชิ อากาชิ | ||||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||||
23 ตุลาคม ค.ศ. 1991 | |||||||||||||
28 กุมภาพันธ์ 1992 | |||||||||||||
23 พฤษภาคม 1993 | |||||||||||||
24 กันยายน ค.ศ. 1993 | |||||||||||||
สกุลเงิน | เรียล | ||||||||||||
รหัสโทรศัพท์ | +855 | ||||||||||||
|
ชื่อย่อ | UNTAC |
---|---|
ก่อตั้ง | 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992[1] |
ประเภท | ตรวจสอบ, รักษาสันติภาพ |
สถานะตามกฎหมาย | สิ้นสุดเมื่อ กันยายน ค.ศ. 1993[2] |
องค์กรปกครอง | คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ |
เว็บไซต์ | UNTAC Website |
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ |
---|
ประวัติศาสตร์กัมพูชา |
ประวัติศาสตร์ยุคแรก |
ยุคมืด |
สมัยอาณานิคม |
เอกราชและความขัดแย้ง |
กระบวนการสันติภาพ |
กัมพูชายุคใหม่ |
ตามหัวข้อ |
องค์การบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในกัมพูชา (อังกฤษ: United Nations Transitional Authority in Cambodia; เขมร: អាជ្ញាធរអន្តរកាលសហប្រជាជាតិនៅកម្ពុជា, อาชฺญาธรอนฺตรกาลสหบฺรชาชาติเนากมฺพุชา[3]) หรือ อันแทก (อังกฤษ: UNTAC; เขมร: អ.អ.ស.ប.ក., อ.อ.ส.บ.ก.) เป็นปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในกัมพูชาระหว่าง พ.ศ. 2535–2536 และเป็นครั้งแรกที่สหประชาชาติเข้ามาจัดการการปกครองของรัฐที่เป็นเอกราชเพื่อจัดการเลือกตั้ง มีสถานีวิทยุและคุกเป็นของตนเองและสามารถรับผิดชอบและสนับสนุนสิทธิมนุษยชนในระดับนานาชาติ
ประเทศที่เข้าร่วมในอันแทกได้แก่ แอลจีเรีย อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย ออสเตรีย บังกลาเทศ เบลเยียม บรูไน บัลแกเรีย แคเมอรูน แคนาดา สาธารณรัฐประชาชนจีน ชิลี ฝรั่งเศส เยอรมัน กานา อินเดีย อินโดนีเซีย ไอร์แลนด์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ สหพันธรัฐรัสเซีย เซเนกัล ไทย ตูนีเซีย สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และอุรุกวัย[4] ทั้งนี้ สหประชาชาติส่งคณะผู้ปฏิบัติการล่วงหน้าในกัมพูชาเพื่อเข้าไปสำรวจและเตรียมการณ์ก่อนที่อันแทกจะเข้าไปจัดการเลือกตั้งเมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535[5]
ประวัติ
[แก้]อันแทกจัดตั้งขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 โดยมติสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 745 โดยเป็นข้อตกลงระหว่างรัฐกัมพูชา ซึ่งเป็นรัฐบาลโดยพฤตินัยของประเทศในเวลานั้น เพื่อให้เป็นไปตามสนธิสัญญาสันติภาพปารีสที่ลงนามเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2534.[1] ผู้นำของอันแทกคือยาซูชิ อากาชิ โดยมีนายพลจอห์น แซนเดอร์สัน เป็นผู้บังคับบัญชาฝ่ายทหาร อันแทกมีกำลังทหารทั้งสิ้น 15,900 นาย ตำรวจ 3,600 คน เจ้าหน้าที่พลเรือน 2,000 คน อาสาสมัครจากสหประชาชาติ 450 คน ปฏิบัติการของอันแทกใช้ทุนปฏิบัติการ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[6]
เป้าหมาย
[แก้]เป้าหมายของอันแทกคือ ฟื้นฟูสันติภาพและรัฐบาลพลเรือนในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสงครามกลางเมืองและสงครามเย็นมากว่าทศวรรษ จัดการเลือกตั้งที่เป็นอิสระและเป็นธรรม เพื่อสร้างรัฐธรรมนูญใหม่ และเป็นจุดเริ่มต้นในการสถาปนาประเทศขึ้นอีกครั้งหนึ่ง มีหน้าที่ในการดูแลและควบคุมกิจการที่สำคัญของรัฐบาล ทั้งการต่างประเทศ การป้องกันประเทศ การคลัง ความปลอดภัยสาธารณะ และสารสนเทศ รวมทั้งตรวจสอบการถอนกองกำลังต่างชาติออกไป ป้องกันการย้อนกลับเข้ามาอีก ปลดอาวุธและลดการเคลื่อนไหวของกองกำลังติดอาวุธภายในประเทศ ส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน รักษากฎหมายและดูแลการตั้งถิ่นฐานใหม่ของผู้อพยพ ฟื้นฟูโครงสร้างที่จำเป็นต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ
การปลดอาวุธ
[แก้]อันแทกประสบความล้มเหลวในการปลดอาวุธกลุ่มเขมรแดง ในขณะที่ประสบความสำเร็จในการปลดอาวุธของทหารฝ่ายรัฐกัมพูชา ทำให้เขมรแดงยังคงโจมตีและก่อความรุนแรงทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง จนในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2537 รัฐบาลผสมของกัมพูชาประกาศให้เขมรแดงเป็นกลุ่มนอกกฎหมาย และประกาศให้การสังหารหมู่ในสมัยกัมพูชาประชาธิปไตยเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์[7]
การเลือกตั้ง พ.ศ. 2536
[แก้]ชาวกัมพูชากว่า 4 ล้านคนเข้าร่วมในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2536 แม้ว่าเขมรแดงหรือพรรคกัมพูชาประชาธิปไตย ซึ่งกองกำลังไม่ได้ถูกปลดอาวุธและถูกควบคุมได้ห้ามประชาชนในเขตของตนไม่ให้เข้าร่วม พรรคฟุนซินเปกของพระนโรดม รณฤทธิ์ได้คะแนนสูงสุด 45.5% ตามด้วยพรรคประชาชนกัมพูชาของฮุน เซน และพรรคประชาธิปไตยเสรีนิยมชาวพุทธ พรรคฟุนซินเปกเข้าร่วมร���ฐบาลกับพรรคประชาชนกัมพูชา สมาชิกสภาที่ได้รับการเลือกตั้งได้เข้าไปร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งประกาศใช้เมื่อ 24 กันยายน พ.ศ. 2536 ซึ่งเป็นระบอบรัฐสภามีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พระนโรดม สีหนุกลับมาเป็นกษัตริย์ พระนโรดม รณฤทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่หนึ่งและฮุน เซนเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สอง
ผลกระทบของอันแทก
[แก้]พระนโรดม สีหนุมองว่าการมีอยู่ของกองกำลังต่างชาติภายใต้การควบคุมของอันแทก ทำให้เกิดการล่วงประเวณีแก่หญิงชาวกัมพูชา เกิดปัญหาโสเภณี[8] และนำโรคเอดส์เข้ามาสู่กัมพูชา[9] จำนวนโสเภณีในกัมพูชาสมัยรัฐกัมพูชามี 6,000 คน เพิ่มขึ้นเป็น 20,000 คน ในช่วงที่อันแทกเข้ามาดูแล ใน พ.ศ. 2538 มีผู้ติดเชื้อเอดส์ในกัมพูชา 50,000 - 90,000 คนในกัมพูชา.[10]
การพิจารณาคดีผู้นำเขมรแดง
[แก้]ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2547 สภาแห่งชาติกัมพูชาได้ทำข้อตกลงกับสหประชาชาติในการพิจารณาคดีอดีตผู้นำเขมรแดง มีการบริจาคเงินถึง 43 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการพิจารณาคดีเป็นเวลา 3 ปี โดยรัฐบาลกัมพูชาออกค่าใช้จ่าย 13.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่การดำเนินการเกิดขึ้นช้ามาก กว่าจะเริ่มดำเนินคดีใน พ.ศ. 2550 ซึ่งมีผู้นำเขมรแดงจำนวนมากเสียชีวิตไปแล้วหรือมีปัญหาทางสุขภาพ.[11]
ประเทศที่เข้าร่วม
[แก้]ทั้งหมด 46 ประเทศ ที่ส่งกำลังทหารมาที่กัมพูชาเพื่อให้การช่วยเหลือและสังเกตการณ์ ได้แก่
- แอลจีเรีย
- ไทย
- อาร์เจนตินา
- ออสเตรเลีย
- ออสเตรีย
- บังกลาเทศ
- เบลเยียม
- บรูไน
- บัลแกเรีย
- แคเมอรูน
- แคนาดา
- ชิลี
- จีน
- โคลอมเบีย
- โกตดิวัวร์
- เดนมาร์ก
- อียิปต์
- ฟีจี
- ฝรั่งเศส
- เยอรมนี
- กานา
- ฮังการี
- อินเดีย
- อินโดนีเซีย
- ไอร์แลนด์
- อิตาลี
- ญี่ปุ่น
- จอร์แดน
- เคนยา
- มาเลเซีย
- โมร็อกโก
- นามิเบีย
- เนปาล
- เนเธอร์แลนด์
- นิวซีแลนด์
- ไนจีเรีย
- นอร์เวย์
- ปากีสถาน
- เปรู
- ฟิลิปปินส์
- โปแลนด์
- รัสเซีย
- เซเนกัล
- สวีเดน
- แทนซาเนีย
- ตูนิเซีย
- ตุรกี
- บริเตนใหญ่
- สหรัฐ
- อุรุกวัย
เหรียญสหประชาชาติ
[แก้]ประเทศที่ไปสร้างสันติภาพ,ช่วยเหลือหรือสังเกตการณ์ที่ประเทศกัมพูชา จะได้เหรียญสหประชาชาติทุกคน
-
หน้า
-
หลัง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Resolution 745 S-RES-745(1992) on 28 February 1992 (retrieved 9 April 2008) อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "UN_SRES7451992" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ "{title}". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2009. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2017.
- ↑ อาหรับ: سلطة الأمم المتحدة الانتقالية في كمبوديا
จีน: 联合国柬埔寨过渡时期权力机构
ฝรั่งเศส: Autorité provisoire des Nations unies au Cambodge
รัสเซีย: Организация Объединенных Наций Временный орган в Камбодже
สเปน: Autoridad Provisional de las Naciones Unidas en Camboya - ↑ UN Medals - UNTAC
- ↑ วัชรินทร์ ยงศิริ.สัมพันธภาพใหม่ไทย-กัมพูชา ใน กัมพูชา วันวารที่ผันเปลี่ยน. ศรีบูรณ์คอมพิวเตอร์กราฟิก. 2545 หน้า 284 – 288
- ↑ Cambodia. Lonely Planet
- ↑ Margaret Slocomb, The People's Republic of Kampuchea, 1979-1989: The revolution after Pol Pot ISBN 978-974-9575-34-5
- ↑ Milton Osborne, Sihanouk, Prince of Light, Prince of Darkness. Silkworm 1994
- ↑ Cambodia. Lonely Planet
- ↑ Soizick Crochet, Le Cambodge, Karthala, Paris 1997, ISBN 2-86537-722-9
- ↑ UNTAC
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Strangio, Sebastian. 2014. Hun Sen’s Cambodia. Yale University Press.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Records of the United Nations Transitional Authority in Cambodia (UNTAC) (1992-1993) เก็บถาวร 2021-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at the United Nations Archives
- Untac.com: UNTAC website