ข้ามไปเนื้อหา

ซือมอน แปตลูรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Symon Petlura)
ซือมอน แปตลูรา
Симон Петлюра
ซือมอน แปตลูรา ใน ค.ศ. 1920
ประธานคณะกรรมาธิการยูเครนคนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919 – 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1926
ก่อนหน้าวอลอดือมือร์ วึนนือแชนกอ
ถัดไปอันดรีย์ ลีวึตสกึย1
เลขาธิการฝ่ายกิจการทหาร
ดำรงตำแหน่ง
28 มิถุนายน ค.ศ. 1917 – 6 มกราคม ค.ศ. 1918
นายกรัฐมนตรีวอลอดือมือร์ วึนนือแชนกอ
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปมือกอลา ปอร์ช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
Симон Васи́льович Петлю́ра

22 พฤษภาคม ค.ศ. 1879(1879-05-22)
ปอลตาวา เขตผู้ว่าการปอลตาวา จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต25 พฤษภาคม ค.ศ. 1926(1926-05-25) (47 ปี)
ปารีส ฝรั่งเศส
เชื้อชาติยูเครน
พรรคการเมืองแอร์อูแป (ค.ศ. 1900–1905)
อูแอสแดแอลแป (ค.ศ. 1905–1919)
คู่สมรสออลฮา แปตลูรา (ค.ศ. 1885–1959, สมรส ค.ศ. 1910)[1]
บุตรแลสยา (ค.ศ. 1911–1941)
ศิษย์เก่าโรงเรียนสอนศาสนาปอลตาวา
อาชีพนักการเมืองและรัฐบุรุษ
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ สาธารณรัฐประชาชนยูเครน
สังกัดกองทัพประชาชนยูเครน
ประจำการค.ศ. 1914–1922
ยศผู้นำออตามัน (Chief Otaman)
ผ่านศึกสงครามยูเครน–โซเวียต
การก่อการกำเริบเดือนมกราคม
การก่อการกำเริบต่อต้านแฮตมัน
สงครามโปแลนด์–โซเวียต
1รัฐบาลพลัดถิ่น

ซือมอน วาซือลอวึช แปตลูรา[a] (ยูเครน: Си́мон Васи́льович Петлю́ра; รัสเซีย: Симон Пѣтлюра; 22 พฤษภาคม [ตามปฎิทินเก่า: 10 พฤษภาคม] ค.ศ. 1879 – 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1926) เป็นนักการเมืองและนักสื่อมวลชนชาวยูเครน เขาดำรงแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพประชาชนยูเครน (UNA) และเป็นผู้นำของสาธารณรัฐประชาชนยูเครนในระหว่างสงครามประกาศอิสรภาพยูเครน ซึ่งเป็นหนึ่งในสงครามที่เกิดขึ้นจากการขยายตัวของเขตความขัดแย้งในสงครามกลางเมืองรัสเซีย

แปตลูราเกิดในตระกูลบรรพบุรุษคอสแซ็กในปอลตาวา ตั้งแต่อายุยังน้อย เขายอมรับแนวคิดของลัทธิสังคมนิยมและชาตินิยมยูเครน ซึ่งเขาได้ถ่ายทอดแนวคิดนี้ผ่านการผลงานมากมายในฐานะนักสื่อมวลชน หลังจากการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 ที่ล้มล้างระบอบราชาธิปไตยซาร์ สาธารณรัฐประชาชนยูเครนจึงได้ก่อตั้งขึ้นและแปตลูราได้รับเลือกเป็นผู้นำฝ่ายทหาร สาธารณรัฐถูกรัฐยูเครนขัดจังหวะในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ในปลาย ค.ศ. 1918 แปตลูรา พร้อมด้วยสมาชิกคนอื่นของคณะกรรมาธิการยูเครนได้ก่อจราจลและโค่นล้มระบอบ แล้วจึงฟื้นฟูสาธารณรัฐขึ้นมาอีกครั้ง เขาดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำคณะกรรมาธิการในข่วงต้น ค.ศ. 1919 ภายหลังบอลเชวิคเข้าบุกครองยูเครนและทำให้กองทัพประชาชนล่าถอยไปกาลิเชีย เมื่อเผชิญกับความพ่ายแพ้ที่ใกล้เข้ามา แปตลูราจึงตกลงเป็นพันธมิตรกับผู้นำโปแลนด์ยูแซฟ ปิวซุดสกี ผลลัพธ์ของสงครามโปแลนด์–โซเวียตลงเอยด้วยการชนะของโปแลนด์ แต่ยูเครนยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของโซเวียต และแปตลูราลี้ภัยออกนอกประเทศ ในช่วงแรกของการลี้ภัย เขาได้จัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นที่โปแลนด์ แต่ต่อมาจึงย้ายไปปารีส

ในระหว่างสงครามกลางเมือง กองทัพประชาชนยูเครนมีส่วนต้องรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของพลเรือนยิวหลายหมื่นคน และบทบาทของแปตลูราในการสังหารหมู่เป็นที่ถกเถียง ใน ค.ศ. 1926 แปตลูราถูกลอบสังหารในปารีสโดยนักอนาธิปไตยชาวยิวที่สูญเสียญาติพี่น้องจากการสังหารหมู่ตามคำสั่งของเขา

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ซือมอน แปตลูรา (Symon Petliura) ในแหล่งข้อมูลอื่นมีการสะกดว่า Simon Petlura,[2] Symon Petlura,[3] หรือ Symon Petlyura[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Biography of Petlura. dead link
  2. Magocsi, Paul Robert. 2010. A History of Ukraine: The Land and Its Peoples. Toronto: University of Toronto Press, p. 538.
  3. Zamoyski, Adam. 2007. Warsaw 1920: Lenin's Failed Conquest of Europe. London: HarperPress, p. viii.
  4. Marples, David R. 2008. Heroes and Villains: Creating National History in Contemporary Ukraine. Budapest: Central European University Press, p. 57.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Danylevskyi/Danylevsky, Rev. Prof. K. (1947). Petliura v sertsiakh i pisniakh svoho narodu. Regensburg: Nakladom filii Tovarystva ukrayinskykh politychnykh v’iazniv v Regensburzi. P. 11.
  • Danylevskyi/Danylevsky, Rev. Prof. K. O. (1951). Petliura v sertsiakh i pisniakh svoho narodu. Pittsburgh, USA: Vidbytka z Narodnoho Slova. P. 24.
  • Encyclopedia of Ukraine – Paris-New York 1970, Volume 6, pp. 2029–30.
  • Friedman, Saul S. (1976). Pogromchik: The Assassination of Simon Petlura. New York: Hart Publishing. ISBN 0805511628.
  • Schwartzbard, Sholom: Over The Years (Inem Loif Fun Yoren). Excerpt from a book by Petliura's assassin explaining his actions.
  • Strauss, Herbert A., บ.ก. (1993). Hostages of modernization: studies on modern antisemitism, 1870-1933/39. Vol. 2. Berlin: W. de Gruyter. ISBN 3110137151.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ภาษาอังกฤษ

[แก้]

ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ

[แก้]