เอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
ชื่อท้องถิ่น | |
---|---|
ฮันกึล | SM 엔터테인먼트 |
ชื่อเดิม | เอสเอ็มสตูดิโอ (1989–1995) |
ประเภท | มหาชน |
การซื้อขาย | KRX: 041510 |
อุตสาหกรรม | |
รูปแบบ | |
ก่อตั้ง |
|
ผู้ก่อตั้ง | อี ซู-มัน |
สำนักงานใหญ่ | SM Entertainment 83-21, Wangsimni-ro, Seongsu-dong, ซองดง, โซล, เกาหลีใต้ สิงคโปร์ (TBC)[1][2] |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
บุคลากรหลัก |
|
บริการ |
|
รายได้ | US$657 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2022) |
รายได้สุทธิ | US$62.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2022) |
เจ้าของ |
|
พนักงาน | 601 (ข้อมูลเมื่อ 2023[update]) |
บริษัทในเครือ | ดูที่บริษัทย่อย |
เว็บไซต์ | www www |
เอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ (อังกฤษ: SM Entertainment, เกาหลี: SM엔터테인먼트) เป็นบริษัทผลิตและจัดจำหน่ายเพลงของประเทศเกาหลีใต้ หนึ่งในสามบริษัทอุตสาหกรรมบันเทิงที่ทรงอิทธิพลที่สุดของเกาหลีใต้ ก่อตั้งโดยอี ซู-มัน ในอดีตชื่อต้นของบริษัท "เอสเอ็ม" (SM) มาจากชื่อจริงของผู้ก่อตั้ง "ซูมัน" (Soo Man) แต่ในปัจจุบันทางบริษัทได้ตั้งความหมายของชื่อบริษัทใหม่เป็น "ศูนย์รวมดารา" (Star Museum)
ครั้งหนึ่ง เอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์เคยเป็นตันสังกัดของศิลปินที่มีชื่อเสียงจำนวนไม่น้อย เช่น H.O.T., S.E.S., Shinhwa และ Fly to the sky หรือในปัจจุบันอย่าง BoA, TVXQ!, Super Junior, Girls' Generation, SHINee, f(x), EXO, Red Velvet, NCT และ aespa เอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ฉลองครบ 10 ปีของบริษัทไปเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006
มีการเปิดเผยในปี ค.ศ. 2012 ว่า เอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์มีมูลค่าในตลาดหลักทรัพย์สูงถึง 1.38 ล้านล้านวอน (ประมาณ 4.27 หมื่นล้านบาท)[7]
ประวัติ
อี ซู-มัน ผู้ก่อตั้งบริษัทเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโซล หลังจากที่จบการศึกษาแล้ว เขาก็ได้เริ่มทำการสำรวจกลุ่มวัยรุ่นผู้หญิง ว่าต้องการเห็นกลุ่มเพลงแบบไหน ด้วยเหตุนี้ ทำให้เค้าเริ่มก่อตั้งวงบอยแบนด์ ชื่อ H.O.T และกลุ่มเกิร์ลแบนด์ที่ชื่อว่า S.E.S ขึ้นมาเป็นวงแรก ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก ซึ่ง 2 วงนี้ได้ชื่อว่าเป็น วงดนตรีป๊อปชั้นนำของเกาหลี ในช่วงปี ค.ศ. 1990 แต่อย่างไรก็ดี ปัญหาเริ่มปรากฏขึ้นกับบริษัทเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ เนื่องจากการแยกวงของ H.O.T ข่าวลือนี้กระจายไปทั่วท่ามกลางความจริงที่ว่า สมาชิก 2 คนยังอยู่กับบริษัทอยู่ ขณะที่สมาชิกคนอื่นได้อยู่ในวงอื่นและบริษัทอื่นไปแล้ว คาดว่าปัญหาเรื่องการเงินทำให้เกิดการขัดแย้งขึ้น แต่เหตุผลที่จริงยังไม่ได้ถูกเปิดเผยอย่างเป็นทางการ ด้วยเหตุนี้ทำให้เอสเอ็มเสียกลุ่มหลักของบริษัทไป แต่ก็ยังประสบความสำเร็จกับกลุ่มอื่น เช่น S.E.S, Shinhwa, Fly To The Sky แม้ว่าตอนนี้จะออกจากบริษัทหรือแยกวงกันไปแล้วก็ตาม และวงใหม่อย่าง Black Beat, Isak N Jiyeon ก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จมากนักอย่างไรก็ตามเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ก็ได้พบดาวดวงใหม่อย่างโบอา เธอโด่งดังไม่ใช่แค่ในเกาหลีแต่โด่งดังมากที่ญี่ปุ่น และวงอย่าง ทงบังชินกี, ซูเปอร์จูเนียร์ และ เกิลส์เจเนอเรชัน เป็นต้น[ต้องการอ้างอิง]
ปัจจุบัน เอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ สามารถปั้นศิลปินรุ่นใหม่ออกมาอย่างมากมายและทุกวงก็ประสบความสำเร็จอย่างสูงทั้งในเกาหลี ระดับเอเชีย จนถึงทั่วโลก ยกตัวอย่างเช่น ซูเปอร์จูเนียร์ ที่มีคอนเสิร์ต World Tour เป็นของตัวเอง หรืออย่างที่ เกิลส์เจเนอเรชัน ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ค.ศ. 1989–2000: การก่อตั้งและศิลปินรุ่นแรกในยุคเริ่มต้นเคป็อป
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ค.ศ. 2000–2005: การขยายเครือบริษัทและกลุ่มศิลปินรุ่นที่สอง
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ค.ศ. 2010–2012: การขยายตลาด
เอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ ประเทศญี่ปุ่นก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2001 ซึ่งทางบริษัทยังได้วางแผนจะเปิดสาขาเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแห่งที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนเพื่อขยายการตลาดเป็นแห่งที่ 3 นอกจากนี้ ยังมีแผนจะตั้งศูนย์กลางเอเชียที่ฮ่องกง เพื่อทำธุรกิจในตลาดจีนอีกด้วย ปี ค.ศ. 2010 นายอี ซู-มัน ได้ถอนตัวออกจากตำแหน่งประธานบริษัท เพื่อทำหน้าที่โปรดิวเซอร์ แต่ยังคงถือหุ้น 29.4% เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดเช่นเดิม ถึงชื่อจะไม่ใช่ประธานแล้ว แต่การถือหุ้นก็ยังเหมือนเดิม เหมือนว่าการถอนตัวออกจากตำแหน่งนั้นมีอะไรแอบแฝงอยู่ ในช่วงกลางปี ค.ศ. 2011 เอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนท์ได้ทำการขยายตลาดมายังประเทศไทยโดยร่วมมือกับกลุ่ม ทรูวิชั่นส์ ผู้ให้บริการโทรทัศน์บอกรับสมาชิกรายใหญ่ของประเทศไทย จัดตั้งบริษัท SM True โดยมีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 20 ล้านบาท ในสัดส่วนของทรูวิชั่นส์จำนวน 51% และเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนท์จำนวน 49% โดย SM True จะเป็นผู้ดูแลลิขสิทธิ์และผลงานของศิลปินในค่าย SM ทั้งหมดในประเทศไทย
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ค.ศ. 2013–ปัจจุบัน: กลุ่มศิลปินรุ่นที่สาม และ โรงเรียนนานาชาติ K-Pop
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
โลโก้
-
โลโก้ที่ใช้ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงวันที่ 31 ตุลาคม ปี ค.ศ. 2017
-
โลโก้ปัจจุบันของบริษัทที่ถูกนำมาใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2017
ศิลปิน
ศิลปินเพลง
- เอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์
|
|
ละครโทรทัศน์และภาพยนตร์
- ปฏิบัติการจู่โจมหนุ่มสุดฮอต (ค.ศ. 2007)
- No Limit รักใสใส หัวใจฟรีคิก (ค.ศ. 2009)
- ฟาร์มป่วน หวนรัก (ค.ศ. 2011)
- I AM. (ค.ศ. 2012)
- ปิ๊งรักสลับขั้ว (ค.ศ. 2012)
- บริษัทวุ่นนักรักไม่จำกัด (ค.ศ. 2013)
- รักวุ่นวายกับคุณชายนายก (ค.ศ. 2013)
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อCNBCSG
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNMESG
- ↑ Kwaak, Jeyup S. (31 March 2023). "SM Entertainment Appoints New CEO & Board as K-Pop Giant Looks to the Future". Billboard. สืบค้นเมื่อ 15 August 2023.
- ↑ "SM Entertainment founder Lee looks to the future as company appoints new management". The Korea Herald (ภาษาอังกฤษ). 31 March 2023. สืบค้นเมื่อ 15 August 2023.
- ↑ 5.0 5.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อformerceo
- ↑ "Shareholder Structure". SM Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-27. สืบค้นเมื่อ August 11, 2023.
- ↑ http://markets.ft.com/research/Markets/Tearsheets/Summary?s=A041510:KOE
แหล่งข้อมูลอื่น
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์
- เว็บไซต์ทางการ