ข้ามไปเนื้อหา

สารเคลือบเซลล์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Extracellular matrix)
สารเคลือบเซลล์
Illustration depicting extracellular matrix (basement membrane and interstitial matrix) in relation to epithelium, endothelium and connective tissue
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินmatrix extracellularis
MeSHD005109
THH2.00.03.0.02001
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

สารเคลือบเซลล์[1][2][3][4] (Extracellular matrix , ECM) เป็นผลิตภัณฑ์อย่างหนึ่งของเซลล์ซึ่งพบอยู่ที่บริเวณรอบนอกของเซลล์สัตว์ สารเคลือบเซลล์นั้นมีส่วนสำคัญในการค้ำจุนโครงสร้างของเซลล์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ที่สำคัญต่างๆอีกมากมาย ซึ่งถ้าสารเคลือบเซลล์เกิดความผิดปกติขึ้นก็อาจทำให้เซลล์นั้นเกิดความผิดปกติตามไปด้วยและอาจนำไปสู่การเกิดมะเร็งในที่สุด

สารเคลือบเซลล์นั้นจะถูกคัดหลั่งออกมาจากตัวเซลล์และไฟโบรบลาสท์ (fibrobrast) หรือเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissus) ที่แทรกอยู่ระหว่างเซลล์ ซึ่งสารที่คัดหลั่งออกมานั้นจะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่ สารประกอบเชิงซ้อนของโพลีแซคคาไรด์กับโปรตีนที่มีชื่อว่า ไกลโคซามิโนไกลแคนส์ (Glycosaminoglycans,GAGs) สารนี้จะมีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำได้ จึงทำให้สารเคลือบเซลล์นั้นมีลักษณะคล้ายเจล และองค์ประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ โปรตีนเส้นใย (Fibrous proteins) ได้แก่ คอลลาเจน(collagen) อีลาสติน(elastin) ไฟโบรเนกติน(fibronectin) และ ลามินิน(laminin) เป็นต้น ซึ่งโปรตีนเส้นใยเหล่านี้จะมีการเชื่อมโยงกับโปรตีนต่างๆในเซลล์ด้วย

สารเคลือบเซลล์นั้นจะพบมากในบริเวณเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งปรากฏในหลายรูปแบบ เช่น กระดูก(bone) ฟัน(teeth) กระจกตา(cornea) เอ็นที่ยึดระหว่างปลายมัดของกล้ามเนื้อกับกระดูก(tendons) เป็นต้น แต่จะพบได้น้อยในเนื้อเยื่อประเภทเนื้อเยื่อสมองและไขสันหลังเนื่องจากเนื้อเยื่อนั้นติดกันแน่น

หน้าที่ของสารเคลือบเซลล์

[แก้]

สารเคลือบเซลล์นั้นมีหน้าที่สำคัญหลายประการ เช่น เป็นโครงที่ประกบกับเซลล์ช่วยในการค้ำจุนโครงสร้างทางกายภาพของเนื้อเยื่อ มีบทบาทต่อพฤติกรรมของเซลล์ในการรับรู้สิ่งต่างๆนำไปสู่การตอบสนอง เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการอยู่รอดของเซลล์คือเปรียบเสมือนเป็นสิ่งแวดล้อมของเซลล์ เป็นสิ่งที่มีผลต่อพัฒนาการของเซลล์ คือ สามารถกระตุ้นให้เซลล์สามารถเกิดการเปลี่ยนรูปร่างไปทำหน้าที่เฉพาะอย่างได้ และนอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายเซลล์ ซึ่งจะอาศัยสารเคลือบเซลล์เป็นตัวช่วยในการจดจำว่าเป็นเซลล์พวกเดียวกันหรือไม่ จากนั้นจึงจะเกิดการรวมกลุ่มกันของเซลล์ชนิดเดียวกันกลายเป็นเนื้อเยื่อและนำไปสู่การสร้างอวัยวะในที่สุด การเพิ่มจำนวนเซลล์ก็เช่นกัน สารเคลือบเซลล์นั้นจะเป็นสัญญาณที่คอยบอกว่าเซลล์สมควรที่จะเพิ่มจำนวนหรือไม่ เป็นต้น ถ้าหากว่าเซลล์นั้นไม่มีสารเคลือบเซลล์ เซลล์อาจจะไม่สามารถสื่อสารกันได้

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. รศ. ลัดดา เอกสมทราเมษฐ์. "Cell Struture and Function". คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-05. สืบค้นเมื่อ 2018-06-18.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  2. "โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์". Pure's app. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-18. สืบค้นเมื่อ 2018-06-18. Cell coat อีกชื่อ extracellular matrix (ECM)
  3. "extracellular matrix ใน ไทย". Glosbe. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-18. สืบค้นเมื่อ 2018-06-18. สารเคลือบเซลล์ A structure lying external to one or more cells, which provides structural support for cells or tissues.
  4. "สารเคลือบเซลล์ผิวคืออะไร". Eduzones. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-13. สืบค้นเมื่อ 2018-06-18.