ข้ามไปเนื้อหา

เดอะบีเอ็มเจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก British Medical Journal)
The BMJ
สาขาวิชาแพทยศาสตร์
ภาษาภาษาอังกฤษ
บรรณาธิการพญ. ฟิโอนา ก็อดลี่
รายละเอียดการตีพิมพ์
ชื่อเดิมProvincial Medical and Surgical Journal, British Medical Journal, BMJ
ประวัติการตีพิมพ์2383-ปัจจุบัน
ผู้พิมพ์
ความถี่ในการตีพิมพ์รายสัปดาห์
การเข้าถึงแบบเปิดทันที บทความงานวิจัยเท่านั้น
สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
ปัจจัยกระทบ17.445 (2557)
ชื่อย่อมาต��ฐาน
ISO 4BMJ
การจัดทำดรรชนี
CODENDXRA5
ISSN0959-8138
1756-1833
LCCN97640199
JSTOR09598138
OCLC32595642
การเชื่อมโยง

The BMJ เป็นวารสารการแพทย์รายสัปดาห์ที่มีการทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน โดยเป็นวารสารการแพทย์ทั่วไปที่เก่าที่สุดวารสารหนึ่งในโลก โดยดั้งเดิมเรียกว่า British Medical Journal ซึ่งย่อลงเหลือ BMJ ในปี 2531 และเปลี่ยนเป็น The BMJ ในปี 2557 เป็นวารสารที่ตีพิมพ์โดย BMJ Group ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของสมาคมการแพทย์อังกฤษ (British Medical Association) หัวหน้าบรรณาธิการคนปัจจุบันคือ พญ. ฟิโอนา ก็อดลี่ ผู้ได้รับแต่งตั้งเมื่อปี 2548[1]

อิทธิพล

[แก้]

ในปี 2557 ปัจจัยกระทบ (impact factor) ของวารสารอยู่ที่ 17.445[2] ซึ่งเป็นลำดับที่ 5 ในบรรดาวารสารการแพทย์ทั่วไป[3]

ประวัติ

[แก้]

วารสารตีพิมพ์เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2383 ในชื่อ Provincial Medical and Surgical Journal และได้รับความสนใจจากแพทย์ทั่ว���ลกเนื่องจากการตีพิมพ์งานวิจัยดั้งเดิมที่ทรงอิทธิพลและรายงานเค้สคนไข้ที่ไม่เหมือนใคร[4]

สถิติการจัดการยาสลบในแผนกจักษุ โรงพยาบาลกายส์

ในบทความหลักฉบับแรก บรรณาธิการได้ให้ข้อสังเกตว่า วารสาร "ได้รับโฆษณาสำหรับฉบับแรก เท่ากับวารสารการแพทย์ยอดนิยม (คือ เดอะแลนซิต) ทีได้ตีพิมพ์มาแล้ว 17 ปี"[4] จุดมุ่งหมายหลักของวารสารก็คือ ความก้าวหน้าของอาชีพ โดยเฉพาะนอกนครลอนดอน และการเผยแพร่ความรู้ทางการแพทย์ บรรณาธิการรุ่นแรกยังสนใจในการโปรโมตความอยู่ดีมีสุขของสาธารณชน และการธำรงรักษา "ผู้ปฏิบัติทางการแพทย์ โดยเป็นชนชั้นทางสังคม เพราะเหตุของการเรียนรู้ทางสติปัญญา เหตุความมีศีลธรรม และเหตุความสำคัญของหน้าที่ที่ตนได้รับ"[4]

The BMJ เป็นวารสารที่ตีพิมพ์งานทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมที่จัดกลุ่มคนไข้โดยส่วนกลาง (centrally randomised controlled trial) งานแรก[5] วารสารยังตีพิมพ์บทความทรงอิทธิพลเกี่ยวกับผลของการสูบบุหรี่ต่อสุขภาพ[6][7] ต่อมะเร็งปอด และต่อเหตุความตายอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการสูบบุหรี่[8] โดยเป็นระยะเวลายาวนาน คู่แข่งเดียวที่มีของวารสารก็คือ เดอะแลนซิต (วารสารอันดับ 2 ตามปัจจัยกระทบ) ซึ่งอยู่ในสหราชอาณาจักรเหมือนกัน แต่เพราะเหตุแห่งโลกาภิวัตน์ วารสารได้เผชิญการแข่งขันที่หนักหน่วงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะจากวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ (วารสารอันดับ 1) และ JAMA (วารสารอันดับ 3)[9]

เนื้อหา

[แก้]

วารสารสนับสนุนเวชปฏิบัติอิงหลักฐาน (evidence-based medicine) พิมพ์ทั้งงานวิจัยและงานทบทวนทางคลินิก (clinical review) ความก้าวหน้าทางการแพทย์เร็ว ๆ นี้ มุมมองของบรรณาธิการ และอื่น ๆ

วารสารมีฉบับที่มีประเด็นเกี่ยวกับเรื่องโดยเฉพาะ (theme issue) ทุก ๆ ปี ซึ่งวารสารจะพิมพ์งานวิจัยและงานทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นประเด็น ธีมที่นิยมในไม่กี่ปีที่ผ่านมารวมทั้ง สุขภาพในแอฟริกา การจัดการโรคเรื้อรัง[เมื่อไร?] และความจากทั่วโลกเรื่องความหายนะจากโรคเอดส์[ต้องการอ้างอิง]

มีฉบับคริสต์มาสพิเศษทุก ๆ ปี พิมพ์ในวันศุกร์ก่อนวันคริสต์มาส เป็นฉบับที่รู้จักกันในฐานที่มีบทความงานวิจัยที่ใช้วิธีการทางวิทยาการแบบเคร่งครัดเพื่อตรวจสอบปัญหาการแพทย์ที่ไม่ใช่เป็นเรื่องจริงจัง[10][11][12] ผลที่ได้บ่อยครั้งเป็นความขบขันที่รายงานอย่างกว้างขวางในสื่อมวลชน[11][13]

ฉบับต่าง ๆ

[แก้]

วารสารโดยหลักเป็นวารสารออนไลน์ และเป็นเว็บไซท์วารสารเดียวที่มีเนื้อหาสมบูรณ์สำหรับบทความทุกบทความ แต่ว่า ก็มีฉบับพิมพ์ด้วยที่มีเป้าหมายเป็นกลุ่มต่าง ๆ โดยมีเนื้อหาต่าง ๆ กัน ซึ่งบางครั้งเป็นแบบย่อ และมีโฆษณาที่ต่าง ๆ กัน[14] ฉบับพิมพ์รวมทั้ง

  • General Practice (รายสัปดาห์) สำหรับหมอทั่วไป
  • Clinical Research (รายสัปดาห์) สำหรับหมอโรงพยาบาล
  • Academic (รายเดือน) สำหรับสถาบัน นักวิจัย และนักวิชาการทางการแพทย์

นอกจากนั้นแล้ว ยังมีฉบับพื้นที่ที่เป็นฉบับแปล และก็ยังมี Student BMJ ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลออนไลน์สำหรับนักศึกษาแพทย์ หมอใหม่ และผู้ที่กำลังสมัครเข้ามหาวิทยาลัยแพทย์ โดยพิมพ์ 3 ครั้งต่อปี มีชุมชนออนไลน์ที่มีสมาชิกทั่วโลก คือ Doc2Doc

การดำเนินการ

[แก้]

วารสารมีระบบการทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันแบบเปิด (open peer review) ที่ผู้เขียนจะรู้ว่าใครเป็นคนทบทวนต้นฉบับของตน บทความดั้งเดิมประมาณครึ่งหนึ่งจะถูกปฏิเสธโดยการทบทวนภายใน[15] ผู้เชี่ยวชาญภายนอกจะเป็นผู้ทบทวนต้นฉบับที่ได้รับเลือกเพื่อทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันในส่วนเบื้องต้น ผู้จะแสดงความสำคัญและความเหมาะสมในการตีพิมพ์ของต้นฉบับ ก่อนที่คณะบรรณาธิการจะตัดสินใจว่าจะพิมพ์บทความไหน อัตราการพิมพ์ต้นฉบับน้อยกว่า 7 เปอร์เซ็นต์สำหรับงานวิจัยดั้งเดิม[16]

ดัชนีและการอ้างอิง

[แก้]

วารสารอยู่ในดัชนีสำคัญ ๆ รวมทั้ง PubMed, MEDLINE, EBSCO และ Science Citation Index วารสารไม่เห็นด้วยมานานเกี่ยวกับการใช้ปัจจัยกระทบ (impact factor) อย่าง ๆ ผิดในการตัดสินให้เงินทุนงานวิจัย และการค้นหาเลือกรับนักวิจัยของสถาบันวิชาการ[17]

วารสาร 5 วารสารที่อ้างอิง The BMJ มากที่สุดโดยปี 2551 คือ The BMJ, Cochrane Database of Systematic Reviews, The Lancet, BMC Public Health และ BMC Health Services Research[18] ส่วนวารสาร 5 วารสารที่บทความของ The BMJ อ้างอิงมากที่สุดก็คือ The BMJ, The Lancet, The New England Journal of Medicine, Journal of the American Medical Association และ Cochrane Database of Systematic Reviews[18]

บทความที่อ้างอิงมากที่สุด

[แก้]

ตาม Web of Science ซึ่งเป็นบริการดัชนี[18] บทความต่อไปนี้ของวารสารมีการอ้างอิงมากที่สุด โดยปี 2553 คือ

  1. Cole, TJ; Bellizzi, MC; Flegal, KM; Dietz, WH (2000). "Establishing a standard definition for child overweight and obesity worldwide: international survey" [การกำหนดนิยามของสภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนของเด็กทั่วโลก - งานสำรวจนานาชาติ]. British Medical Journal. 320 (7244): 1240–1243. doi:10.1136/bmj.320.7244.1240. PMC 27365. PMID 10797032.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. Baigent, C; Sudlow, C; Collins, R; Peto, R (2002). "Collaborative meta-analysis of randomised trials of antiplatelet therapy for prevention of death, myocardial infarction, and stroke in high risk patients". British Medical Journal. 324 (7329): 71–86. doi:10.1136/bmj.324.7329.71. PMC 64503. PMID 11786451.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. Stratton, IM; Adler, AI; Neil, HAW; Matthews, DR; Manley, SE; Cull, CA; Hadden, D; Turner, RC; Holman, RR (2000). "Association of glycaemia with macrovascular and microvascular complications of type 2 diabetes (UKPDS 35) : prospective observational study". British Medical Journal. 321 (7258): 405–412. doi:10.1136/bmj.321.7258.405. PMC 27454. PMID 10938048.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

บทความที่ดูมากที่ส���ด

[แก้]

โดยปี 2557 บทความที่เปิดดูมากที่สุดบทเว็บไซท์ของวารสารคือ[19]

Schultz, Willibrord Weijmar; van Andel, Pek; Sabelis, Ida; Mooyaart, Eduard (18 December 1999). "Magnetic resonance imaging of male and female genitals during coitus and female sexual arousal" [ภาพ MRI ของอวัยวะเพศชายและหญิงระหว่างการร่วมเพศและการเกิดอารมณ์ทางเพศของหญิง]. BMJ. 319 (7225): 1596–600. doi:10.1136/bmj.319.7225.1596. PMC 28302. PMID 10600954.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)

เว็บไซท์และนโยบายการเข้าถึง

[แก้]

วารสารเปิดออนไลน์อย่างสมบูรณ์ในปี 2538 และเก็บไฟล์อย่างถาวรบนเว็บ จุดสนใจหลักรวมทั้งเนื้อหาที่มีในฉบับพิมพ์ สิ่งสนับสนุนบทความงานวิจัยดั้งเดิม ข่าวเพิ่มเติม และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งไปหาบรรณาธิการ วารสารมีนโยบายที่จะพิมพ์จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งไปหาวารสารโดยมาก เป็นนโยบายที่เรียกว่า Rapid Responses[20] ซึ่งทำเหมือนกับเว็บบอร์ดที่มีคนดูแล โดยเดือนมกราคม 2556 มีจดหมายกว่า 88,500 ฉบับที่โพสต์ในเว็บของวารสาร[21] ข้อความที่โพสต์มีการตรวจกลั่นกรองในเรื่องเนื้อหาที่หมิ่นประมาทหรือหยาบคาย แต่ว่า คนที่โพสต์ข้อความจะได้คำเตือนว่า หลังจากที่โพ้สต์ข้อความ จะไม่มีสิทธิลบหรือแก้ไขโพ้สต์[21] ตั้งแต่ปี 2542 เนื้อหาทั้งหมดของวารสารเข้าถึงได้ฟรีออน์ไลน์ แต่ตั้งแต่เดือนมกราคม 2549 การเข้าถึงเนื้อหาที่เพิ่มคุณค่า รวมทั้งการทบทวนทางคลินิก (clinical reviews) และบทความบรรณาธิการ จะต้องสมัครเป็นสมาชิก แต่ว่า ผู้ที่เข้าดูเว็บจากประเทศที่ยากจนสามารถเข้าถึงเนื้อหาฟรีได้ทั้งหมด โดยเป็นส่วนของโครงการ HINARI แต่ไม่รวมประเทศไทยในปี 2559[2][22]

วันที่ 14 ตุลาคม 2551 วารสารประกาศว่าจะเปลี่ยนเป็นวารสารที่เปิดให้เข้าถึงได้อย่างเสรี แต่นี่หมายถึงงานวิจัยเท่านั้น สำหรับบทความประเภทอื่น จะต้องเป็นสมาชิก[23]

บริการอื่น ๆ

[แก้]

วารสารมีบริการฟรีส่งข้อความแจ้ง คือ[24]

  • มีอะไรใหม่ออนไลน์ (what’s new online) (UK/US/India/International editions) - เนื้อหาสรุปข่าวการแพทย์ งานวิจัยล่าสุด วิดีโอ บล็อก และข้อคิดเห็นของบรรณาธิการ
  • สิ่งที่บรรณาธิการเลือก (editor’s choice): หัวหน้าบรรณาธิการคือ พญ.ก็อดลี่นำเสนองานวิจัยล่าสุด ข่าวการแพทย์ ความเห็น และการศึกษาที่เลือกสรรแต่ละอาทิตย์
  • สารบัญ (table of contents) (รายวันหรือรายสัปดาห์) ลิงก์ไปยังบทความล่าสุดของวารสาร
  • ข่าวแจก (press releases)

แอปพลิเคชันสำหรับไอแพด

[แก้]

ในเดือนมกราคม 2554 วารสารเริ่มให้ใช้แอปพลิเคชันสำหรับไอแพดที่แสดงเนื้อหาของวารสาร โดยรวมงานวิจัย ข้อคิดเห็น การศึกษา ข่าว บล็อก พอดแคสต์ และวิดีโอ ที่เลือกสรรจากที่จะปรากฏบนเว็บไซท์

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. "Godlee is made BMJ's first woman editor". Press Gazette. 11 February 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2009. สืบค้นเมื่อ 14 August 2009.
  2. 2.0 2.1 "About BMJ". bmj.com. 2015. สืบค้นเมื่อ 22 June 2015.
  3. "Journals Ranked by Impact: Medicine, General & Internal". 2014 Journal Citation Reports. Web of Science (Science ed.). Thomson Reuters. 2015.
  4. 4.0 4.1 4.2 P.W.J, Batrip (1990). Mirror of Medicine: A History of the British Medical Journal. Oxford: Oxford University Press. ISBN 0-19-261844-X.
  5. Medical Research Council (1948). "Streptomycin treatment of pulmonary tuberculosis". BMJ. 2 (4582): 769–782. doi:10.1136/bmj.2.4582.769. PMC 2091872. PMID 18890300.
  6. Doll, R; Hill, AB (1950). "Smoking and carcinoma of the lung". BMJ. 2 (4682): 739–748. doi:10.1136/bmj.2.4682.739. PMC 2038856. PMID 14772469.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. Doll, R; Hill, AB (1954). "The mortality of doctors in relation to their smoking habits". BMJ. 1 (4877): 1451–1455. doi:10.1136/bmj.1.4877.1451. PMC 2085438. PMID 13160495.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  8. Doll, R; Hill, AB (1956). "Lung Cancer and Other Causes of Death in Relation to Smoking". BMJ. 2 (5001): 1071–1081. doi:10.1136/bmj.2.5001.1071. PMC 2035864. PMID 13364389.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. Mayor, S. (2004). "BMJ and Lancet rank among the most clinically relevant medical journals". BMJ. 329: 592. doi:10.1136/bmj.329.7466.592-e.
  10. Eveleth, Rose (23 December 2013). "The Best of the British Medical Journal's Goofy Christmas Papers". The Smithsonian. สืบค้นเมื่อ 2016-01-14.
  11. 11.0 11.1 Liberman, Mark (21 December 2007). "'Tis the season". Language Log.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  12. Delamothe, Tony (December 2007). "Orthopaedic gorillas no more". BMJ. 335 (7633). doi:10.1136/bmj.39430.559375.47. PMC 2151146.
  13. "Santa's a Health Menace? Media Everywhere Are Falling for It—But the Study Was Meant as a Joke". Newsweek blog. 15 December 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-06.
  14. "The BMJ and Student BMJ ISSNs". The BMJ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-01-14.
  15. "BMJ peer reviewers: resources — BMJ resources". bmj.com. สืบค้นเมื่อ 2011-01-07.
  16. "Is The BMJ the right journal for my research article?". BMJ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 August 2015. สืบค้นเมื่อ 7 September 2015. Our rejection rate for research is currently around 93%.
  17. Seglen, PO (February 1997). "Why the impact factor of journals should not be used for evaluating research". BMJ. 314 (7079): 498–502. doi:10.1136/bmj.314.7079.497. PMC 2126010. PMID 9056804.
  18. 18.0 18.1 18.2 "Web of Science". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 February 2010. สืบค้นเมื่อ 23 February 2010.
  19. "Three million looks at sex-in-an-MRI video". Improbable Research. 17 June 2014.
  20. "Recent Rapid Responses". bmj.com. The BMJ. สืบค้นเมื่อ 2016-01-14.
  21. 21.0 21.1 "Sharon Davies: Why we're reluctant to remove rapid responses from bmj.com". blogs.bmj.com. The BMJ. 2013-01-31. สืบค้นเมื่อ 2016-01-14.
  22. "Eligibility for Access to Research4Life". Research4Life. 2016. สืบค้นเมื่อ 10 February 2016.
  23. Suber, Peter (20 October 2008). "BMJ converts to gratis OA". Open Access News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่ง���ดิมเมื่อ 10 November 2012. สืบค้นเมื่อ 19 April 2016.
  24. "Receiving email alerts". The BMJ. สืบค้นเมื่อ 2016-01-14.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]