ข้ามไปเนื้อหา

อันดับสัตว์กีบคู่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Artiodactyla)

อันดับสัตว์กีบคู่
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 55.4–0Ma สมัยอีโอซีนตอนต้น– สมัยโฮโลซีน
Separate pictures of a giraffe, American bison, red deer, orca, wild boar, and camel
ตามเข็มนาฬิกาจากศูนย์กลาง: ควายไบซันอเมริกัน (Bison bison), อูฐหนอกเดียว (Camelus dromedarius), หมูป่า (Sus scrofa), วาฬเพชฌฆาต (Orcinus orca), กวางแดง (Cervus elaphus) และ ยีราฟ (สกุล: Giraffa)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Mammalia
Magnorder: Boreoeutheria
Boreoeutheria
อันดับใหญ่: Laurasiatheria
Laurasiatheria
เคลด: Scrotifera
Scrotifera
Grandordo-mb: Ferungulata
Ferungulata
เคลด: Ungulata
Ungulata
อันดับ: สัตว์กีบคู่
Artiodactyla
Owen, 1848
Subdivisions
ชื่อพ้อง

Cetartiodactyla
Montgelard et al. 1997

อันดับสัตว์กีบคู่ เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artiodactyla (/อา-ทิ-โอ-แดค-ทิ-ล่า/)

มีลักษณะเด่น คือ มีนิ้วเท้าที่เป็นกีบที่เป็นคู่ แตกต่างไปจากสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์กีบคี่ (Perissodactyla) ซึ่งมีกีบนิ้วเท้าเป็นจำนวนคี่

ทั้งสองอันดับล้วนแต่เป็นสัตว์กินพืช ที่จะกินพืชลักษณะแตกต่างกันออกไปตามสกุลและวงศ์ หรือชนิด กระจายพันธุ์ออกไปในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นโอเชียเนีย

ปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 10 วงศ์[1] ราว 270 ชนิด

โดยแบ่งออกได้เป็น 4 อันดับย่อย โดยแบ่งตามลักษณะของกระเพาะอาหาร โดยแบ่งออกเป็นห้อง ๆ หรือส่วน คือ

เป็นสัตว์ที่มีห้องกระเพาะห้องเดียว มีด้วยกัน 3 วงศ์ คือ

เป็นสัตว์ที่ห้องกระเพาะ 3 ห้อง มีการหมักอาหารเกิดขึ้นในนั้น

เป็นสัตว์ที่มีห้องกระเพาะ 4 ห้อง มีการหมักอาหารเกิดขึ้นในนั้น มีการขย้อนอาหารที่กินลงไปแล้วออกมาเคี้ยวใหม่ เรียกว่า "เคี้ยวเอื้อง"

เป็นสัตว์ที่มีความแตกต่างกันทางรูปร่างอย่างมาก โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุดและถือเป็นสัตว์ที่สูงที่สุดบนบกด้วย คือ ยีราฟที่มีความสูงกว่า 5 เมตร และกระจง ที่ถือได้ว่าเป็นสัตว์กีบที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ด้วยมีความสูงราว 1 ฟุตเท่านั้น[2]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. จาก itis.gov (อังกฤษ)
  2. Michael et al., 2004. Grzimek’s Animal Life Encyclopedia 2nd ed. V. 16 : MammalsV

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]