อันดับไฮแรกซ์
อันดับไฮแรกซ์ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: อีโอซีน-ปัจจุบัน, 55.8–0Ma | |
---|---|
ไฮแรกซ์หิน (Procavia capensis) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
ชั้นฐาน: | Placentalia |
อันดับ: | Hyracoidea Huxley, 1869 |
วงศ์ | |
|
อันดับไฮแรกซ์ (อังกฤษ: Hyraxes, Dassies[1]) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กอันดับหนึ่ง ที่เรียกชื่อสามัญว่า ไฮแรกซ์ หรือ ตัวไฮแรกซ์ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hyracoidea (/ไฮ-รา-คอย-เดีย/)
ลักษณะและพฤติกรรม
[แก้]ลักษณะโดยรวมของไฮแรกซ์ มีลำตัวอ้วนป้อม มีขนปกคลุมทั้งลำตัว แลดูคล้ายหนูตะเภา ซึ่งเป็นสัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) แต่ไฮแรกซ์มีอันดับแยกออกมาชัดเจน โดยมีขาหน้าเป็นกีบคล้ายกับพวกสัตว์ในอันดับสัตว์กีบคู่ หรือสัตว์กีบคี่ ขาหน้ามี 4 นิ้ว หูและหางสั้น ไม่มีเขี้ยว มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 30-70 เซนติเมตร น้ำหนักตัวราว 4–5 กิโลกรัม
ไฮแรกซ์เป็นสัตว์ที่มีสายวิวัฒนาการใกล้เคียงกับสัตว์ในอันดับช้าง (Proboscidea) หรือช้างในปัจจุบัน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ด้วยว่ามีลักษณะของฟันซี่หน้า 2 ซี่บนขากรรไกรบนเช่นเดียวกันที่ยาว แต่ทว่าฟันเขี้ยวจะไม่งอกยาวออกมาเป็นงาเหมือนช้าง มีฟันที่เขียนเป็นสูตรได้ว่า และมีข้อต่อนิ้วที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน[2]
ไฮแรกซ์ เป็นสัตว์กินพืช สามารถกินพืชได้หลากหลายประเภท ทั้งเมล็ดหรือหญ้า และยังกินพืชที่มีหนามและมีพิษได้อีกด้วย และเป็นสัตว์ที่สามารถปีนป่ายก้อนหินหรือโขดหินได้เป็นอย่างดี พบกระจายพันธุ์เฉพาะในทวีปแอฟริกาเท่านั้น มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง ชอบอาบแดดในเวลาเช้าแล้วจึงออกหาอาหาร โดยจะกินอย่างรวดเร็วและหันหลังชนกันและหันหน้าออกเพื่อจะคอยระวังสัตว์กินเนื้อ นอกจากนี้แล้วไฮแรกซ์ยังไม่เกรงกลัวมนุษย์ มักจะออกมาหาอาหารใกล้ ๆ กับชุมชนที่มีมนุษย์อาศัยอยู่เสมอ ๆ [3]
ไฮแรกซ์ แบ่งออกได้เป็น 5 วงศ์ (ดูในตาราง) แต่ได้สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ 4 วงศ์ จึงเหลือเพียงวงศ์เดียว แบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก[4] [5]
รูปภาพ
[แก้]-
ฟันของไฮแรกซ์
-
ข้อนิ้วของไฮแรกซ์
-
บนต้นไม้
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Hyracoidea" in Grzimek's Animal Life Encyclopedia, Vol. 15: Mammals. Gale Publishing. Online version accessed April 2014.
- ↑ หน้า 195, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม, 2518)
- ↑ มหัศจรรย์สัตว์โลก ไนน์ แพลเน็ต, รายการสารคดี: พุธที่ 12 พฤษภาคม 2553 ทางช่อง 9
- ↑ จาก itis.gov (อังกฤษ)
- ↑ McKenna, Malcolm C., and Bell, Susan K. 1997. Classification of Mammals Above the Species Level. Columbia University Press, New York, 631 pp. ISBN 0-231-11013-8