ข้ามไปเนื้อหา

เว็บเพจพลวัต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ไดนามิกเว็บเพจ)
เว็บเพจพลวัต: ตัวอย่างของสคริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์ (พีเอชพีและมายเอสคิวแอล)

เว็บเพจพลวัต หรือ ไดนามิกเว็บเพจ (อังกฤษ: dynamic web page) คือเว็บเพจที่เนื้อหาเว็บสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับพารามิเตอร์ที่กำหนดโดยผู้ใช้หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์

สคริปต์ด้านไคลเอนต์

[แก้]

สคริปต์ด้านไคลเอนต์คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของส่วนต่อประสานภายในเว็บเพจเฉพาะหน้า เพื่อตอบสนองต่อการทำงานของเมาส์และแป้นพิมพ์ หรือเหตุการณ์ตามเวลาที่ระบุ พฤติกรรมพลวัตในกรณีนี้จะปรากฏอยู่ภายในการนำเสนอ เนื้อหาด้านไคลเอนต์จะถูกสร้างขึ้นในระบบคอมพิวเตอร์เฉพาะที่ของผู้ใช้

เว็บเพจเช่นนั้นใช้เทคโนโลยีการนำเสนอที่เรียกว่า เพจต่อประสานแบบริช (rich interfaced pages) ภาษาสคริปต์ด้านไคลเอนต์ อย่างจาวาสคริปต์หรือแอ็กชันสคริปต์ อันนำมาใช้เป็นเทคโนโลยีของดีเอชทีเอ็มแอลและแฟลชตามลำดับ บ่อยครั้งที่ใช้เพื่อประสานกับสื่อชนิดต่าง ๆ ของการนำเสนอ (เช่น เสียง ภาพเคลื่อนไหว ข้อความที่เปลี่ยนได้ ฯลฯ) และยังสามารถใช้สคริปต์ระยะไกล (remote scripting) ได้อีกด้วย ซึ่งเป็นกลวิธีที่เว็บเพจดีเอชทีเอ็มแอลร้องขอสารสนเทศเพิ่มเติมจากเซิร์ฟเวอร์ ผ่านทางเฟรมที่ซ่อนอยู่ XMLHttpRequest หรือเว็บเซอร์วิซ

รุ่นของจาวาสคริปต์ที่ "ใช้งานอย่างแพร่หลาย" เป็นครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2539 (มาพร้อมกับเน็ตสเคป 3 และมาตรฐานเอ็กมาสคริปต์)

สคริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์

[แก้]

โปรแกรมที่ทำงานบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ (สคริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์) ถูกใช้เพื่อสร้างเนื้อหาเว็บในเว็บเพจหลาย ๆ หน้า จัดการช่วงเวลาสื่อสารของผู้ใช้ และควบคุมกระแสงาน การตอบรับจากเซิร์ฟเวอร์อาจกำหนดได้ด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากข้อมูลในฟอร์มเอชทีเอ็มแอลที่ส่งมา พารามิเตอร์ในยูอาร์แอล ชนิดของเบราว์เซอร์ที่กำลังใช้อยู่ เวลาที่ผ่านไป หรือสถานะของฐานข้อมูลหรือเซิร์ฟเวอร์

เว็บเพจเช่นนั้นมักจะถูกสร้างขึ้นด้วยความช่วยเหลือจากภาษาโปรแกรมต่าง ๆ ด้านเซิร์ฟเวอร์ เช่นเอเอสพี โคลด์ฟิวชัน เพิร์ล พีเอชพี รูบี เว็บดีเอ็นเอ และภาษาอื่น ๆ ภาษาด้านเซิร์ฟเวอร์เหล่านี้มักใช้โปรแกรมต่อประสานร่วมสำหรับเกตเวย์ (ซีจีไอ) เพื่อสร้าง เว็บเพจพลวัต ข้อยกเว้นที่สำคัญสองข้อได้แก่ เอเอสพีดอตเน็ตกับเจเอสพี ที่ใช้แนวคิดซีจีไอในส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์ (เอพีไอ) ของมันเอง แต่แท้จริงแล้วมันจะส่งจ่ายการร้องขอทางเว็บทั้งหมดไปยังเครื่องเสมือน (virtual machine) ที่ใช้ร่วมกัน

เว็บเพจพลวัตมักจะถูกเก็บลงแคชเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยตามที่คาดคะเนไว้ และเว็บเพจก็ถูกเตรียมการให้รับการจราจรเว็บปริมาณมาก เซิร์ฟเวอร์จะใช้เวลาโหลดนานถ้ามันจำเป็นต้องสร้างหน้ากลางอากาศสำหรับแต่ละการร้องขอ

อ้างอิง

[แก้]
  • J. R. Okin. The Information Revolution, ISBN 0-9763857-4-0. Ed. Ironbound Press, 2005. 350 pp.